วัตถุประสงค์หลักของสัญญาการปรับโครงสร้างหนี้ ประโยชน์ที่ลูกหนี้ — เจ้าหนี้ จะได้รับจากการเข้าร่วมลงนามในสัญญา หน้าที่สำคัญของลูกหนี้ — เจ้าหนี้ ขั้นตอนการทำสัญญาระหว่างลูกหนี้ และเจ้าหนี้ว่าด้วย
1. กรรมวิธีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
สิ่งที่ลูกหนี้ควรทราบ
1. วัตถุประสงค์หลักของสัญญาการปรับโครงสร้างหนี้
วัตถุประสงค์หลักที่สมาคมธนาคารไทย สมาคมบริษัทเงินทุน และสมาคมธนาคารต่างชาติได้ร่วมกันร่าง "สัญญาระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ในการปรับโครงสร้างหนี้" และ "สัญญาระหว่างเจ้าหนี้…." เพื่อกำหนดกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และช่วยแก้ปัญหาหนี้เสียในระบบมีดังนี้
(1) ลูกหนี้แต่ละรายมีข้อผูกพันที่จะต้องให้ข้อมูลแก่เจ้าหนี้ จัดเตรียมแผนธุรกิจเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และจัดทำตารางเวลาการปรับโครงสร้างหนี้ที่แน่นอน
(2) แก้ไขปัญหาหนี้เสีย (NPL- หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้) ด้วยการวิเคราะห์ และประเมินสถานะและความอยู่รอดของธุรกิจลูกหนี้แต่ละรายโดยเร็ว
(3) เจ้าหนี้มีข้อผูกพันที่จะกำหนดวิธีการในการดำเนินการกับลูกหนี้ที่ไม่ให้ความร่วมมือ หรือมีธุรกิจที่ไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
(4) ลูกหนี้มีการตกลงขั้นต้นในเรื่องการเปิดเผยข้อมูล การกำหนดค่าใช้จ่ายและเงื่อนไขการปฏิบัติของลูกหนี้
(5) ในกรณีที่มีข้อขัดแย้งระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ มีทางเลือกให้มีการกำหนดผู้ไกล่เกลี่ย (mediator) ทำหน้าที่พิจารณาตัดสินหรือไกล่เกลี่ยลูกหนี้ และ/หรือเจ้าหนี้ โดยลูกหนี้และเจ้าหนี้ไม่มีข้อผูกมัดที่จะต้องปฏิบัติตามคำชี้แนะของผู้ไกล่เกลี่ย
(6) มีการกำหนดประเภทข้อมูลด้านธุรกิจและการเงินที่จำเป็นในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้รวมทั้งตารางเวลาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ชัดเจน
(7) มี "สัญญาระหว่างเจ้าหนี้….." ที่จะส่งเสริมแผนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหนี้ส่วนใหญ่ตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายและแผนที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะผู้ชี้ขาด (Executive Decision Panel) ในกรณีที่แผนไม่ได้รับความเห็นชอบตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายแต่ได้รับความเห็นชอบอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนเจ้าหนี้ หรือยอดหนี้คงค้าง
สาระสำคัญของสัญญาระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้
1. ลูกหนี้ และเจ้าหนี้หรือคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.) สามารถเรียกประชุมระหว่างเจ้าหนี้ เพื่อให้เริ่มการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้สำหรับลูกหนี้ที่อยู่ในโครงการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามสัญญา
2. ลูกหนี้จะต้องลงนามในสัญญาระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ก่อนการประชุมระหว่างเจ้าหนี้ครั้งแรก มิฉะนั้นเจ้าหนี้จะฟ้องล้มละลายหรือฟ้องบังคับหลักประกัน
3. กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ จะต้องมีการแต่งตั้งแกนนำและเจ้าหน้าที่ให้รับผิดชอบการจัดการและประสานงานให้การปรับโครงสร้างหนี้เป็นไปตามขั้นตอนและตารางเวลาที่กำหนด
4. สำหรับลูกหนี้ มีการตกลงขั้นต้นในเรื่องของการเปิดเผยข้อมูล การกำหนดค่าใช้จ่ายและเงื่อนไขการปฏิบัติของลูกหนี้
5. กำหนดให้ลูกหนี้จัดเตรียมและนำส่งข้อมูลขั้นต้นภายใน 7 วัน และข้อมูลอื่นรวมถึงร่างแผนการปรับโครงสร้างหนี้ของธุรกิจ ภายใน 2 เดือน นับจากการประชุมปรับโครงสร้างหนี้ระหว่างเจ้าหนี้ครั้งแรก
6. ในกรณีที่มีข้อขัดแย้งระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ อาจกำหนดให้มีผู้ไกล่เกลี่ยซึ่งเป็นบุคคลที่สามเพื่อพิจารณาตัดสินหรือไกล่เกลี่ยลูกหนี้ และ/หรือเจ้าหนี้
7. หากมีการกระทำที่ถือว่าเป็นการผิดสัญญาเจ้าหน้าที่มียอดหนี้รวมร้อยละ 26 ของยอดหนี้คงค้างทั้งหมด สามารถส่งหนังสือแจ้งลูกหนี้ถึงการผิดสัญญาและยกเลิกสัญญาได้
8. เจ้าหนี้สามารถฟ้องล้มละลาย หรือปรับโครงสร้างองค์กรและการบริหารใหม่ได้ถ้าลูกหนี้มีการกระทำที่ผิดสัญญาถึง 3 ครั้ง
9. ในกรณีที่เจ้าหนี้ไม่ให้ความเห็นชอบแผนที่ได้มีการเสนอ หรือไม่ให้ความเห็นชอบแผนซึ่งได้มีการยอมรับแล้ว เจ้าหนี้จะถูกปรับสูงสุดไม่เกินร้อยละ 10 ของยอดหนี้คงค้างและไม่ต่ำกว่า 500,000 บาท
สาระสำคัญของสัญญาระหว่างเจ้าหนี้
การลงคะแนนเพื่อให้ความเห็นชอบแผนการปรับโครงสร้างหนี้ของธุรกิจตามกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ระหว่างเจ้าหนี้ ได้ปรับปรุงให้สอดคล้องกับสัญญาการปรับโครงสร้างหนี้ ระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ สรุปได้ดังนี้
1. กำหนดให้เจ้าหนี้ระบุเหตุผลที่คัดค้านหรือปฏิเสธไม่ยอมรับแผนปรับโครงสร้างหนี้ให้ชัดเจน
2. กำหนดให้เจ้าหนี้ที่ได้ลงนามในสัญญาต้องดำเนินการส่งเสริมแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่เจ้าหนี้ได้มีมติเห็นชอบแล้ว (มติตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกฎหมายล้มละลาย)
3. ในกรณีที่แผนปรับโครงสร้างหนี้ที่เสนอไม่ได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหนี้ในสัดส่วนที่สูงพอที่จะถือเป็นมติเห็นชอบ (สัดส่วนตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย) แต่ได้รับความเห็นชอบอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนเจ้าหนี้หรือยอดหนี้คงค้างในสัญญาคณะผู้ชี้ขาด สามารถตัดสินแผนที่เสนอใหม่ได้ โดยมตินั้นผูกมัดให้เจ้าหนี้ที่ลงนามในสัญญาต้องปฏิบัติตามมติของคณะผู้ชี้ขาดดังกล่าว
4. คณะผู้ชี้ขาดสามารถตัดสินแผนเพียงว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบเท่านั้น
