ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สรุปผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประจำเดือนสิงหาคม 2543 จากแบบสำรวจของผู้ประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 113 ตัวอย่าง ดังนี้ :-
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ส.ค. 43 ปรับตัวดีขึ้น และมีแนวโน้มดีขึ้นอีกในระยะ 4 เดือนข้างหน้า
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ส.ค. 43 อยู่ที่ระดับร้อยละ 44.2 สูงขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ระดับร้อยละ 43.2 เนื่องจากปัจจัยความ
เชื่อมั่นด้านผลประกอบการ ด้านอำนาจซื้อของประชาชน ด้านการลงทุนโดยรวม และแนวโน้มการส่งออกดีขึ้นจากเดือนก่อน ในขณะที่ต้นทุนการประกอบ
การสูงขึ้น และการจ้างงานลดลงจากเดือนก่อน
สำหรับแนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจในระยะ 4 เดือนข้างหน้าปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ โดยดัชนีความเชื่อมั่นในเดือน ก.ย. 43 อยู่ที่ร้อย
ละ 44.4 และสูงขึ้นเป็นร้อยละ 51.7 ในช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค. 43 ซึ่งอยู่สูงกว่าระดับเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ
2. ตัวแปรอื่น ๆ ที่มีผลต่อการปรับตัวของธุรกิจแต่ไม่รวมอยู่ในองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่น่าสังเกต ได้แก่
2.1 ปริมาณสินค้าคงคลัง ในเดือนนี้ปริมาณสินค้าที่เป็นวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปลดลงจากเดือนก่อน โดยดัชนีสินค้าคงคลังที่เป็นวัตถุดิบ
และสินค้าสำเร็จรูปอยู่ที่ระดับร้อยละ 58.3 และร้อยละ 55.7 ตามลำดับ ผู้ประกอบการมีการควบคุมสต๊อกสินค้าอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ประกอบการ
ส่วนใหญ่ยังเห็นว่าปริมาณสินค้าคงคลังยังคงเท่าเดิม
2.2 การแข่งขันทางธุรกิจ มีการแข่งขันด้านการตลาดและราคาเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ดัชนีการแข่งขันทางธุรกิจในประเทศอยู่ที่ระดับร้อย
ละ 33.6 และดัชนีการแข่งขันทางธุรกิจส่งออกอยู่ที่ระดับร้อยละ 41.2 อย่างไรก็ตาม การแข่งขันยังคงอยู่ในระดับสูง เนื่องจากความต้องการบริโภค
สินค้าในประเทศลดลง ประชาชนยังมีความระมัดระวังในการจับจ่ายสินค้า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 52.2 เห็นว่าการแข่งขันทางธุรกิจในประ
เทศรุนแรง
2.3 ภาวะการเงินเดือน ส.ค. 43 ยังคงทรงตัว สภาพคล่องทางการเงินลดลง ส่งผลให้การให้เครดิตแก่ลูกค้าลดลง อย่างไรก็ตาม
อัตราดอกเบี้ยยังคงลดลงจากเดือนก่อน
2.4 ตลาดเงินช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค. 43 คาดว่าสภาพคล่องจะเพิ่มขึ้นจากเดือนนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยังมีแนวโน้มลดลงและค่าเงิน
บาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น
3. ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการต่อภาครัฐ
3.1 รัฐควรสนใจปัญหาเศรษฐกิจให้มากกว่านี้ โดยเฉพาะด้านการเกษตรควรดูแลราคาพืชเศรษฐกิจสำคัญที่กำลังออกสู่ตลาด เพื่อสร้าง
กำลังซื้อให้แก่เกษตรกร ตลอดจนหาตลาดใหม่ ๆ ให้มากขึ้น
3.2 รัฐควรเร่งให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อให้มากขึ้น
3.3 สถาบันการเงินควรจะมีผู้เชี่ยวชาญอย่างแท้จริงในการวิเคราะห์ธุรกิจที่กำลังดำเนินการอยู่ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้สามารถดำเนิน
ธุรกิจต่อไปได้
3.4 รัฐควรมีมาตรการแก้ปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นที่ชัดเจน เนื่องจากกระทบราคาสินค้าอื่น
3.5 ผู้บริโภคไม่มีกำลังซื้อและธุรกิจในท้องถิ่นมีการแข่งขันกันมากขึ้น
