ความเป็นมา
1. ในการเยือนสาธารณรัฐโครเอเชียของนายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระหว่างวันที่ 1-3 มิถุนายน 2543 ได้มีการหารือแนวคิดในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับโครเอเชีย และเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2543 รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของโครเอเชียได้เข้าพบหารือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ขอทราบความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าว
2. ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ครั้งที่ 6/2543 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2543 มีความเห็นว่าการจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับโครเอเชียจะทำให้ไทยมีโอกาสขยายการค้าเข้าไปใน CEFTA* และสหภาพยุโรป จึงได้มอบหมายให้กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับโครเอเซีย
จากการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำเขตการค้าเสรีของไทยกับโครเอเชียมีความเห็นเบื้องต้นว่า เมื่อพิจารณาสภาพทางภูมิศาสตร์และมูลค่าทางการค้าที่มีระหว่างกันแล้ว ไทยอาจจะได้รับประโยชน์จากการทำข้อตกลงการค้าเสรีกับโครเอเซียไม่มากเทาที่ควร แต่อาจได้รับประโยชน์ ( Dynamic Gains ) จากการขยายการค้าและการลงทุนในโครเอเซียและยุโรปตะวันออกต่อไปในอนาคต โดยมีข้อสรุปสำคัญๆ ดังนี้
1. ข้อเท็จจริง
1.1 โครเอเชียเป็นประเทศขนาดเล็กอยู่ในกลุ่มยุโรปตะวันออก ซึ่งแยกตัวออกมาจากยูโกสลาเวีย เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1991 มีจำนวนประชากรประมาณ 5 ล้านคน และเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจเปิด มีการพัฒนาระดับปานกลาง มีข้อจำกัดทางการค้าไม่มาก ปริมาณและมูลค่าการค้ายังมีขนาดเล็ก แต่มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับประเทศพัฒนาในยุโรป
1.2 โครเอเชีย มีอุตสาหกรรมหลักที่สำคัญคือ อุตสาหกรรมต่อเรือและเป็นที่ตั้งของเมืองท่าสำคัญหลายแห่ง เช่น เมือง Rijeka ซึ่งเป็นท่าเรือใหญ่ที่สุดของโครเอเชียเป็นศูนย์ขนถ่ายสินค้า เมือง Kardeljevo เป็นศูนย์กลางขนส่งสินค้าไปยังตอนในของสหพันธรัฐ หรือประเทศใกล้เคียง เช่น ออสเตรีย อิตาลี และแอลบาเนีย นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของประเทศ
1.3 ขณะนี้ โครเอเชียได้จัดทำข้อตกลงการค้าเสรีกับ Macedonia และ Bosnia-Herzegovina และอยู่ระหว่างการสรุปผลการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีกับฮังการีและสมาชิก CEFTA อื่น ๆ ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ทั้งนี้คาดว่าโครเอเชียจะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปประมาณปี ค.ศ. 2010
1.4 ความสัมพันธ์ทางการค้า
(1) ไทยกับโครเอเชียต่างไม่ได้เป็นคู่ค้าที่สำคัญของกันและกัน มีสัดส่วนและมูลค่าการค้าระหว่างกันน้อยมากต่ำกว่าร้อยละ 0.1 ของมูลค่าการส่งออกและนำเข้ารวมของไทย โครเอเชียนับเป็นคู่ค้าลำดับที่ 142 ในด้านการส่งออกของไทย และเป็นคู่ค้าลำดับที่ 132 ในด้านการนำเข้าของไทย โดยไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้ากับโครเอเชียมาโดยตลอดเฉลี่ยประมาณปีละ 3.8 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าออกที่สำคัญของไทยที่ส่งไปยังโครเอเชีย ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋อง ผลิตภัณฑ์ยาง ยานพาหนะอุปกรณ์และส่วนประกอบ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ส่วนสินค้าเข้าที่ไทยนำเข้าจากโครเอเชียที่สำคัญ ได้แก่ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เวชกรรม และเภสัชกรรม
(2) จากการสอบถามผู้ส่งออกของไทยเกี่ยวกับรูปแบบการค้าของไทยกับโครเอเชีย
ได้รับทราบข้อมูลดังนี้
- การค้ากับโครเอเชียส่วนใหญ่เป็นการค้าผ่าน Trader ที่ลอนดอนและออสเตรีย
- การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมหลายรายการเป็นไปตามคำสั่งซื้อจากบริษัทแม่ในญี่ปุ่นและไต้หวัน อาทิ ยานพาหนะและผลิตภัณฑ์ยาง
- การส่งออกสิ่งทอและเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่ผู้นำเข้าจากโครเอเชียเดินทางเข้ามาติดต่อกับผู้ส่งออกของไทยโดยตรง
