ข่าวในประเทศ
1. เอชเอสบีซีประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 2.5 ในปี 44 ขณะที่ ธพ. ปรับนโยบายการดำเนินธุรกิจ ผู้จัดการฝ่ายตลาดทุน ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด (เอชเอสบีซี) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 2.5 ในปี 44 ค่าเงินบาทจะแข็งขึ้นจากปี 43 ประมาณร้อยละ 5 หรืออยู่ที่ 40 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากในช่วง 2-3 เดือน ก่อนสิ้นปี 43 ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 44 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับปัจจุบันที่ระดับ 42.70 บาท สาเหตุที่มองว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้น เนื่องจากยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจะแข็งแกร่งขึ้น โดยเฉพาะรายได้จากการส่งออกที่มีมูลค่ามากขึ้น นอกจากนี้ยัง ธ.กลาง สรอ.อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ 0.5 ส่งผลให้ส่วนต่างดอกเบี้ยของไทยและ สรอ.ลดลง เป็นปัจจัยสนับสนุนให้มีเงินลงทุนเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ขณะที่กรรมการผู้จัดการ ธ.เอเชียกล่าวว่า การที่ ธปท.ปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเหลือร้อยละ 3-4.5 ในปี 44 ทำให้ ธพ.และธุรกิจต้องปรับเป้าหมายการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งแผนการปล่อยสินเชื่อ (ผู้จัดการรายวัน 31)
2. ก.พาณิชย์รายงานตัวเลขการส่งออกและนำเข้าปี 43 นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยตัวเลขการส่งออกของไทยเดือน ม.ค.-ธ.ค.43 ว่า มีมูลค่า 69,872.3 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปี 42 ร้อยละ 19.5 ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 โดยตัวเลขการส่งออกในเดือน ธ.ค.43 มีมูลค่า 5,917.4 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.42 และลดลงร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.43 สำหรับตัวเลขการนำเข้าเดือน ม.ค.-ธ.ค.43 มีมูลค่า 62,181 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปี 42 ร้อยละ 24.5 โดยการนำเข้าเดือน ธ.ค.43 มีมูลค่า 5,196.3 ล.ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.42 และลดลงร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.43 สำหรับตัวเลขดุลการค้าปี 43 เกินดุลลดลงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 42 คิดเป็นมูลค่า 7,691.3 ล.ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่เป้าหมายการส่งออกปี 44 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 11.3 (มติชน,เดลินิวส์ 31)
3. ธปท.ปรับปรุงกฎระเบียบการดำรงสินทรัพย์ของธนาคารต่างประเทศ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท.เปิดเผยว่า ธปท.ได้ออกประกาศ เรื่องการกำหนดประเภทของเงินที่จะใช้เป็นเงินกองทุนสำหรับการดำรงสินทรัพย์ของธนาคารต่างประเทศ โดยยกเลิกการอนุญาตให้ธนาคารต่างประเทศนับเงินลงทุนที่สาขาธนาคารต่างประเทศนำไปซื้อหุ้นสามัญ หรือหุ้นบุริมสิทธิของธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนเป็นสินทรัพย์ของธนาคาร รวมทั้งห้ามนับเงินทุนที่ไปซื้อหุ้นของบริษัทจำกัด ซึ่งในที่สุดไปลงทุนในหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิของธนาคารพาณิชย์ มานับเป็นสินทรัพย์ของธนาคารด้วย ซึ่งกฎระเบียบดังกล่าวเป็นการปรับปรุงเพื่อมิให้ธนาคารต่างประเทศดำเนินการโดยการใช้เงินกองทุนที่ลงทุนในสถาบันการเงินอื่นในรูปของหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิไปนับรวมเป็นเงินกองทุนเดียวกัน เนื่องจากเป็นการใช้เงินกองทุนจำนวนเดียวกัน แต่ต้องรองรับความเสี่ยงของบริษัทถึง 2 แห่ง (ไทยรัฐ,กรุงเทพธุรกิจ,ผู้จัดการรายวัน 31)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ. ลดลงอยู่ที่ระดับ 114.4 ในเดือน ม.ค. 44 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 44 Conference Board รายงานว่า เดือน ม.ค. 44 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ลดลงอยู่ที่ระดับ 114.4 จากตัวเลขปรับใหม่ที่ระดับ 128.6 ในเดือน ธ.