ข่าวในประเทศ
1. ผู้ว่าการ ธปท.ชี้แจงเรื่องส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานเสวนาเรื่อง “ผลกระทบอันเกิดจากร่าง พ.ร.บ.สถาบันการเงิน” ซึ่งจัดโดยคณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน ร่วมกับคณะกรรมาธิการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน และคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจการพาณิชย์และอุตสาหกรรม วุฒิสภาเมื่อวันที่ 24 ต.ค.44 ว่า ไม่ควรแก้ไขมาตรา 37 ของร่าง กม.ดังกล่าวเพื่อกำหนดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ที่ร้อยละ 5 เพราะจะทำให้ ธพ.ประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจโดยเฉพาะการบริหารสาขา ธพ.ในต่างจังหวัด และการกำหนดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไม่ได้ทำให้อัตราดอกเบี้ยลดต่ำลง แต่หากปล่อยให้มีการแข่งขันเสรีจะทำให้อัตราส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไม่สูง ปัจจุบันสถาบันการเงินมีส่วนต่างดอกเบี้ยสุทธิที่ร้อยละ 1.72 ซึ่งค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับในอดีตที่เคยสูงถึงร้อยละ 8 ทั้งที่ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมขณะนี้เฉลี่ยยอยู่ที่ร้อยละ 8 และดอกเบี้ยเงินฝากเฉลี่ยอยู่ที่ ร้อยละ 3 เท่ากับมีส่วนต่างดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 6.5-6.75(มติชนรายวัน 25)
2. ธปท.เปิดเผยถึงการปิดสาขาต่างจังหวัดของธนาคารพาณิชย์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การที่ ธพ.บางแห่งปิดสาขาในต่างจังหวัดเป็นจำนวนมากในช่วงนี้เนื่องจากในอดีตทางการกำหนดว่า ธพ.จะต้องเปิดสาขาชานเมืองด้วยหากต้องการเปิดสาขาเพิ่มในตัวเมือง ทั้งนี้การเปิดสาขาชานเมืองมักประสบการขาดทุน ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาทำให้ ธพ.ต้องรับภาระต้นทุนมากขึ้นจึงทำให้ ธพ.ปิดสาขาในต่างจังหวัดเป็นจำนวนมาก และไม่สามารถห้ามได้เนื่องจาก ธปท.อนุญาตให้ ธพ.ปิดสาขาได้อย่างเสรี อย่างไรก็ตาม ธปท.กำลังพิจารณาหาแนวทางให้ ธพ.เต็มใจที่จะเปิดสาขาต่อไป เพราะในชนบทที่มีสาขาของ ธพ.ตั้งอยู่จะมีความเจริญแตกต่างจากพื้นที่ที่ไม่มีสาขาของ ธพ. ซึ่ง ธพ.จะคิดแต่เรื่องกำไรอย่างเดียวเหมือนกับ ธพ.ต่างประเทศไม่ได้ แต่ขณะเดียวกัน ธปท.ก็ต้องดูแลความอยู่รอดของสถาบันการเงินด้วยเช่นกัน (แนวหน้า 25)
3. ก.คลังเปิดเผยหนี้สาธารณะเดือน ก.ค.44 และเป้าหมายการเบิกจ่าย งปม.ปี 45 ผู้อำนวยการกองนโยบายและวางแผนการคลัง ในฐานะรองโฆษก ก.คลัง เปิดเผยว่า หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือน ก.ค.44 มีจำนวน 2.86 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 56 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) แบ่งเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,213 ล.บาท หนี้ รัฐวิสาหกิจ 923 ล.บาท และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 724 ล.บาท โดย หนี้สาธารณะนั้น ธพ.เป็นเจ้าหนี้ในประเทศรายใหญ่ของรัฐบาลในสัดส่วนร้อยละ 38 รองลงมาคือ ธนาคาร แห่งประเทศไทยและ ธ.ออมสิน แห่งละร้อยละ 16 นอกจากนี้ ก.คลังได้กำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายเงิน งปม.ประจำปี 45 โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี งปม.(ต.ค.-ธ.ค.) จะต้องเร่งเบิกจ่าย งปม.ให้ขาดดุลกว่า 60,000 ล.บาท ซึ่งรวมกับงบกระตุ้นเศรษฐกิจ 58,000 ล.บาท ที่คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ประมาณ 1,000 ล.บาท และหากมีเงินจากภาครัฐวิสาหกิจและองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นเสริมเข้ามา จะยิ่งทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น และน่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 1.5-2 ของจีดีพี ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ประมาณการไว้(โลกวันนี้, ไทยโพสต์ 25)
ข่าวต่างประเทศ
