สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานสถานการณ์ภัยแล้งและ ฝนทิ้งช่วงภายในจังหวัดขอนแก่น พบว่ามีปริมาณน้ำฝนและแหล่งน้ำของจังหวัดมีจำนวนลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตามทางจังหวัด ได้ออกมาตรการช่วยเหลือเชิงรุกในการแก้ปัญหาดังกล่าวแล้ว
นายพานิช พื้นแสน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 4 (สศข.4) จังหวัดขอนแก่น กล่าวถึงสถานการณ์ฝนทิ้งช่วงของจังหวัด โดยที่ร่วมกับเกษตรและสหกรณ์จังหวัด, ชลประทานจังหวัด, ฝนหลวง และอุตุนิยมวิทยาจังหวัด ร่วมประชุมหารือในการติดตามสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงของจังหวัดขอนแก่น พบว่าสถานการณ์ด้านน้ำของจังหวัดขอนแก่น จากต้นฤดูฝนที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน ปริมาณน้ำฝนที่ตกมีจำนวนน้อยมากเพียง 333 มิลลิเมตร เมื่อเทียบกับปริมาณน้ำฝนต่อปีที่ผ่านมาเฉลี่ย 1,300-1,400 มิลลิเมตร อีกทั้งในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ คืออ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ มีน้ำเหลือเพียง 27% ซึ่งเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้วมีปริมาณเหลือ 35% ส่วนแหล่งน้ำขนาดกลางมีเหลือ 38% เปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้วเหลือ 66% และปริมาณน้ำในแม่น้ำปัจจุบัน มีเพียง 30% ซึ่งเมื่อเทียบกับปีที่แล้วมีถึง 80-90 % ซึ่งจากการบินทำการปฏิบัติการฝนหลวงจำนวน 356 เที่ยวบิน มีผลทำให้ ฝนตกในทุกอำเภอของจังหวัดขอนแก่น และจากการพยากรณ์ของอุตุนิยมวิทยาจังหวัด คาดว่าจากปัจจุบันถึงปลายเดือนสิงหาคม 2548 จะมีฝนตกเพิ่มขึ้นจากร่องมรสุมที่พัดผ่านจังหวัดขอนแก่น
ทางด้านสถานการณ์เพาะปลูก ซึ่งพื้นที่การปลูกข้าวนาปี เป็นนาหว่าน 60% และนาดำ 40% พบว่าปัจจุบันนาหว่านได้หว่านไปแล้ว 47% และนาดำ 1-2% ในเขตชลประทาน ทั้งนี้ได้มีมาตรการช่วยเหลือปกติ คือได้ทำการออกข่าวประชาสัมพันธ์เกษตรกร, ส่งเสริมระบบการทำนาหว่าน, ปฏิบัติการฝนหลวง และสูบน้ำในพื้นที่แปลงที่ตกกล้าแล้ว ส่วนทางด้านมาตรการเชิงรุกกรณีหากฝนยังทิ้งช่วง จะดำเนินการเพิ่มเที่ยวบินปฏิบัติการฝนหลวง, ระดมสูบน้ำด้วยไฟฟ้า, เร่งสำรวจพื้นที่ในการจัดทำแปลงตกกล้านารวม และปริมาณกล้าที่จะผลิตได้เพื่อทำการประสานงานกับศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 17 ในการสำรองเมล็ดพันธุ์ข้าว และจัดหาพื้นที่ในเขตแหล่งน้ำ ทำแปลงตกกล้านารวม, เร่งรัดการปรับระบบปลูกข้าวจากนาดำเป็นนาหว่าน และให้อุตุนิยมวิทยาจังหวัดขอนแก่น ติดตามสถานการณ์ฝนตกอย่างใกล้ชิดและประชาสัมพันธ์ให้ทราบเป็นระยะๆ
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายพานิช พื้นแสน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 4 (สศข.4) จังหวัดขอนแก่น กล่าวถึงสถานการณ์ฝนทิ้งช่วงของจังหวัด โดยที่ร่วมกับเกษตรและสหกรณ์จังหวัด, ชลประทานจังหวัด, ฝนหลวง และอุตุนิยมวิทยาจังหวัด ร่วมประชุมหารือในการติดตามสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงของจังหวัดขอนแก่น พบว่าสถานการณ์ด้านน้ำของจังหวัดขอนแก่น จากต้นฤดูฝนที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน ปริมาณน้ำฝนที่ตกมีจำนวนน้อยมากเพียง 333 มิลลิเมตร เมื่อเทียบกับปริมาณน้ำฝนต่อปีที่ผ่านมาเฉลี่ย 1,300-1,400 มิลลิเมตร อีกทั้งในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ คืออ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ มีน้ำเหลือเพียง 27% ซึ่งเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้วมีปริมาณเหลือ 35% ส่วนแหล่งน้ำขนาดกลางมีเหลือ 38% เปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้วเหลือ 66% และปริมาณน้ำในแม่น้ำปัจจุบัน มีเพียง 30% ซึ่งเมื่อเทียบกับปีที่แล้วมีถึง 80-90 % ซึ่งจากการบินทำการปฏิบัติการฝนหลวงจำนวน 356 เที่ยวบิน มีผลทำให้ ฝนตกในทุกอำเภอของจังหวัดขอนแก่น และจากการพยากรณ์ของอุตุนิยมวิทยาจังหวัด คาดว่าจากปัจจุบันถึงปลายเดือนสิงหาคม 2548 จะมีฝนตกเพิ่มขึ้นจากร่องมรสุมที่พัดผ่านจังหวัดขอนแก่น
ทางด้านสถานการณ์เพาะปลูก ซึ่งพื้นที่การปลูกข้าวนาปี เป็นนาหว่าน 60% และนาดำ 40% พบว่าปัจจุบันนาหว่านได้หว่านไปแล้ว 47% และนาดำ 1-2% ในเขตชลประทาน ทั้งนี้ได้มีมาตรการช่วยเหลือปกติ คือได้ทำการออกข่าวประชาสัมพันธ์เกษตรกร, ส่งเสริมระบบการทำนาหว่าน, ปฏิบัติการฝนหลวง และสูบน้ำในพื้นที่แปลงที่ตกกล้าแล้ว ส่วนทางด้านมาตรการเชิงรุกกรณีหากฝนยังทิ้งช่วง จะดำเนินการเพิ่มเที่ยวบินปฏิบัติการฝนหลวง, ระดมสูบน้ำด้วยไฟฟ้า, เร่งสำรวจพื้นที่ในการจัดทำแปลงตกกล้านารวม และปริมาณกล้าที่จะผลิตได้เพื่อทำการประสานงานกับศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 17 ในการสำรองเมล็ดพันธุ์ข้าว และจัดหาพื้นที่ในเขตแหล่งน้ำ ทำแปลงตกกล้านารวม, เร่งรัดการปรับระบบปลูกข้าวจากนาดำเป็นนาหว่าน และให้อุตุนิยมวิทยาจังหวัดขอนแก่น ติดตามสถานการณ์ฝนตกอย่างใกล้ชิดและประชาสัมพันธ์ให้ทราบเป็นระยะๆ
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-