ค. 43 ซึ่งเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 และต่ำที่สุดในรอบ4 ปีตั้งแต่เดือน ธ.ค. 39 และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์เคยคาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 124.2 ขณะเดียวกัน ดัชนีการคาดหวัง ซึ่งใช้วัดความเชื่อมั่นฯในช่วง 6 เดือนหน้า ลดลงอยู่ที่ระดับ 77 จากตัวเลขที่ปรับแล้ว ที่ระดับ96.9 ในเดือน ธ.ค. 43 นับเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือน ต.ค. 36 และเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าผู้บริโภคอาจจะเข้มงวดการใช้จ่ายเงินยิ่งขึ้น Lynn Franco ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยผู้บริโภคของ Conference Board กล่าวว่า ผู้บริโภคคาดหมายแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะสั้นในแง่ร้าย จึงส่งผลให้ดัชนีการคาดหวังลดลงอย่างมากในเดือน ม.ค. 44 จากรายงานครั้งนี้ ยิ่งเป็นการเกื้อหนุนให้ ธ. กลางต้องลดดอกเบี้ยอย่างรุนแรงเพื่อยับยั้งภาวะเศรษฐกิจ ถดถอย ทั้งนี้ มีการคาดหมายกันว่า ธ. กลางจะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ 0.5 เป็นครั้งที่ 2 ในเดือน ม.ค. นี้(รอยเตอร์ 30)
2. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอังกฤษฟื้นตัวขึ้น ในเดือน ม.ค.44 รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 31 ม.ค.44 GfK GB Ltd ซึ่งเป็นบริษัทสำรวจข้อมูลของคณะกรรมาธิการยุโรปรายงานว่า เดือน ม.ค.44 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอังกฤษ ซึ่งวัดความรู้สึกของผู้บริโภคที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ เพิ่มขึ้น 6 จุด อยู่ที่ +5 เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงที่สุดนับแต่เดือน ม.ค.43 ที่อยู่ในระดับ +8 และนับแต่ฤดูใบไม้ผลิเป็นต้นมา ดัชนีฯ ได้ลดลงอยู่ในระดับใกล้ 0 มาตลอด และเมื่อเดือน ต.ค.43 ดัชนีฯ ได้ลดลงอยู่ที่ระดับ -5 ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 22 เดือน อันเป็นผลจากการเกิดเหตุการณ์ประท้วงเรื่องราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในเดือนก่อนหน้า สำหรับในเดือน ม.ค.44 ส่วนประกอบทั้ง 5 ตัวของดัชนีฯ ต่างเพิ่มขึ้น ซึ่งการฟื้นตัวของดัชนีฯ ดังกล่าวในอังกฤษ เป็นไปในทางตรงกันข้ามกับ สรอ. ที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนเดียวกันนี้ลดลงอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี ทั้งนี้ GfK วิเคราะห์ว่า การที่ดัชนีฯ ของอังกฤษเพิ่มขึ้นเป็นเพราะการปรับลดดอกเบี้ยของ สรอ. ในเดือน ม.ค.นี้ ทำให้ผู้บริโภคของอังกฤษคาดการณ์กันว่าอังกฤษจะปรับลดดอกเบี้ยลงเช่นเดียวกัน (รอยเตอร์ 31)
3. เศรษฐกิจของเยอรมนีคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.6 ในปี 44 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 30 ม.ค. 44 รอยเตอร์รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ในช่วง 15-18 ม.ค. 44 ว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงของ สรอ. ในขณะนี้ทำให้นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ในปี 44 เศรษฐกิจของเยอรมนีจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเหลือประมาณร้อยละ 2.6 ลดลงจากการสำรวจครั้งก่อนในเดือน ต.ค. 43 ที่คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 2.9 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเยอรมนีคาดหมายเศรษฐกิจในแง่ดีกว่านักเศรษฐศาสตร์ภาคเอกชนว่า ปี 44 เศรษฐกิจเยอรมนีจะเติบโตร้อยละ 2.75 (รอยเตอร์ 30)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 30 ม.ค.44 42.661 (42.700)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 30 ม.ค. 44