1. การว่างงานของ สรอ.จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 ในปี 45 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 24 ต.ค.44 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจจากนักเศรษฐศาสตร์คาดว่า จากเหตุการณ์ 11 ก.ย.44 จะทำให้อัตราการว่างของ สรอ. ภายในสิ้นปี 44 นี้ เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.3 จากคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 4.9 โดยอัตราการเพิ่มจะสูงที่สุดเป็นร้อยละ 5.8 ในไตรมาสที่ 2 ปี 45 หลังจากนั้นอัตราการว่างงานจะค่อยๆ โน้มต่ำลง แต่ยังคงสูงกว่าร้อยละ 5.5 จนถึงปี 46 สำหรับนครนิวยอร์ก อัตราการว่างงานในเดือน ก.ย.44 เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 6.3 สูงที่สุดนับตั้งเดือน ต.ค.42 แต่นักเศรษฐศาสตร์ระบุว่า ร้อยละ 0.5 ของการอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวมิได้สะท้อนถึงผลกระทบทั้งหมดจากเหตุการณ์เดือน ก.ย. แต่เป็นผลมาจากเดือน ส.ค.44 ทั้งนี้ การจ้างงานของ สรอ. ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกได้เสื่อมถอยลงอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่เดือน ต.ค.43 ที่อัตราการว่างงานต่ำที่สุดในรอบ 30 ปี โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.9(รอยเตอร์ 24)
2. ยอดขายของห้างสรรพสินค้าญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ในเดือน ก.ย.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 24 ต.ค.44 สมาคมห้างสรรพสินค้าญี่ปุ่นรายงานว่า เดือน ก.ย.44 ยอดขายโดยรวมมีมูลค่า 622.8 พัน ล.เยน (5.08 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เทียบต่อปี โดยสินค้าประเภทเสื้อผ้ามียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ขณะที่ยอดขายอาหารเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ทั้งนี้ ยอดขายของห้างสรรพสินค้าได้รับการจับตาอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นปัจจัยชี้วัดการใช้จ่ายของผู้บริโภค โดยยอดจำหน่ายเสื้อผ้ามีสัดส่วนร้อยละ 41.6 ของยอดขายโดยรวม(รอยเตอร์ 24)
3. คาดการณ์ว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นจะลดลงร้อยละ 2.5ในเดือน ก.ย.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 24 ต.ค. 44 ผลการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ 15 คนโดยรอยเตอร์ คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน ก.ย. 44 จะลดลงเฉลี่ยร้อยละ 2.5 จากเดือน ส.ค. 44 ทั้งนี้ เป็นผลจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจของ สรอ. อซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกของญี่ปุ่น นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ Merrill Lynch (Yoshito Sakakibara) กล่าวว่า มีสิ่งบ่งชี้หลายประการว่าเศรษฐกิจ สรอ. กำลังทรุดลงอย่างรวดเร็ว ก่อนจะเกิดการก่อการร้ายเมื่อวันที่ 11 ก.ย. 44 แต่การส่งออกสินค้าของญี่ปุ่นไปยัง สรอ. กลับได้รับผลกระทบที่รุนแรงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้(รอยเตอร์24)
4. เงินเฟ้อของเยอรมนีชะลอตัวลงในเดือน ต.ค. 44 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 24 ต.ค. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติ รายงานว่า ตัวเลขเงินเฟ้อเบื้องต้นของเยอรมนีในเดือน ต.ค. 44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เทียบต่อปี จากร้อยละ 2.1 ในเดือน ก.ย.44 และเมื่อเทียบต่อเดือน ลดลงร้อยละ 0.3 จากเดือน ก.ย. 44 ที่ไม่เปลี่ยนแปลง นับเป็นอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำที่สุดในรอบ 14 เดือน และสอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ จากรายงานครั้งนี้ยิ่งย้ำว่าแนวโน้มเงินเฟ้อของประเทศในเขตยูโรโน้มต่ำลง และเกื้อหนุนว่า ธ. กลางยุโรปจะลดอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์นี้ โดยคาดว่าจะลดลงร้อยละ 0.25 ถึงร้อยละ 0.5(รอยเตอร์24)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 24 ต.ค.44 44.756 (44.753)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 24 ต.ค. 44ซื้อ 44.5430 (44.5625) ขาย 44.8388 (44.8654)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,800 (5,800) ขาย 5,900 (5,900)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) ดูไบ 19.66 (19.31)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 13.99 (13.99) ดีเซลหมุนเร็ว 12.99 (12.99)
