แท็ก
สหภาพยุโรป
หลักการที่สำคัญของตลาดร่วมสินค้าเกษตรและนโยบายด้านการเกษตรของสหภาพยุโรปมีในสนธิสัญญาก่อตั้งสหภาพยุโรปของประเทศสมาชิกซึ่งกฎหมายฉบับนี้ คือมาตราที่ 39 โดยมี วัตถุประสงค์หลัก ดังต่อไปนี้
1. เพิ่มผลผลิตด้านการเกษตรโดยพัฒนาและส่งเสริมด้านเทคโนโลยีเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาผลผลิตเกษตรทั่วประเทศ และให้มีการใช้ประโยชน์สูงสุดจากปัจจัยผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้แรงงานเป็นปัจจัยในการผลิต
2. เพื่อให้เกิดความมั่นใจในมาตรฐานการครองชีพสำหรับสังคมเกษตรในสหภาพยุโรป
3. เพื่อสร้างความมั่นคงด้านการตลาด
4. เพื่อก่อให้เกิดอุปทานของสินค้าเกษตรอย่างเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค
5. เพื่อให้ผู้บริโภคของสหภาพยุโรปได้ซื้อสินค้าเกษตรในราคาที่เหมาะสมตามสภาพที่แท้จริงของตลาดวาระการประชุม2000 (Agenda2000)
Agenda 2000 แบ่งออกได้เป็น
1. การพัฒนานโยบายของสหภาพยุโรปในอนาคต รวมทั้งนโยบายร่วมด้านการเกษตร
2. การขยายตัวของสหภาพยุโรป
3. การดำเนินงานโดยภาพรวมซึ่งจะครอบคลุมถึงการวิเคราะห์สถานการณ์ด้านการเงินของสหภาพยุโรปแนวโน้มสถานภาพด้านการเงินของสหภาพยุโรป ปี ค.ศ. 2000-2006
ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 ถึง 2006 คาดว่ารายได้ประชาชาติ ของสหภาพยุโรปจะมีอัตราการขยายตัวปีละ 2.5% และมีอัตราเงินเฟ้อ 2% ต่อปี ถ้าหากว่านโยบายด้านการเกษตรของสหภาพยุโรปไม่มีการเปลี่ยนแปลงคาดว่ารายได้ส่วนเกินจากการเกษตรกรรมของสหภาพยุโรปจะมีมูลค่าเท่ากับ 14 ถึง 15 พันล้าน ECU ในปี ค.ศ. 2006การรับกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป
ประเทศในกลุ่มยุโรปตะวันออกที่มีแนวโน้มจะสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปได้แก่ ไซปรัส สาธารณรัฐเชค เอสโตเนีย ฮังการี โปแลนด์ และสโลเวเนีย ส่วนประเทศในยุโรปตอนกลางและยุโรปตะวันออกที่กำลังพิจารณาการสมัตรเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป ได้แก่ บุลกาเรีย ลัทเวีย ลิธัวเนีย โรมาเนีย และสาธารณรัฐสโลวัค
สหภาพยุโรปได้เสนอโครงการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่กลุ่มประเทศในยุโรปตะวันออก และยุโรปตอนกลาง เพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจการเกษตร และการเปลี่ยนแปลงประเทศให้เป็นระบบเศรษฐกิจแบบเสรี โครงการนี้เรียกว่า PHARE ซึ่งจะเริ่มตั้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นไป มูลค่าความช่วยเหลือจะมีประมาณ 3 พันล้านยูโรดอลลาร์ต่อปี นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นไป เมื่อเปรียบเทียบกับเงินความช่วยเหลือประมาณปีละ 1.3 พันล้านยูโรดอลล่าร์ ในช่วงระยะเวลาก่อนปี ค.ศ. 2000 โดยจะเป็นการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรด้วยงบประมาณเท่ากับ 0.5 พันล้านยูโรดอลล่าร์ปัญหาและแนวโน้มของนโยบายด้านการเกษตร
