ข่าวในประเทศ
1. ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจต่อ ครม.ยืนยันเศรษฐกิจไทยไม่อยู่ในภาวะถดถอย รมว.คลัง เปิดเผยว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจต่อ ครม. ว่า เศรษฐกิจไทยไม่ได้ถดถอย แต่อยู่ในทิศทางที่ชะลอตัวในปี 44 และคาดว่าปี 45 จะขยายตัวได้ในระดับร้อยละ 1-3 ทั้งนี้ การผลิตภาคเอกชนอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ชะลอตัว และการบริโภคภาคเอกชนในประเทศขยายตัวดี ทั้งนี้ ธปท.คาดการณ์ตรงกับรัฐบาลว่า แนวโน้มการลงทุนของต่างประเทศจะชะลอลง สำหรับดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดขยายตัวในระดับที่น่าพอใจ จึงไม่มีปัญหาในการชำระหนี้ต่างประเทศ (ไทยรัฐ 7)
2. กรมสรรพากรให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่สถาบันการเงินที่ปรับโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนด ผู้อำนวยการอาวุโสสายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ส่งหนังสือเวียนถึงสถาบันการเงินทุกแห่ง เรื่องการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยสถาบันการเงินที่ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ที่สถาบันการเงินฟ้องร้องและศาลมีคำพิพากษาแล้ว หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล และเป็นการปรับโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่ ธปท.กำหนด จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษี ตาม พ.ร.ก.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร พ.ศ.2542 ส่วนกรณีที่สถาบันการเงินฟ้องร้องลูกหนี้และตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามหลักเกณฑ์การปรับโครงสร้างหนี้ที่ ธปท.กำหนดและศาลพิพากษายอมตามแล้ว ก็จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเช่นกัน และหากลูกหนี้โอนขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นหลักประกันให้แก่บุคคลที่ 3 ในกรณีดังกล่าว ก็จะได้รับสิทธิการยกเว้นภาษีเช่นกัน โดยการโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นที่มิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชำระอยู่กับสถาบันการเงิน ในกรณีที่ลูกหนี้ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ชำระภาษีไปแล้ว มีสิทธิขอคืนภาษีได้ภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายของปีที่ถูกหักภาษีเกินไป (โลกวันนี้, มติชน 7)
3. ยอดเอ็นพีแอลของสถาบันการเงินทั้งระบบเพิ่มขึ้นในเดือน ก.ย. 44 รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จำนวนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของสถาบันการเงินทั้งระบบไม่รวมกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ณ สิ้นเดือน ก.ย. 44 มียอดคงค้าง 6.15 แสน ล.บาท คิดเป็นร้อยละ 12.9 ของยอดสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นจากเดือน ส.ค. 44 ประมาณ 5 พัน ล.บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 12.55 ของยอดสินเชื่อรวม (แนวหน้า 7)
4. รองผู้ว่าการสายบริหาร ธปท. ยื่นหนังสือขอลาออกจากตำแหน่ง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า รองผู้ว่าการสายบริหาร (นางธัญญา ศิริเวทิน) ได้ยื่นหนังสือขอลาออกจากตำแหน่งเมื่อช่วงต้นเดือน พ.ย. 44 ที่ผ่านมา โดยเป็นการลาออกในโครงการออกก่อนเกษียณอายุราชการ ซึ่ง ธปท. จะได้เสนอให้ รมว.คลังรับทราบ และจะมีผลบังคับในวันที่ 1 ม.ค. 45 (โลกวันนี้, ข่าวสด)
ข่าวต่างประเทศ