ซื้อ 42.4037 (42.5809) ขาย 42.7170 (42.8888)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,300 (5,300) ขาย 5,400 (5,400)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.51 (23.37)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.99 (15.99) ดีเซลหมุนเร็ว 13.44 (13.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. เอชเอสบีซีประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 2.5 ในปี 44 ขณะที่ ธพ. ปรับนโยบายการดำเนินธุรกิจ ผู้จัดการฝ่ายตลาดทุน ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด (เอชเอสบีซี) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 2.5 ในปี 44 ค่าเงินบาทจะแข็งขึ้นจากปี 43 ประมาณร้อยละ 5 หรืออยู่ที่ 40 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากในช่วง 2-3 เดือน ก่อนสิ้นปี 43 ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 44 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับปัจจุบันที่ระดับ 42.70 บาท สาเหตุที่มองว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้น เนื่องจากยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจะแข็งแกร่งขึ้น โดยเฉพาะรายได้จากการส่งออกที่มีมูลค่ามากขึ้น นอกจากนี้ยัง ธ.กลาง สรอ.อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ 0.5 ส่งผลให้ส่วนต่างดอกเบี้ยของไทยและ สรอ.ลดลง เป็นปัจจัยสนับสนุนให้มีเงินลงทุนเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ขณะที่กรรมการผู้จัดการ ธ.เอเชียกล่าวว่า การที่ ธปท.ปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเหลือร้อยละ 3-4.5 ในปี 44 ทำให้ ธพ.และธุรกิจต้องปรับเป้าหมายการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งแผนการปล่อยสินเชื่อ (ผู้จัดการรายวัน 31)
2. ก.พาณิชย์รายงานตัวเลขการส่งออกและนำเข้าปี 43 นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยตัวเลขการส่งออกของไทยเดือน ม.ค.-ธ.ค.43 ว่า มีมูลค่า 69,872.3 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปี 42 ร้อยละ 19.5 ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 โดยตัวเลขการส่งออกในเดือน ธ.ค.43 มีมูลค่า 5,917.4 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.42 และลดลงร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.43 สำหรับตัวเลขการนำเข้าเดือน ม.ค.-ธ.ค.43 มีมูลค่า 62,181 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปี 42 ร้อยละ 24.5 โดยการนำเข้าเดือน ธ.ค.43 มีมูลค่า 5,196.3 ล.ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.42 และลดลงร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.43 สำหรับตัวเลขดุลการค้าปี 43 เกินดุลลดลงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 42 คิดเป็นมูลค่า 7,691.3 ล.ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่เป้าหมายการส่งออกปี 44 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 11.3 (มติชน,เดลินิวส์ 31)
3. ธปท.ปรับปรุงกฎระเบียบการดำรงสินทรัพย์ของธนาคารต่างประเทศ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท.เปิดเผยว่า ธปท.ได้ออกประกาศ เรื่องการกำหนดประเภทของเงินที่จะใช้เป็นเงินกองทุนสำหรับการดำรงสินทรัพย์ของธนาคารต่างประเทศ โดยยกเลิกการอนุญาตให้ธนาคารต่างประเทศนับเงินลงทุนที่สาขาธนาคารต่างประเทศนำไปซื้อหุ้นสามัญ หรือหุ้นบุริมสิทธิของธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนเป็นสินทรัพย์ของธนาคาร รวมทั้งห้ามนับเงินทุนที่ไปซื้อหุ้นของบริษัทจำกัด ซึ่งในที่สุดไปลงทุนในหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิของธนาคารพาณิชย์ มานับเป็นสินทรัพย์ของธนาคารด้วย ซึ่งกฎระเบียบดังกล่าวเป็นการปรับปรุงเพื่อมิให้ธนาคารต่างประเทศดำเนินการโดยการใช้เงินกองทุนที่ลงทุนในสถาบันการเงินอื่นในรูปของหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิไปนับรวมเป็นเงินกองทุนเดียวกัน เนื่องจากเป็นการใช้เงินกองทุนจำนวนเดียวกัน แต่ต้องรองรับความเสี่ยงของบริษัทถึง 2 แห่ง (ไทยรัฐ,กรุงเทพธุรกิจ,ผู้จัดการรายวัน 31)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ. ลดลงอยู่ที่ระดับ 114.4 ในเดือน ม.ค. 44 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 44 Conference Board รายงานว่า เดือน ม.ค. 44 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ลดลงอยู่ที่ระดับ 114.4 จากตัวเลขปรับใหม่ที่ระดับ 128.6 ในเดือน ธ.