ในระยะที่ผ่านมาโครเอเชียมีคำสั่งซื้อค่อนข้างน้อย เพราะไม่คุ้มกับค่าขนส่งเมื่อเทียบกับการสั่งซื้อจากประเทศอื่น ๆ ในยุโรปด้วย
1.5 ระบบเศรษฐกิจของโครเอเชีย
- โครเอเชียมีระบบเศรษฐกิจเป็นระบบเปิด แต่มีมาตรการที่เข้มงวดต่อการนำเข้าสินค้าที่จะมีผลกระทบต่อผู้บริโภค โดยจะมีหน่วยงานทำการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าแต่ละประเภทไว้ อาทิ สินค้าอาหารและผลิตภัณฑ์เกษตรกรรม รถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ ซีเมนต์ สิ่งทอ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ไฟฟ้า ดังนั้น สินค้าที่จะส่งเข้าไปจำหน่ายจึงต้องมีคุณภาพตรงตามมาตรฐานที่โครเอเชียกำหนด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมาตรฐานที่สอดคล้องกับสหภาพยุโรป การขยายตลาดส่งออกไปโครเอเชียจึงต้องคำนึงถึงมาตรฐานเหล่านี้ด้วย
- โครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยและโครเอเชียมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่ทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยมากกว่าโครเอเชีย ขณะที่ภาคบริการขนส่งและการก่อสร้างจะมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโครเอเชียมากกว่าไทย รายได้หลักของโครเอเชียมาจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ดังนั้นการพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศของโครเอเชียจึงน้อยกว่าไทย
1.6 มาตรการทางการค้า
(1) มาตรการภาษี
ภายใต้ The Customs Act, The Customs Tariff Act, The Custom Administration of Republic of Croatia Act และกฎหมายศุลกากรฉบับใหม่ที่เริ่มใช้บังคับเมื่อ 1 กรกฎาคม 2539 โครเอเซียมีการจัดเก็บภาษีนำเข้า (Preferential Tariffs) อัตราระหว่าง 0-30% โดยขึ้นกับชนิดสินค้า ระดับการแปรรูป และภาวะการผลิตสินค้าชนิดเดียวกันภายในประเทศ อัตราภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 15-17% และอัตราเฉลี่ยทุกสินค้าที่ระดับ 10.64% ซึ่งจำแนกออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ คือ
- วัตถุดิบ (Raw materials) ที่ไม่มีการผลิตภายในประเทศได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า
- สินค้ากึ่งสำเร็จรูปและสินค้าเพื่อการผลิต (Semi-manufactured and intermediate products) อัตราภาษีร้อยละ 5
- สินค้าสำเร็จรูป (Final products) ที่ไม่มีการผลิตภายในประเทศ อัตราภาษีร้อยละ 20
- สินค้าสำเร็จรูป (Final products) ที่มีการผลิตภายในประเทศ อัตราภาษีร้อยละ 20-25
- สินค้าที่นำเข้าจากประเทศที่ไม่ได้รับ Preferential Tariff อัตราภาษีร้อยละ 75
นอกจากนี้ สินค้าเกษตรและอาหารที่นำเข้ายังมีการเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ (Variable levies) ที่มีอัตราแตกต่างกัน ตามปริมาณการนำเข้า (Quantitative units) และฤดูกาลผลิต (Seasonal products) ซึ่งรัฐบาลจะประกาศเป็นคราว ๆ ไป
(2) มาตรการที่มิใช่ภาษี
ขณะนี้โครเอเชียมีการใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีหลายมาตรการ เช่น
(2.1) โควตานำเข้า (Import Quata) โครเอเชียจัดสรรโควตาโดยวิธีการประมูล (Public Tender) โดยประมาณร้อยละ 1 ของสินค้าที่นำเข้าเป็นสินค้าควบคุมภายใต้โควตา ทั้งนี้ โครเอเชียมีกำหนดยกเลิกโควตานำเข้าสินค้าบางรายการภายหลังการเข้าเป็นสมาชิก WTO
(2.2) ใบอนุญาตนำเข้า (Import licenses) โครเอเชียกำหนดให้การนำเข้าสินค้ายุทธปัจจัย สินค้าที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย และผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลกระทบต่อโอโซน จำเป็นต้องได้รับใบอนุญาตนำเข้าจากกระทรวงเศรษฐกิจก่อนที่จะมีการนำเข้า
นอกจากนี้ยังมีกฎระเบียบเกี่ยวกับการใช้รถยนต์ไว้เป็นการเฉพาะ โดยมีการห้ามนำเข้ารถยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกินกว่า 7 ปี ซึ่งถือเป็นรถยนต์ที่มีสภาพทางเทคนิคไม่เหมาะสมต่อการใช้งาน (Technically Unit)
(2.3) มาตรฐานและการตรวจสอบสินค้านำเข้า โครเอเชียมีกฎหมายมาตรฐานสินค้า ซึ่งมีสาระสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกับสหภาพยุโรป โดยมีการจัดตั้งหน่วยงานตรวจสอบและรับรองคุณภาพสินค้า มีการกำหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัยภายใต้ Law on Safety at work.