5. เจ้าหนี้จะต้องดำเนินการตามกฎหมายกับลูกหนี้ทันทีถ้าแผนที่เสนอใหม่ (หลังจากแก้ไขแผน มาแล้วหนึ่งครั้ง) ไม่ผ่านความเห็นชอบจากเจ้าหนี้หรือคณะผู้ชี้ขาด
6. ในกรณีที่เจ้าหนี้ผิดสัญญา (ซึ่งการผิดสัญญาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้) เจ้าหนี้จะถูกปรับไม่เกินร้อยละ 50 ของยอดหนี้คงค้าง ทั้งนี้ จำนวนถูกปรับต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท
7. ในกรณีที่ลูกหนี้มียอดคงค้าง (เงินต้น) เกินหนึ่งพันล้านบาท เจ้าหนี้สามารถเลือกที่จะไม่ร่วมกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ ตามสัญญานี้ได้หากได้แจ้งความจำนงภายใน 10 วันทำการนับแต่ได้รับแจ้งจาก คปน. เสนอแผนให้คณะผู้ชี้ขาดพิจารณาอนุมัติแล้ว
2. ประโยชน์ที่ลูกหนี้ - เจ้าหนี้ จะได้รับจากการเข้าร่วมลงนามในสัญญา
ลูกหนี้
- ลูกหนี้จะเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้สถาบันการเงินต่าง ๆ สำเร็จเร็วขึ้น และสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
- เจรจาติดต่อกับเจ้าหนี้สถาบันการเงินต่าง ๆ ได้สะดวกมากขึ้น โดยสามารถเจรจาผ่านทางสถาบันแกนนำหรือ คณะกรรมการเจ้าหนี้ที่ได้รับการแต่งตั้งได้
- ลูกหนี้จะยังไม่ต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราที่ผิดนัดชำระหนี้ ในระหว่างการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ นับจากวันที่ลงนามเข้าสู่กระบวนการตามสัญญา และถ้าได้ตกลงแผนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เรียบร้อยแล้ว ลูกหนี้ก็จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดดังกล่าว
- ในกรณีที่การเจรจาระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้มีข้อขัดแย้งเกิดขึ้นจะมีผู้ไกล่เกลี่ยเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยให้การเจรจาสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว
- ข้อมูลต่าง ๆ ที่ลูกหนี้ได้จัดเตรียมขึ้นให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์สถานภาพปัจจุบัน และความสามารถในการดำเนินธุรกิจของลูกหนี้นั้น จะได้รับการดูแลและเก็บเป็นความลับ
- ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้นั้น ผู้บริหารของลูกหนี้ยังคงอยู่ในตำแหน่งของตนต่อไปและมีหน้าที่รับผิดชอบตามที่เจ้าหนี้ส่วนใหญ่เห็นสมควร
- ในกรณีที่เจ้าหนี้สถาบันการเงินเห็นสมควรให้มีการแปลงหนี้เป็นทุนเพื่อให้กิจการของลูกหนี้สามารถดำรงอยู่ได้ ถ้าผู้ถือหุ้นปัจจุบันเป็นลูกหนี้ที่ได้ดำเนินธุรกิจมาโดยสุจริต ก็สามารถถือหุ้นบางส่วนในบริษัทของลูกหนี้ได้
เจ้าหนี้
- เจ้าหนี้มีโอกาสได้รับชำระหนี้อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม รวมทั้งจะได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าการฟ้องบังคับชำระบัญชีของลูกหนี้
- เจ้าหนี้ทุกรายจะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม และยุติธรรมทั้งเจ้าหนี้ในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งรวมทั้งเจ้าหนี้ที่มีหลักประกัน และไม่มีหลักประกันด้วย
- เจ้าหนี้จะมีผู้ประสานงานให้กระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่นและรวดเร็วขึ้น
- เจ้าหนี้สามารถทราบข้อมูล สถานะการเงิน รวมทั้งภาระหนี้ปัจจุบันทั้งหมดที่ถูกต้องของลูกหนี้ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสมในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
- เจ้าหนี้จะทราบขั้นตอนและกำหนดเวลาในการพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้อย่างเป็นระบบและมีแนวทางปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน
- เจ้าหนี้จะมีแนวทางปฏิบัติร่วมกันในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ให้ความร่วมมือในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
- เจ้าหนี้มีความมั่นใจได้ว่า สิ่งที่ได้ตกลงกันก่อนที่เจ้าหนี้บางรายจะขายหนี้ให้กับผู้ลงทุนรายใหม่นั้นจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือไม่มีการตกลงเจรจาใหม่อีก
เจ้าหนี้มีความมั่นใจได้ว่า ถ้าการอนุมัติแผนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้นั้นมีมติที่ไม่เพียงพอ แต่มีเจ้าหนี้เห็นด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของยอดคงค้างหนี้ทั้งหมดหรือไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียง แผนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้นี้ยังได้รับการทบทวนพิจารณาใหม่จากคณะกรรมการที่เป็นกลางซึ่งได้รับการเสนอชื่อจากสมาคมเจ้าหนี้และได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
3. หน้าที่สำคัญของลูกหนี้ - เจ้าหนี้
ลูกหนี้
(1) ลงนามเอกสารผูกพันตามสัญญา (Debtor Accession) โดยกรรมการ/ผู้บริหารที่มี อำนาจในการผูกพันบริษัท หรือเจ้าหนี้รายบุคคลและส่งให้ คปน. หรือเจ้าหนี้
(2) ลูกหนี้จัดส่งข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรายชื่อ ที่อยู่ และสถานที่ติดต่อของเจ้าหนี้ที่มีอยู่ทั้งหมดให้คปน. หรือเจ้าหนี้รายใดที่เรียกประชุมเป็นลายลักษณ์อักษร ข้อมูลเบื้องต้นให้รวมถึงจำนวนหนี้คงค้างที่มีอยู่กับเจ้าหนี้แต่ละราย
(3) ลูกหนี้แจ้งกำหนดการปรับปรุงแก่เจ้าหนี้ทุกรายและ คปน.
(4) ลูกหนี้ว่าจ้างที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญทางการเงินอิสระตามที่กลุ่มเจ้าหนี้หรือ คปน.จะร้องขอเพื่อให้เตรียมทำแผนฟื้นฟูและปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดย คปน. ร้องขอเพื่อให้เตรียมทำแผนฟื้นฟูและปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามแนวทางในเอกสารแนบ 5 ให้แล้วเสร็จภายในเวลา 2 เดือน และ/หรือแล้วแต่ตามที่จะตกลงกับกลุ่มเจ้าหนี้หรือ คปน.
(5) ให้ลูกหนี้จัดเตรียมแผนฟื้นฟูและปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามที่กำหนดในสัญญาเพื่อเตรียมจัดส่งให้กลุ่มเจ้าหนี้ภายในระยะเวลา 2 เดือน หรือตามที่จะตกลงกับกลุ่มเจ้าหนี้หรือ คปน.
