ค่าเงินบาทครึ่งปีแรกเคลื่อนไหว อยู่ระหว่าง 37.35 — 39.06 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยเงินบาทได้ปรับตัวอ่อนลงอย่างต่อเนื่อง สำหรับค่าเงินบาทในไตรมาสที่สองมีค่าเฉลี่ย 37.97 38.95 และ 39.06 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนเมษายน พฤษภาคม และมิถุนายน ตามลำดับ
โดยในช่วงไตรมาสแรก ค่าเงินบาทโน้มตัวอ่อนลงเล็กน้อย โดยมีสาเหตุจากประเด็นความล่าช้าของการปรับโครงสร้างภาคการเงินแบบเบ็ดเสร็จของไทย ซึ่งเป็นปัจจัยถ่วงต่อการ ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ตลอดจนความคืบหน้าในการปรับโครงสร้างหนี้ไม่มีความต่อเนื่อง ได้ส่งผลต่อความมั่นใจของ นักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับเงินบาทได้รับผลกระทบเชิงลบจากกรณีบริษัท TPI ซึ่งเป็นลูกหนี้รายใหญ่ของไทย โดยการเจรจาระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ไม่ประสบความสำเร็จ ในช่วงแรกและได้ส่งผลกระทบต่อ sentiment ของค่าเงินบาท นอกจากนี้ ปัจจัยเรื่องการปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยโดยที่ MSCI (Morgan Stanley Capital International) ได้ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทย และข่าวที่ผู้บริหาร Tiger Fund อาจยุบ Jaguar Fund ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในตลาดเกิดใหม่ (emerging markets) และประสบปัญหาขาดทุนเป็นระยะเวลา 3 ปี นอกจากนี้ การอ่อนตัวของค่าเงินสำคัญ ในภูมิภาคเป็นระยะ ยังได้ก่อให้เกิดแรงกดดัน ต่อค่าเงินบาทในช่วงไตรมาสแรกของปี
ในไตรมาสที่สอง ค่าเงินบาทยังคงปรับตัวอ่อนลงอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในเดือนพฤษภาคม และปลายเดือนมิถุนายน ซึ่งเงินบาทได้ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ปัจจัยภายในประเทศ ที่มีผลต่อเงินบาทได้แก่การซื้อดอลลาร์ สรอ. ของเอกชนเพื่อเตรียมชำระหนี้ในช่วงกลางปี โดยการซื้อดังกล่าวเป็นการ เร่งซื้อเนื่องจากภาคธุรกิจมี sentiment เชิงลบต่อค่าเงินบาท ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการประกาศภาระหนี้ต่างประเทศจากการสำรวจใหม่ ทำให้ตัวเลขหนี้ต่างประเทศของไทยเพิ่มขึ้นประมาณ 20 พันล้านดอลลาร์ สรอ. นอกจากนี้ ตลาดยังเชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะไม่เข้าแทรกแซงค่าเงินบาท เว้นแต่ค่าเงินบาทมีความผันผวนมากเกินไป ซึ่งทำให้ตลาดคาดว่าค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะปรับตัวอ่อนลงได้อีก นอกจากนี้ การปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยยังคงเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อค่าเงินบาท ส่วนปัจจัยภายนอกประเทศ ที่มีผลต่อเงินบาทได้แก่ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างไทยและสหรัฐฯ ที่เพิ่มมากขึ้น โดยธนาคารสหรัฐฯ ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้วทั้งสิ้น 6 ครั้ง นับตั้งแต่ปี 2542 ประกอบกับมีการอ่อนตัวของค่าเงินบางสกุล ในภูมิภาค โดยเฉพาะ รูเปียอินโดนีเซีย และ เปโซฟิลิปปินส์ ซึ่งได้อ่อนค่าลงอย่างมาก
กล่าวโดยสรุป ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนลงในช่วงครึ่งปีแรกของปี โดยมีปัจจัย ทั้งภายในและภายนอกประเทศมากระทบ อย่างไรก็ตาม การอ่อนตัวของเงินบาท โดยเฉพาะในปลายไตรมาสที่สองยังคงเป็นไปในระดับที่น้อยกว่าการอ่อนตัวของค่าเงิน บางสกุลในภูมิภาค ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ไทยยังคงเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/ทีมวิเคราะห์การเงิน--
