กรุงเทพฯ--19 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ทีมประเทศไทย ณ กรุงโตเกียว ซึ่งประกอบด้วยสถานเอกอัครราชทูต และหน่วยราชการไทย กล่าวคือ กลาโหม พาณิชย์ เกษตร BOI คลัง ททท. ศุลกากร อุตสาหกรรม แรงงาน และการบินไทย ที่มีสำนักงานอยู่ที่กรุงโตเกียว ได้รับการคัดเลือกเป็นต้นแบบ ( prototype ) ของการดำเนินการปฏิรูปการบริหารราชการในต่างประเทศที่เน้นการทำงานร่วมกันเป็นทีมของหน่วยราชการไทยในต่างประเทศในลักษณะทีมประเทศไทย แนวความคิดเรื่องทีมประเทศไทย ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่เชื่อว่า การทำงานเป็นทีมจะช่วยเพิ่มอำนาจต่อรอง เพราะบางเรื่องเราสามารถใช้งานด้านการเกษตรมาช่วยต่อรองด้านพาณิชย์ หรือบางกรณีก็ใช้งานด้านศุลกากรมาช่วยต่อรองด้านการลงทุน ซึ่งหากไม่ทำงานกันเป็นทีม ต่างคนต่างเจรจาในงานของตน เราจะไม่สามารถใช้ทุกอย่างที่มีอยู่ในการเจรจาต่อรองได้เต็มที่
ทีมประเทศไทย ที่โตเกียวได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า แนวความคิดเรื่อง ทีมประเทศไทย สามารถปฏิบัติได้จริง โดยการสร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบใหม่ที่ทุกส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่ประจำการในกรุงโตเกียว ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดและเป็นเอกภาพเพื่อจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือผลประโยชน์ของชาติโดยรวม กล่าวได้ว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทีมประเทศไทย ณ กรุงโตเกียว ได้ประสานงานกันอย่างใกล้ชิดจนสามารถ ผลักดันโครงการด้านเศรษฐกิจหลายโครงการจนประสบผลสำเร็จ เช่น โครงการผลักดันให้มีการนำเข้าข้าวหอมมะลิไทยไปจำหน่ายในญี่ปุ่นได้อย่างเป็นธรรม สำหรับญี่ปุ่น ข้าวถือเป็นสินค้าเกษตรที่มีประเด็นการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมาก เนื่องจาก ชาวนาญี่ปุ่นเป็นฐานคะแนนเสียงที่สำคัญของพรรคการเมืองญี่ปุ่น การขยายตลาดข้าวไทยในญี่ปุ่นจึงเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการดำเนินการทางการเมือง รวมทั้งต้องอาศัยพันธมิตรเอกชนญี่ปุ่นที่มีผลประโยชน์สอดคล้องกับไทย ทีมประเทศไทยได้ดำเนินการผลักดันเรื่องนี้ในหลายระดับ ในช่วงที่ผ่านมา ทีมประเทศไทย ที่โตเกียว ได้ร่วมกันผลักดันเรื่องนี้อย่างเป็นเอกภาพ ทุกคนจะพูดเสียงเดียวกัน กล่าวคือ เอกอัครราชทูตฯ ในฐานะหัวหน้าทีมได้ยกเรื่องข้าวขึ้นหารือกับสมาชิกรัฐสภาญี่ปุ่นในทุกโอกาส อัครราชทูต หัวหน้าสำนักงานพาณิชย์ และหัวหน้าสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตร ได้พบปะหารือกับหน่วยงาน Food Agency ของญี่ปุ่นเพื่อผลักดันให้ญี่ปุ่นสนับสนุนให้นำเข้าข้าวหอมมะลิเข้าประเทศญี่ปุ่นบนพื้นฐานของความเป็นธรรมมากขึ้น โดยย้ำว่า ข้าวไทยไม่ได้รับการสนับสนุน ( subsidy ) ดังเช่นข้าวของบางประเทศ การจำหน่ายข้าวไทยได้จะมีผลช่วยยกฐานะความเป็นอยู่ของชาวนาไทยให้ดีขึ้นได้อันจะมีส่วนช่วยในการ แก้ไขปัญหาต่างๆ ของประเทศไทยอีกทางหนึ่งได้ด้วย ยิ่งไปกว่านั้น โดยที่ข้าวไทยกับข้าวญี่ปุ่นเป็นข้าว คนละชนิดกัน และเหมาะในการทำอาหารต่างประเภทกัน การนำเข้าข้าวไทยจึงไม่มีผลเป็นการแข่งขันหรือแย่งตลาดข้าวญี่ปุ่นแต่อย่างใด ซึ่งได้รับการตอบสนองด้วยดีจากฝ่ายญี่ปุ่น
ความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมในเรื่องนี้ คือ โครงการนำคณะผู้แทนข้าวญี่ปุ่นมาเยือนไทยระหว่าง วันที่ 14-18 พฤษภาคม 2543 ซึ่งทำให้ผู้แทนภาคเอกชนในคณะซึ่งเป็นผู้มีบทบาทในการนำเข้าข้าวไทยของญี่ปุ่นต่างแสดงความพร้อมที่จะช่วยสนับสนุนการนำเข้าข้าวไทยมากยิ่งขึ้น เช่น ประธานสมาคมผู้ผลิตแป้งรับที่จะช่วยสนับสนุนให้สมาคมนำเข้าข้าวไทยเพื่อทำขนมมากยิ่งขึ้น กรรมการผู้จัดการบริษัทผลิตเหล้าประเภท Shochu จะส่งเสริมให้อุตสาหกรรมด้านนี้ใช้ข้าวไทยมากยิ่งขึ้น ฯลฯ
โครงการบุกเบิกตลาดมังคุดสดไทยในญี่ปุ่น
ทีมประเทศไทย ที่โตเกียวโดยความร่วมมือร่วมใจของสถานเอกอัครราชทูต สำนักงานพาณิชย์ และสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตร ได้ดำเนินการสร้างเครือข่ายของชาวญี่ปุ่นผู้สนับสนุนการนำเข้ามังคุดสดตลอดจนผลไม้สดอื่นๆ จากไทย โดยร่วมมือกับนักวิชาการไทยในการเขียนรายงานการทดลองกำจัดแมลงวันในผลมังคุด เพื่อให้มังคุดสดจากไทยสามารถผ่านการตรวจสอบมาตรฐานของกระทรวงเกษตรญี่ปุ่น และได้หารือกับบริษัท Jusco บริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศญี่ปุ่นที่มีร้านค้าในเมืองต่างๆ ทั่วประเทศญี่ปุ่น และเป็นผู้นำเข้าผลไม้รายใหญ่จากทั่วโลก เพื่อชักชวนให้เข้าร่วมในการทำวิจัย และร่วมลงทุนทำสวนมังคุดที่ได้มาตรฐานญี่ปุ่นเพื่อส่งไปตลาดญี่ปุ่นโดยเฉพาะ ซึ่งบริษัท Jusco ได้แสดงความสนใจจะนำมังคุดสดจากไทยไปจำหน่ายในญี่ปุ่นแล้ว
โครงการเทศกาลอาหารไทย
ทีมประเทศไทย ที่โตเกียวร่วมกับผู้ประกอบการร้านอาหารไทยในกรุงโตเกียวและจังหวัดใกล้เคียงได้จัดงานเทศกาลอาหารไทยขึ้นที่สวนโยโยกิ ซึ่งตั้งอยู่กลางกรุงโตเกียว ระหว่างวันที่ 30 กันยายน — 1 ตุลาคม 2543 เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่อาหารไทย และศิลปวัฒนธรรมไทยให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในญี่ปุ่นมากขึ้น รวมทั้งเพื่อสนับสนุนการส่งออกผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรของไทยสู่ตลาดญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งงานนี้ได้รับการต้อนรับจากชาวญี่ปุ่น ชาวต่างประเทศ และชาวไทยเข้าร่วมงานทั้งสองวันไม่ต่ำกว่า 70,000 คน งานดังกล่าวถือเป็นโอกาสสำคัญที่นำผู้นำด้านธุรกิจทั้งระดับสูง ระดับกลางที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า และการกระจายสินค้าด้านเกษตร และเกษตรแปรรูปจากไทยไปญี่ปุ่น มาพบผู้ประกอบการไทย ซึ่งน่าจะช่วยส่งเสริมลู่ทางการกระจายสินค้าไทยในญี่ปุ่นได้ดีขึ้น นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่ได้จากการร่วมกันจัดงานในฐานะทีมประเทศไทย คือความเป็นบึกแผ่นและความสมานสามัคคีในการร่วมกันผลักดันโครงการที่ยิ่งใหญ่ในรอบปีของทีมประเทศไทย จนเป็นผลสำเร็จ
