กรุงเทพ--20 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2548 นาย Denis Comeau เอกอัครราชทูตแคนาดา นาย Jan Mathysen เอกอัครราชทูตเบลเยี่ยม และนาย Pieter Marres เอกอัครราชทูตเนเธอแลนด์ประจำประเทศไทย ได้เข้าเยี่ยมคารวะและหารือกับ ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในโอกาส ที่เอกอัครราชทูตดังกล่าวเข้ารับตำแหน่งใหม่ ตามลำดับ และภายหลังการหารือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน สรุปได้ดังนี้
1. ผลการหารือกับเอกอัครราชทูตแคนาดา ทั้งสองฝ่ายชื่นชม ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน Candian International Development Agency (CIDA) ของแคนาดากับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ของไทยซึ่งกำลังดำเนินไปด้วยดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแจ้งฝ่ายแคนาดาว่า รัฐบาลไทยมีนโยบายสนับสนุน ให้ประเทศแคนาดาจัดส่งครูสอนภาษาอังกฤษเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มขึ้น เพื่อมาสอนภาษาอังกฤษให้กับ นักเรียนไทยในทุกระดับ และมีนโยบายสนับสนุนให้นักเรียนไทยไปเรียนในประเทศแคนาดามากขึ้นเช่นกัน
ทั้งสองฝ่ายจะพัฒนาความสัมพันธ์ด้านการค้าและการลงทุนของทั้งสองประเทศให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งในโอกาสเดียวกันนี้ เอกอัครราชทูตแคนาดาได้แจ้งว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแคนาดาประสงค์จะเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไปเยือนแคนาดาในโอกาสต่อไป
2. ผลการหารือกับเอกอัครราชทูตเบลเยี่ยม ทั้งสองฝ่ายเห็นว่า ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ที่ยาวนาน โดยเบลเยี่ยมมีสถานเอกอัครราชทูต ในไทยมา 100 ปีแล้ว และที่ผ่านมาเจ้าหญิงแอสตริทของเบลเยี่ยมก็ได้เสด็จเยือนประเทศไทย ทั้งสองฝ่ายพร้อมที่จะร่วมกันพัฒนาความสัมพันธ์ด้านต่างๆ รวมถึง การค้า การลงทุนให้เพิ่มมากขึ้น
ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและข่าวกรองเกี่ยวกับการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งให้ฝ่ายเบลเยี่ยมทราบว่าไทยประสงค์จะให้สหภาพยุโรปพิจารณาให้ความช่วยเหลือไทยในลักษณะให้ความเป็นธรรมด้านการส่งออกกุ้งของไทยอย่างเร็วที่สุด หลังจากสินค้ากุ้งประสบปัญหา GSP กับสหภาพยุโรปภายหลังเหตุการณ์สึนามิ
ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือด้านการศึกษา โดยการส่งนักศึกษาไทยไปศึกษาในเบลเยี่ยม เนื่องจากการศึกษาระดับสูงในเบลเยี่ยมสอนเป็นภาษาอังกฤษ รวมถึงจะร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านดนตรี และด้านอื่น ๆ
3. ผลการหารือกับเอกอัครราชทูตเนเธอแลนด์
ฝ่ายไทยเห็นว่า ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประตูสู่สหภาพยุโรปและเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย เนื่องจากเป็นประเทศคู่ค้าอันดับสามของไทยในสหภาพยุโรป