-ยก-
โดยในช่วงไตรมาสแรก ค่าเงินบาทโน้มตัวอ่อนลงเล็กน้อย โดยมีสาเหตุจากประเด็นความล่าช้าของการปรับโครงสร้างภาคการเงินแบบเบ็ดเสร็จของไทย ซึ่งเป็นปัจจัยถ่วงต่อการ ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ตลอดจนความคืบหน้าในการปรับโครงสร้างหนี้ไม่มีความต่อเนื่อง ได้ส่งผลต่อความมั่นใจของ นักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับเงินบาทได้รับผลกระทบเชิงลบจากกรณีบริษัท TPI ซึ่งเป็นลูกหนี้รายใหญ่ของไทย โดยการเจรจาระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ไม่ประสบความสำเร็จ ในช่วงแรกและได้ส่งผลกระทบต่อ sentiment ของค่าเงินบาท นอกจากนี้ ปัจจัยเรื่องการปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยโดยที่ MSCI (Morgan Stanley Capital International) ได้ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทย และข่าวที่ผู้บริหาร Tiger Fund อาจยุบ Jaguar Fund ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในตลาดเกิดใหม่ (emerging markets) และประสบปัญหาขาดทุนเป็นระยะเวลา 3 ปี นอกจากนี้ การอ่อนตัวของค่าเงินสำคัญ ในภูมิภาคเป็นระยะ ยังได้ก่อให้เกิดแรงกดดัน ต่อค่าเงินบาทในช่วงไตรมาสแรกของปี
ในไตรมาสที่สอง ค่าเงินบาทยังคงปรับตัวอ่อนลงอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในเดือนพฤษภาคม และปลายเดือนมิถุนายน ซึ่งเงินบาทได้ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ปัจจัยภายในประเทศ ที่มีผลต่อเงินบาทได้แก่การซื้อดอลลาร์ สรอ. ของเอกชนเพื่อเตรียมชำระหนี้ในช่วงกลางปี โดยการซื้อดังกล่าวเป็นการ เร่งซื้อเนื่องจากภาคธุรกิจมี sentiment เชิงลบต่อค่าเงินบาท ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการประกาศภาระหนี้ต่างประเทศจากการสำรวจใหม่ ทำให้ตัวเลขหนี้ต่างประเทศของไทยเพิ่มขึ้นประมาณ 20 พันล้านดอลลาร์ สรอ. นอกจากนี้ ตลาดยังเชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะไม่เข้าแทรกแซงค่าเงินบาท เว้นแต่ค่าเงินบาทมีความผันผวนมากเกินไป ซึ่งทำให้ตลาดคาดว่าค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะปรับตัวอ่อนลงได้อีก นอกจากนี้ การปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยยังคงเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อค่าเงินบาท ส่วนปัจจัยภายนอกประเทศ ที่มีผลต่อเงินบาทได้แก่ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างไทยและสหรัฐฯ ที่เพิ่มมากขึ้น โดยธนาคารสหรัฐฯ ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้วทั้งสิ้น 6 ครั้ง นับตั้งแต่ปี 2542 ประกอบกับมีการอ่อนตัวของค่าเงินบางสกุล ในภูมิภาค โดยเฉพาะ รูเปียอินโดนีเซีย และ เปโซฟิลิปปินส์ ซึ่งได้อ่อนค่าลงอย่างมาก
กล่าวโดยสรุป ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนลงในช่วงครึ่งปีแรกของปี โดยมีปัจจัย ทั้งภายในและภายนอกประเทศมากระทบ อย่างไรก็ตาม การอ่อนตัวของเงินบาท โดยเฉพาะในปลายไตรมาสที่สองยังคงเป็นไปในระดับที่น้อยกว่าการอ่อนตัวของค่าเงิน บางสกุลในภูมิภาค ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ไทยยังคงเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/ทีมวิเคราะห์การเงิน--
-ยก-