(6) ในกรณีที่มีความประสงค์ที่ให้ คปน. จัดส่งผู้ไกล่เกลี่ยเข้าไกล่เกลี่ย ลูกหนี้จะต้องทำเรื่องร้องขอมาที่ คปน. พร้อมกับกลุ่มลูกหนี้เพื่อให้ คปน. แต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ย จากรายชื่อที่มีอยู่
(7) ลูกหนี้ต้องเตรียมทำหนังสือแจ้งประเด็นปัญหา (statements of issues) เพื่อจัดส่งให้ คปน. ภายใน 5 วันทำการ หลังจากที่ คปน. ได้แต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยแล้ว
(8) ลูกหนี้ต้องเตรียมส่งเอกสารและข้อมูลที่สนับสนุนสถานะทางการเงิน โดยส่งให้ผู้ไกล่เกลี่ยที่ได้รับการแต่งตั้งโดย คปน. แล้ว และส่งสำเนาให้ คปน. ภายใน 10 วันทำการ หลังจากที่ คปน.ได้แต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยแล้ว
(9) ลูกหนี้มีภาระผูกพันที่ต้องให้ความร่วมมือกับผู้ไกล่เกลี่ย และ คปน. ตลอดระยะเวลาการไกล่เกลี่ย โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ไกล่เกลี่ยขอข้อมูลเพิ่มเติมหรือเชิญให้มาประชุมต้องให้ความร่วมมือ
(10) ลูกหนี้จะสามารถเตรียมแผนฉบับแก้ไข (Modified Termsheet) ให้กลุ่มเจ้าหนี้เพื่อลงคะแนนในกรณีที่ผู้ชี้ขาด (Executive Decision Panel) ได้ปฏิเสธแผนฟื้นฟูและปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามที่กลุ่มเจ้าหนี้ได้ร้องขอให้ผู้ชี้ขาดตัดสินใจ
เจ้าหนี้
(1) ในกรณีที่เจ้าหนี้รายใดเรียกประชุมกลุ่มเจ้าหนี้ให้ติดต่อกับลูกหนี้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อขอข้อมูลเบื้องต้นจากลูกหนี้และให้ติดต่อเจ้าหนี้ทุกรายโดยระบุวัน เวลา และสถานที่ที่จะจัดการประชุม
(2) ในการประชุมกลุ่มเจ้าหนี้ครั้งแรกให้พิจารณาแต่งตั้งสถาบันแกนนำหรือคณะกรรมการเจ้าหนี้
(Steering Committee) โดยให้สถาบันแกนนำเป็นประธานของ คณะกรรมการเจ้าหนี้ และให้ร่วมกัน
พิจารณาถึงตารางปฏิบัติการ (Workout Schedule) แผนกำหนดเวลาในการดำเนินการฟื้นฟูและปรับปรุงโครงสร้างหนี้
(3) สถาบันแกนนำต้องแจ้ง คปน. เจ้าหนี้และผู้เกี่ยวข้องถึงการได้รับการแต่งตั้งเป็นสถาบันแกนนำ และแจ้ง คปน. เจ้าหนี้ และผู้เกี่ยวข้องถึงแผนปฏิบัติการ และแผนกำหนดเวลาในการดำเนินการ ฟื้นฟูและปรับปรุงโครงสร้างหนี้
(4) เจ้าหนี้ที่ลงนามต้องพิจารณาถึงแผนฟื้นฟูและปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามที่ลูกหนี้หรือที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเป็นผู้เสนอมา และต้องลงคะแนนว่าจะรับหรือไม่รับแผนฟื้นฟูหากไม่ลงคะแนนอาจจะต้องมีบทลงโทษโดยเปรียบเทียบปรับตามสัญญา
(5) เจ้าหนี้ที่ลงนามจะงดเว้นการคำนวณดอกเบี้ยในอัตราผิดสัญญากับลูกหนี้ในกรณีที่แผนฟื้นฟูและปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้รับ (Sufficient Plan Approval)
(6) ในกรณีที่มีความประสงค์ที่ให้ คปน. จัดส่งผู้ไกล่เกลี่ยเข้าไกล่เกลี่ยเจ้าหนี้และลูกหนี้ต้องทำเรื่องร้อง ขอต่อ คปน. เพื่อให้ คปน. แต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยจากรายชื่อที่มีอยู่
(7) เจ้าหนี้ต้องเตรียมทำประเด็นสำคัญเพื่อจัดส่งให้ คปน. ภายใน 5 วันทำการหลังจากที่ คปน. ได้แต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยแล้ว
(8) เจ้าหนี้ต้องเตรียมทำและจัดส่งเอกสารและข้อมูลที่สนับสนุนสถานภาพทางการเงิน เพื่อส่ง ให้ผู้ไกล่เกลี่ยที่ คปน. ได้แต่งตั้งและให้สำเนาให้ คปน. ด้วยภายในเวลา 10 วันทำการหลังจากที่ คปน. ได้แต่งตั้งแล้ว
(9) เจ้าหนี้มีภาระผูกพันที่ต้องให้ความร่วมมือกับผู้ไกล่เกลี่ยและ คปน. ตลอดระยะเวลาการไกล่เกลี่ย โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ไกล่เกลี่ยขอข้อมูลเพิ่มเติมหรือเชิญให้มาประชุมต้องให้ความร่วมมือ
(10) ในกรณีที่แผนฟื้นฟูไม่สามารถเป็นไปตามแผนที่ได้รับอนุมัติแล้ว และต้องเข้าสู่ขบวนการ พิจารณาชี้ขาด เจ้าหนี้ต้องส่งแผนฟื้นฟูและบทสรุปรวมทั้ง หนังสือแจ้งประเด็นปัญหาให้ คปน.
(11) ในกรณีที่ยอดหนี้คงค้างรวมกันเกิน 1 พันล้านบาท เจ้าหนี้สามารถเลือกที่จะไม่เข้าไปผูกพันตามคำวินิจฉัยของคณะผู้ชี้ขาด โดยการแจ้ง คปน. เป็นลายลักษณ์อักษร
(12) เจ้าหนี้สามารถคัดค้านการแต่งตั้งผู้ชี้ขาดเป็นรายบุคคลได้ โดยให้ส่งคำคัดค้านรวมทั้งเหตุผลเป็น ลายลักษณ์อักษรต่อ คปน. ภายใน 5 วันทำการหลังจากที่ คปน. ได้ประกาศรายชื่อของผู้ชี้ขาด
(13) เจ้าหนี้ต้องให้ความร่วมมือกับคณะผู้ชี้ขาด และ คปน. ตลอดระยะเวลาตามขบวนการพิจารณาชี้ขาด
(14) เจ้าหนี้ต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะผู้ชี้ขาด หากไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกบทลงโทษโดยเปรียบเทียบปรับตามสัญญา
(15) ในกรณีที่คณะผู้ชี้ขาดปฏิเสธแผนฟื้นฟูเจ้าหนี้หรือกลุ่มเจ้าหนี้ที่รวมกันแล้วมียอดหนี้คงค้างเกินร้อยละ 26 ของยอดคงค้างหนี้ทั้งหมด สามารถที่จะจัดทำแผนฉบับแก้ไข (Modified Termsheet) ให้กลุ่มเจ้าหนี้พิจารณาได้
4. ขั้นตอนการดำเนินการตามสัญญาระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ว่าด้วยกรรมวิธีการปรับโครงสร้างหนี้ (ตามแนบ)
5. สิ่งที่ลูกหนี้ควรทราบ
5.1 องค์กรที่สนับสนุนและส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ได้มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2541 ให้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ขึ้น 1 ชุด คณะกรรมการดังกล่าวได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 1 ชุด และธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งต่อมาได้แปรสภาพเป็นสายปรับปรุงโครงสร้างหนี้(สปน.) ดำเนินการในเรื่องนี้เป็นการเฉพาะมีหน้าที่และองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1. คณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
1.1 หน้าที่
- ติดตามพัฒนาการของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้- ทบทวน หรือกำหนดนโยบาย เพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้- เป็นตัวกลางผลักดันให้การเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดำเนินการต่อไปได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่การเจรจามีปัญหาหรืออุปสรรค
1.2 องค์ประกอบ คณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เป็นองค์กรอิสระประกอบด้วยผู้แทนจากทางการจำนวน 3 คน และผู้แทนจากภาคเอกชน 5 คน ดังนี้