ปัญหาในการดำเนินงานตามนโยบายด้านการเกษตรของสหภาพยุโรป มีดังต่อไปนี้
1. องค์ประกอบภายนอก
องค์ประกอบภายนอกที่มีผลต่อนโยบายด้านการเกษตร ได้แก่
1.1 การพัฒนาของตลาดโลก
แนวโน้มระยะยาวของการค้านค้าเกษตรในตลาดโลกเป็นไปในทางที่ดีต่อประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตร เนื่องจากมีการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเพิ่มมากขึ้น โดยเฉาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนาและการผลิตที่ลดลง ทำให้สามารถคาดการณ์ได้ว่าการค้าสินค้าเกษตรในตลาดโลกจะเพิ่มมากขึ้นและได้ราคาที่สูงขึ้นในช่วงระยะเวลานับตั้งแต่ ค.ศ. 2000-2010
องค์ประกอบ 2 อย่างที่มีอิทธิพลต่ออุปทานของผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่
1. การเพิ่มขึ้นของประชาชนและการเพิ่มขึ้นของรายได้ คาดว่าประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 85 ล้านคนต่อปีในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1995 ถึง 2005 มากกว่าครึ่งหนึ่งหรือ 50 เปอร์เซ็นต์ของการเพิ่มขึ้นของประชากรจะเกิดขึ้นในเอเชีย และอีก 20 เปอร์เซ็นต์เป็นการเพิ่มขึ้นของประชากรในทวีปอัฟริกา นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของชุมชนเมืองจะมีอิทธิพลต่อรูปแบบของการบริโภคอาหาร
2. การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ของผู้บริโภค เนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนาโดยทั่วไปแล้ว คาดว่าภาวะวิกฤตด้านการเงินในเอเชียที่เกิดขึ้นในปี 1997 จะสามารถได้รับการแก้ไขให้ลุล่วงไปได้ โดยต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 4 ถึง 5 ปีมูลค่ารายได้ประชาชาติของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1997 จนถึง 2005 จึงจะเห็นได้จากสาธารณรัฐประชาชนจีน มีอัตราการเพิ่มขึ้นนของ GDP เท่ากับ 9% กลุ่มประเทศในลาตินอเมริกาเพิ่มขึ้นประมาณ 4.5% ต่อปี ในขณะที่อัฟริกาและตะวันออกกลางก็มีอัตราการเพิ่มขึ้นของ GDP มากกว่าในอดีตการเพิ่มขึ้นของรายได้ของผู้บริโภคก่อให้เกิดความหลากหลายในการรับประทานอาหาร เช่น มีการบริโภคเนื้อสัตว์และนมสดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีการขยายตัวในด้านปศุสัตว์ และอุปสงค์ของอาหารสัตว์เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
ในระยะเวลาอีก 10 ปีตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นไป คาดว่าผลผลิตด้านการเกษตรของโลกจะเพิ่มมากขึ้นกว่าปัจจุบัน แต่เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนาหลายประเทศ การเพิ่มขึ้นของผลผลิตจะน้อยกว่าการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์จากผู้บริโภค เนื่องจากข้อจำกัดด้านที่ดินในการเพาะปลูกและมีการเพิ่มขึ้นของชุมชนเมือง ข้อจำกัดด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การลดลงของผลผลิต