หมายเหตุ 1. ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน 2. ตั้งแต่วันที่ 22 ต.ค. 44 เริ่มใช้ราคาน้ำมันดิบของดูไบแทนโอมาน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ผู้ว่าการ ธปท.ชี้แจงเรื่องส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานเสวนาเรื่อง “ผลกระทบอันเกิดจากร่าง พ.ร.บ.สถาบันการเงิน” ซึ่งจัดโดยคณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน ร่วมกับคณะกรรมาธิการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน และคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจการพาณิชย์และอุตสาหกรรม วุฒิสภาเมื่อวันที่ 24 ต.ค.44 ว่า ไม่ควรแก้ไขมาตรา 37 ของร่าง กม.ดังกล่าวเพื่อกำหนดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ที่ร้อยละ 5 เพราะจะทำให้ ธพ.ประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจโดยเฉพาะการบริหารสาขา ธพ.ในต่างจังหวัด และการกำหนดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไม่ได้ทำให้อัตราดอกเบี้ยลดต่ำลง แต่หากปล่อยให้มีการแข่งขันเสรีจะทำให้อัตราส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไม่สูง ปัจจุบันสถาบันการเงินมีส่วนต่างดอกเบี้ยสุทธิที่ร้อยละ 1.72 ซึ่งค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับในอดีตที่เคยสูงถึงร้อยละ 8 ทั้งที่ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมขณะนี้เฉลี่ยยอยู่ที่ร้อยละ 8 และดอกเบี้ยเงินฝากเฉลี่ยอยู่ที่ ร้อยละ 3 เท่ากับมีส่วนต่างดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 6.5-6.75(มติชนรายวัน 25)
2. ธปท.เปิดเผยถึงการปิดสาขาต่างจังหวัดของธนาคารพาณิชย์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การที่ ธพ.บางแห่งปิดสาขาในต่างจังหวัดเป็นจำนวนมากในช่วงนี้เนื่องจากในอดีตทางการกำหนดว่า ธพ.จะต้องเปิดสาขาชานเมืองด้วยหากต้องการเปิดสาขาเพิ่มในตัวเมือง ทั้งนี้การเปิดสาขาชานเมืองมักประสบการขาดทุน ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาทำให้ ธพ.ต้องรับภาระต้นทุนมากขึ้นจึงทำให้ ธพ.ปิดสาขาในต่างจังหวัดเป็นจำนวนมาก และไม่สามารถห้ามได้เนื่องจาก ธปท.อนุญาตให้ ธพ.ปิดสาขาได้อย่างเสรี อย่างไรก็ตาม ธปท.กำลังพิจารณาหาแนวทางให้ ธพ.เต็มใจที่จะเปิดสาขาต่อไป เพราะในชนบทที่มีสาขาของ ธพ.ตั้งอยู่จะมีความเจริญแตกต่างจากพื้นที่ที่ไม่มีสาขาของ ธพ. ซึ่ง ธพ.จะคิดแต่เรื่องกำไรอย่างเดียวเหมือนกับ ธพ.ต่างประเทศไม่ได้ แต่ขณะเดียวกัน ธปท.ก็ต้องดูแลความอยู่รอดของสถาบันการเงินด้วยเช่นกัน (แนวหน้า 25)
3. ก.คลังเปิดเผยหนี้สาธารณะเดือน ก.ค.44 และเป้าหมายการเบิกจ่าย งปม.ปี 45 ผู้อำนวยการกองนโยบายและวางแผนการคลัง ในฐานะรองโฆษก ก.คลัง เปิดเผยว่า หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือน ก.ค.44 มีจำนวน 2.86 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 56 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) แบ่งเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,213 ล.บาท หนี้ รัฐวิสาหกิจ 923 ล.บาท และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 724 ล.บาท โดย หนี้สาธารณะนั้น ธพ.เป็นเจ้าหนี้ในประเทศรายใหญ่ของรัฐบาลในสัดส่วนร้อยละ 38 รองลงมาคือ ธนาคาร แห่งประเทศไทยและ ธ.ออมสิน แห่งละร้อยละ 16 นอกจากนี้ ก.คลังได้กำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายเงิน งปม.ประจำปี 45 โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี งปม.(ต.ค.-ธ.ค.) จะต้องเร่งเบิกจ่าย งปม.ให้ขาดดุลกว่า 60,000 ล.บาท ซึ่งรวมกับงบกระตุ้นเศรษฐกิจ 58,000 ล.บาท ที่คาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ประมาณ 1,000 ล.บาท และหากมีเงินจากภาครัฐวิสาหกิจและองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นเสริมเข้ามา จะยิ่งทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น และน่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 1.5-2 ของจีดีพี ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ประมาณการไว้(โลกวันนี้, ไทยโพสต์ 25)
ข่าวต่างประเทศ