ค. 43 ซึ่งเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 และต่ำที่สุดในรอบ4 ปีตั้งแต่เดือน ธ.ค. 39 และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์เคยคาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 124.2 ขณะเดียวกัน ดัชนีการคาดหวัง ซึ่งใช้วัดความเชื่อมั่นฯในช่วง 6 เดือนหน้า ลดลงอยู่ที่ระดับ 77 จากตัวเลขที่ปรับแล้ว ที่ระดับ96.9 ในเดือน ธ.ค. 43 นับเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือน ต.ค. 36 และเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าผู้บริโภคอาจจะเข้มงวดการใช้จ่ายเงินยิ่งขึ้น Lynn Franco ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยผู้บริโภคของ Conference Board กล่าวว่า ผู้บริโภคคาดหมายแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะสั้นในแง่ร้าย จึงส่งผลให้ดัชนีการคาดหวังลดลงอย่างมากในเดือน ม.ค. 44 จากรายงานครั้งนี้ ยิ่งเป็นการเกื้อหนุนให้ ธ. กลางต้องลดดอกเบี้ยอย่างรุนแรงเพื่อยับยั้งภาวะเศรษฐกิจ ถดถอย ทั้งนี้ มีการคาดหมายกันว่า ธ. กลางจะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ 0.5 เป็นครั้งที่ 2 ในเดือน ม.ค. นี้(รอยเตอร์ 30)
2. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอังกฤษฟื้นตัวขึ้น ในเดือน ม.ค.44 รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 31 ม.ค.44 GfK GB Ltd ซึ่งเป็นบริษัทสำรวจข้อมูลของคณะกรรมาธิการยุโรปรายงานว่า เดือน ม.ค.44 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอังกฤษ ซึ่งวัดความรู้สึกของผู้บริโภคที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ เพิ่มขึ้น 6 จุด อยู่ที่ +5 เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงที่สุดนับแต่เดือน ม.ค.43 ที่อยู่ในระดับ +8 และนับแต่ฤดูใบไม้ผลิเป็นต้นมา ดัชนีฯ ได้ลดลงอยู่ในระดับใกล้ 0 มาตลอด และเมื่อเดือน ต.ค.43 ดัชนีฯ ได้ลดลงอยู่ที่ระดับ -5 ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 22 เดือน อันเป็นผลจากการเกิดเหตุการณ์ประท้วงเรื่องราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในเดือนก่อนหน้า สำหรับในเดือน ม.ค.44 ส่วนประกอบทั้ง 5 ตัวของดัชนีฯ ต่างเพิ่มขึ้น ซึ่งการฟื้นตัวของดัชนีฯ ดังกล่าวในอังกฤษ เป็นไปในทางตรงกันข้ามกับ สรอ. ที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนเดียวกันนี้ลดลงอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี ทั้งนี้ GfK วิเคราะห์ว่า การที่ดัชนีฯ ของอังกฤษเพิ่มขึ้นเป็นเพราะการปรับลดดอกเบี้ยของ สรอ. ในเดือน ม.ค.นี้ ทำให้ผู้บริโภคของอังกฤษคาดการณ์กันว่าอังกฤษจะปรับลดดอกเบี้ยลงเช่นเดียวกัน (รอยเตอร์ 31)
3. เศรษฐกิจของเยอรมนีคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.6 ในปี 44 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 30 ม.ค. 44 รอยเตอร์รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ในช่วง 15-18 ม.ค. 44 ว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงของ สรอ. ในขณะนี้ทำให้นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ในปี 44 เศรษฐกิจของเยอรมนีจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเหลือประมาณร้อยละ 2.6 ลดลงจากการสำรวจครั้งก่อนในเดือน ต.ค. 43 ที่คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 2.9 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเยอรมนีคาดหมายเศรษฐกิจในแง่ดีกว่านักเศรษฐศาสตร์ภาคเอกชนว่า ปี 44 เศรษฐกิจเยอรมนีจะเติบโตร้อยละ 2.75 (รอยเตอร์ 30)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 30 ม.ค.44 42.661 (42.700)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 30 ม.ค. 44
ซื้อ 42.4037 (42.5809) ขาย 42.7170 (42.8888)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,300 (5,300) ขาย 5,400 (5,400)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.51 (23.37)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.99 (15.99) ดีเซลหมุนเร็ว 13.44 (13.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-