(1) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ประธานกรรมการ
(2) นายศิวะพร ทรรทรานนท์ ที่ปรึกษาผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย รองประธานกรรมการ
(3) ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กรรมการ
(4) ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการ
(5) ประธานสมาคมธนาคารไทย กรรมการ
(6) ประธานสมาคมบริษัทเงินทุน กรรมการ
(7) ประธานสมาคมธนาคารต่างชาติ กรรมการ
(8) ผู้อำนวยการอาวุโส สายปรับปรุง โครงสร้างหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย กรรมการและเลขานุการ
2. คณะอนุกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
2.1 หน้าที่
- ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ เพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
- ประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เพื่อรับฟังปัญหาในการดำเนินงานและหาแนวทางแก้ไข- เสนอข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะในประเด็นต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
2.2 องค์ประกอบ คณะอนุกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ประกอบด้วย ผู้แทนจากทางการ 3 คน ภาคเอกชน 5 คน และจากสถาบันการศึกษา 1 คน ดังนี้
(1) นายศิวะพร ทรรทรานนท์ที่ปรึกษาผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย ประธาน
(2) ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย อนุกรรมการ
(3) ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย อนุกรรมการ
(4) ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย อนุกรรมการ
(5) ผู้แทนสมาคมบริษัทเงินทุน อนุกรรมการ
(6) ผู้แทนสมาคมธนาคารต่างชาติ อนุกรรมการ
(7) ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษา อนุกรรมการ
(8) ผู้อำนวยการ ฝ่ายโครงการพิเศษและการวิเคราะห์ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย อนุกรรมการ
(9) ผู้อำนวยการอาวุโส สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย อนุกรรมการและเลขานุการ
3. สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย
3.1 หน้าที่
- ศึกษา วิเคราะห์ ติดตาม เสนอแนะวางแนวทางเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครสร้างหนี้
- เป็นตัวกลางเพื่อประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน- ส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้ประสบความสำเร็จ
3.2 องค์ประกอบ สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เป็นส่วนงานหนึ่งในธนาคารแห่งประเทศไทย ขึ้นตรงต่อผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมี ร้อยตรียอดชาย ชูศรี เป็นผู้อำนวยการอาวุโส สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้
5.2 การติดต่อกรณีที่มีปัญหาข้อสงสัย หรือข้อเสนอแนะ
หมายเลขโทรศัพท์เพื่อสอบถามหรือติดต่อกับธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ มีดังต่อไปนี้
1. สายปรับปรุง โครงสร้างหนี้(02) 283-6435, 283-6439-40, 283-6465, 283-6486ผู้อำนวยการอาวุโส ร.ต.ยอดชาย ชูศรี (02) 283-5900
2. สำนักงานภาคเหนือ(053) 931107-9, 9311115-7, 931121-3
ผู้อำนวยการ นายบัณฑิต นิจถาวร (053) 931001
3. สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(043) 236660 ต่อ 501, 502, 503
ผู้อำนวยการ นายเสริมสิงห์ สิงหเสนี (043) 242357
4. สำนักงานภาคใต้ (074) 236200 ต่อ 391, 392, 393
ผู้อำนวยการ นายนวรัตน์ เลขะกุล (074) 243895
5.3 บทบาทของที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor)
ขั้นตอนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำหรับลูกหนี้ขนาดกลางและขนาดใหญ่จะมีความซับซ้อนมากกว่าลูกหนี้รายย่อย เนื่องจากอาจจะเกี่ยวข้องกับเจ้าหนี้หลายราย รวมทั้งจะมีความยุ่งยากซับซ้อนในการจัดทำแผนมากกว่าด้วย จึงอาจพิจารณาแต่งตั้งบุคคลที่เป็นกลางซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญ เป็นที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูล รวมทั้งจัดทำความเป็นไปได้ของแผนธุรกิจและแผนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้การดำเนินการเป็นไปได้รวดเร็วและเป็นประโยชน์กับคู่กรณีทั้งสองฝ่ายมากขึ้น คณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้รวบรวมรายชื่อที่ปรึกษาทางการเงินที่เห็นชอบโดย สมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารต่างชาติ สมาคมบริษัทเงินทุนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับลูกหนี้และเจ้าหนี้ โดยสามารถเรียกดูจากระบบ Internet ได้ที่ www.bot.or.th.
5.4 บทบาทของผู้ไกล่เกลี่ย (Mediator)
ในกรณีที่เกิดข้อขัดแย้งระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ ลูกหนี้ร่วมกับสถาบันแกนนำ หรือคณะกรรมการเจ้าหนี้ อาจขอให้คณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งจากบัญชีรายชื่อที่สมาคมเจ้าหนี้และสมาคมลูกหนี้ทั้ง 5 สมาคม ให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้เกิดข้อยุติและช่วยให้การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดำเนินการต่อไปได้
อนึ่ง เจ้าหนี้รายหนึ่งรายใดสามารถยื่นคัดค้านการแต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยถ้ามีเหตุให้เชื่อว่าผู้ไกล่เกลี่ยจะขาดความเป็นกลางหรือความเป็นอิสระต่อคณะกรรมการได้
5.5 บทบาทของคณะผู้ชี้ขาด (Executive Decision Panel)
ในกรณีที่เจ้าหนี้ลงมติอนุมัติรับหรือไม่รับแผนด้วยจำนวนมติที่เกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนเจ้าหนี้ทั้งหมด แต่ยังไม่เพียงพอที่จะรับหรือไม่รับแผนได้ คณะกรรมการเจ้าหนี้ สถาบันแกนนำ หรือเจ้าหนี้รายใดรายหนึ่งจะส่งแผนให้คณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เพื่อขอให้แต่งตั้งคณะผู้ชี้ขาด สำหรับทำหน้าที่พิจารณาอนุมัติรับหรือไม่รับแผน โดยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขแผนดังกล่าวได้และถือว่าการลงมตินั้นเป็นอันสิ้นสุด และมีผลบังคับกับเจ้าหนี้ทุกราย