ภารกิจสำคัญในขณะนี้ของทีมประเทศไทยที่โตเกียว
สืบเนื่องจากการจัดงานเทศกาลอาหารไทยครั้งแรกเมื่อปี 2543 ประสบความสำเร็จอย่างมาก ทำให้กระแสความนิยมอาหารไทยในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นตามลำดับโดยมีแนวทางอาหารไทยเป็นอาหารสุขภาพ มีรสชาดหลากหลาย ทีมประเทศไทยที่โตเกียว เห็นว่า ควรรักษาแนวทางการส่งเสริมอาหารไทยในลักษณะนี้ต่อไป จึงกำหนดที่จะจัดงานเทศกาลอาหารไทย 2544 ในระหว่างวันที่ 12 — 13 พฤษภาคม 2544 ทั้งนี้ เพื่อใช้ความนิยมอาหารไทยของชาวญี่ปุ่นเป็นจุดขายซึ่งจะนำไปสู่การขยายครอบคลุมกลุ่มสินค้าของไทยอื่นๆ อีก อาทิ ข้าวไทย ผักและผลไม้ไทย อาหารกึ่งสำเร็จรูป กล้วยไม้
นอกจากนี้ ทีมประเทศไทยที่โตเกียวได้กำหนดแผนงานเพื่อดำเนินภารกิจในปีงบประมาณ 2545 เพื่อรองรับนโยบายของรัฐบาลที่จะใช้นโยบายต่างประเทศเข้ามาช่วยกอบกู้วิกฤติเศรษฐกิจโดยเน้นการทูตเชิงรุกด้านเศรษฐกิจ โดยกำหนดเป้าหมายหลักของการดำเนินภารกิจด้านเศรษฐกิจไว้ ดังนี้
- รักษาตลาดเดิม และมุ่งส่งเสริมและขยายตลาดสินค้าโดยเฉพาะสินค้าเกษตร สินค้าเกษตรแปรรูปและหัตถกรรมไทย โดยการใช้กระแสความนิยมอาหารไทยในญี่ปุ่นเป็นตัวจักรให้ผู้ประกอบการและประชาชนญึ่ปุ่นนิยมชื่นชอบสินค้าอื่นๆ ของไทย สอดแทรกการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในไทย โดยการจัดเทศกาลไทยอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการบุกเบิกตลาดใหม่ในญี่ปุ่น
- มุ่งส่งเสริม และชักจูงให้เกิดการลงทุนใหม่ๆ จากญี่ปุ่น ทั้งที่เป็นการขยายตัวการลงทุนของกิจการเดิม และการลงทุนของนักลงทุนรายใหม่ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15
สรุป
กิจกรรมทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ต่อไปนี้การทำงานของหน่วยงานของรัฐในต่างประเทศจะต้องทำงานกันเป็นทีม เพราะภารกิจแต่ละด้านล้วนเกี่ยวโยงกันอย่างแยกไม่ออก แต่ละหน่วยจะต้องประสานงานกัน เพื่อ “ พูดเสียงเดียวกัน “ ในแต่ละเรื่องเพื่อให้มีอำนาจต่อรองสูงที่สุด กระทรวงการต่างประเทศในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบภาพรวมความสัมพันธ์กับต่างประเทศ จึงต้องทำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมที่คอยประสานงานหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ ให้ทุกหน่วยทำงานไปในทิศทางที่จะส่งเสริมผลประโยชน์โดยรวมของประเทศเป็นสำคัญ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