สำหรับการนำเข้ารถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ ซีเมนต์ สิ่งทอ และของใช้ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพ ณ ด่านที่นำเข้า สินค้าบางชนิดยังต้องผ่านการตรวจสอบอนามัย เช่น Sanitary, Phytopathologic หรือ Veterinary Control อีกด้วย
2. โครเอเชียเข้าเป็นสมาชิก WTO เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 เป็นลำดับที่ 140 ทำให้มีการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบด้านการค้าระหว่างประเทศตามกรอบของ WTO โดยเฉพาะการเปิดเสรีทางการค้า การอำนวยความสะดวกทางการค้า การปรับมาตรการด้านภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษี ทำให้ไทยมีส่วนได้รับประโยชน์โดยทันที
นอกจากนี้ โครเอเชียได้ทำการปรับปรุงกฎหมายศุลกากร (New Customs Act) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ปี 2000 โดยจะปรับลดอัตราภาษีลงตามพันธกรณีระหว่างปี 2000 ถึง 2005 (จะลดภาษีลงในอัตราเท่ากันทุกปี) ทั้งนี้ สินค้าอุตสาหกรรมที่มีความอ่อนไหวต่อผลกระทบมากที่สุด (Most Sensitive) อัตราภาษีเฉลี่ยสุดท้ายเหลือที่ 5% จากเดิม 10%
ระดับภาษีปกป้องเฉลี่ยสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมลดลงจาก 10% เหลือ 6.6% ในปี 2000 โดยร้อยละ 50 ของสินค้าอุตสาหกรรมหลักอัตราภาษีอยู่ระหว่าง 5-10% อัตราภาษี 0% มีอยู่ร้อยละ 25 ของสินค้านำเข้าสำคัญ ขณะที่อัตราภาษีสูงสุด 20% ได้ปรับลง 4.8% สำหรับสินค้าประเภทปิโตรเลียมต่าง ๆ และผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ภาษีศุลกากรจะค่อย ๆ ลดลง เท่ากันทุกปีและปรับให้เหมาะสมกับระดับปกป้องของประเทศยุโรปอื่น ๆ
ระดับภาษีปกป้องเฉลี่ยสำหรับสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหารลดลงจาก 33.7% เหลือ 24.3% ในปี 2000 และเหลือเฉลี่ย 16.4% ภายในปี 2007 ระดับการปกป้องสูงสุด สำหรับสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหาร กำหนดเป็นเปอร์เซนต์รวมและปริมาณของผลผลิต
การปรับลดภาษีภายใต้ New Customs Act ของโครเอเชียนับเป็นโอกาสที่สินค้าจากไทยจะขยายการส่งออกไปตลาดโครเอเชีย หากไม่ติดปัญหาด้านต้นทุนค่าขนส่ง สำหรับสินค้าที่ไทยส่งออกไปยังโครเอเชียในระยะที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพในการแข่งขันและมีอัตราภาษีนำเข้าต่ำอยู่แล้ว
3. การจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีของโครเอเชีย
3.1 โครเอเชียได้ลงนามข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศในกลุ่มยุโรปด้วยกัน ได้แก่ Bosnia-Herzegovina Slovania และ Macedonia เป็นต้น ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำ Stabilization and Association Agreement เพื่อเตรียมเข้าเป็นสมาชิกของ EU คาดว่าจะมีผลโดยสมบรูณ์ ประมาณปี ค.ศ. 2010
3.2 โครเอเชียได้จัดทำร่างข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างโครเอเชียกับไทยเสนอมาให้ฝ่ายไทยพิจารณาเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2543 จากการพิจารณาในเบื้องต้นเนื้อหาของร่างข้อตกลงนี้ยังเป็นเพียงกรอบกว้างๆ เท่านั้น ภาษาที่ใช้ยังขาดน้ำหนักทางกฎหมายและยังขาดรายละเอียดที่สำคัญหลายประเด็น อาทิ
- การกำหนด Time Frame ของข้อตกลงฯ ในการเปิดเสรี การลดหย่อนภาษีและหลักเกณฑ์การคัดเลือกสินค้าที่จะเปิดเสรี และสินค้าที่อยู่ใน Sensitive List
- การใช้ Safeguards ไม่มีการระบุระยะเวลาว่าเป็นการใช้ชั่วคราวหรือระยะยาวนานเท่าใด และในแง่ของระดับความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ไม่มีการกำหนดว่าเมื่อใดควรใช้ Specific Safeguards (มาตรา 24) หรือ General Safeguards (มาตรา 27)
- เรื่อง Rules of Qrigin ยังไม่มีการกำหนดสัดส่วนของแหล่งกำเนิดว่าจะอยู่ในระดับร้อยละเท่าใดจึงจะถือเป็นสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศผู้ส่งออก (ในข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียนกำหนดสัดส่วนคิดเป็นมูลค่าอย่างน้อยร้อยละ 40 ของมูลค่าสินค้า)
- เรื่องสินค้าเกษตร ร่างข้อตกลงฉบับนี้เน้นการเปิดเสรีในภาคอุตสาหกรรม ในขณะที่การเปิดเสรีในภาคเกษตรยังไม่มีความชัดเจน โดยให้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ Joint Committee ว่าจะมีการเปิดเสรีสินค้าเกษตรหรือไม่อย่างไร
ข้อคิดเห็น