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งให้ฝ่ายเนเธอร์แลนด์ทราบเช่นเดียวกับที่ได้แจ้งแก่ฝ่ายเบลเยี่ยม โดยขอให้พิจารณาให้ความช่วยเหลือไทยในลักษณะให้ความเป็นธรรมด้านการส่งออกกุ้งของไทยอย่างเร็วที่สุด หลังจากสินค้ากุ้งประสบปัญหา GSP กับสหภาพยุโรปภายหลังเหตุการณ์สึนามิ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2548 นาย Denis Comeau เอกอัครราชทูตแคนาดา นาย Jan Mathysen เอกอัครราชทูตเบลเยี่ยม และนาย Pieter Marres เอกอัครราชทูตเนเธอแลนด์ประจำประเทศไทย ได้เข้าเยี่ยมคารวะและหารือกับ ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในโอกาส ที่เอกอัครราชทูตดังกล่าวเข้ารับตำแหน่งใหม่ ตามลำดับ และภายหลังการหารือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน สรุปได้ดังนี้
1. ผลการหารือกับเอกอัครราชทูตแคนาดา ทั้งสองฝ่ายชื่นชม ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน Candian International Development Agency (CIDA) ของแคนาดากับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ของไทยซึ่งกำลังดำเนินไปด้วยดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแจ้งฝ่ายแคนาดาว่า รัฐบาลไทยมีนโยบายสนับสนุน ให้ประเทศแคนาดาจัดส่งครูสอนภาษาอังกฤษเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มขึ้น เพื่อมาสอนภาษาอังกฤษให้กับ นักเรียนไทยในทุกระดับ และมีนโยบายสนับสนุนให้นักเรียนไทยไปเรียนในประเทศแคนาดามากขึ้นเช่นกัน
ทั้งสองฝ่ายจะพัฒนาความสัมพันธ์ด้านการค้าและการลงทุนของทั้งสองประเทศให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งในโอกาสเดียวกันนี้ เอกอัครราชทูตแคนาดาได้แจ้งว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแคนาดาประสงค์จะเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไปเยือนแคนาดาในโอกาสต่อไป
2. ผลการหารือกับเอกอัครราชทูตเบลเยี่ยม ทั้งสองฝ่ายเห็นว่า ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ที่ยาวนาน โดยเบลเยี่ยมมีสถานเอกอัครราชทูต ในไทยมา 100 ปีแล้ว และที่ผ่านมาเจ้าหญิงแอสตริทของเบลเยี่ยมก็ได้เสด็จเยือนประเทศไทย ทั้งสองฝ่ายพร้อมที่จะร่วมกันพัฒนาความสัมพันธ์ด้านต่างๆ รวมถึง การค้า การลงทุนให้เพิ่มมากขึ้น
ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและข่าวกรองเกี่ยวกับการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งให้ฝ่ายเบลเยี่ยมทราบว่าไทยประสงค์จะให้สหภาพยุโรปพิจารณาให้ความช่วยเหลือไทยในลักษณะให้ความเป็นธรรมด้านการส่งออกกุ้งของไทยอย่างเร็วที่สุด หลังจากสินค้ากุ้งประสบปัญหา GSP กับสหภาพยุโรปภายหลังเหตุการณ์สึนามิ
ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือด้านการศึกษา โดยการส่งนักศึกษาไทยไปศึกษาในเบลเยี่ยม เนื่องจากการศึกษาระดับสูงในเบลเยี่ยมสอนเป็นภาษาอังกฤษ รวมถึงจะร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านดนตรี และด้านอื่น ๆ
3. ผลการหารือกับเอกอัครราชทูตเนเธอแลนด์
ฝ่ายไทยเห็นว่า ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประตูสู่สหภาพยุโรปและเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย เนื่องจากเป็นประเทศคู่ค้าอันดับสามของไทยในสหภาพยุโรป
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งให้ฝ่ายเนเธอร์แลนด์ทราบเช่นเดียวกับที่ได้แจ้งแก่ฝ่ายเบลเยี่ยม โดยขอให้พิจารณาให้ความช่วยเหลือไทยในลักษณะให้ความเป็นธรรมด้านการส่งออกกุ้งของไทยอย่างเร็วที่สุด หลังจากสินค้ากุ้งประสบปัญหา GSP กับสหภาพยุโรปภายหลังเหตุการณ์สึนามิ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-