ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าในปี 2543 ข้าวยังคงเป็นสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุดในหมวดสินค้าเกษตรและอยู่ในลำดับที่ 9 ของสินค้าส่งออกหลักใน 10 ลำดับแรกของไทย โดยมีปริมาณและมูลค่าส่งออกทั้งสิ้นประมาณ 6,606,188 ตัน มูลค่าประมาณ 68,000 ล้านบาท (1,740 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ลดลงจากปีก่อน ซึ่งส่งออกจำนวน 6,714,019 ตัน มูลค่า 72,325 ล้านบาท (1,920 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ร้อยละ 1.5 และ 6.0 ตามลำดับ (มูลค่าเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ ลดลงประมาณร้อยละ 9.4) เนื่องจากภาวะการค้าข้าวในตลาดโลกชะลอตัวและราคาข้าวโดยเฉลี่ยลดต่ำลง ประกอบกับข้าวของไทยต้องประสบปัญหาการขายตัดราคาอย่างรุนแรงจากประเทศคู่แข่งในช่วงกลางปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี ปริมาณและมูลค่าส่งออกดังกล่าวอยู่ในระดับที่น่าพอใจเมื่อเทียบกับภาวะการค้าข้าวในตลาดโลกและเป้าหมายที่กำหนดไว้ปริมาณ 6.0 ล้านตัน มูลค่า 60,000 ล้านบาท (1,554 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) โดยสามารถส่งออกได้สูงกว่าเป้าหมายประมาณร้อยละ 10 และ 13 ตามลำดับ ทั้งนี้ เนื่องจากปริมาณการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดเป้าหมายหลักมีอัตราขยายตัวค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวขาวคุณภาพดีในตลาดอิหร่าน อิรัก และซีเรีย และข้าวนึ่งชั้นดีในตลาดไนจีเรีย เซเนกัล แอฟริกาใต้ และเยเมน ส่งผลให้ข้าวนึ่งชั้นดีจากไทยส่งออกเพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณร้อยละ 39 ซึ่งมีอัตราขยายตัวสูงสุด เมื่อเทียบกับข้าวชนิดอื่นๆ โดยตลาดหลักในการส่งออกข้าวของไทย 10 ลำดับแรก ได้แก่ ไนจีเรีย อิหร่าน เซเนกัล แอฟริกาใต้ มาเลเซีย เกาหลีเหนือ อิรัก อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และฮ่องกง
สำหรับชนิดข้าว หากจำแนกตามปริมาณส่งออกแยกเป็นข้าวคุณภาพดี (ข้าวหอม ข้าวขาว 100% และ 5% ) ร้อยละ 49 ข้าวคุณภาพปานกลาง (ข้าวขาว 10%-15% และข้าวเหนียว 10%) ร้อยละ 10 และข้าวคุณภาพต่ำ (ข้าวขาว 25-35% ปลายข้าว และข้าวนึ่ง) ร้อยละ 41
รองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวโน้มการค้าข้าวปี 2544 ว่า จากการประมาณการณ์ของกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2543/44 จะมีประมาณ 595.7 ล้านตันข้าวเปลือก ลดลงจากฤดูการผลิตปีก่อน (602.2 ล้านตัน ข้าวเปลือก) ร้อยละ 1.1 เนื่องจากผลผลิตข้าวในแถบเอเซียส่วนใหญ่ลดลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีเหนือ บังกลาเทศ ปากีสถาน และสหรัฐฯ ขณะที่ความต้องการใช้ข้าวของโลกมีประมาณ 402.7 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อน (400.5 ล้านตันข้าวสาร) ร้อยละ 0.5 อย่างไรก็ตาม จากปริมาณข้าวคงเหลือในสต๊อกของประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศผู้ผลิตส่งออกข้าวและประเทศผู้บริโภคข้าวที่สำคัญยังคงมีสูง จึงส่งผลให้ปริมาณการค้าข้าวของโลกปี 2544 คาดว่าจะมีประมาณ 23.3 ล้านตัน ข้าวสาร ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อน (23.0 ล้านตันข้าวสาร) เพียงเล็กน้อย การค้าข้าวจึงยังคงมีการแข่งขันรุนแรงเช่นปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี จากการที่สาธารณรัฐประชาชนจีนจะเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) และต้องเปิดตลาดนำเข้าข้าว 2.6 ล้านตัน ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา การนำเข้าข้าวของสาธารณรัฐประชาชนจีนเกือบทั้งหมดเป็นการนำเข้าข้าวจากไทย โดยชนิดข้าวที่นำเข้ากว่าร้อยละ 90 เป็นข้าวหอมมะลิ การเปิดตลาดนำเข้าข้าวของสาธารณรัฐประชาชนจีนดังกล่าว คาดว่า จะช่วยให้การส่งออกข้าวไทย โดยเฉพาะข้าวคุณภาพดีจะขยายตัวมากขึ้น การส่งออกข้าวในปี 2544 จึงยังคงกำหนดเป้าหมายส่งออกไว้ในระดับเดียวกับเป้าหมายปี 2543 จำนวน 6.0 ล้านตัน มูลค่า 60,000 ล้านบาท จากสถานการณ์ดังกล่าว--จบ--