ทีมประเทศไทย ณ กรุงโตเกียว ซึ่งประกอบด้วยสถานเอกอัครราชทูต และหน่วยราชการไทย กล่าวคือ กลาโหม พาณิชย์ เกษตร BOI คลัง ททท. ศุลกากร อุตสาหกรรม แรงงาน และการบินไทย ที่มีสำนักงานอยู่ที่กรุงโตเกียว ได้รับการคัดเลือกเป็นต้นแบบ ( prototype ) ของการดำเนินการปฏิรูปการบริหารราชการในต่างประเทศที่เน้นการทำงานร่วมกันเป็นทีมของหน่วยราชการไทยในต่างประเทศในลักษณะทีมประเทศไทย แนวความคิดเรื่องทีมประเทศไทย ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่เชื่อว่า การทำงานเป็นทีมจะช่วยเพิ่มอำนาจต่อรอง เพราะบางเรื่องเราสามารถใช้งานด้านการเกษตรมาช่วยต่อรองด้านพาณิชย์ หรือบางกรณีก็ใช้งานด้านศุลกากรมาช่วยต่อรองด้านการลงทุน ซึ่งหากไม่ทำงานกันเป็นทีม ต่างคนต่างเจรจาในงานของตน เราจะไม่สามารถใช้ทุกอย่างที่มีอยู่ในการเจรจาต่อรองได้เต็มที่
ทีมประเทศไทย ที่โตเกียวได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า แนวความคิดเรื่อง ทีมประเทศไทย สามารถปฏิบัติได้จริง โดยการสร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบใหม่ที่ทุกส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่ประจำการในกรุงโตเกียว ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดและเป็นเอกภาพเพื่อจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือผลประโยชน์ของชาติโดยรวม กล่าวได้ว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทีมประเทศไทย ณ กรุงโตเกียว ได้ประสานงานกันอย่างใกล้ชิดจนสามารถ ผลักดันโครงการด้านเศรษฐกิจหลายโครงการจนประสบผลสำเร็จ เช่น โครงการผลักดันให้มีการนำเข้าข้าวหอมมะลิไทยไปจำหน่ายในญี่ปุ่นได้อย่างเป็นธรรม สำหรับญี่ปุ่น ข้าวถือเป็นสินค้าเกษตรที่มีประเด็นการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมาก เนื่องจาก ชาวนาญี่ปุ่นเป็นฐานคะแนนเสียงที่สำคัญของพรรคการเมืองญี่ปุ่น การขยายตลาดข้าวไทยในญี่ปุ่นจึงเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการดำเนินการทางการเมือง รวมทั้งต้องอาศัยพันธมิตรเอกชนญี่ปุ่นที่มีผลประโยชน์สอดคล้องกับไทย ทีมประเทศไทยได้ดำเนินการผลักดันเรื่องนี้ในหลายระดับ ในช่วงที่ผ่านมา ทีมประเทศไทย ที่โตเกียว ได้ร่วมกันผลักดันเรื่องนี้อย่างเป็นเอกภาพ ทุกคนจะพูดเสียงเดียวกัน กล่าวคือ เอกอัครราชทูตฯ ในฐานะหัวหน้าทีมได้ยกเรื่องข้าวขึ้นหารือกับสมาชิกรัฐสภาญี่ปุ่นในทุกโอกาส อัครราชทูต หัวหน้าสำนักงานพาณิชย์ และหัวหน้าสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตร ได้พบปะหารือกับหน่วยงาน Food Agency ของญี่ปุ่นเพื่อผลักดันให้ญี่ปุ่นสนับสนุนให้นำเข้าข้าวหอมมะลิเข้าประเทศญี่ปุ่นบนพื้นฐานของความเป็นธรรมมากขึ้น โดยย้ำว่า ข้าวไทยไม่ได้รับการสนับสนุน ( subsidy ) ดังเช่นข้าวของบางประเทศ การจำหน่ายข้าวไทยได้จะมีผลช่วยยกฐานะความเป็นอยู่ของชาวนาไทยให้ดีขึ้นได้อันจะมีส่วนช่วยในการ แก้ไขปัญหาต่างๆ ของประเทศไทยอีกทางหนึ่งได้ด้วย ยิ่งไปกว่านั้น โดยที่ข้าวไทยกับข้าวญี่ปุ่นเป็นข้าว คนละชนิดกัน และเหมาะในการทำอาหารต่างประเภทกัน การนำเข้าข้าวไทยจึงไม่มีผลเป็นการแข่งขันหรือแย่งตลาดข้าวญี่ปุ่นแต่อย่างใด ซึ่งได้รับการตอบสนองด้วยดีจากฝ่ายญี่ปุ่น
ความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมในเรื่องนี้ คือ โครงการนำคณะผู้แทนข้าวญี่ปุ่นมาเยือนไทยระหว่าง วันที่ 14-18 พฤษภาคม 2543 ซึ่งทำให้ผู้แทนภาคเอกชนในคณะซึ่งเป็นผู้มีบทบาทในการนำเข้าข้าวไทยของญี่ปุ่นต่างแสดงความพร้อมที่จะช่วยสนับสนุนการนำเข้าข้าวไทยมากยิ่งขึ้น เช่น ประธานสมาคมผู้ผลิตแป้งรับที่จะช่วยสนับสนุนให้สมาคมนำเข้าข้าวไทยเพื่อทำขนมมากยิ่งขึ้น กรรมการผู้จัดการบริษัทผลิตเหล้าประเภท Shochu จะส่งเสริมให้อุตสาหกรรมด้านนี้ใช้ข้าวไทยมากยิ่งขึ้น ฯลฯ
โครงการบุกเบิกตลาดมังคุดสดไทยในญี่ปุ่น
ทีมประเทศไทย ที่โตเกียวโดยความร่วมมือร่วมใจของสถานเอกอัครราชทูต สำนักงานพาณิชย์ และสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตร ได้ดำเนินการสร้างเครือข่ายของชาวญี่ปุ่นผู้สนับสนุนการนำเข้ามังคุดสดตลอดจนผลไม้สดอื่นๆ จากไทย โดยร่วมมือกับนักวิชาการไทยในการเขียนรายงานการทดลองกำจัดแมลงวันในผลมังคุด เพื่อให้มังคุดสดจากไทยสามารถผ่านการตรวจสอบมาตรฐานของกระทรวงเกษตรญี่ปุ่น และได้หารือกับบริษัท Jusco บริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศญี่ปุ่นที่มีร้านค้าในเมืองต่างๆ ทั่วประเทศญี่ปุ่น และเป็นผู้นำเข้าผลไม้รายใหญ่จากทั่วโลก เพื่อชักชวนให้เข้าร่วมในการทำวิจัย และร่วมลงทุนทำสวนมังคุดที่ได้มาตรฐานญี่ปุ่นเพื่อส่งไปตลาดญี่ปุ่นโดยเฉพาะ ซึ่งบริษัท Jusco ได้แสดงความสนใจจะนำมังคุดสดจากไทยไปจำหน่ายในญี่ปุ่นแล้ว
โครงการเทศกาลอาหารไทย
ทีมประเทศไทย ที่โตเกียวร่วมกับผู้ประกอบการร้านอาหารไทยในกรุงโตเกียวและจังหวัดใกล้เคียงได้จัดงานเทศกาลอาหารไทยขึ้นที่สวนโยโยกิ ซึ่งตั้งอยู่กลางกรุงโตเกียว ระหว่างวันที่ 30 กันยายน — 1 ตุลาคม 2543 เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่อาหารไทย และศิลปวัฒนธรรมไทยให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในญี่ปุ่นมากขึ้น รวมทั้งเพื่อสนับสนุนการส่งออกผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรของไทยสู่ตลาดญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งงานนี้ได้รับการต้อนรับจากชาวญี่ปุ่น ชาวต่างประเทศ และชาวไทยเข้าร่วมงานทั้งสองวันไม่ต่ำกว่า 70,000 คน งานดังกล่าวถือเป็นโอกาสสำคัญที่นำผู้นำด้านธุรกิจทั้งระดับสูง ระดับกลางที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า และการกระจายสินค้าด้านเกษตร และเกษตรแปรรูปจากไทยไปญี่ปุ่น มาพบผู้ประกอบการไทย ซึ่งน่าจะช่วยส่งเสริมลู่ทางการกระจายสินค้าไทยในญี่ปุ่นได้ดีขึ้น นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่ได้จากการร่วมกันจัดงานในฐานะทีมประเทศไทย คือความเป็นบึกแผ่นและความสมานสามัคคีในการร่วมกันผลักดันโครงการที่ยิ่งใหญ่ในรอบปีของทีมประเทศไทย จนเป็นผลสำเร็จ
