กรุงเทพฯ--22 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2543 ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เชิญเอกอัครราชฑูตประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและคณะกรรมาธิการยุโรปหารือเรื่องข้อเสนอของไทยในกรอบการประชุมเอเซีย-ยุโรป (Asia Europe Meeting-ASEM) เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยใช้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian institute of Technology-AIT) ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย เป็นกลไกหลัก
ข้อเสนอของไทยมุ่งเรียกร้องให้ประเทศสมาชิก ASEM ทั้ง 26 ประเทศ อันประกอบด้วยประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป 15 ประเทศ และคณะกรรมาธิการยุโรป และประเทศในเอเซีย 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น และสาธารณารัฐเกาหลี ร่วมกันส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับบุคลากรจากอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยผ่านสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (Asian Institute of Technology-AIT) ทั้งนี้ วัตถุประสงค์หลักคือ การช่วยส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อลดช่องว่างระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิก ASEAN ดั้งเดิมและ ASEAN ใหม่และนำมาซึ่งเสถียรภาพและความเจริญรุ่งเรื่องในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
สำหรับแนวทางของกิจกรรมความร่วมมือนั้น อาจเป็นไปในลักษณะการตั้งกองทุนการศึกษาไว้ที่ AIT เพื่อส่งเสริมการฝึกอบรมบุคลากรจากประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง การส่งผู้เชี่ยวชาญมาที่ AIT เพื่อสอนวิชาหรือฝึกอบรมผู้สอนจากประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (train the trainers) เป็นต้น
โครงการนี้เป็นข้อเสนอใหม่ของไทยที่มุ่งหวังให้ที่ประชุมระดับผู้นำ ASEM 3 ที่จะมีขึ้นที่กรุงโซลระหว่างวันที่ 19-21 ตุลาคม 2543 ให้ความเห็นชอบ ซึ่งจะเป็นโอกาสสำคัญโอกาสแรกใน สหัสวรรษนี้ที่ประเทศยุโรปและเอเซียจะร่วมมือกันส่งสัญญาณที่ชัดเจนต่อประชาคมโลกว่าทั้งสองภูมิภาคให้ความสำคัญต่อการพัฒนา ASEM ให้เป็นเวทีที่เป็นประโยชน์แก่ประชาคมโลกโดยรวม--จบ--
-อน-
เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2543 ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เชิญเอกอัครราชฑูตประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและคณะกรรมาธิการยุโรปหารือเรื่องข้อเสนอของไทยในกรอบการประชุมเอเซีย-ยุโรป (Asia Europe Meeting-ASEM) เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยใช้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian institute of Technology-AIT) ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย เป็นกลไกหลัก
ข้อเสนอของไทยมุ่งเรียกร้องให้ประเทศสมาชิก ASEM ทั้ง 26 ประเทศ อันประกอบด้วยประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป 15 ประเทศ และคณะกรรมาธิการยุโรป และประเทศในเอเซีย 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น และสาธารณารัฐเกาหลี ร่วมกันส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับบุคลากรจากอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยผ่านสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (Asian Institute of Technology-AIT) ทั้งนี้ วัตถุประสงค์หลักคือ การช่วยส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อลดช่องว่างระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิก ASEAN ดั้งเดิมและ ASEAN ใหม่และนำมาซึ่งเสถียรภาพและความเจริญรุ่งเรื่องในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
สำหรับแนวทางของกิจกรรมความร่วมมือนั้น อาจเป็นไปในลักษณะการตั้งกองทุนการศึกษาไว้ที่ AIT เพื่อส่งเสริมการฝึกอบรมบุคลากรจากประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง การส่งผู้เชี่ยวชาญมาที่ AIT เพื่อสอนวิชาหรือฝึกอบรมผู้สอนจากประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (train the trainers) เป็นต้น
โครงการนี้เป็นข้อเสนอใหม่ของไทยที่มุ่งหวังให้ที่ประชุมระดับผู้นำ ASEM 3 ที่จะมีขึ้นที่กรุงโซลระหว่างวันที่ 19-21 ตุลาคม 2543 ให้ความเห็นชอบ ซึ่งจะเป็นโอกาสสำคัญโอกาสแรกใน สหัสวรรษนี้ที่ประเทศยุโรปและเอเซียจะร่วมมือกันส่งสัญญาณที่ชัดเจนต่อประชาคมโลกว่าทั้งสองภูมิภาคให้ความสำคัญต่อการพัฒนา ASEM ให้เป็นเวทีที่เป็นประโยชน์แก่ประชาคมโลกโดยรวม--จบ--
-อน-