3.6 รัฐควรเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกอบการและผู้ลงทุนทั้งในและต่างประเทศ
ความเห็นของผู้ประกอบการต่อองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
(ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม)
องค์ประกอบดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ไม่ตอบ
1. สถานะเศรษฐกิจหรือผลประกอบการธุรกิจ 19.5 41.6 38.9 -
2. อำนาจซื้อของประชาชน 13.3 37.2 46.0 3.5
3. การลงทุนโดยรวมในธุรกิจ 17.7 63.7 18.6 -
4. การจ้างงานในธุรกิจ 5.3 77.0 15.9 1.8
เพิ่มขึ้น เท่าเดิม ลดลง ไม่ตอบ
5. ต้นทุนการประกอบการโดยรวมในธุรกิจ 48.7 40.7 5.3 5.3
6. แนวโน้มการส่งออก 29.2 37.5 33.3 -
ตัวแปรอื่น ๆ ที่สะท้อนถึงความเชื่อมั่นทางธุรกิจแต่ไม่รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
ความเห็นของผู้ประกอบการต่อตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่ได้รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
(ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม)
ตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เพิ่มขึ้น เท่าเดิม ลดลง ไม่ตอบ
1. ปริมาณสินค้าคงคลัง
- วัตถุดิบ 6.2 26.5 25.7 41.6
- สินค้าสำเร็จรูป 10.6 49.6 29.2 10.6
2. การแข่งขันธุรกิจด้านการตลาดและหรือด้านราคา
- ในประเทศ 52.2 34.5 3.5 9.7
- ต่างประเทศ 44.1 47.1 8.8 -
3. ภาวะการเงินเดือน ส.ค. 43
- ภาระดอกเบี้ยเงินกู้ 14.2 57.5 11.5 16.8
- การให้เครดิตแก่ลูกค้า 8.0 47.8 26.5 17.7
- สภาพคล่อง 9.7 40.7 36.3 13.3
4. แนวโน้มตลาดเงินที่คาดไว้ในเดือน ต.ค.- ธ.ค. 43
เทียบกับเดือน ส.ค. 43
- อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 7.1 59.3 19.5 14.2
- ค่าเงินบาท (เทียบกับดอลลาร์) 8.0 31.9 41.6 -
- สภาพคล่อง 18.6 11.5 39.8 15.0
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-
ประจำเดือนสิงหาคม 2543 จากแบบสำรวจของผู้ประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 113 ตัวอย่าง ดังนี้ :-
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ส.ค. 43 ปรับตัวดีขึ้น และมีแนวโน้มดีขึ้นอีกในระยะ 4 เดือนข้างหน้า
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ส.ค. 43 อยู่ที่ระดับร้อยละ 44.2 สูงขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ระดับร้อยละ 43.2 เนื่องจากปัจจัยความ
เชื่อมั่นด้านผลประกอบการ ด้านอำนาจซื้อของประชาชน ด้านการลงทุนโดยรวม และแนวโน้มการส่งออกดีขึ้นจากเดือนก่อน ในขณะที่ต้นทุนการประกอบ
การสูงขึ้น และการจ้างงานลดลงจากเดือนก่อน
สำหรับแนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจในระยะ 4 เดือนข้างหน้าปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ โดยดัชนีความเชื่อมั่นในเดือน ก.ย. 43 อยู่ที่ร้อย
ละ 44.4 และสูงขึ้นเป็นร้อยละ 51.7 ในช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค. 43 ซึ่งอยู่สูงกว่าระดับเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ
2. ตัวแปรอื่น ๆ ที่มีผลต่อการปรับตัวของธุรกิจแต่ไม่รวมอยู่ในองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่น่าสังเกต ได้แก่
2.1 ปริมาณสินค้าคงคลัง ในเดือนนี้ปริมาณสินค้าที่เป็นวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปลดลงจากเดือนก่อน โดยดัชนีสินค้าคงคลังที่เป็นวัตถุดิบ
และสินค้าสำเร็จรูปอยู่ที่ระดับร้อยละ 58.3 และร้อยละ 55.7 ตามลำดับ ผู้ประกอบการมีการควบคุมสต๊อกสินค้าอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ประกอบการ
ส่วนใหญ่ยังเห็นว่าปริมาณสินค้าคงคลังยังคงเท่าเดิม