คณะผู้ชี้ขาดประกอบด้วยผู้แทนซึ่งแต่งตั้งและเห็นชอบจากสมาคมเจ้าหนี้ทั้ง 3 สมาคม คือ สมาคมธนาคารไทย สมาคมบริษัทเงินทุน และสมาคมธนาคารต่างชาติ โดยคัดเลือกจากผู้แทนของสมาคมที่เป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้รายนั้น ๆ ด้วยวิธีการหมุนเวียนจากรายชื่อที่สมาคมเสนอมา ทั้งนี้ จะต้องไม่เป็นผู้ถือหุ้น กรรมการ พนักงาน ลูกจ้างของลูกหนี้หรือบริษัทในเครือของลูกหนี้ หรือเจ้าหนี้ หรือบุคคลใด ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับลูกหนี้ นอกจากนี้ คณะผู้ชี้ขาดสามารถแต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงิน ทนายความ ผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานให้เท่าที่เห็นสมควร อย่างไรก็ตาม เจ้าหนี้สามารถคัดค้านการแต่งตั้งได้ด้วยสาเหตุแห่งความเป็นกลางและความเป็นอิสระของคณะผู้ชี้ขาดที่จะเกิดขึ้นได้ และคณะกรรมการฯ จะพิจารณาเปลี่ยนแปลงตามที่เห็นสมควร
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. กรรมวิธีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
สิ่งที่ลูกหนี้ควรทราบ
1. วัตถุประสงค์หลักของสัญญาการปรับโครงสร้างหนี้
วัตถุประสงค์หลักที่สมาคมธนาคารไทย สมาคมบริษัทเงินทุน และสมาคมธนาคารต่างชาติได้ร่วมกันร่าง "สัญญาระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ในการปรับโครงสร้างหนี้" และ "สัญญาระหว่างเจ้าหนี้…." เพื่อกำหนดกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และช่วยแก้ปัญหาหนี้เสียในระบบมีดังนี้
(1) ลูกหนี้แต่ละรายมีข้อผูกพันที่จะต้องให้ข้อมูลแก่เจ้าหนี้ จัดเตรียมแผนธุรกิจเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และจัดทำตารางเวลาการปรับโครงสร้างหนี้ที่แน่นอน
(2) แก้ไขปัญหาหนี้เสีย (NPL- หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้) ด้วยการวิเคราะห์ และประเมินสถานะและความอยู่รอดของธุรกิจลูกหนี้แต่ละรายโดยเร็ว
(3) เจ้าหนี้มีข้อผูกพันที่จะกำหนดวิธีการในการดำเนินการกับลูกหนี้ที่ไม่ให้ความร่วมมือ หรือมีธุรกิจที่ไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
(4) ลูกหนี้มีการตกลงขั้นต้นในเรื่องการเปิดเผยข้อมูล การกำหนดค่าใช้จ่ายและเงื่อนไขการปฏิบัติของลูกหนี้
(5) ในกรณีที่มีข้อขัดแย้งระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ มีทางเลือกให้มีการกำหนดผู้ไกล่เกลี่ย (mediator) ทำหน้าที่พิจารณาตัดสินหรือไกล่เกลี่ยลูกหนี้ และ/หรือเจ้าหนี้ โดยลูกหนี้และเจ้าหนี้ไม่มีข้อผูกมัดที่จะต้องปฏิบัติตามคำชี้แนะของผู้ไกล่เกลี่ย
(6) มีการกำหนดประเภทข้อมูลด้านธุรกิจและการเงินที่จำเป็นในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้รวมทั้งตารางเวลาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ชัดเจน
(7) มี "สัญญาระหว่างเจ้าหนี้….." ที่จะส่งเสริมแผนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหนี้ส่วนใหญ่ตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายและแผนที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะผู้ชี้ขาด (Executive Decision Panel) ในกรณีที่แผนไม่ได้รับความเห็นชอบตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายแต่ได้รับความเห็นชอบอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนเจ้าหนี้ หรือยอดหนี้คงค้าง
สาระสำคัญของสัญญาระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้
1. ลูกหนี้ และเจ้าหนี้หรือคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.) สามารถเรียกประชุมระหว่างเจ้าหนี้ เพื่อให้เริ่มการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้สำหรับลูกหนี้ที่อยู่ในโครงการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามสัญญา
2. ลูกหนี้จะต้องลงนามในสัญญาระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ก่อนการประชุมระหว่างเจ้าหนี้ครั้งแรก มิฉะนั้นเจ้าหนี้จะฟ้องล้มละลายหรือฟ้องบังคับหลักประกัน
3. กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ จะต้องมีการแต่งตั้งแกนนำและเจ้าหน้าที่ให้รับผิดชอบการจัดการและประสานงานให้การปรับโครงสร้างหนี้เป็นไปตามขั้นตอนและตารางเวลาที่กำหนด
4. สำหรับลูกหนี้ มีการตกลงขั้นต้นในเรื่องของการเปิดเผยข้อมูล การกำหนดค่าใช้จ่ายและเงื่อนไขการปฏิบัติของลูกหนี้
5. กำหนดให้ลูกหนี้จัดเตรียมและนำส่งข้อมูลขั้นต้นภายใน 7 วัน และข้อมูลอื่นรวมถึงร่างแผนการปรับโครงสร้างหนี้ของธุรกิจ ภายใน 2 เดือน นับจากการประชุมปรับโครงสร้างหนี้ระหว่างเจ้าหนี้ครั้งแรก
6. ในกรณีที่มีข้อขัดแย้งระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ อาจกำหนดให้มีผู้ไกล่เกลี่ยซึ่งเป็นบุคคลที่สามเพื่อพิจารณาตัดสินหรือไกล่เกลี่ยลูกหนี้ และ/หรือเจ้าหนี้
7. หากมีการกระทำที่ถือว่าเป็นการผิดสัญญาเจ้าหน้าที่มียอดหนี้รวมร้อยละ 26 ของยอดหนี้คงค้างทั้งหมด สามารถส่งหนังสือแจ้งลูกหนี้ถึงการผิดสัญญาและยกเลิกสัญญาได้
8. เจ้าหนี้สามารถฟ้องล้มละลาย หรือปรับโครงสร้างองค์กรและการบริหารใหม่ได้ถ้าลูกหนี้มีการกระทำที่ผิดสัญญาถึง 3 ครั้ง
9. ในกรณีที่เจ้าหนี้ไม่ให้ความเห็นชอบแผนที่ได้มีการเสนอ หรือไม่ให้ความเห็นชอบแผนซึ่งได้มีการยอมรับแล้ว เจ้าหนี้จะถูกปรับสูงสุดไม่เกินร้อยละ 10 ของยอดหนี้คงค้างและไม่ต่ำกว่า 500,000 บาท
สาระสำคัญของสัญญาระหว่างเจ้าหนี้
การลงคะแนนเพื่อให้ความเห็นชอบแผนการปรับโครงสร้างหนี้ของธุรกิจตามกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ระหว่างเจ้าหนี้ ได้ปรับปรุงให้สอดคล้องกับสัญญาการปรับโครงสร้างหนี้ ระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ สรุปได้ดังนี้
1. กำหนดให้เจ้าหนี้ระบุเหตุผลที่คัดค้านหรือปฏิเสธไม่ยอมรับแผนปรับโครงสร้างหนี้ให้ชัดเจน
2. กำหนดให้เจ้าหนี้ที่ได้ลงนามในสัญญาต้องดำเนินการส่งเสริมแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่เจ้าหนี้ได้มีมติเห็นชอบแล้ว (มติตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในกฎหมายล้มละลาย)
3. ในกรณีที่แผนปรับโครงสร้างหนี้ที่เสนอไม่ได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหนี้ในสัดส่วนที่สูงพอที่จะถือเป็นมติเห็นชอบ (สัดส่วนตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย) แต่ได้รับความเห็นชอบอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนเจ้าหนี้หรือยอดหนี้คงค้างในสัญญาคณะผู้ชี้ขาด สามารถตัดสินแผนที่เสนอใหม่ได้ โดยมตินั้นผูกมัดให้เจ้าหนี้ที่ลงนามในสัญญาต้องปฏิบัติตามมติของคณะผู้ชี้ขาดดังกล่าว