1. ธ. กลาง สรอ. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงอีกร้อยละ 0.5 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 6 พ.ย. 44 ธ. กลาง สรอ. ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ชั่วข้ามคืน (Federal funds rate) และอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (Discount rate) ลงร้อยละ 0.5 เหลือร้อยละ 2 และ 1.5 ตามลำดับ นับเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้นเป็นครั้งที่ 10 ในรอบปีนี้และเป็นระดับต่ำที่สุดตั้งแต่รัฐบาลเคนเนดี้บริหารประเทศในปี 2504 เนื่องจากอัตราการว่างงานของ สรอ. เพิ่มขึ้น ขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง รวมทั้งอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่3/44 ที่หดตัวลงอย่างมากนับตั้งแต่เคยเกิดภาวะถดถอยในช่วงปี 33-34 ทั้งนี้ ธ. กลางให้ความสำคัญกับความอ่อนแอทางเศรษฐกิจมากกว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญที่คุกคามต่อระบบเศรษฐกิจ นอกจากนั้นยังส่งสัญญาณว่าพร้อมที่จะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก หากผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ยังคงหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะดำเนินต่อไปจนถึงช่วงต้นปี 45 (รอยเตอร์6)
2. จำนวนคนว่างงานของเยอรมนีในเดือน ต.ค.44 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 3 ปี รายงานจากเบอร์ลินเมื่อ 6 พ.ย.44 ก.แรงงานเยอรมนีรายงานว่า เดือน ต.ค.44 จำนวนผู้ว่างงานหลังปรับฤดูกาลมีจำนวน 3.915 ล.คน เพิ่มขึ้น 27,000 คน จากเดือนก่อน สูงกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 18,000 คน เป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยการเพิ่มขึ้นของการว่างงานเกิดขึ้นจากการปลดคนงานของบริษัทต่างๆ อันเนื่องมาจากการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งรวมถึงบริษัทผู้ผลิตทางด้านเทคโนโลยี และ ธพ.ขนาดใหญ่ 3 แห่ง คือ Deutsche Bank, Dresdner และ Commerzbank ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า ข้อมูลการว่างงานในเดือน ต.ค.44 ที่เพิ่มสูงกว่าความคาดหมายจะเพิ่มแรงกดดันต่อ ธ.กลางยุโรป ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันพฤหัสบดีนี้ (รอยเตอร์ 6)
3. ดัชนีภาคบริการของเยอรมนีเดือน ต.ค.44 ลดลง รายงานจากแฟรงก์เฟิรต์ เมื่อ 6 พ.ย.44 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยว่า เดือน ต.ค.44 ดัชนีภาคบริการของเยอรมนี (German Services index) ลดลงซึ่งเป็นผลมาจากการที่อุปสงค์ลดลงอย่างต่อเนื่อง สร้างความเสียหายต่อภาคธุรกิจของประเทศ โดยเดือน ต.ค.44 ดัชนีภาวะธุรกิจ (Business activity index) ซึ่งเป็นตัวเลขที่ปรับตามฤดูกาล อยู่ที่ระดับ 44.2 ลดลงจากเดือน ก.ย.44 ที่ระดับ 44.9 และดัชนีคาดหวังธุรกิจ (Business expectations index) ซึ่งเป็นตัวเลขที่ยังไม่ปรับตามฤดูกาล เดือน ต.ค.44 อยู่ที่ระดับ 45.2 ลดลงจากเดือน ก.ย.44 ที่ระดับ 47.6 ทั้งนี้จากเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมใน สรอ. เมื่อวันที่ 11 ก.ย.44 ส่งผลกระทบทางลบต่อรายได้ของภาคธุรกิจใหม่ (Incoming new business) โดยเดือน ต.ค.44 อยู่ที่ระดับ 38.9 ลดลงจากเดือน ก.ย.44 ที่ระดับ42.6 อีกทั้งความเชื่อมั่นในบริษัทใหม่ยังคงลดลง ทั้งนี้พิจารณาจากจำนวนลูกค้าของบริษัทต่าง ๆ มีการชะลอการต่อสัญญาหรือยกเลิกสัญญาเพิ่มมากขึ้น อนึ่ง วิธีการอ่านค่าดัชนีข้างต้น หากตัวเลขสูงกว่า 50 จุดบ่งชี้ว่าธุรกิจมีการขยายตัวและตัวเลขต่ำกว่า 50 จุดบ่งชี้ว่าธุรกิจอยู่ในภาวะหดตัว (รอยเตอร์ 6)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 6 พ.ย.44 44.684 (44.678)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 6 พ.ย. 44