--กรมการค้าต่างประเทศ มกราคม 2543--
-อน-
อย่างไรก็ดี ปริมาณและมูลค่าส่งออกดังกล่าวอยู่ในระดับที่น่าพอใจเมื่อเทียบกับภาวะการค้าข้าวในตลาดโลกและเป้าหมายที่กำหนดไว้ปริมาณ 6.0 ล้านตัน มูลค่า 60,000 ล้านบาท (1,554 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) โดยสามารถส่งออกได้สูงกว่าเป้าหมายประมาณร้อยละ 10 และ 13 ตามลำดับ ทั้งนี้ เนื่องจากปริมาณการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดเป้าหมายหลักมีอัตราขยายตัวค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวขาวคุณภาพดีในตลาดอิหร่าน อิรัก และซีเรีย และข้าวนึ่งชั้นดีในตลาดไนจีเรีย เซเนกัล แอฟริกาใต้ และเยเมน ส่งผลให้ข้าวนึ่งชั้นดีจากไทยส่งออกเพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณร้อยละ 39 ซึ่งมีอัตราขยายตัวสูงสุด เมื่อเทียบกับข้าวชนิดอื่นๆ โดยตลาดหลักในการส่งออกข้าวของไทย 10 ลำดับแรก ได้แก่ ไนจีเรีย อิหร่าน เซเนกัล แอฟริกาใต้ มาเลเซีย เกาหลีเหนือ อิรัก อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และฮ่องกง
สำหรับชนิดข้าว หากจำแนกตามปริมาณส่งออกแยกเป็นข้าวคุณภาพดี (ข้าวหอม ข้าวขาว 100% และ 5% ) ร้อยละ 49 ข้าวคุณภาพปานกลาง (ข้าวขาว 10%-15% และข้าวเหนียว 10%) ร้อยละ 10 และข้าวคุณภาพต่ำ (ข้าวขาว 25-35% ปลายข้าว และข้าวนึ่ง) ร้อยละ 41
รองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวโน้มการค้าข้าวปี 2544 ว่า จากการประมาณการณ์ของกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2543/44 จะมีประมาณ 595.7 ล้านตันข้าวเปลือก ลดลงจากฤดูการผลิตปีก่อน (602.2 ล้านตัน ข้าวเปลือก) ร้อยละ 1.1 เนื่องจากผลผลิตข้าวในแถบเอเซียส่วนใหญ่ลดลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีเหนือ บังกลาเทศ ปากีสถาน และสหรัฐฯ ขณะที่ความต้องการใช้ข้าวของโลกมีประมาณ 402.7 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อน (400.5 ล้านตันข้าวสาร) ร้อยละ 0.5 อย่างไรก็ตาม จากปริมาณข้าวคงเหลือในสต๊อกของประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศผู้ผลิตส่งออกข้าวและประเทศผู้บริโภคข้าวที่สำคัญยังคงมีสูง จึงส่งผลให้ปริมาณการค้าข้าวของโลกปี 2544 คาดว่าจะมีประมาณ 23.3 ล้านตัน ข้าวสาร ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อน (23.0 ล้านตันข้าวสาร) เพียงเล็กน้อย การค้าข้าวจึงยังคงมีการแข่งขันรุนแรงเช่นปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี จากการที่สาธารณรัฐประชาชนจีนจะเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) และต้องเปิดตลาดนำเข้าข้าว 2.6 ล้านตัน ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา การนำเข้าข้าวของสาธารณรัฐประชาชนจีนเกือบทั้งหมดเป็นการนำเข้าข้าวจากไทย โดยชนิดข้าวที่นำเข้ากว่าร้อยละ 90 เป็นข้าวหอมมะลิ การเปิดตลาดนำเข้าข้าวของสาธารณรัฐประชาชนจีนดังกล่าว คาดว่า จะช่วยให้การส่งออกข้าวไทย โดยเฉพาะข้าวคุณภาพดีจะขยายตัวมากขึ้น การส่งออกข้าวในปี 2544 จึงยังคงกำหนดเป้าหมายส่งออกไว้ในระดับเดียวกับเป้าหมายปี 2543 จำนวน 6.0 ล้านตัน มูลค่า 60,000 ล้านบาท จากสถานการณ์ดังกล่าว--จบ--
--กรมการค้าต่างประเทศ มกราคม 2543--
-อน-