1. จากหลักการตามแนวนโยบายข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคี ซึ่งคณะอนุกรรมการพิจารณาแนวนโยบายข้อตกลงการค้าเสรี ได้นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ครั้งที่ 8/2543 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2543 เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางการดำเนินการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีของไทยนั้น มีข้อหนึ่งได้เขียนไว้ว่า ประเทศไทยพร้อมที่จะทำข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีกับประเทศใดประเทศหนึ่งหรือภูมิภาคต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศหรือภูมิภาคที่สอดคล้องกับหลักเศรษฐศาสตร์
นอกจากนี้ เพื่อให้การเลือกประเทศที่จะจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีสอดคล้องกับมาตรา 24 ภายใต้ GATT และให้ผลประโยชน์สูงสุดภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน ควรมีหลักการทางเศรษฐศาสตร์ดังต่อไปนี้
- ผลของการสร้างสรรค์ทางการค้า (Trade Creation) ต้องสูงกว่าผลของความเบี่ยงเบนทางการค้า (Trade Diversion)
- ประเทศภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีต้องมีถิ่นฐานที่ตั้ง ซึ่งมีค่าระวางสินค้าจากประเทศไทยไปสู่ประเทศนั้นต่ำกว่าหรือเท่ากับมูลค่าภาษีศุลกากรที่จะลดลงภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี
- การเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกันควรพิจารณาถึงมาตรการที่มิใช่ภาษีอื่น ๆ ด้วย
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาสภาพทางภูมิศาสตร์และมูลค่าการค้าที่มีระหว่างไทยกับโครเอเชียแล้ว ไทยอาจจะได้รับประโยชน์จากการทำข้อตกลงการค้าเสรีกับโครเอเชียไม่มากเท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศไทยจะได้รับประโยชน์ด้านการค้าที่เป็น Static gain ไม่มากนัก แต่ควรพิจารณาประโยชน์จากการขยายการค้าและการลงทุนในโครเอเชียและยุโรปตะวันออกต่อไปในอนาคต ซึ่งเป็น Dynamic gains ควบคู่กันไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครเอเชียเป็นศูนย์กระจายสินค้าระหว่างเยอรมนี อิตาลี และประเทศในอาฟริกาด้วย
2. การเพิ่มระดับความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับโครเอเชียจะเป็นโอกาสให้ไทยขยายการค้าไปสู่ตลาดใหม่ ๆ และอาจจะใช้โครเอเชียเป็นฐานในการกระจายสินค้าของไทยไปยังอดีตประเทศสังคมนิยมในแถบนี้ได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ควรขยายความร่วมมือและการลงทุนด้านการท่องเที่ยวซึ่งทั้งไทยและโครเอเชียต่างก็มีศักยภาพในเรื่องนี้
3. จากร่างข้อตกลงฯ ที่ฝ่ายโครเอเชียส่งมาให้ไทยพิจารณาไม่ได้กล่าวถึงการเปิดเสรีสินค้าเกษตรซึ่งเป็นภาคการผลิตที่ไทยมีศักยภาพในการขยายการส่งออก หากมีการเปิดเสรีระหว่างกัน ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มเจรจาไทยควรผลักดันให้โครเอเชียรวมเรื่องการเปิดเสรีสินค้าเกษตรในข้อตกลงฯ ด้วย เพราะภาคเกษตรของโครเอเชียมีขนาดเล็ก และแม้ว่าการผลิตในภาคเกษตรของไทยและโครเอเชียจะคล้ายคลึงกัน แต่โครเอเชียจะผลิตเพื่อบริโภคภายในมากกว่าส่งออก และโครเอเชียกำลังเตรียมตัวเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ทำให้มีความลังเลที่จะเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตร
หากในอนาคตมีการจัดทำความตกลงการค้าระหว่างไทยกับโครเอเชีย และเมื่อโครเอเชียเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปแล้ว ความตกลงฯ ดังกล่าวอาจจะไม่มีผลในทางปฏิบัติ และเท่าที่ผ่านมาประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปยังไม่มีการจัดทำเขตการค้าเสรีประเทศอื่น ๆ เป็นการเฉพาะ
ดังนั้น ในเบื้องต้นอาจจัดทำ CEPT (Common Effective Preferential Tariff) หรือจัดทำในรูปของการอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation)
4. เนื่องจากสภาพทางการค้าระหว่างไทยกับโครเอเชียค่อนข้างแปรปรวน ดังนั้น จึงควรพิจารณาในรายละเอียดให้รอบคอบก่อนการจัดทำการค้าเสรี โดยในเบื้องต้นอาจพิจารณาจัดทำความตกลงทางเศรษฐกิจและการค้าไปก่อน ทั้งนี้เพื่อให้ภาคเอกชนของทั้งสองประเทศมีความคุ้นเคยกันมากขึ้น
สำหรับการผลักดันให้มีเขตการค้าเสรีในระยะต่อไป ควรให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมพิจารณาด้วยว่ามีสินค้าอะไรบ้างที่ไทยมีศักยภาพ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ภาครัฐและภาคเอกชนไปพร้อม ๆ กัน
