การผลิต : เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน
การผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 1.7 โดยผลผลิตทุกหมวดเพิ่มขึ้น ยกเว้นหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ยาสูบ และหมวดผลิตภัณฑ์อื่นๆ
หมวดสินค้าที่ผลิตเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+24.4%) ผลผลิตเพิ่มขึ้น ตามรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นการขาย โดยการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ศกนี้ เรื่อยมา หมวดเครื่องดื่ม (+13.0%) เพิ่มขึ้น ตามการผลิตเบียร์ราคาต่ำ ที่ได้รับความนิยมสูงในตลาดภูมิภาค หมวดวัสดุก่อสร้าง (+9.3%) การผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากสามารถส่งออกปูนซิเมนต์ไปตลาดใหม่ได้ อาทิ บังกลาเทศ และอินเดีย ทดแทนตลาดสหรัฐอเมริกาที่กำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (+8.1%) ผลิตเพิ่มขึ้นจากการส่งออกเพื่อทดแทนตลาดในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอตัว โดยตลาดที่สำคัญ คือ จีน เวียดนาม และสิงคโปร์ และหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก (+5.2%) เพิ่มขึ้น ตามการผลิตแผ่นเหล็กชุบสังกะสี เพื่อชดเชยการนำเข้าที่มีราคาสูง
หมวดสินค้าที่ผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (-36.6%) ยังคงลดลงตามคำสั่งซื้อของตลาดสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เป็นสำคัญ หมวดยาสูบ (-9.1%) ลดลง เนื่องจากสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับบุหรี่ต่างประเทศราคาถูก ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของโรงงานยาสูบลดลง
สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วงครึ่งแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 1.4 ตามการผลิตในหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง หมวดเครื่องดื่ม หมวดอัญมณีและเครื่องประดับ และหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เป็นสำคัญ
การใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ในเดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 53.5 (แต่หากไม่รวมสุรา การใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 57.1)
การใช้กำลังการผลิต : เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
หมวดที่มีการใช้กำลังผลิตเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (46.6%) โดยเฉพาะรถยนต์นั่ง ที่ยอดการจำหน่ายในประเทศเดือนนี้ยังขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนจากกิจกรรมส่งเสริมการขาย ยาสูบ (51.3%) เพิ่มขึ้น เนื่องจากในเดือนกรกฎาคมจะมีการหยุดสายการผลิตบางส่วน เพื่อให้พนักงานพักผ่อนประมาณ 6 วัน จึงเพิ่มการผลิตในเดือนนี้เพื่อเตรียมสต๊อกไว้ อิเล็กทรอนิคส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (45.1%) เพิ่มขึ้นทั้งการใช้กำลังการผลิตแผงวงจรไฟฟ้าและเครื่องรับโทรทัศน์ หลังจากที่ผลิตน้อยในเดือนก่อนซึ่งมีวันหยุดเทศกาลหลายวัน
หมวดที่มีการใช้กำลังผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์อื่น ๆ (81.5%) ลดลงตามการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า กระจกแผ่น และยางแท่ง เป็นสำคัญ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (78.2%) ลดลง เนื่องจากค่าการกลั่นลดลงจากเดือนก่อนหน้า และหมวดวัสดุก่อสร้าง (57.3%) ใช้กำลังการผลิตลดลง ตามภาวะการก่อสร้างในช่วงฤดูฝน
ส่วนการใช้กำลังการผลิตในช่วง 6 เดือนแรก อยู่ที่ระดับร้อยละ 53.7 ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนที่อยู่ในระดับร้อยละ 56.2 เนื่องจากมีการทยอยขยายกำลังการผลิตของหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง อุตสาหกรรมเบียร์ ปิโตรเลียม แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้า ตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2543 เป็นต้นมา
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
การผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 1.7 โดยผลผลิตทุกหมวดเพิ่มขึ้น ยกเว้นหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ยาสูบ และหมวดผลิตภัณฑ์อื่นๆ
หมวดสินค้าที่ผลิตเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+24.4%) ผลผลิตเพิ่มขึ้น ตามรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นการขาย โดยการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ศกนี้ เรื่อยมา หมวดเครื่องดื่ม (+13.0%) เพิ่มขึ้น ตามการผลิตเบียร์ราคาต่ำ ที่ได้รับความนิยมสูงในตลาดภูมิภาค หมวดวัสดุก่อสร้าง (+9.3%) การผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากสามารถส่งออกปูนซิเมนต์ไปตลาดใหม่ได้ อาทิ บังกลาเทศ และอินเดีย ทดแทนตลาดสหรัฐอเมริกาที่กำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (+8.1%) ผลิตเพิ่มขึ้นจากการส่งออกเพื่อทดแทนตลาดในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอตัว โดยตลาดที่สำคัญ คือ จีน เวียดนาม และสิงคโปร์ และหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก (+5.2%) เพิ่มขึ้น ตามการผลิตแผ่นเหล็กชุบสังกะสี เพื่อชดเชยการนำเข้าที่มีราคาสูง
หมวดสินค้าที่ผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (-36.6%) ยังคงลดลงตามคำสั่งซื้อของตลาดสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เป็นสำคัญ หมวดยาสูบ (-9.1%) ลดลง เนื่องจากสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับบุหรี่ต่างประเทศราคาถูก ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของโรงงานยาสูบลดลง
สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วงครึ่งแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 1.4 ตามการผลิตในหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง หมวดเครื่องดื่ม หมวดอัญมณีและเครื่องประดับ และหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เป็นสำคัญ
การใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ในเดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 53.5 (แต่หากไม่รวมสุรา การใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 57.1)
การใช้กำลังการผลิต : เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
หมวดที่มีการใช้กำลังผลิตเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (46.6%) โดยเฉพาะรถยนต์นั่ง ที่ยอดการจำหน่ายในประเทศเดือนนี้ยังขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนจากกิจกรรมส่งเสริมการขาย ยาสูบ (51.3%) เพิ่มขึ้น เนื่องจากในเดือนกรกฎาคมจะมีการหยุดสายการผลิตบางส่วน เพื่อให้พนักงานพักผ่อนประมาณ 6 วัน จึงเพิ่มการผลิตในเดือนนี้เพื่อเตรียมสต๊อกไว้ อิเล็กทรอนิคส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (45.1%) เพิ่มขึ้นทั้งการใช้กำลังการผลิตแผงวงจรไฟฟ้าและเครื่องรับโทรทัศน์ หลังจากที่ผลิตน้อยในเดือนก่อนซึ่งมีวันหยุดเทศกาลหลายวัน
หมวดที่มีการใช้กำลังผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์อื่น ๆ (81.5%) ลดลงตามการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า กระจกแผ่น และยางแท่ง เป็นสำคัญ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (78.2%) ลดลง เนื่องจากค่าการกลั่นลดลงจากเดือนก่อนหน้า และหมวดวัสดุก่อสร้าง (57.3%) ใช้กำลังการผลิตลดลง ตามภาวะการก่อสร้างในช่วงฤดูฝน
ส่วนการใช้กำลังการผลิตในช่วง 6 เดือนแรก อยู่ที่ระดับร้อยละ 53.7 ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนที่อยู่ในระดับร้อยละ 56.2 เนื่องจากมีการทยอยขยายกำลังการผลิตของหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง อุตสาหกรรมเบียร์ ปิโตรเลียม แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้า ตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2543 เป็นต้นมา
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-