แท็ก
พระราชดำริ
กรุงเทพฯ--26 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
พระราชวังสราญรมย์ ซึ่งโดยทั่วไปเรียกกันว่า “วังสราญรมย์” นั้น สร้างขึ้นตาม พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในช่วงปลายรัชกาลเพื่อเตรียมไว้เป็นที่ประทับในกรณีที่ทรงสละราชสมบัติเมื่อพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ทรงบรรลุนิติภาวะ แต่ในปี 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคตในขณะที่วังสราญรมย์ยังก่อสร้างไม่เสร็จ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างจนเสร็จและพระราชทานให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอทั้งสองพระองค์ในช่วงก่อนออกวัง (การมีวังที่ประทับเป็นการถาวร) ระหว่างปี 2428-2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการฯ เสนาบดีผู้ว่าการต่างประเทศทรงใช้เป็น ที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศ หรือที่เรียกกันในช่วงนั้นว่า “ศาลาว่าการต่างประเทศ” ระหว่าง ปี 2430-2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เป็นที่ประทับและ ที่พำนักของพระราชอาคันตุกะที่มาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ และบางครั้งก็ได้พระราชทาน ให้เป็นที่ประทับของพระราชโอรสที่เสด็จกลับมากรุงเทพฯ เป็นการชั่วคราวระหว่างที่ทรงศึกษา อยู่ในต่างประเทศ
สำหรับในปี 2441 นั้น ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมและขยายวังสราญรมย์ให้เหมาะสำหรับเป็นที่ประทับและที่พำนักของพระราชอาคันตุกะมากยิ่งขึ้น โดยได้มีการแก้ไขให้ด้านหน้าหันเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง ระหว่างปี 2447-2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระอิศริยศเป็นพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารได้ทรงใช้วังสราญรมย์เป็น ที่ประทับแห่งหนึ่ง ระหว่างปี 2453-2469 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้วังสราญรมย์เป็นที่ประทับและที่พำนักของพระราชอาคันตุกะเช่นเดิม นอกจากนั้น ยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เป็นสถานที่จัดงานรื่นเริงที่มีความสำคัญอาทิ งานเต้นรำของกระทรวง การต่างประเทศเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ซึ่งแขกที่ได้รับเชิญประกอบด้วย พระบรม วงศานุวงศ์ คณะทูต คณะกงสุล ตลอดจนข้าราชการชาวต่างประเทศ และชาวต่างประเทศที่พำนัก อยู่ในกรุงเทพฯ เกือบทุกราย ในปี 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า การที่กระทรวงการต่างประเทศตั้งอยู่ที่ศาลาราชวัลลภในบริเวณพระบรมมหาราชวังนั้นมีความไม่ เหมาะสมอยู่หลายประการ ดังนั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายกระทรวงการต่างประเทศ ไปยังพระราชวังสราญรมย์ ดังความปรากฏในพระราชหัตถเลขาฉบับลงวันที่ 9 มีนาคม พระราชทาน มายังพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไตรทศประพันธ์ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมากระทรวงการต่างประเทศจึงได้ใช้วังสราญรมย์เป็นที่ทำการเป็นครั้งที่สอง
ระหว่างปี 2469-2511 กระทรวงการต่างประเทศได้ทำการซ่อมแซมและปรับปรุง วังสราญรมย์หลายครั้งด้วยกัน โดยได้ซ่อมใหญ่ครั้งหนึ่งเมื่อปี 2494 นอกจากนั้น ยังได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ก่อสร้างอาคารเพิ่มเติมขึ้นมาทั้งในบริเวณวังสราญรมย์และสวนสราญรมย์ ในปี 2511 กระทรวงการต่างประเทศมีความจำเป็นต้องขยายพื้นที่สำหรับปฏิบัติราชการในบริเวณ วังสราญรมย์ ในการนี้ ได้มีการรื้อปีกด้านตะวันออกของวังสราญรมย์ และสร้างอาคารสูง 4 ชั้น ขึ้นมาแทน ส่วนอาคารวังสราญรมย์ด้านอื่นนั้นคงสภาพไว้เช่นเดิม ในปี 2535 กระทรวงการต่างประเทศได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างอาคารที่ทำการ สองแห่ง อันได้แก่ อาคารถนนศรีอยุธยาและอาคารถนนแจ้งวัฒนะ และตามแผนงานดังกล่าว