1. การว่างงานของ สรอ.จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 ในปี 45 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 24 ต.ค.44 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจจากนักเศรษฐศาสตร์คาดว่า จากเหตุการณ์ 11 ก.ย.44 จะทำให้อัตราการว่างของ สรอ. ภายในสิ้นปี 44 นี้ เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.3 จากคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 4.9 โดยอัตราการเพิ่มจะสูงที่สุดเป็นร้อยละ 5.8 ในไตรมาสที่ 2 ปี 45 หลังจากนั้นอัตราการว่างงานจะค่อยๆ โน้มต่ำลง แต่ยังคงสูงกว่าร้อยละ 5.5 จนถึงปี 46 สำหรับนครนิวยอร์ก อัตราการว่างงานในเดือน ก.ย.44 เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 6.3 สูงที่สุดนับตั้งเดือน ต.ค.42 แต่นักเศรษฐศาสตร์ระบุว่า ร้อยละ 0.5 ของการอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวมิได้สะท้อนถึงผลกระทบทั้งหมดจากเหตุการณ์เดือน ก.ย. แต่เป็นผลมาจากเดือน ส.ค.44 ทั้งนี้ การจ้างงานของ สรอ. ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกได้เสื่อมถอยลงอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่เดือน ต.ค.43 ที่อัตราการว่างงานต่ำที่สุดในรอบ 30 ปี โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.9(รอยเตอร์ 24)
2. ยอดขายของห้างสรรพสินค้าญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ในเดือน ก.ย.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 24 ต.ค.44 สมาคมห้างสรรพสินค้าญี่ปุ่นรายงานว่า เดือน ก.ย.44 ยอดขายโดยรวมมีมูลค่า 622.8 พัน ล.เยน (5.08 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เทียบต่อปี โดยสินค้าประเภทเสื้อผ้ามียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ขณะที่ยอดขายอาหารเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ทั้งนี้ ยอดขายของห้างสรรพสินค้าได้รับการจับตาอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นปัจจัยชี้วัดการใช้จ่ายของผู้บริโภค โดยยอดจำหน่ายเสื้อผ้ามีสัดส่วนร้อยละ 41.6 ของยอดขายโดยรวม(รอยเตอร์ 24)
3. คาดการณ์ว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นจะลดลงร้อยละ 2.5ในเดือน ก.ย.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 24 ต.ค. 44 ผลการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ 15 คนโดยรอยเตอร์ คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน ก.ย. 44 จะลดลงเฉลี่ยร้อยละ 2.5 จากเดือน ส.ค. 44 ทั้งนี้ เป็นผลจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจของ สรอ. อซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกของญี่ปุ่น นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ Merrill Lynch (Yoshito Sakakibara) กล่าวว่า มีสิ่งบ่งชี้หลายประการว่าเศรษฐกิจ สรอ. กำลังทรุดลงอย่างรวดเร็ว ก่อนจะเกิดการก่อการร้ายเมื่อวันที่ 11 ก.ย. 44 แต่การส่งออกสินค้าของญี่ปุ่นไปยัง สรอ. กลับได้รับผลกระทบที่รุนแรงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้(รอยเตอร์24)
4. เงินเฟ้อของเยอรมนีชะลอตัวลงในเดือน ต.ค. 44 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 24 ต.ค. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติ รายงานว่า ตัวเลขเงินเฟ้อเบื้องต้นของเยอรมนีในเดือน ต.ค. 44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เทียบต่อปี จากร้อยละ 2.1 ในเดือน ก.ย.44 และเมื่อเทียบต่อเดือน ลดลงร้อยละ 0.3 จากเดือน ก.ย. 44 ที่ไม่เปลี่ยนแปลง นับเป็นอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำที่สุดในรอบ 14 เดือน และสอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ จากรายงานครั้งนี้ยิ่งย้ำว่าแนวโน้มเงินเฟ้อของประเทศในเขตยูโรโน้มต่ำลง และเกื้อหนุนว่า ธ. กลางยุโรปจะลดอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์นี้ โดยคาดว่าจะลดลงร้อยละ 0.25 ถึงร้อยละ 0.5(รอยเตอร์24)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 24 ต.ค.44 44.756 (44.753)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 24 ต.ค. 44ซื้อ 44.5430 (44.5625) ขาย 44.8388 (44.8654)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,800 (5,800) ขาย 5,900 (5,900)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) ดูไบ 19.66 (19.31)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 13.99 (13.99) ดีเซลหมุนเร็ว 12.99 (12.99)
หมายเหตุ 1. ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน 2. ตั้งแต่วันที่ 22 ต.ค. 44 เริ่มใช้ราคาน้ำมันดิบของดูไบแทนโอมาน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-