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 ถึงปี 2005 คาดว่าสินค้าเกษตรจะมีราคาเพิ่มสูงขึ้น สินค้าเกษตรในตลาดสหภาพยุโรปที่คาดว่าราคาจะ คงอยู่ในระดับสูง ได้แก่ ธัญพืช (ข้าวสาลี) และธัญพืช เมล็ดหยาบ เมล็ดพืชน้ำมัน เนื้อโค เนื้อสัตว์ปีก เนยแข็ง น้ำนมขาดมันเนย นมผง แต่สำหรับเนื้อสุกรอาจจะมีราคาที่อ่อนตัวลง แต่อย่างไรก็ตามการผกผันของราคาสิค้าเกษตรควรจะเพิ่มขึ้นในอนาคต เนื่องจากปริมาณสินค้าเกษตรในสต็อกของตลาดโลกจะลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับอดีตที่ผ่านมา
1.2 การเพิ่มขึ้นของการค้าเสรี การเจรจาการค้าพหุภาคีรอบใหม่ที่เริ่มต้นตั้งแต่ปี 1999 ได้สร้างแรงกดดันในการที่จะให้การค้าระหว่างประเทศมีความก้าวหน้าตาม Marrakech Agreement เช่น การลดการอุดหนุนการส่งออก การปรับโครงสร้างการอุดหนุนภายใน สหรัฐอเมริกาจะเจรจาอยู่บนพื้นฐานของกฎหมาย 1996 FAIR (Federal Agriculture Improvement and Reform Act) โดยที่สหรัฐอเมริกาจะอ้างว่า การอุดหนุนการส่งออกของสหรัฐไม่ได้เกิดขึ้นกับสินค้าเกษตรชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นการเฉพาะตัวหรือเกี่ยวข้องกับการผันผวนของราคา สหภาพยุโรปจึงมีความเสี่ยงต่อการที่จะถูกโดดเดี่ยวท่ามกลางผู้ส่งสินค้าเกษตรรายสำคัญในตลาดโลก
ปัจจัยภายในสหภาพยุโรป
ปัจจัยภายในที่สำคัญ ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของการขาดดุลการค้า การรวมตัวกันทางเศรษฐกิจและการเงินของสหภาพยุโรป การพัฒนาชนบทที่มีมากขึ้นและประเด็นการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
ความเสี่ยงจากภาวะขาดดุลการค้าที่เพิ่มมากขึ้น
ปี ค.ศ. 2000 สหภาพยุโรปจะขาดดุลการเพิ่มมากขึ้นจากสินค้าดังต่อไปนี้ ได้แก่ ธัญพืช เนื้อโค น้ำมันมะกอก เหล้าไวน์ และนมสด ส่วนเมล็ดพืชน้ำมัน สหภาพยุโรปจะยังคงขาดดุลการนำเข้าต่อไปเนื่องจากว่าพื้นที่เพาะปลูกมีจำกัดซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงของ GATT และตามข้อตกลง Blair House Agreement ที่มีผลต่อสหรัฐอเมริกา การเพาะปลูกพืชน้ำมันของสหภาพยุโรปยังคงถูกจำกัดอยู่ตราบเท่าที่ผู้เพาะปลูกในปัจจุบันยังคงได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มที่จากการจำกัดพื้นที่เพาะปลูก
ในอนาคตคาดว่าผลผลิตธัญพืชจะเพิ่มมากขึ้นกว่าความต้องการบริโภคซึ่งก่อให้เกิดภาวะธัญพืชล้นตลาด การเพาะปลูกต้นมะกอกตามโครงการใหม่ของสหภาพยุโรปเมื่อไม่กี่ปีมานี้จะช่วยให้มีผลผลิตเพิ่มมากขึ้นในขณะที่อุปสงค์ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
Agenda 2000 มีข้อกำหนดให้สหภาพยุโรปพัฒนาศักยภาพด้านการแข่งขันทั้งตลาดภายในสหภาพยุโรปและในตลาดโลกโดยการลดการอุดหนุนด้านราคาลงในสหภาพยุโรป ซึ่งจะกระตุ้นอุปสงค์ของผู้บริโภคและอนุญาตให้มีการส่งออกเพิ่มมากขึ้นโดยปราศจากการอุดหนุ่นในอดีตที่ผ่านมา ภาวะสินค้าเกษตรล้นตลาดภายในสหภาพยุโรปเกิดขึ้นเนื่องจากการอุดหนุนการส่งออก ซึ่งจะเป็นเหตุการณ์ที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต เนื่องจากการอุดหนุนการส่งออกได้ถูกจำกัดโดยข้อตกลงของ GATT แนวทางแห่งการแก้ไขปัญหาจึงได้แก่