5. ขณะนี้ไทยและโครเอเชียมีเพียงข้อตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างกัน ซึ่งลงนามไปเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2543 ดังนั้นเพื่อเป็นการยกระดับความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างไทยกับโครเอเชีย ในเบื้องต้นอาจพิจารณาจัดทำข้อตกลงทางเศรษฐกิจและการค้าในรูปของคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee : JTC) ก่อนแล้วจึงค่อยพัฒนาเป็นข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างกันในระยะต่อไป
* CEFTA : Central European Free Trade Agreement (เขตการค้าเสรียุโรปกลาง) ประกอบด้วยสมาชิก 5 ประเทศ คือ ฮังการี โปแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก สาธารณรัฐสโลวัก และสโลเวเนีย
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-
1. ในการเยือนสาธารณรัฐโครเอเชียของนายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระหว่างวันที่ 1-3 มิถุนายน 2543 ได้มีการหารือแนวคิดในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับโครเอเชีย และเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2543 รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของโครเอเชียได้เข้าพบหารือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ขอทราบความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าว
2. ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ครั้งที่ 6/2543 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2543 มีความเห็นว่าการจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับโครเอเชียจะทำให้ไทยมีโอกาสขยายการค้าเข้าไปใน CEFTA* และสหภาพยุโรป จึงได้มอบหมายให้กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับโครเอเซีย
จากการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำเขตการค้าเสรีของไทยกับโครเอเชียมีความเห็นเบื้องต้นว่า เมื่อพิจารณาสภาพทางภูมิศาสตร์และมูลค่าทางการค้าที่มีระหว่างกันแล้ว ไทยอาจจะได้รับประโยชน์จากการทำข้อตกลงการค้าเสรีกับโครเอเซียไม่มากเทาที่ควร แต่อาจได้รับประโยชน์ ( Dynamic Gains ) จากการขยายการค้าและการลงทุนในโครเอเซียและยุโรปตะวันออกต่อไปในอนาคต โดยมีข้อสรุปสำคัญๆ ดังนี้
1. ข้อเท็จจริง
1.1 โครเอเชียเป็นประเทศขนาดเล็กอยู่ในกลุ่มยุโรปตะวันออก ซึ่งแยกตัวออกมาจากยูโกสลาเวีย เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1991 มีจำนวนประชากรประมาณ 5 ล้านคน และเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจเปิด มีการพัฒนาระดับปานกลาง มีข้อจำกัดทางการค้าไม่มาก ปริมาณและมูลค่าการค้ายังมีขนาดเล็ก แต่มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับประเทศพัฒนาในยุโรป
1.2 โครเอเชีย มีอุตสาหกรรมหลักที่สำคัญคือ อุตสาหกรรมต่อเรือและเป็นที่ตั้งของเมืองท่าสำคัญหลายแห่ง เช่น เมือง Rijeka ซึ่งเป็นท่าเรือใหญ่ที่สุดของโครเอเชียเป็นศูนย์ขนถ่ายสินค้า เมือง Kardeljevo เป็นศูนย์กลางขนส่งสินค้าไปยังตอนในของสหพันธรัฐ หรือประเทศใกล้เคียง เช่น ออสเตรีย อิตาลี และแอลบาเนีย นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของประเทศ
1.3 ขณะนี้ โครเอเชียได้จัดทำข้อตกลงการค้าเสรีกับ Macedonia และ Bosnia-Herzegovina และอยู่ระหว่างการสรุปผลการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีกับฮังการีและสมาชิก CEFTA อื่น ๆ ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ทั้งนี้คาดว่าโครเอเชียจะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปประมาณปี ค.ศ. 2010
1.4 ความสัมพันธ์ทางการค้า
(1) ไทยกับโครเอเชียต่างไม่ได้เป็นคู่ค้าที่สำคัญของกันและกัน มีสัดส่วนและมูลค่าการค้าระหว่างกันน้อยมากต่ำกว่าร้อยละ 0.1 ของมูลค่าการส่งออกและนำเข้ารวมของไทย โครเอเชียนับเป็นคู่ค้าลำดับที่ 142 ในด้านการส่งออกของไทย และเป็นคู่ค้าลำดับที่ 132 ในด้านการนำเข้าของไทย โดยไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้ากับโครเอเชียมาโดยตลอดเฉลี่ยประมาณปีละ 3.8 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าออกที่สำคัญของไทยที่ส่งไปยังโครเอเชีย ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋อง ผลิตภัณฑ์ยาง ยานพาหนะอุปกรณ์และส่วนประกอบ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ส่วนสินค้าเข้าที่ไทยนำเข้าจากโครเอเชียที่สำคัญ ได้แก่ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เวชกรรม และเภสัชกรรม
(2) จากการสอบถามผู้ส่งออกของไทยเกี่ยวกับรูปแบบการค้าของไทยกับโครเอเชีย
ได้รับทราบข้อมูลดังนี้
- การค้ากับโครเอเชียส่วนใหญ่เป็นการค้าผ่าน Trader ที่ลอนดอนและออสเตรีย
- การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมหลายรายการเป็นไปตามคำสั่งซื้อจากบริษัทแม่ในญี่ปุ่นและไต้หวัน อาทิ ยานพาหนะและผลิตภัณฑ์ยาง
- การส่งออกสิ่งทอและเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่ผู้นำเข้าจากโครเอเชียเดินทางเข้ามาติดต่อกับผู้ส่งออกของไทยโดยตรง
ในระยะที่ผ่านมาโครเอเชียมีคำสั่งซื้อค่อนข้างน้อย เพราะไม่คุ้มกับค่าขนส่งเมื่อเทียบกับการสั่งซื้อจากประเทศอื่น ๆ ในยุโรปด้วย
1.5 ระบบเศรษฐกิจของโครเอเชีย
- โครเอเชียมีระบบเศรษฐกิจเป็นระบบเปิด แต่มีมาตรการที่เข้มงวดต่อการนำเข้าสินค้าที่จะมีผลกระทบต่อผู้บริโภค โดยจะมีหน่วยงานทำการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าแต่ละประเภทไว้ อาทิ สินค้าอาหารและผลิตภัณฑ์เกษตรกรรม รถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ ซีเมนต์ สิ่งทอ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ไฟฟ้า ดังนั้น สินค้าที่จะส่งเข้าไปจำหน่ายจึงต้องมีคุณภาพตรงตามมาตรฐานที่โครเอเชียกำหนด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมาตรฐานที่สอดคล้องกับสหภาพยุโรป การขยายตลาดส่งออกไปโครเอเชียจึงต้องคำนึงถึงมาตรฐานเหล่านี้ด้วย
- โครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยและโครเอเชียมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่ทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยมากกว่าโครเอเชีย ขณะที่ภาคบริการขนส่งและการก่อสร้างจะมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโครเอเชียมากกว่าไทย รายได้หลักของโครเอเชียมาจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ดังนั้นการพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศของโครเอเชียจึงน้อยกว่าไทย
1.6 มาตรการทางการค้า
(1) มาตรการภาษี
ภายใต้ The Customs Act, The Customs Tariff Act, The Custom Administration of Republic of Croatia Act และกฎหมายศุลกากรฉบับใหม่ที่เริ่มใช้บังคับเมื่อ 1 กรกฎาคม 2539 โครเอเซียมีการจัดเก็บภาษีนำเข้า (Preferential Tariffs) อัตราระหว่าง 0-30% โดยขึ้นกับชนิดสินค้า ระดับการแปรรูป และภาวะการผลิตสินค้าชนิดเดียวกันภายในประเทศ อัตราภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 15-17% และอัตราเฉลี่ยทุกสินค้าที่ระดับ 10.64% ซึ่งจำแนกออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ คือ
- วัตถุดิบ (Raw materials) ที่ไม่มีการผลิตภายในประเทศได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า
- สินค้ากึ่งสำเร็จรูปและสินค้าเพื่อการผลิต (Semi-manufactured and intermediate products) อัตราภาษีร้อยละ 5
- สินค้าสำเร็จรูป (Final products) ที่ไม่มีการผลิตภายในประเทศ อัตราภาษีร้อยละ 20
- สินค้าสำเร็จรูป (Final products) ที่มีการผลิตภายในประเทศ อัตราภาษีร้อยละ 20-25
- สินค้าที่นำเข้าจากประเทศที่ไม่ได้รับ Preferential Tariff อัตราภาษีร้อยละ 75
นอกจากนี้ สินค้าเกษตรและอาหารที่นำเข้ายังมีการเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ (Variable levies) ที่มีอัตราแตกต่างกัน ตามปริมาณการนำเข้า (Quantitative units) และฤดูกาลผลิต (Seasonal products) ซึ่งรัฐบาลจะประกาศเป็นคราว ๆ ไป
(2) มาตรการที่มิใช่ภาษี
ขณะนี้โครเอเชียมีการใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีหลายมาตรการ เช่น
(2.1) โควตานำเข้า (Import Quata) โครเอเชียจัดสรรโควตาโดยวิธีการประมูล (Public Tender) โดยประมาณร้อยละ 1 ของสินค้าที่นำเข้าเป็นสินค้าควบคุมภายใต้โควตา ทั้งนี้ โครเอเชียมีกำหนดยกเลิกโควตานำเข้าสินค้าบางรายการภายหลังการเข้าเป็นสมาชิก WTO
(2.2) ใบอนุญาตนำเข้า (Import licenses) โครเอเชียกำหนดให้การนำเข้าสินค้ายุทธปัจจัย สินค้าที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย และผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลกระทบต่อโอโซน จำเป็นต้องได้รับใบอนุญาตนำเข้าจากกระทรวงเศรษฐกิจก่อนที่จะมีการนำเข้า
นอกจากนี้ยังมีกฎระเบียบเกี่ยวกับการใช้รถยนต์ไว้เป็นการเฉพาะ โดยมีการห้ามนำเข้ารถยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกินกว่า 7 ปี ซึ่งถือเป็นรถยนต์ที่มีสภาพทางเทคนิคไม่เหมาะสมต่อการใช้งาน (Technically Unit)
(2.3) มาตรฐานและการตรวจสอบสินค้านำเข้า โครเอเชียมีกฎหมายมาตรฐานสินค้า ซึ่งมีสาระสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกับสหภาพยุโรป โดยมีการจัดตั้งหน่วยงานตรวจสอบและรับรองคุณภาพสินค้า มีการกำหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัยภายใต้ Law on Safety at work.