ซื้อ 44.4834 (44.4853) ขาย 44.7772 (44.7706)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,850 (5,850) ขาย 5,950 (5,950)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) ดูไบ 17.40 (17.76)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 13.59 (13.59) ดีเซลหมุนเร็ว 12.59 (12.59)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจต่อ ครม.ยืนยันเศรษฐกิจไทยไม่อยู่ในภาวะถดถอย รมว.คลัง เปิดเผยว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจต่อ ครม. ว่า เศรษฐกิจไทยไม่ได้ถดถอย แต่อยู่ในทิศทางที่ชะลอตัวในปี 44 และคาดว่าปี 45 จะขยายตัวได้ในระดับร้อยละ 1-3 ทั้งนี้ การผลิตภาคเอกชนอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ชะลอตัว และการบริโภคภาคเอกชนในประเทศขยายตัวดี ทั้งนี้ ธปท.คาดการณ์ตรงกับรัฐบาลว่า แนวโน้มการลงทุนของต่างประเทศจะชะลอลง สำหรับดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดขยายตัวในระดับที่น่าพอใจ จึงไม่มีปัญหาในการชำระหนี้ต่างประเทศ (ไทยรัฐ 7)
2. กรมสรรพากรให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่สถาบันการเงินที่ปรับโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนด ผู้อำนวยการอาวุโสสายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ส่งหนังสือเวียนถึงสถาบันการเงินทุกแห่ง เรื่องการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยสถาบันการเงินที่ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ที่สถาบันการเงินฟ้องร้องและศาลมีคำพิพากษาแล้ว หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล และเป็นการปรับโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่ ธปท.กำหนด จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษี ตาม พ.ร.ก.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร พ.ศ.2542 ส่วนกรณีที่สถาบันการเงินฟ้องร้องลูกหนี้และตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามหลักเกณฑ์การปรับโครงสร้างหนี้ที่ ธปท.กำหนดและศาลพิพากษายอมตามแล้ว ก็จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเช่นกัน และหากลูกหนี้โอนขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นหลักประกันให้แก่บุคคลที่ 3 ในกรณีดังกล่าว ก็จะได้รับสิทธิการยกเว้นภาษีเช่นกัน โดยการโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นที่มิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชำระอยู่กับสถาบันการเงิน ในกรณีที่ลูกหนี้ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ชำระภาษีไปแล้ว มีสิทธิขอคืนภาษีได้ภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายของปีที่ถูกหักภาษีเกินไป (โลกวันนี้, มติชน 7)
3. ยอดเอ็นพีแอลของสถาบันการเงินทั้งระบบเพิ่มขึ้นในเดือน ก.ย. 44 รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จำนวนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของสถาบันการเงินทั้งระบบไม่รวมกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ณ สิ้นเดือน ก.ย. 44 มียอดคงค้าง 6.15 แสน ล.บาท คิดเป็นร้อยละ 12.9 ของยอดสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นจากเดือน ส.ค. 44 ประมาณ 5 พัน ล.บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 12.55 ของยอดสินเชื่อรวม (แนวหน้า 7)
4. รองผู้ว่าการสายบริหาร ธปท. ยื่นหนังสือขอลาออกจากตำแหน่ง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า รองผู้ว่าการสายบริหาร (นางธัญญา ศิริเวทิน) ได้ยื่นหนังสือขอลาออกจากตำแหน่งเมื่อช่วงต้นเดือน พ.ย. 44 ที่ผ่านมา โดยเป็นการลาออกในโครงการออกก่อนเกษียณอายุราชการ ซึ่ง ธปท. จะได้เสนอให้ รมว.คลังรับทราบ และจะมีผลบังคับในวันที่ 1 ม.ค. 45 (โลกวันนี้, ข่าวสด)
ข่าวต่างประเทศ