ที่ทำการของส่วนราชการที่ตั้งอยู่ในบริเวณวังสราญรมย์จะย้ายเข้าไปสู่อาคารถนนศรีอยุธยา การก่อสร้างอาคารทั้งสองแห่งดังกล่าวได้เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2539 ในขณะเดียวกันนั้น กระทรวงการต่างประเทศก็ได้ริเริ่มโครงการปรับปรุงซ่อมแซมเพื่ออนุรักษ์พระราชวังสราญรมย์ ในการนี้ ภายหลังจากการการหารือเบื้องต้นกับผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว กระทรวงการต่างประเทศได้ขอให้มหาวิทยาลัยศิลปากรจัดทำข้อเสนอแนะและแผนงานสำหรับโครงการ ดังกล่าว ซึ่งปรากฏว่าได้รับความร่วมมือด้วยดี ต่อมาเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2541 กระทรวงการ ต่างประเทศได้เสนอโครงการดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ ซึ่งเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2542 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการให้ดำเนินการตามเสนอโดยให้รับข้อสังเกตของคณะกรรมการกรุงรัตนโกสินทร์ไปดำเนินการ และให้นำแบบอนุรักษ์ทั้งหมดเสนอกรมศิลปากรให้ความเห็นชอบและลงนามก่อนดำเนินการ ถึงแม้ว่าโครงการดังกล่าวได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะรัฐมนตรีเมื่อต้นปี 2542 แต่ก็ปรากฎว่าระหว่างปี 2542 กระทรวงการต่างประเทศไม่สามารถดำเนินการตามโครงการนี้ ได้ เนื่องจากปัญหาด้านงบประมาณ ดังนั้น จึงได้ชะลอไว้เป็นการชั่วคราว อย่างไรก็ตาม ในช่วงกลางปี 2543 กระทรวงการต่างประเทศได้พิจารณาทบทวนแล้วเห็นว่าสมควรดำเนินการตาม โครงการดังกล่าวโดยทันที
ทั้งนี้ เนื่องจากการดำเนินการในช่วงแรกนั้นสามารถกระทำได้โดย ไม่ก่อให้เกิดภาระด้านงบประมาณมากนัก ในการดำเนินการตามโครงการปรับปรุงซ่อมแซมเพื่ออนุรักษ์พระราชวังสราญรมย์ครั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้ขอพระราชทานอัญเชิญสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานกิตติมศักดิ์ ทั้งนี้ เนื่องจากตระหนักว่าทรงมีความสนพระราชหฤทัยในเรื่องของการอนุรักษ์โบราณสถาน และเพื่อความเป็นศิริมงคลของโครงการ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงรับเป็นประธานกิตติมศักดิ์ตามที่ขอพระราชทาน อันเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่งต่อกระทรวงการต่างประเทศ ขณะนี้การดำเนินการตามโครงการนี้มีความคืบหน้าไปอย่างรวดเร็ว คณะทำงาน อันประกอบด้วยผู้แทนของส่วนราชการภายในกระทรวงการต่างประเทศและผู้ทรงคุณวุฒิในด้าน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เห็นสมควรให้ดำเนินการรื้อถอนอาคาร 4 ชั้น ควบคู่ไปกับการสำรวจและออกแบบอาคารที่จะก่อสร้างขึ้นมาใหม่ (ปีกตะวันออกเดิมของวังสราญรมย์) เพื่อให้วังสราญรมย์คืนสู่สภาพเดิม ในการนี้ กรมศิลปากรได้รับที่จะดำเนินการในส่วนของการสำรวจและออกแบบก่อสร้าง ส่วนการรื้อถอนนั้นกระทรวงการต่างประเทศได้ใช้วิธีรื้อถอนและขายซากตึกภายใต้การควบคุมของ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งผู้ที่เสนอราคาสูงสุดและได้รับคัดเลือกได้แก่ บริษัทอินเตอร์คอน จำกัด สำหรับการใช้สอยพื้นที่ของวังสราญรมย์ตามโครงการนี้นั้น กระทรวงการต่างประเทศ จะใช้เป็นสถานที่สำหรับการจัดงานและการประชุมระหว่างประเทศที่มีความสำคัญ พร้อมกันนั้น ก็จะใช้เป็นสถานที่สำหรับแสดงประวัติความเป็นมาของการต่างประเทศของไทย โดยเฉพาะในยุค รัตนโกสินทร์ นอกจากนั้น ในกรณีที่จำเป็นก็สามารถใช้พื้นที่บางส่วนสำหรับกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิ อาทิ การฝึกอบรมหรือการสัมมนาทางวิชาการ โดยสรุปแล้วกระทรวงการต่างประเทศมุ่งหวังที่จะให้วังสราญรมย์เป็นสถานที่ อันเป็นที่เชิดหน้าชูตาของเกาะรัตนโกสินทร์และกรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับประกอบกิจกรรมระดับนานาชาติ และเป็นสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งกระทรวงการต่างประเทศสามารถรักษาไว้ ตลอดจนทำนุบำรุงต่อไปด้วยความภาคภูมิใจ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