1. การลดการผลิตลง
2. เพิ่มการส่งออกโดยปราศจากการอุดหนุนในขณะที่องค์ประกอบที่สำคัญต่อการแข่งขันในตลาดโลกไม่ได้ขึ้นอยู่กับราคาสินค้าแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังประกอบด้วยองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น ความต้องการของผู้บริโภค สุขอนามัยของอาหาร ความปลอดภัยของอาหาร
ความรับผิดชอบต่อสภาพสิ่งแวดล้อม
การเปลี่ยนแปลงทัศนคติเกี่ยวกับการเกษตร ซึ่งมีการคำนึงถึงองค์ประกอบที่เป็นสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น การเสื่อมของผิวดินและมลภาวะ เป็นต้น การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการตอบสนองความต้องการของตลาดจะเป็นสิ่งที่ท้าทายต่อนโยบายด้านการเกษตรของสหภาพยุโรปในทศวรรษหน้า โปรแกรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้ถูกกำหนดขึ้น เพื่อให้รัฐบาลจำเป็นต้องจ่าายค่าชดชเยโดยตรงต่อเกษตรกรในการปฏิบัติตามมาตรการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามเงื่อนไขของ good agricultural practice
Agenda 2000 ได้ชี้ให้เห็นถึงนโยบายหลักในการพัฒนาชนบทและได้กำหนดวัตถุประสงค์สำหรับนโยบายพัฒนาชชนบทไว้ 3 ประการ คือ
1. สหภาพยุโรปควรจะปรับเปลี่ยนโครงสร้างด้านเกษตรกรรมให้ผสมผสานกันระหว่างการเกษตรและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
2. สร้างความหลากหลายด้านการเกษตร
3. การปรับโครงสร้างดานการเกษตรให้มีการนำเครื่องมือที่ช่วยในเกษตรกรรมมาใช้มากขึ้น--จบ--
-อน-
1. เพิ่มผลผลิตด้านการเกษตรโดยพัฒนาและส่งเสริมด้านเทคโนโลยีเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาผลผลิตเกษตรทั่วประเทศ และให้มีการใช้ประโยชน์สูงสุดจากปัจจัยผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้แรงงานเป็นปัจจัยในการผลิต
2. เพื่อให้เกิดความมั่นใจในมาตรฐานการครองชีพสำหรับสังคมเกษตรในสหภาพยุโรป
3. เพื่อสร้างความมั่นคงด้านการตลาด
4. เพื่อก่อให้เกิดอุปทานของสินค้าเกษตรอย่างเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค
5. เพื่อให้ผู้บริโภคของสหภาพยุโรปได้ซื้อสินค้าเกษตรในราคาที่เหมาะสมตามสภาพที่แท้จริงของตลาดวาระการประชุม2000 (Agenda2000)
Agenda 2000 แบ่งออกได้เป็น
1. การพัฒนานโยบายของสหภาพยุโรปในอนาคต รวมทั้งนโยบายร่วมด้านการเกษตร
2. การขยายตัวของสหภาพยุโรป
3. การดำเนินงานโดยภาพรวมซึ่งจะครอบคลุมถึงการวิเคราะห์สถานการณ์ด้านการเงินของสหภาพยุโรปแนวโน้มสถานภาพด้านการเงินของสหภาพยุโรป ปี ค.ศ. 2000-2006
ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 ถึง 2006 คาดว่ารายได้ประชาชาติ ของสหภาพยุโรปจะมีอัตราการขยายตัวปีละ 2.5% และมีอัตราเงินเฟ้อ 2% ต่อปี ถ้าหากว่านโยบายด้านการเกษตรของสหภาพยุโรปไม่มีการเปลี่ยนแปลงคาดว่ารายได้ส่วนเกินจากการเกษตรกรรมของสหภาพยุโรปจะมีมูลค่าเท่ากับ 14 ถึง 15 พันล้าน ECU ในปี ค.ศ. 2006การรับกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป
ประเทศในกลุ่มยุโรปตะวันออกที่มีแนวโน้มจะสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปได้แก่ ไซปรัส สาธารณรัฐเชค เอสโตเนีย ฮังการี โปแลนด์ และสโลเวเนีย ส่วนประเทศในยุโรปตอนกลางและยุโรปตะวันออกที่กำลังพิจารณาการสมัตรเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป ได้แก่ บุลกาเรีย ลัทเวีย ลิธัวเนีย โรมาเนีย และสาธารณรัฐสโลวัค
สหภาพยุโรปได้เสนอโครงการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่กลุ่มประเทศในยุโรปตะวันออก และยุโรปตอนกลาง เพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจการเกษตร และการเปลี่ยนแปลงประเทศให้เป็นระบบเศรษฐกิจแบบเสรี โครงการนี้เรียกว่า PHARE ซึ่งจะเริ่มตั้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นไป มูลค่าความช่วยเหลือจะมีประมาณ 3 พันล้านยูโรดอลลาร์ต่อปี นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นไป เมื่อเปรียบเทียบกับเงินความช่วยเหลือประมาณปีละ 1.3 พันล้านยูโรดอลล่าร์ ในช่วงระยะเวลาก่อนปี ค.ศ. 2000 โดยจะเป็นการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรด้วยงบประมาณเท่ากับ 0.5 พันล้านยูโรดอลล่าร์ปัญหาและแนวโน้มของนโยบายด้านการเกษตร
ปัญหาในการดำเนินงานตามนโยบายด้านการเกษตรของสหภาพยุโรป มีดังต่อไปนี้
1. องค์ประกอบภายนอก
องค์ประกอบภายนอกที่มีผลต่อนโยบายด้านการเกษตร ได้แก่
1.1 การพัฒนาของตลาดโลก
แนวโน้มระยะยาวของการค้านค้าเกษตรในตลาดโลกเป็นไปในทางที่ดีต่อประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตร เนื่องจากมีการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเพิ่มมากขึ้น โดยเฉาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนาและการผลิตที่ลดลง ทำให้สามารถคาดการณ์ได้ว่าการค้าสินค้าเกษตรในตลาดโลกจะเพิ่มมากขึ้นและได้ราคาที่สูงขึ้นในช่วงระยะเวลานับตั้งแต่ ค.ศ. 2000-2010
องค์ประกอบ 2 อย่างที่มีอิทธิพลต่ออุปทานของผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่
1. การเพิ่มขึ้นของประชาชนและการเพิ่มขึ้นของรายได้ คาดว่าประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 85 ล้านคนต่อปีในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1995 ถึง 2005 มากกว่าครึ่งหนึ่งหรือ 50 เปอร์เซ็นต์ของการเพิ่มขึ้นของประชากรจะเกิดขึ้นในเอเชีย และอีก 20 เปอร์เซ็นต์เป็นการเพิ่มขึ้นของประชากรในทวีปอัฟริกา นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของชุมชนเมืองจะมีอิทธิพลต่อรูปแบบของการบริโภคอาหาร
2. การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ของผู้บริโภค เนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนาโดยทั่วไปแล้ว คาดว่าภาวะวิกฤตด้านการเงินในเอเชียที่เกิดขึ้นในปี 1997 จะสามารถได้รับการแก้ไขให้ลุล่วงไปได้ โดยต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 4 ถึง 5 ปีมูลค่ารายได้ประชาชาติของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1997 จนถึง 2005 จึงจะเห็นได้จากสาธารณรัฐประชาชนจีน มีอัตราการเพิ่มขึ้นนของ GDP เท่ากับ 9% กลุ่มประเทศในลาตินอเมริกาเพิ่มขึ้นประมาณ 4.5% ต่อปี ในขณะที่อัฟริกาและตะวันออกกลางก็มีอัตราการเพิ่มขึ้นของ GDP มากกว่าในอดีตการเพิ่มขึ้นของรายได้ของผู้บริโภคก่อให้เกิดความหลากหลายในการรับประทานอาหาร เช่น มีการบริโภคเนื้อสัตว์และนมสดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีการขยายตัวในด้านปศุสัตว์ และอุปสงค์ของอาหารสัตว์เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
ในระยะเวลาอีก 10 ปีตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นไป คาดว่าผลผลิตด้านการเกษตรของโลกจะเพิ่มมากขึ้นกว่าปัจจุบัน แต่เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนาหลายประเทศ การเพิ่มขึ้นของผลผลิตจะน้อยกว่าการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์จากผู้บริโภค เนื่องจากข้อจำกัดด้านที่ดินในการเพาะปลูกและมีการเพิ่มขึ้นของชุมชนเมือง ข้อจำกัดด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การลดลงของผลผลิต
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 ถึงปี 2005 คาดว่าสินค้าเกษตรจะมีราคาเพิ่มสูงขึ้น สินค้าเกษตรในตลาดสหภาพยุโรปที่คาดว่าราคาจะ คงอยู่ในระดับสูง ได้แก่ ธัญพืช (ข้าวสาลี) และธัญพืช เมล็ดหยาบ เมล็ดพืชน้ำมัน เนื้อโค เนื้อสัตว์ปีก เนยแข็ง น้ำนมขาดมันเนย นมผง แต่สำหรับเนื้อสุกรอาจจะมีราคาที่อ่อนตัวลง แต่อย่างไรก็ตามการผกผันของราคาสิค้าเกษตรควรจะเพิ่มขึ้นในอนาคต เนื่องจากปริมาณสินค้าเกษตรในสต็อกของตลาดโลกจะลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับอดีตที่ผ่านมา
1.2 การเพิ่มขึ้นของการค้าเสรี การเจรจาการค้าพหุภาคีรอบใหม่ที่เริ่มต้นตั้งแต่ปี 1999 ได้สร้างแรงกดดันในการที่จะให้การค้าระหว่างประเทศมีความก้าวหน้าตาม Marrakech Agreement เช่น การลดการอุดหนุนการส่งออก การปรับโครงสร้างการอุดหนุนภายใน สหรัฐอเมริกาจะเจรจาอยู่บนพื้นฐานของกฎหมาย 1996 FAIR (Federal Agriculture Improvement and Reform Act) โดยที่สหรัฐอเมริกาจะอ้างว่า การอุดหนุนการส่งออกของสหรัฐไม่ได้เกิดขึ้นกับสินค้าเกษตรชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นการเฉพาะตัวหรือเกี่ยวข้องกับการผันผวนของราคา สหภาพยุโรปจึงมีความเสี่ยงต่อการที่จะถูกโดดเดี่ยวท่ามกลางผู้ส่งสินค้าเกษตรรายสำคัญในตลาดโลก
ปัจจัยภายในสหภาพยุโรป
ปัจจัยภายในที่สำคัญ ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของการขาดดุลการค้า การรวมตัวกันทางเศรษฐกิจและการเงินของสหภาพยุโรป การพัฒนาชนบทที่มีมากขึ้นและประเด็นการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
ความเสี่ยงจากภาวะขาดดุลการค้าที่เพิ่มมากขึ้น