4. คณะผู้ชี้ขาดสามารถตัดสินแผนเพียงว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบเท่านั้น
5. เจ้าหนี้จะต้องดำเนินการตามกฎหมายกับลูกหนี้ทันทีถ้าแผนที่เสนอใหม่ (หลังจากแก้ไขแผน มาแล้วหนึ่งครั้ง) ไม่ผ่านความเห็นชอบจากเจ้าหนี้หรือคณะผู้ชี้ขาด
6. ในกรณีที่เจ้าหนี้ผิดสัญญา (ซึ่งการผิดสัญญาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้) เจ้าหนี้จะถูกปรับไม่เกินร้อยละ 50 ของยอดหนี้คงค้าง ทั้งนี้ จำนวนถูกปรับต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท
7. ในกรณีที่ลูกหนี้มียอดคงค้าง (เงินต้น) เกินหนึ่งพันล้านบาท เจ้าหนี้สามารถเลือกที่จะไม่ร่วมกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ ตามสัญญานี้ได้หากได้แจ้งความจำนงภายใน 10 วันทำการนับแต่ได้รับแจ้งจาก คปน. เสนอแผนให้คณะผู้ชี้ขาดพิจารณาอนุมัติแล้ว
2. ประโยชน์ที่ลูกหนี้ - เจ้าหนี้ จะได้รับจากการเข้าร่วมลงนามในสัญญา
ลูกหนี้
- ลูกหนี้จะเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้สถาบันการเงินต่าง ๆ สำเร็จเร็วขึ้น และสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
- เจรจาติดต่อกับเจ้าหนี้สถาบันการเงินต่าง ๆ ได้สะดวกมากขึ้น โดยสามารถเจรจาผ่านทางสถาบันแกนนำหรือ คณะกรรมการเจ้าหนี้ที่ได้รับการแต่งตั้งได้
- ลูกหนี้จะยังไม่ต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราที่ผิดนัดชำระหนี้ ในระหว่างการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ นับจากวันที่ลงนามเข้าสู่กระบวนการตามสัญญา และถ้าได้ตกลงแผนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เรียบร้อยแล้ว ลูกหนี้ก็จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดดังกล่าว
- ในกรณีที่การเจรจาระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้มีข้อขัดแย้งเกิดขึ้นจะมีผู้ไกล่เกลี่ยเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยให้การเจรจาสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว
- ข้อมูลต่าง ๆ ที่ลูกหนี้ได้จัดเตรียมขึ้นให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์สถานภาพปัจจุบัน และความสามารถในการดำเนินธุรกิจของลูกหนี้นั้น จะได้รับการดูแลและเก็บเป็นความลับ
- ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้นั้น ผู้บริหารของลูกหนี้ยังคงอยู่ในตำแหน่งของตนต่อไปและมีหน้าที่รับผิดชอบตามที่เจ้าหนี้ส่วนใหญ่เห็นสมควร
- ในกรณีที่เจ้าหนี้สถาบันการเงินเห็นสมควรให้มีการแปลงหนี้เป็นทุนเพื่อให้กิจการของลูกหนี้สามารถดำรงอยู่ได้ ถ้าผู้ถือหุ้นปัจจุบันเป็นลูกหนี้ที่ได้ดำเนินธุรกิจมาโดยสุจริต ก็สามารถถือหุ้นบางส่วนในบริษัทของลูกหนี้ได้
เจ้าหนี้
- เจ้าหนี้มีโอกาสได้รับชำระหนี้อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม รวมทั้งจะได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าการฟ้องบังคับชำระบัญชีของลูกหนี้
- เจ้าหนี้ทุกรายจะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม และยุติธรรมทั้งเจ้าหนี้ในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งรวมทั้งเจ้าหนี้ที่มีหลักประกัน และไม่มีหลักประกันด้วย
- เจ้าหนี้จะมีผู้ประสานงานให้กระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่นและรวดเร็วขึ้น
- เจ้าหนี้สามารถทราบข้อมูล สถานะการเงิน รวมทั้งภาระหนี้ปัจจุบันทั้งหมดที่ถูกต้องของลูกหนี้ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสมในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
- เจ้าหนี้จะทราบขั้นตอนและกำหนดเวลาในการพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้อย่างเป็นระบบและมีแนวทางปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน
- เจ้าหนี้จะมีแนวทางปฏิบัติร่วมกันในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ให้ความร่วมมือในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
- เจ้าหนี้มีความมั่นใจได้ว่า สิ่งที่ได้ตกลงกันก่อนที่เจ้าหนี้บางรายจะขายหนี้ให้กับผู้ลงทุนรายใหม่นั้นจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือไม่มีการตกลงเจรจาใหม่อีก
เจ้าหนี้มีความมั่นใจได้ว่า ถ้าการอนุมัติแผนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้นั้นมีมติที่ไม่เพียงพอ แต่มีเจ้าหนี้เห็นด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของยอดคงค้างหนี้ทั้งหมดหรือไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียง แผนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้นี้ยังได้รับการทบทวนพิจารณาใหม่จากคณะกรรมการที่เป็นกลางซึ่งได้รับการเสนอชื่อจากสมาคมเจ้าหนี้และได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
3. หน้าที่สำคัญของลูกหนี้ - เจ้าหนี้
ลูกหนี้
(1) ลงนามเอกสารผูกพันตามสัญญา (Debtor Accession) โดยกรรมการ/ผู้บริหารที่มี อำนาจในการผูกพันบริษัท หรือเจ้าหนี้รายบุคคลและส่งให้ คปน. หรือเจ้าหนี้
(2) ลูกหนี้จัดส่งข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรายชื่อ ที่อยู่ และสถานที่ติดต่อของเจ้าหนี้ที่มีอยู่ทั้งหมดให้คปน. หรือเจ้าหนี้รายใดที่เรียกประชุมเป็นลายลักษณ์อักษร ข้อมูลเบื้องต้นให้รวมถึงจำนวนหนี้คงค้างที่มีอยู่กับเจ้าหนี้แต่ละราย
(3) ลูกหนี้แจ้งกำหนดการปรับปรุงแก่เจ้าหนี้ทุกรายและ คปน.
(4) ลูกหนี้ว่าจ้างที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญทางการเงินอิสระตามที่กลุ่มเจ้าหนี้หรือ คปน.จะร้องขอเพื่อให้เตรียมทำแผนฟื้นฟูและปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดย คปน. ร้องขอเพื่อให้เตรียมทำแผนฟื้นฟูและปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามแนวทางในเอกสารแนบ 5 ให้แล้วเสร็จภายในเวลา 2 เดือน และ/หรือแล้วแต่ตามที่จะตกลงกับกลุ่มเจ้าหนี้หรือ คปน.
(5) ให้ลูกหนี้จัดเตรียมแผนฟื้นฟูและปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามที่กำหนดในสัญญาเพื่อเตรียมจัดส่งให้กลุ่มเจ้าหนี้ภายในระยะเวลา 2 เดือน หรือตามที่จะตกลงกับกลุ่มเจ้าหนี้หรือ คปน.