ภารกิจสำคัญในขณะนี้ของทีมประเทศไทยที่โตเกียว
สืบเนื่องจากการจัดงานเทศกาลอาหารไทยครั้งแรกเมื่อปี 2543 ประสบความสำเร็จอย่างมาก ทำให้กระแสความนิยมอาหารไทยในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นตามลำดับโดยมีแนวทางอาหารไทยเป็นอาหารสุขภาพ มีรสชาดหลากหลาย ทีมประเทศไทยที่โตเกียว เห็นว่า ควรรักษาแนวทางการส่งเสริมอาหารไทยในลักษณะนี้ต่อไป จึงกำหนดที่จะจัดงานเทศกาลอาหารไทย 2544 ในระหว่างวันที่ 12 — 13 พฤษภาคม 2544 ทั้งนี้ เพื่อใช้ความนิยมอาหารไทยของชาวญี่ปุ่นเป็นจุดขายซึ่งจะนำไปสู่การขยายครอบคลุมกลุ่มสินค้าของไทยอื่นๆ อีก อาทิ ข้าวไทย ผักและผลไม้ไทย อาหารกึ่งสำเร็จรูป กล้วยไม้
นอกจากนี้ ทีมประเทศไทยที่โตเกียวได้กำหนดแผนงานเพื่อดำเนินภารกิจในปีงบประมาณ 2545 เพื่อรองรับนโยบายของรัฐบาลที่จะใช้นโยบายต่างประเทศเข้ามาช่วยกอบกู้วิกฤติเศรษฐกิจโดยเน้นการทูตเชิงรุกด้านเศรษฐกิจ โดยกำหนดเป้าหมายหลักของการดำเนินภารกิจด้านเศรษฐกิจไว้ ดังนี้
- รักษาตลาดเดิม และมุ่งส่งเสริมและขยายตลาดสินค้าโดยเฉพาะสินค้าเกษตร สินค้าเกษตรแปรรูปและหัตถกรรมไทย โดยการใช้กระแสความนิยมอาหารไทยในญี่ปุ่นเป็นตัวจักรให้ผู้ประกอบการและประชาชนญึ่ปุ่นนิยมชื่นชอบสินค้าอื่นๆ ของไทย สอดแทรกการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในไทย โดยการจัดเทศกาลไทยอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการบุกเบิกตลาดใหม่ในญี่ปุ่น
- มุ่งส่งเสริม และชักจูงให้เกิดการลงทุนใหม่ๆ จากญี่ปุ่น ทั้งที่เป็นการขยายตัวการลงทุนของกิจการเดิม และการลงทุนของนักลงทุนรายใหม่ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15
สรุป
กิจกรรมทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ต่อไปนี้การทำงานของหน่วยงานของรัฐในต่างประเทศจะต้องทำงานกันเป็นทีม เพราะภารกิจแต่ละด้านล้วนเกี่ยวโยงกันอย่างแยกไม่ออก แต่ละหน่วยจะต้องประสานงานกัน เพื่อ “ พูดเสียงเดียวกัน “ ในแต่ละเรื่องเพื่อให้มีอำนาจต่อรองสูงที่สุด กระทรวงการต่างประเทศในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบภาพรวมความสัมพันธ์กับต่างประเทศ จึงต้องทำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมที่คอยประสานงานหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ ให้ทุกหน่วยทำงานไปในทิศทางที่จะส่งเสริมผลประโยชน์โดยรวมของประเทศเป็นสำคัญ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-