ปี ค.ศ. 2000 สหภาพยุโรปจะขาดดุลการเพิ่มมากขึ้นจากสินค้าดังต่อไปนี้ ได้แก่ ธัญพืช เนื้อโค น้ำมันมะกอก เหล้าไวน์ และนมสด ส่วนเมล็ดพืชน้ำมัน สหภาพยุโรปจะยังคงขาดดุลการนำเข้าต่อไปเนื่องจากว่าพื้นที่เพาะปลูกมีจำกัดซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงของ GATT และตามข้อตกลง Blair House Agreement ที่มีผลต่อสหรัฐอเมริกา การเพาะปลูกพืชน้ำมันของสหภาพยุโรปยังคงถูกจำกัดอยู่ตราบเท่าที่ผู้เพาะปลูกในปัจจุบันยังคงได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มที่จากการจำกัดพื้นที่เพาะปลูก
ในอนาคตคาดว่าผลผลิตธัญพืชจะเพิ่มมากขึ้นกว่าความต้องการบริโภคซึ่งก่อให้เกิดภาวะธัญพืชล้นตลาด การเพาะปลูกต้นมะกอกตามโครงการใหม่ของสหภาพยุโรปเมื่อไม่กี่ปีมานี้จะช่วยให้มีผลผลิตเพิ่มมากขึ้นในขณะที่อุปสงค์ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
Agenda 2000 มีข้อกำหนดให้สหภาพยุโรปพัฒนาศักยภาพด้านการแข่งขันทั้งตลาดภายในสหภาพยุโรปและในตลาดโลกโดยการลดการอุดหนุนด้านราคาลงในสหภาพยุโรป ซึ่งจะกระตุ้นอุปสงค์ของผู้บริโภคและอนุญาตให้มีการส่งออกเพิ่มมากขึ้นโดยปราศจากการอุดหนุ่นในอดีตที่ผ่านมา ภาวะสินค้าเกษตรล้นตลาดภายในสหภาพยุโรปเกิดขึ้นเนื่องจากการอุดหนุนการส่งออก ซึ่งจะเป็นเหตุการณ์ที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต เนื่องจากการอุดหนุนการส่งออกได้ถูกจำกัดโดยข้อตกลงของ GATT แนวทางแห่งการแก้ไขปัญหาจึงได้แก่
1. การลดการผลิตลง
2. เพิ่มการส่งออกโดยปราศจากการอุดหนุนในขณะที่องค์ประกอบที่สำคัญต่อการแข่งขันในตลาดโลกไม่ได้ขึ้นอยู่กับราคาสินค้าแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังประกอบด้วยองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น ความต้องการของผู้บริโภค สุขอนามัยของอาหาร ความปลอดภัยของอาหาร
ความรับผิดชอบต่อสภาพสิ่งแวดล้อม
การเปลี่ยนแปลงทัศนคติเกี่ยวกับการเกษตร ซึ่งมีการคำนึงถึงองค์ประกอบที่เป็นสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น การเสื่อมของผิวดินและมลภาวะ เป็นต้น การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการตอบสนองความต้องการของตลาดจะเป็นสิ่งที่ท้าทายต่อนโยบายด้านการเกษตรของสหภาพยุโรปในทศวรรษหน้า โปรแกรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้ถูกกำหนดขึ้น เพื่อให้รัฐบาลจำเป็นต้องจ่าายค่าชดชเยโดยตรงต่อเกษตรกรในการปฏิบัติตามมาตรการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามเงื่อนไขของ good agricultural practice
Agenda 2000 ได้ชี้ให้เห็นถึงนโยบายหลักในการพัฒนาชนบทและได้กำหนดวัตถุประสงค์สำหรับนโยบายพัฒนาชชนบทไว้ 3 ประการ คือ
1. สหภาพยุโรปควรจะปรับเปลี่ยนโครงสร้างด้านเกษตรกรรมให้ผสมผสานกันระหว่างการเกษตรและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
2. สร้างความหลากหลายด้านการเกษตร
3. การปรับโครงสร้างดานการเกษตรให้มีการนำเครื่องมือที่ช่วยในเกษตรกรรมมาใช้มากขึ้น--จบ--
-อน-