พระราชวังสราญรมย์ ซึ่งโดยทั่วไปเรียกกันว่า “วังสราญรมย์” นั้น สร้างขึ้นตาม พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในช่วงปลายรัชกาลเพื่อเตรียมไว้เป็นที่ประทับในกรณีที่ทรงสละราชสมบัติเมื่อพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ทรงบรรลุนิติภาวะ แต่ในปี 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคตในขณะที่วังสราญรมย์ยังก่อสร้างไม่เสร็จ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างจนเสร็จและพระราชทานให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอทั้งสองพระองค์ในช่วงก่อนออกวัง (การมีวังที่ประทับเป็นการถาวร) ระหว่างปี 2428-2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการฯ เสนาบดีผู้ว่าการต่างประเทศทรงใช้เป็น ที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศ หรือที่เรียกกันในช่วงนั้นว่า “ศาลาว่าการต่างประเทศ” ระหว่าง ปี 2430-2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เป็นที่ประทับและ ที่พำนักของพระราชอาคันตุกะที่มาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ และบางครั้งก็ได้พระราชทาน ให้เป็นที่ประทับของพระราชโอรสที่เสด็จกลับมากรุงเทพฯ เป็นการชั่วคราวระหว่างที่ทรงศึกษา อยู่ในต่างประเทศ
สำหรับในปี 2441 นั้น ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมและขยายวังสราญรมย์ให้เหมาะสำหรับเป็นที่ประทับและที่พำนักของพระราชอาคันตุกะมากยิ่งขึ้น โดยได้มีการแก้ไขให้ด้านหน้าหันเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง ระหว่างปี 2447-2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระอิศริยศเป็นพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารได้ทรงใช้วังสราญรมย์เป็น ที่ประทับแห่งหนึ่ง ระหว่างปี 2453-2469 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้วังสราญรมย์เป็นที่ประทับและที่พำนักของพระราชอาคันตุกะเช่นเดิม นอกจากนั้น ยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เป็นสถานที่จัดงานรื่นเริงที่มีความสำคัญอาทิ งานเต้นรำของกระทรวง การต่างประเทศเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ซึ่งแขกที่ได้รับเชิญประกอบด้วย พระบรม วงศานุวงศ์ คณะทูต คณะกงสุล ตลอดจนข้าราชการชาวต่างประเทศ และชาวต่างประเทศที่พำนัก อยู่ในกรุงเทพฯ เกือบทุกราย ในปี 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า การที่กระทรวงการต่างประเทศตั้งอยู่ที่ศาลาราชวัลลภในบริเวณพระบรมมหาราชวังนั้นมีความไม่ เหมาะสมอยู่หลายประการ ดังนั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายกระทรวงการต่างประเทศ ไปยังพระราชวังสราญรมย์ ดังความปรากฏในพระราชหัตถเลขาฉบับลงวันที่ 9 มีนาคม พระราชทาน มายังพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไตรทศประพันธ์ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมากระทรวงการต่างประเทศจึงได้ใช้วังสราญรมย์เป็นที่ทำการเป็นครั้งที่สอง
ระหว่างปี 2469-2511 กระทรวงการต่างประเทศได้ทำการซ่อมแซมและปรับปรุง วังสราญรมย์หลายครั้งด้วยกัน โดยได้ซ่อมใหญ่ครั้งหนึ่งเมื่อปี 2494 นอกจากนั้น ยังได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ก่อสร้างอาคารเพิ่มเติมขึ้นมาทั้งในบริเวณวังสราญรมย์และสวนสราญรมย์ ในปี 2511 กระทรวงการต่างประเทศมีความจำเป็นต้องขยายพื้นที่สำหรับปฏิบัติราชการในบริเวณ วังสราญรมย์ ในการนี้ ได้มีการรื้อปีกด้านตะวันออกของวังสราญรมย์ และสร้างอาคารสูง 4 ชั้น ขึ้นมาแทน ส่วนอาคารวังสราญรมย์ด้านอื่นนั้นคงสภาพไว้เช่นเดิม ในปี 2535 กระทรวงการต่างประเทศได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างอาคารที่ทำการ สองแห่ง อันได้แก่ อาคารถนนศรีอยุธยาและอาคารถนนแจ้งวัฒนะ และตามแผนงานดังกล่าว ที่ทำการของส่วนราชการที่ตั้งอยู่ในบริเวณวังสราญรมย์จะย้ายเข้าไปสู่อาคารถนนศรีอยุธยา