1. ธ. กลาง สรอ. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงอีกร้อยละ 0.5 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 6 พ.ย. 44 ธ. กลาง สรอ. ประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ชั่วข้ามคืน (Federal funds rate) และอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (Discount rate) ลงร้อยละ 0.5 เหลือร้อยละ 2 และ 1.5 ตามลำดับ นับเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้นเป็นครั้งที่ 10 ในรอบปีนี้และเป็นระดับต่ำที่สุดตั้งแต่รัฐบาลเคนเนดี้บริหารประเทศในปี 2504 เนื่องจากอัตราการว่างงานของ สรอ. เพิ่มขึ้น ขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง รวมทั้งอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่3/44 ที่หดตัวลงอย่างมากนับตั้งแต่เคยเกิดภาวะถดถอยในช่วงปี 33-34 ทั้งนี้ ธ. กลางให้ความสำคัญกับความอ่อนแอทางเศรษฐกิจมากกว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญที่คุกคามต่อระบบเศรษฐกิจ นอกจากนั้นยังส่งสัญญาณว่าพร้อมที่จะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก หากผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ยังคงหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะดำเนินต่อไปจนถึงช่วงต้นปี 45 (รอยเตอร์6)
2. จำนวนคนว่างงานของเยอรมนีในเดือน ต.ค.44 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 3 ปี รายงานจากเบอร์ลินเมื่อ 6 พ.ย.44 ก.แรงงานเยอรมนีรายงานว่า เดือน ต.ค.44 จำนวนผู้ว่างงานหลังปรับฤดูกาลมีจำนวน 3.915 ล.คน เพิ่มขึ้น 27,000 คน จากเดือนก่อน สูงกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 18,000 คน เป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยการเพิ่มขึ้นของการว่างงานเกิดขึ้นจากการปลดคนงานของบริษัทต่างๆ อันเนื่องมาจากการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งรวมถึงบริษัทผู้ผลิตทางด้านเทคโนโลยี และ ธพ.ขนาดใหญ่ 3 แห่ง คือ Deutsche Bank, Dresdner และ Commerzbank ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า ข้อมูลการว่างงานในเดือน ต.ค.44 ที่เพิ่มสูงกว่าความคาดหมายจะเพิ่มแรงกดดันต่อ ธ.กลางยุโรป ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันพฤหัสบดีนี้ (รอยเตอร์ 6)
3. ดัชนีภาคบริการของเยอรมนีเดือน ต.ค.44 ลดลง รายงานจากแฟรงก์เฟิรต์ เมื่อ 6 พ.ย.44 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยว่า เดือน ต.ค.44 ดัชนีภาคบริการของเยอรมนี (German Services index) ลดลงซึ่งเป็นผลมาจากการที่อุปสงค์ลดลงอย่างต่อเนื่อง สร้างความเสียหายต่อภาคธุรกิจของประเทศ โดยเดือน ต.ค.44 ดัชนีภาวะธุรกิจ (Business activity index) ซึ่งเป็นตัวเลขที่ปรับตามฤดูกาล อยู่ที่ระดับ 44.2 ลดลงจากเดือน ก.ย.44 ที่ระดับ 44.9 และดัชนีคาดหวังธุรกิจ (Business expectations index) ซึ่งเป็นตัวเลขที่ยังไม่ปรับตามฤดูกาล เดือน ต.ค.44 อยู่ที่ระดับ 45.2 ลดลงจากเดือน ก.ย.44 ที่ระดับ 47.6 ทั้งนี้จากเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมใน สรอ. เมื่อวันที่ 11 ก.ย.44 ส่งผลกระทบทางลบต่อรายได้ของภาคธุรกิจใหม่ (Incoming new business) โดยเดือน ต.ค.44 อยู่ที่ระดับ 38.9 ลดลงจากเดือน ก.ย.44 ที่ระดับ42.6 อีกทั้งความเชื่อมั่นในบริษัทใหม่ยังคงลดลง ทั้งนี้พิจารณาจากจำนวนลูกค้าของบริษัทต่าง ๆ มีการชะลอการต่อสัญญาหรือยกเลิกสัญญาเพิ่มมากขึ้น อนึ่ง วิธีการอ่านค่าดัชนีข้างต้น หากตัวเลขสูงกว่า 50 จุดบ่งชี้ว่าธุรกิจมีการขยายตัวและตัวเลขต่ำกว่า 50 จุดบ่งชี้ว่าธุรกิจอยู่ในภาวะหดตัว (รอยเตอร์ 6)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 6 พ.ย.44 44.684 (44.678)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 6 พ.ย. 44
ซื้อ 44.4834 (44.4853) ขาย 44.7772 (44.7706)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,850 (5,850) ขาย 5,950 (5,950)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) ดูไบ 17.40 (17.76)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 13.59 (13.59) ดีเซลหมุนเร็ว 12.59 (12.59)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-