(6) ในกรณีที่มีความประสงค์ที่ให้ คปน. จัดส่งผู้ไกล่เกลี่ยเข้าไกล่เกลี่ย ลูกหนี้จะต้องทำเรื่องร้องขอมาที่ คปน. พร้อมกับกลุ่มลูกหนี้เพื่อให้ คปน. แต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ย จากรายชื่อที่มีอยู่
(7) ลูกหนี้ต้องเตรียมทำหนังสือแจ้งประเด็นปัญหา (statements of issues) เพื่อจัดส่งให้ คปน. ภายใน 5 วันทำการ หลังจากที่ คปน. ได้แต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยแล้ว
(8) ลูกหนี้ต้องเตรียมส่งเอกสารและข้อมูลที่สนับสนุนสถานะทางการเงิน โดยส่งให้ผู้ไกล่เกลี่ยที่ได้รับการแต่งตั้งโดย คปน. แล้ว และส่งสำเนาให้ คปน. ภายใน 10 วันทำการ หลังจากที่ คปน.ได้แต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยแล้ว
(9) ลูกหนี้มีภาระผูกพันที่ต้องให้ความร่วมมือกับผู้ไกล่เกลี่ย และ คปน. ตลอดระยะเวลาการไกล่เกลี่ย โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ไกล่เกลี่ยขอข้อมูลเพิ่มเติมหรือเชิญให้มาประชุมต้องให้ความร่วมมือ
(10) ลูกหนี้จะสามารถเตรียมแผนฉบับแก้ไข (Modified Termsheet) ให้กลุ่มเจ้าหนี้เพื่อลงคะแนนในกรณีที่ผู้ชี้ขาด (Executive Decision Panel) ได้ปฏิเสธแผนฟื้นฟูและปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามที่กลุ่มเจ้าหนี้ได้ร้องขอให้ผู้ชี้ขาดตัดสินใจ
เจ้าหนี้
(1) ในกรณีที่เจ้าหนี้รายใดเรียกประชุมกลุ่มเจ้าหนี้ให้ติดต่อกับลูกหนี้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อขอข้อมูลเบื้องต้นจากลูกหนี้และให้ติดต่อเจ้าหนี้ทุกรายโดยระบุวัน เวลา และสถานที่ที่จะจัดการประชุม
(2) ในการประชุมกลุ่มเจ้าหนี้ครั้งแรกให้พิจารณาแต่งตั้งสถาบันแกนนำหรือคณะกรรมการเจ้าหนี้
(Steering Committee) โดยให้สถาบันแกนนำเป็นประธานของ คณะกรรมการเจ้าหนี้ และให้ร่วมกัน
พิจารณาถึงตารางปฏิบัติการ (Workout Schedule) แผนกำหนดเวลาในการดำเนินการฟื้นฟูและปรับปรุงโครงสร้างหนี้
(3) สถาบันแกนนำต้องแจ้ง คปน. เจ้าหนี้และผู้เกี่ยวข้องถึงการได้รับการแต่งตั้งเป็นสถาบันแกนนำ และแจ้ง คปน. เจ้าหนี้ และผู้เกี่ยวข้องถึงแผนปฏิบัติการ และแผนกำหนดเวลาในการดำเนินการ ฟื้นฟูและปรับปรุงโครงสร้างหนี้
(4) เจ้าหนี้ที่ลงนามต้องพิจารณาถึงแผนฟื้นฟูและปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามที่ลูกหนี้หรือที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเป็นผู้เสนอมา และต้องลงคะแนนว่าจะรับหรือไม่รับแผนฟื้นฟูหากไม่ลงคะแนนอาจจะต้องมีบทลงโทษโดยเปรียบเทียบปรับตามสัญญา
(5) เจ้าหนี้ที่ลงนามจะงดเว้นการคำนวณดอกเบี้ยในอัตราผิดสัญญากับลูกหนี้ในกรณีที่แผนฟื้นฟูและปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้รับ (Sufficient Plan Approval)
(6) ในกรณีที่มีความประสงค์ที่ให้ คปน. จัดส่งผู้ไกล่เกลี่ยเข้าไกล่เกลี่ยเจ้าหนี้และลูกหนี้ต้องทำเรื่องร้อง ขอต่อ คปน. เพื่อให้ คปน. แต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยจากรายชื่อที่มีอยู่
(7) เจ้าหนี้ต้องเตรียมทำประเด็นสำคัญเพื่อจัดส่งให้ คปน. ภายใน 5 วันทำการหลังจากที่ คปน. ได้แต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยแล้ว
(8) เจ้าหนี้ต้องเตรียมทำและจัดส่งเอกสารและข้อมูลที่สนับสนุนสถานภาพทางการเงิน เพื่อส่ง ให้ผู้ไกล่เกลี่ยที่ คปน. ได้แต่งตั้งและให้สำเนาให้ คปน. ด้วยภายในเวลา 10 วันทำการหลังจากที่ คปน. ได้แต่งตั้งแล้ว
(9) เจ้าหนี้มีภาระผูกพันที่ต้องให้ความร่วมมือกับผู้ไกล่เกลี่ยและ คปน. ตลอดระยะเวลาการไกล่เกลี่ย โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ไกล่เกลี่ยขอข้อมูลเพิ่มเติมหรือเชิญให้มาประชุมต้องให้ความร่วมมือ
(10) ในกรณีที่แผนฟื้นฟูไม่สามารถเป็นไปตามแผนที่ได้รับอนุมัติแล้ว และต้องเข้าสู่ขบวนการ พิจารณาชี้ขาด เจ้าหนี้ต้องส่งแผนฟื้นฟูและบทสรุปรวมทั้ง หนังสือแจ้งประเด็นปัญหาให้ คปน.
(11) ในกรณีที่ยอดหนี้คงค้างรวมกันเกิน 1 พันล้านบาท เจ้าหนี้สามารถเลือกที่จะไม่เข้าไปผูกพันตามคำวินิจฉัยของคณะผู้ชี้ขาด โดยการแจ้ง คปน. เป็นลายลักษณ์อักษร
(12) เจ้าหนี้สามารถคัดค้านการแต่งตั้งผู้ชี้ขาดเป็นรายบุคคลได้ โดยให้ส่งคำคัดค้านรวมทั้งเหตุผลเป็น ลายลักษณ์อักษรต่อ คปน. ภายใน 5 วันทำการหลังจากที่ คปน. ได้ประกาศรายชื่อของผู้ชี้ขาด
(13) เจ้าหนี้ต้องให้ความร่วมมือกับคณะผู้ชี้ขาด และ คปน. ตลอดระยะเวลาตามขบวนการพิจารณาชี้ขาด
(14) เจ้าหนี้ต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะผู้ชี้ขาด หากไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกบทลงโทษโดยเปรียบเทียบปรับตามสัญญา
(15) ในกรณีที่คณะผู้ชี้ขาดปฏิเสธแผนฟื้นฟูเจ้าหนี้หรือกลุ่มเจ้าหนี้ที่รวมกันแล้วมียอดหนี้คงค้างเกินร้อยละ 26 ของยอดคงค้างหนี้ทั้งหมด สามารถที่จะจัดทำแผนฉบับแก้ไข (Modified Termsheet) ให้กลุ่มเจ้าหนี้พิจารณาได้
4. ขั้นตอนการดำเนินการตามสัญญาระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ว่าด้วยกรรมวิธีการปรับโครงสร้างหนี้ (ตามแนบ)
5. สิ่งที่ลูกหนี้ควรทราบ
5.1 องค์กรที่สนับสนุนและส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ได้มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2541 ให้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ขึ้น 1 ชุด คณะกรรมการดังกล่าวได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 1 ชุด และธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งต่อมาได้แปรสภาพเป็นสายปรับปรุงโครงสร้างหนี้(สปน.) ดำเนินการในเรื่องนี้เป็นการเฉพาะมีหน้าที่และองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1. คณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
1.1 หน้าที่
- ติดตามพัฒนาการของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้- ทบทวน หรือกำหนดนโยบาย เพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้- เป็นตัวกลางผลักดันให้การเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดำเนินการต่อไปได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่การเจรจามีปัญหาหรืออุปสรรค
1.2 องค์ประกอบ คณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เป็นองค์กรอิสระประกอบด้วยผู้แทนจากทางการจำนวน 3 คน และผู้แทนจากภาคเอกชน 5 คน ดังนี้
(1) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ประธานกรรมการ
(2) นายศิวะพร ทรรทรานนท์ ที่ปรึกษาผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย รองประธานกรรมการ
(3) ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กรรมการ
(4) ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการ
(5) ประธานสมาคมธนาคารไทย กรรมการ
(6) ประธานสมาคมบริษัทเงินทุน กรรมการ