2.2 การแข่งขันทางธุรกิจ มีการแข่งขันด้านการตลาดและราคาเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ดัชนีการแข่งขันทางธุรกิจในประเทศอยู่ที่ระดับร้อย
ละ 33.6 และดัชนีการแข่งขันทางธุรกิจส่งออกอยู่ที่ระดับร้อยละ 41.2 อย่างไรก็ตาม การแข่งขันยังคงอยู่ในระดับสูง เนื่องจากความต้องการบริโภค
สินค้าในประเทศลดลง ประชาชนยังมีความระมัดระวังในการจับจ่ายสินค้า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 52.2 เห็นว่าการแข่งขันทางธุรกิจในประ
เทศรุนแรง
2.3 ภาวะการเงินเดือน ส.ค. 43 ยังคงทรงตัว สภาพคล่องทางการเงินลดลง ส่งผลให้การให้เครดิตแก่ลูกค้าลดลง อย่างไรก็ตาม
อัตราดอกเบี้ยยังคงลดลงจากเดือนก่อน
2.4 ตลาดเงินช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค. 43 คาดว่าสภาพคล่องจะเพิ่มขึ้นจากเดือนนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยังมีแนวโน้มลดลงและค่าเงิน
บาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น
3. ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการต่อภาครัฐ
3.1 รัฐควรสนใจปัญหาเศรษฐกิจให้มากกว่านี้ โดยเฉพาะด้านการเกษตรควรดูแลราคาพืชเศรษฐกิจสำคัญที่กำลังออกสู่ตลาด เพื่อสร้าง
กำลังซื้อให้แก่เกษตรกร ตลอดจนหาตลาดใหม่ ๆ ให้มากขึ้น
3.2 รัฐควรเร่งให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อให้มากขึ้น
3.3 สถาบันการเงินควรจะมีผู้เชี่ยวชาญอย่างแท้จริงในการวิเคราะห์ธุรกิจที่กำลังดำเนินการอยู่ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้สามารถดำเนิน
ธุรกิจต่อไปได้
3.4 รัฐควรมีมาตรการแก้ปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นที่ชัดเจน เนื่องจากกระทบราคาสินค้าอื่น
3.5 ผู้บริโภคไม่มีกำลังซื้อและธุรกิจในท้องถิ่นมีการแข่งขันกันมากขึ้น
3.6 รัฐควรเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกอบการและผู้ลงทุนทั้งในและต่างประเทศ
ความเห็นของผู้ประกอบการต่อองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
(ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม)
องค์ประกอบดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ไม่ตอบ
1. สถานะเศรษฐกิจหรือผลประกอบการธุรกิจ 19.5 41.6 38.9 -
2. อำนาจซื้อของประชาชน 13.3 37.2 46.0 3.5
3. การลงทุนโดยรวมในธุรกิจ 17.7 63.7 18.6 -
4. การจ้างงานในธุรกิจ 5.3 77.0 15.9 1.8
เพิ่มขึ้น เท่าเดิม ลดลง ไม่ตอบ
5. ต้นทุนการประกอบการโดยรวมในธุรกิจ 48.7 40.7 5.3 5.3
6. แนวโน้มการส่งออก 29.2 37.5 33.3 -
ตัวแปรอื่น ๆ ที่สะท้อนถึงความเชื่อมั่นทางธุรกิจแต่ไม่รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
ความเห็นของผู้ประกอบการต่อตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่ได้รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
(ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม)
ตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เพิ่มขึ้น เท่าเดิม ลดลง ไม่ตอบ
1. ปริมาณสินค้าคงคลัง
- วัตถุดิบ 6.2 26.5 25.7 41.6
- สินค้าสำเร็จรูป 10.6 49.6 29.2 10.6
2. การแข่งขันธุรกิจด้านการตลาดและหรือด้านราคา
- ในประเทศ 52.2 34.5 3.5 9.7
- ต่างประเทศ 44.1 47.1 8.8 -
3. ภาวะการเงินเดือน ส.ค. 43
- ภาระดอกเบี้ยเงินกู้ 14.2 57.5 11.5 16.8
- การให้เครดิตแก่ลูกค้า 8.0 47.8 26.5 17.7
- สภาพคล่อง 9.7 40.7 36.3 13.3
4. แนวโน้มตลาดเงินที่คาดไว้ในเดือน ต.ค.- ธ.ค. 43
เทียบกับเดือน ส.ค. 43
- อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 7.1 59.3 19.5 14.2
- ค่าเงินบาท (เทียบกับดอลลาร์) 8.0 31.9 41.6 -
- สภาพคล่อง 18.6 11.5 39.8 15.0
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-