สำหรับการนำเข้ารถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ ซีเมนต์ สิ่งทอ และของใช้ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพ ณ ด่านที่นำเข้า สินค้าบางชนิดยังต้องผ่านการตรวจสอบอนามัย เช่น Sanitary, Phytopathologic หรือ Veterinary Control อีกด้วย
2. โครเอเชียเข้าเป็นสมาชิก WTO เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 เป็นลำดับที่ 140 ทำให้มีการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบด้านการค้าระหว่างประเทศตามกรอบของ WTO โดยเฉพาะการเปิดเสรีทางการค้า การอำนวยความสะดวกทางการค้า การปรับมาตรการด้านภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษี ทำให้ไทยมีส่วนได้รับประโยชน์โดยทันที
นอกจากนี้ โครเอเชียได้ทำการปรับปรุงกฎหมายศุลกากร (New Customs Act) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ปี 2000 โดยจะปรับลดอัตราภาษีลงตามพันธกรณีระหว่างปี 2000 ถึง 2005 (จะลดภาษีลงในอัตราเท่ากันทุกปี) ทั้งนี้ สินค้าอุตสาหกรรมที่มีความอ่อนไหวต่อผลกระทบมากที่สุด (Most Sensitive) อัตราภาษีเฉลี่ยสุดท้ายเหลือที่ 5% จากเดิม 10%
ระดับภาษีปกป้องเฉลี่ยสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมลดลงจาก 10% เหลือ 6.6% ในปี 2000 โดยร้อยละ 50 ของสินค้าอุตสาหกรรมหลักอัตราภาษีอยู่ระหว่าง 5-10% อัตราภาษี 0% มีอยู่ร้อยละ 25 ของสินค้านำเข้าสำคัญ ขณะที่อัตราภาษีสูงสุด 20% ได้ปรับลง 4.8% สำหรับสินค้าประเภทปิโตรเลียมต่าง ๆ และผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ภาษีศุลกากรจะค่อย ๆ ลดลง เท่ากันทุกปีและปรับให้เหมาะสมกับระดับปกป้องของประเทศยุโรปอื่น ๆ
ระดับภาษีปกป้องเฉลี่ยสำหรับสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหารลดลงจาก 33.7% เหลือ 24.3% ในปี 2000 และเหลือเฉลี่ย 16.4% ภายในปี 2007 ระดับการปกป้องสูงสุด สำหรับสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหาร กำหนดเป็นเปอร์เซนต์รวมและปริมาณของผลผลิต
การปรับลดภาษีภายใต้ New Customs Act ของโครเอเชียนับเป็นโอกาสที่สินค้าจากไทยจะขยายการส่งออกไปตลาดโครเอเชีย หากไม่ติดปัญหาด้านต้นทุนค่าขนส่ง สำหรับสินค้าที่ไทยส่งออกไปยังโครเอเชียในระยะที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพในการแข่งขันและมีอัตราภาษีนำเข้าต่ำอยู่แล้ว
3. การจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีของโครเอเชีย
3.1 โครเอเชียได้ลงนามข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศในกลุ่มยุโรปด้วยกัน ได้แก่ Bosnia-Herzegovina Slovania และ Macedonia เป็นต้น ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำ Stabilization and Association Agreement เพื่อเตรียมเข้าเป็นสมาชิกของ EU คาดว่าจะมีผลโดยสมบรูณ์ ประมาณปี ค.ศ. 2010
3.2 โครเอเชียได้จัดทำร่างข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างโครเอเชียกับไทยเสนอมาให้ฝ่ายไทยพิจารณาเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2543 จากการพิจารณาในเบื้องต้นเนื้อหาของร่างข้อตกลงนี้ยังเป็นเพียงกรอบกว้างๆ เท่านั้น ภาษาที่ใช้ยังขาดน้ำหนักทางกฎหมายและยังขาดรายละเอียดที่สำคัญหลายประเด็น อาทิ
- การกำหนด Time Frame ของข้อตกลงฯ ในการเปิดเสรี การลดหย่อนภาษีและหลักเกณฑ์การคัดเลือกสินค้าที่จะเปิดเสรี และสินค้าที่อยู่ใน Sensitive List
- การใช้ Safeguards ไม่มีการระบุระยะเวลาว่าเป็นการใช้ชั่วคราวหรือระยะยาวนานเท่าใด และในแง่ของระดับความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ไม่มีการกำหนดว่าเมื่อใดควรใช้ Specific Safeguards (มาตรา 24) หรือ General Safeguards (มาตรา 27)
- เรื่อง Rules of Qrigin ยังไม่มีการกำหนดสัดส่วนของแหล่งกำเนิดว่าจะอยู่ในระดับร้อยละเท่าใดจึงจะถือเป็นสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศผู้ส่งออก (ในข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียนกำหนดสัดส่วนคิดเป็นมูลค่าอย่างน้อยร้อยละ 40 ของมูลค่าสินค้า)
- เรื่องสินค้าเกษตร ร่างข้อตกลงฉบับนี้เน้นการเปิดเสรีในภาคอุตสาหกรรม ในขณะที่การเปิดเสรีในภาคเกษตรยังไม่มีความชัดเจน โดยให้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ Joint Committee ว่าจะมีการเปิดเสรีสินค้าเกษตรหรือไม่อย่างไร
ข้อคิดเห็น
1. จากหลักการตามแนวนโยบายข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคี ซึ่งคณะอนุกรรมการพิจารณาแนวนโยบายข้อตกลงการค้าเสรี ได้นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ครั้งที่ 8/2543 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2543 เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางการดำเนินการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีของไทยนั้น มีข้อหนึ่งได้เขียนไว้ว่า ประเทศไทยพร้อมที่จะทำข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีกับประเทศใดประเทศหนึ่งหรือภูมิภาคต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศหรือภูมิภาคที่สอดคล้องกับหลักเศรษฐศาสตร์