(7) ประธานสมาคมธนาคารต่างชาติ กรรมการ
(8) ผู้อำนวยการอาวุโส สายปรับปรุง โครงสร้างหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย กรรมการและเลขานุการ
2. คณะอนุกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
2.1 หน้าที่
- ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ เพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
- ประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เพื่อรับฟังปัญหาในการดำเนินงานและหาแนวทางแก้ไข- เสนอข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะในประเด็นต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
2.2 องค์ประกอบ คณะอนุกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ประกอบด้วย ผู้แทนจากทางการ 3 คน ภาคเอกชน 5 คน และจากสถาบันการศึกษา 1 คน ดังนี้
(1) นายศิวะพร ทรรทรานนท์ที่ปรึกษาผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย ประธาน
(2) ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย อนุกรรมการ
(3) ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย อนุกรรมการ
(4) ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย อนุกรรมการ
(5) ผู้แทนสมาคมบริษัทเงินทุน อนุกรรมการ
(6) ผู้แทนสมาคมธนาคารต่างชาติ อนุกรรมการ
(7) ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษา อนุกรรมการ
(8) ผู้อำนวยการ ฝ่ายโครงการพิเศษและการวิเคราะห์ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย อนุกรรมการ
(9) ผู้อำนวยการอาวุโส สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย อนุกรรมการและเลขานุการ
3. สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย
3.1 หน้าที่
- ศึกษา วิเคราะห์ ติดตาม เสนอแนะวางแนวทางเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครสร้างหนี้
- เป็นตัวกลางเพื่อประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน- ส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้ประสบความสำเร็จ
3.2 องค์ประกอบ สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เป็นส่วนงานหนึ่งในธนาคารแห่งประเทศไทย ขึ้นตรงต่อผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมี ร้อยตรียอดชาย ชูศรี เป็นผู้อำนวยการอาวุโส สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้
5.2 การติดต่อกรณีที่มีปัญหาข้อสงสัย หรือข้อเสนอแนะ
หมายเลขโทรศัพท์เพื่อสอบถามหรือติดต่อกับธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ มีดังต่อไปนี้
1. สายปรับปรุง โครงสร้างหนี้(02) 283-6435, 283-6439-40, 283-6465, 283-6486ผู้อำนวยการอาวุโส ร.ต.ยอดชาย ชูศรี (02) 283-5900
2. สำนักงานภาคเหนือ(053) 931107-9, 9311115-7, 931121-3
ผู้อำนวยการ นายบัณฑิต นิจถาวร (053) 931001
3. สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(043) 236660 ต่อ 501, 502, 503
ผู้อำนวยการ นายเสริมสิงห์ สิงหเสนี (043) 242357
4. สำนักงานภาคใต้ (074) 236200 ต่อ 391, 392, 393
ผู้อำนวยการ นายนวรัตน์ เลขะกุล (074) 243895
5.3 บทบาทของที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor)
ขั้นตอนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำหรับลูกหนี้ขนาดกลางและขนาดใหญ่จะมีความซับซ้อนมากกว่าลูกหนี้รายย่อย เนื่องจากอาจจะเกี่ยวข้องกับเจ้าหนี้หลายราย รวมทั้งจะมีความยุ่งยากซับซ้อนในการจัดทำแผนมากกว่าด้วย จึงอาจพิจารณาแต่งตั้งบุคคลที่เป็นกลางซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญ เป็นที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูล รวมทั้งจัดทำความเป็นไปได้ของแผนธุรกิจและแผนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้การดำเนินการเป็นไปได้รวดเร็วและเป็นประโยชน์กับคู่กรณีทั้งสองฝ่ายมากขึ้น คณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้รวบรวมรายชื่อที่ปรึกษาทางการเงินที่เห็นชอบโดย สมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารต่างชาติ สมาคมบริษัทเงินทุนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับลูกหนี้และเจ้าหนี้ โดยสามารถเรียกดูจากระบบ Internet ได้ที่ www.bot.or.th.
5.4 บทบาทของผู้ไกล่เกลี่ย (Mediator)
ในกรณีที่เกิดข้อขัดแย้งระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ ลูกหนี้ร่วมกับสถาบันแกนนำ หรือคณะกรรมการเจ้าหนี้ อาจขอให้คณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งจากบัญชีรายชื่อที่สมาคมเจ้าหนี้และสมาคมลูกหนี้ทั้ง 5 สมาคม ให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้เกิดข้อยุติและช่วยให้การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดำเนินการต่อไปได้
อนึ่ง เจ้าหนี้รายหนึ่งรายใดสามารถยื่นคัดค้านการแต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยถ้ามีเหตุให้เชื่อว่าผู้ไกล่เกลี่ยจะขาดความเป็นกลางหรือความเป็นอิสระต่อคณะกรรมการได้
5.5 บทบาทของคณะผู้ชี้ขาด (Executive Decision Panel)
ในกรณีที่เจ้าหนี้ลงมติอนุมัติรับหรือไม่รับแผนด้วยจำนวนมติที่เกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนเจ้าหนี้ทั้งหมด แต่ยังไม่เพียงพอที่จะรับหรือไม่รับแผนได้ คณะกรรมการเจ้าหนี้ สถาบันแกนนำ หรือเจ้าหนี้รายใดรายหนึ่งจะส่งแผนให้คณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เพื่อขอให้แต่งตั้งคณะผู้ชี้ขาด สำหรับทำหน้าที่พิจารณาอนุมัติรับหรือไม่รับแผน โดยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขแผนดังกล่าวได้และถือว่าการลงมตินั้นเป็นอันสิ้นสุด และมีผลบังคับกับเจ้าหนี้ทุกราย
คณะผู้ชี้ขาดประกอบด้วยผู้แทนซึ่งแต่งตั้งและเห็นชอบจากสมาคมเจ้าหนี้ทั้ง 3 สมาคม คือ สมาคมธนาคารไทย สมาคมบริษัทเงินทุน และสมาคมธนาคารต่างชาติ โดยคัดเลือกจากผู้แทนของสมาคมที่เป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้รายนั้น ๆ ด้วยวิธีการหมุนเวียนจากรายชื่อที่สมาคมเสนอมา ทั้งนี้ จะต้องไม่เป็นผู้ถือหุ้น กรรมการ พนักงาน ลูกจ้างของลูกหนี้หรือบริษัทในเครือของลูกหนี้ หรือเจ้าหนี้ หรือบุคคลใด ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับลูกหนี้ นอกจากนี้ คณะผู้ชี้ขาดสามารถแต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงิน ทนายความ ผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานให้เท่าที่เห็นสมควร อย่างไรก็ตาม เจ้าหนี้สามารถคัดค้านการแต่งตั้งได้ด้วยสาเหตุแห่งความเป็นกลางและความเป็นอิสระของคณะผู้ชี้ขาดที่จะเกิดขึ้นได้ และคณะกรรมการฯ จะพิจารณาเปลี่ยนแปลงตามที่เห็นสมควร
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-