การก่อสร้างอาคารทั้งสองแห่งดังกล่าวได้เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2539 ในขณะเดียวกันนั้น กระทรวงการต่างประเทศก็ได้ริเริ่มโครงการปรับปรุงซ่อมแซมเพื่ออนุรักษ์พระราชวังสราญรมย์ ในการนี้ ภายหลังจากการการหารือเบื้องต้นกับผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว กระทรวงการต่างประเทศได้ขอให้มหาวิทยาลัยศิลปากรจัดทำข้อเสนอแนะและแผนงานสำหรับโครงการ ดังกล่าว ซึ่งปรากฏว่าได้รับความร่วมมือด้วยดี ต่อมาเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2541 กระทรวงการ ต่างประเทศได้เสนอโครงการดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ ซึ่งเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2542 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการให้ดำเนินการตามเสนอโดยให้รับข้อสังเกตของคณะกรรมการกรุงรัตนโกสินทร์ไปดำเนินการ และให้นำแบบอนุรักษ์ทั้งหมดเสนอกรมศิลปากรให้ความเห็นชอบและลงนามก่อนดำเนินการ ถึงแม้ว่าโครงการดังกล่าวได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะรัฐมนตรีเมื่อต้นปี 2542 แต่ก็ปรากฎว่าระหว่างปี 2542 กระทรวงการต่างประเทศไม่สามารถดำเนินการตามโครงการนี้ ได้ เนื่องจากปัญหาด้านงบประมาณ ดังนั้น จึงได้ชะลอไว้เป็นการชั่วคราว อย่างไรก็ตาม ในช่วงกลางปี 2543 กระทรวงการต่างประเทศได้พิจารณาทบทวนแล้วเห็นว่าสมควรดำเนินการตาม โครงการดังกล่าวโดยทันที
ทั้งนี้ เนื่องจากการดำเนินการในช่วงแรกนั้นสามารถกระทำได้โดย ไม่ก่อให้เกิดภาระด้านงบประมาณมากนัก ในการดำเนินการตามโครงการปรับปรุงซ่อมแซมเพื่ออนุรักษ์พระราชวังสราญรมย์ครั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้ขอพระราชทานอัญเชิญสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานกิตติมศักดิ์ ทั้งนี้ เนื่องจากตระหนักว่าทรงมีความสนพระราชหฤทัยในเรื่องของการอนุรักษ์โบราณสถาน และเพื่อความเป็นศิริมงคลของโครงการ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงรับเป็นประธานกิตติมศักดิ์ตามที่ขอพระราชทาน อันเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่งต่อกระทรวงการต่างประเทศ ขณะนี้การดำเนินการตามโครงการนี้มีความคืบหน้าไปอย่างรวดเร็ว คณะทำงาน อันประกอบด้วยผู้แทนของส่วนราชการภายในกระทรวงการต่างประเทศและผู้ทรงคุณวุฒิในด้าน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เห็นสมควรให้ดำเนินการรื้อถอนอาคาร 4 ชั้น ควบคู่ไปกับการสำรวจและออกแบบอาคารที่จะก่อสร้างขึ้นมาใหม่ (ปีกตะวันออกเดิมของวังสราญรมย์) เพื่อให้วังสราญรมย์คืนสู่สภาพเดิม ในการนี้ กรมศิลปากรได้รับที่จะดำเนินการในส่วนของการสำรวจและออกแบบก่อสร้าง ส่วนการรื้อถอนนั้นกระทรวงการต่างประเทศได้ใช้วิธีรื้อถอนและขายซากตึกภายใต้การควบคุมของ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งผู้ที่เสนอราคาสูงสุดและได้รับคัดเลือกได้แก่ บริษัทอินเตอร์คอน จำกัด สำหรับการใช้สอยพื้นที่ของวังสราญรมย์ตามโครงการนี้นั้น กระทรวงการต่างประเทศ จะใช้เป็นสถานที่สำหรับการจัดงานและการประชุมระหว่างประเทศที่มีความสำคัญ พร้อมกันนั้น ก็จะใช้เป็นสถานที่สำหรับแสดงประวัติความเป็นมาของการต่างประเทศของไทย โดยเฉพาะในยุค รัตนโกสินทร์ นอกจากนั้น ในกรณีที่จำเป็นก็สามารถใช้พื้นที่บางส่วนสำหรับกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิ อาทิ การฝึกอบรมหรือการสัมมนาทางวิชาการ โดยสรุปแล้วกระทรวงการต่างประเทศมุ่งหวังที่จะให้วังสราญรมย์เป็นสถานที่ อันเป็นที่เชิดหน้าชูตาของเกาะรัตนโกสินทร์และกรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับประกอบกิจกรรมระดับนานาชาติ และเป็นสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งกระทรวงการต่างประเทศสามารถรักษาไว้ ตลอดจนทำนุบำรุงต่อไปด้วยความภาคภูมิใจ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-