นอกจากนี้ เพื่อให้การเลือกประเทศที่จะจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีสอดคล้องกับมาตรา 24 ภายใต้ GATT และให้ผลประโยชน์สูงสุดภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน ควรมีหลักการทางเศรษฐศาสตร์ดังต่อไปนี้
- ผลของการสร้างสรรค์ทางการค้า (Trade Creation) ต้องสูงกว่าผลของความเบี่ยงเบนทางการค้า (Trade Diversion)
- ประเทศภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีต้องมีถิ่นฐานที่ตั้ง ซึ่งมีค่าระวางสินค้าจากประเทศไทยไปสู่ประเทศนั้นต่ำกว่าหรือเท่ากับมูลค่าภาษีศุลกากรที่จะลดลงภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี
- การเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกันควรพิจารณาถึงมาตรการที่มิใช่ภาษีอื่น ๆ ด้วย
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาสภาพทางภูมิศาสตร์และมูลค่าการค้าที่มีระหว่างไทยกับโครเอเชียแล้ว ไทยอาจจะได้รับประโยชน์จากการทำข้อตกลงการค้าเสรีกับโครเอเชียไม่มากเท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศไทยจะได้รับประโยชน์ด้านการค้าที่เป็น Static gain ไม่มากนัก แต่ควรพิจารณาประโยชน์จากการขยายการค้าและการลงทุนในโครเอเชียและยุโรปตะวันออกต่อไปในอนาคต ซึ่งเป็น Dynamic gains ควบคู่กันไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครเอเชียเป็นศูนย์กระจายสินค้าระหว่างเยอรมนี อิตาลี และประเทศในอาฟริกาด้วย
2. การเพิ่มระดับความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับโครเอเชียจะเป็นโอกาสให้ไทยขยายการค้าไปสู่ตลาดใหม่ ๆ และอาจจะใช้โครเอเชียเป็นฐานในการกระจายสินค้าของไทยไปยังอดีตประเทศสังคมนิยมในแถบนี้ได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ควรขยายความร่วมมือและการลงทุนด้านการท่องเที่ยวซึ่งทั้งไทยและโครเอเชียต่างก็มีศักยภาพในเรื่องนี้
3. จากร่างข้อตกลงฯ ที่ฝ่ายโครเอเชียส่งมาให้ไทยพิจารณาไม่ได้กล่าวถึงการเปิดเสรีสินค้าเกษตรซึ่งเป็นภาคการผลิตที่ไทยมีศักยภาพในการขยายการส่งออก หากมีการเปิดเสรีระหว่างกัน ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มเจรจาไทยควรผลักดันให้โครเอเชียรวมเรื่องการเปิดเสรีสินค้าเกษตรในข้อตกลงฯ ด้วย เพราะภาคเกษตรของโครเอเชียมีขนาดเล็ก และแม้ว่าการผลิตในภาคเกษตรของไทยและโครเอเชียจะคล้ายคลึงกัน แต่โครเอเชียจะผลิตเพื่อบริโภคภายในมากกว่าส่งออก และโครเอเชียกำลังเตรียมตัวเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ทำให้มีความลังเลที่จะเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตร
หากในอนาคตมีการจัดทำความตกลงการค้าระหว่างไทยกับโครเอเชีย และเมื่อโครเอเชียเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปแล้ว ความตกลงฯ ดังกล่าวอาจจะไม่มีผลในทางปฏิบัติ และเท่าที่ผ่านมาประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปยังไม่มีการจัดทำเขตการค้าเสรีประเทศอื่น ๆ เป็นการเฉพาะ
ดังนั้น ในเบื้องต้นอาจจัดทำ CEPT (Common Effective Preferential Tariff) หรือจัดทำในรูปของการอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation)
4. เนื่องจากสภาพทางการค้าระหว่างไทยกับโครเอเชียค่อนข้างแปรปรวน ดังนั้น จึงควรพิจารณาในรายละเอียดให้รอบคอบก่อนการจัดทำการค้าเสรี โดยในเบื้องต้นอาจพิจารณาจัดทำความตกลงทางเศรษฐกิจและการค้าไปก่อน ทั้งนี้เพื่อให้ภาคเอกชนของทั้งสองประเทศมีความคุ้นเคยกันมากขึ้น
สำหรับการผลักดันให้มีเขตการค้าเสรีในระยะต่อไป ควรให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมพิจารณาด้วยว่ามีสินค้าอะไรบ้างที่ไทยมีศักยภาพ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ภาครัฐและภาคเอกชนไปพร้อม ๆ กัน
5. ขณะนี้ไทยและโครเอเชียมีเพียงข้อตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างกัน ซึ่งลงนามไปเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2543 ดังนั้นเพื่อเป็นการยกระดับความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างไทยกับโครเอเชีย ในเบื้องต้นอาจพิจารณาจัดทำข้อตกลงทางเศรษฐกิจและการค้าในรูปของคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee : JTC) ก่อนแล้วจึงค่อยพัฒนาเป็นข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างกันในระยะต่อไป
* CEFTA : Central European Free Trade Agreement (เขตการค้าเสรียุโรปกลาง) ประกอบด้วยสมาชิก 5 ประเทศ คือ ฮังการี โปแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก สาธารณรัฐสโลวัก และสโลเวเนีย
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-