กรุงเทพฯ--23 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
1. กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุง กัวลาลัมเปอร์แจ้งว่า เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2544 นายจารุเวศ พรหมโชติชัย เจ้าของเรือประมง ส.ฉัตรฤดี และจ. ฉัตรฤดี ได้ร้องเรียนต่อสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ว่า เรือประมงของตนอยู่ในระหว่างการเดินทางไปทำการประมงในน่านน้ำอินโดนีเซีย แต่เนื่องจากเรือได้ประสบกับพายุคลื่นลมแรงจึงจำเป็นต้องนำเรือเข้าหลบในบริเวณเกาะเตียวมัน รัฐปาหัง มาเลเซีย จึงขอความร่วมมือสถานเอกอัครราชทูตฯ ติดต่อประสานงานกับทางการมาเลเซียเพื่อแจ้งเรื่องการขอหลบภัยดังกล่าว
2. เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2544 สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รับการร้องเรียนจาก นายคงณัฐกาญจ์ ลาภเฉลิมพงศ์ เจ้าของเรือประมงคงณัฐกาญจ์ 9 และ 27 ว่า เรือประมงของตนพร้อมด้วยเรือประมงไทยอื่น ๆ อีกรวมประมาณ 20 ลำ (รวมทั้งเรือของนายจารุเวศฯ) ซึ่งหลบคลื่นพายุ คลื่นลมแรงที่เกาะเตียวมันได้ถูกเรือรบมาเลเซีย หมายเลข 37 และ 44 เข้าตรวจค้น และทหารเรือที่เข้าตรวจค้นได้นำอุปกรณ์สื่อสารทางดาวเทียมจำนวน 2 ชุดบนเรือของตนไปด้วยโดยไม่แจ้งสาเหตุ เมื่อตรวจสอบกับเรือลำอื่นพบว่าอุปกรณ์สื่อสารทางดาวเทียมบนเรือ อ. ทักษิณ เครื่องสูบน้ำบนเรือ อ. วิรัตน์นำโชค และกล้องส่องทางไกลบนเรือเอกอัมพรได้ถูกนำไปด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ เรื่อประมงทั้ง 20 ลำก็ได้ถูกทางการมาเลเซียผลักดันให้ออกจากเกาะเตียวมันทั้งที่สภาพทะเลยังมีคลื่นลมแรงไม่เอื้ออำนวยต่อการเดินทางไป
3. เกี่ยวกับเรื่องนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ขอความร่วมมือสำนักงานผู้ช่วยทูต ทหารไทยประจำมาเลเซียประสานงานกับสำนักงานเสนาธิการฝ่ายวางแผนและยุทธการของมาเลเซียเพื่อสอบสวนในเรื่องนี้ และต่อมาในเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2544 พลเรือจัตวา ดาโต๊ะ Ibrahim Jawi ผู้ช่วยเสนาธิการฝ่ายวางแผนและยุทธการของทหารเรือมาเลเซีย ได้เชิญ น.อ. เชษฐา ใจเปี่ยม รอง ผู้ช่วยทูตทหารเข้าพบเพื่อแจ้งผลการสอบสวนกรณีข้างต้นว่า จากการตรวจค้นเรือทหารทั้งสองลำ ดังกล่าวไม่ปรากฎพบสิ่งของที่มีการแจ้งว่าหายแต่ประการใด ดังนั้น หากฝ่ายไทยมีข้อมูลเพิ่มเติม เช่น ชื่อตัวบุคคล หรือรูปพรรณสัณฐานของบุคคลฝ่ายมาเลเซียพร้อมจะให้ความร่วมมือ ในการสืบสวน เรื่องนี้ต่อไป
4. สำหรับกรณีการผลักดันเรือประมง ฝ่ายมาเลเซียได้แสดงความเสียใจและ ขอโทษต่อสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะโดยหลักสากล เป็นหน้าที่ของรัฐชายฝั่งที่จะต้องให้ที่หลบภัยกับเรือ ทุกลำที่เข้าไปขอหลบภัยในขณะที่มีพายุคลื่นลมแรง 5. ผู้ช่วยเสนาธิการทหารฯ ได้แจ้งเพิ่มเติมด้วยว่า ชาวประมงซึ่งได้นำเรือเข้าไปหลบในบริเวณเกาะเตียวมันได้ขึ้นไปบนเกาะเพื่อหาฟืน ซึ่งเป็นเรื่องไม่เหมาะสม เนื่องจากการขึ้นเกาะต้องได้รับอนุญาต และแจ้งว่าเรือประมงไทยทั้งหมดได้แยกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเดินทางกลับประเทศไทยและอีกส่วนหนึ่งเดินทางต่อไปยังอินโดนีเซียแล้ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
1. กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุง กัวลาลัมเปอร์แจ้งว่า เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2544 นายจารุเวศ พรหมโชติชัย เจ้าของเรือประมง ส.ฉัตรฤดี และจ. ฉัตรฤดี ได้ร้องเรียนต่อสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ว่า เรือประมงของตนอยู่ในระหว่างการเดินทางไปทำการประมงในน่านน้ำอินโดนีเซีย แต่เนื่องจากเรือได้ประสบกับพายุคลื่นลมแรงจึงจำเป็นต้องนำเรือเข้าหลบในบริเวณเกาะเตียวมัน รัฐปาหัง มาเลเซีย จึงขอความร่วมมือสถานเอกอัครราชทูตฯ ติดต่อประสานงานกับทางการมาเลเซียเพื่อแจ้งเรื่องการขอหลบภัยดังกล่าว
2. เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2544 สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รับการร้องเรียนจาก นายคงณัฐกาญจ์ ลาภเฉลิมพงศ์ เจ้าของเรือประมงคงณัฐกาญจ์ 9 และ 27 ว่า เรือประมงของตนพร้อมด้วยเรือประมงไทยอื่น ๆ อีกรวมประมาณ 20 ลำ (รวมทั้งเรือของนายจารุเวศฯ) ซึ่งหลบคลื่นพายุ คลื่นลมแรงที่เกาะเตียวมันได้ถูกเรือรบมาเลเซีย หมายเลข 37 และ 44 เข้าตรวจค้น และทหารเรือที่เข้าตรวจค้นได้นำอุปกรณ์สื่อสารทางดาวเทียมจำนวน 2 ชุดบนเรือของตนไปด้วยโดยไม่แจ้งสาเหตุ เมื่อตรวจสอบกับเรือลำอื่นพบว่าอุปกรณ์สื่อสารทางดาวเทียมบนเรือ อ. ทักษิณ เครื่องสูบน้ำบนเรือ อ. วิรัตน์นำโชค และกล้องส่องทางไกลบนเรือเอกอัมพรได้ถูกนำไปด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ เรื่อประมงทั้ง 20 ลำก็ได้ถูกทางการมาเลเซียผลักดันให้ออกจากเกาะเตียวมันทั้งที่สภาพทะเลยังมีคลื่นลมแรงไม่เอื้ออำนวยต่อการเดินทางไป
3. เกี่ยวกับเรื่องนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ขอความร่วมมือสำนักงานผู้ช่วยทูต ทหารไทยประจำมาเลเซียประสานงานกับสำนักงานเสนาธิการฝ่ายวางแผนและยุทธการของมาเลเซียเพื่อสอบสวนในเรื่องนี้ และต่อมาในเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2544 พลเรือจัตวา ดาโต๊ะ Ibrahim Jawi ผู้ช่วยเสนาธิการฝ่ายวางแผนและยุทธการของทหารเรือมาเลเซีย ได้เชิญ น.อ. เชษฐา ใจเปี่ยม รอง ผู้ช่วยทูตทหารเข้าพบเพื่อแจ้งผลการสอบสวนกรณีข้างต้นว่า จากการตรวจค้นเรือทหารทั้งสองลำ ดังกล่าวไม่ปรากฎพบสิ่งของที่มีการแจ้งว่าหายแต่ประการใด ดังนั้น หากฝ่ายไทยมีข้อมูลเพิ่มเติม เช่น ชื่อตัวบุคคล หรือรูปพรรณสัณฐานของบุคคลฝ่ายมาเลเซียพร้อมจะให้ความร่วมมือ ในการสืบสวน เรื่องนี้ต่อไป
4. สำหรับกรณีการผลักดันเรือประมง ฝ่ายมาเลเซียได้แสดงความเสียใจและ ขอโทษต่อสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะโดยหลักสากล เป็นหน้าที่ของรัฐชายฝั่งที่จะต้องให้ที่หลบภัยกับเรือ ทุกลำที่เข้าไปขอหลบภัยในขณะที่มีพายุคลื่นลมแรง 5. ผู้ช่วยเสนาธิการทหารฯ ได้แจ้งเพิ่มเติมด้วยว่า ชาวประมงซึ่งได้นำเรือเข้าไปหลบในบริเวณเกาะเตียวมันได้ขึ้นไปบนเกาะเพื่อหาฟืน ซึ่งเป็นเรื่องไม่เหมาะสม เนื่องจากการขึ้นเกาะต้องได้รับอนุญาต และแจ้งว่าเรือประมงไทยทั้งหมดได้แยกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเดินทางกลับประเทศไทยและอีกส่วนหนึ่งเดินทางต่อไปยังอินโดนีเซียแล้ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-