อุทกภัย : สรุปความเสียหายจากอุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือ
ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนเมษายน 2543 เป็นต้นมา มีจังหวัดที่ประสบอุทกภัยรวม 45 จังหวัด โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่งเพิ่มขึ้น ซึ่งสำนักงานป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยธรรมชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สรุปความเสียหายตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2543 - 14 สิงหาคม 2543 ตัดยอดข้อมูล ณ วันที่ 5 กันยายน 2543 ปรากฏว่า เกษตรกรที่ประสบภัยดังกล่าวรวม 218,500 ครอบครัว พื้นที่การเกษตร ได้แก่ ข้าว พืชไร่ พืชผัก ไม้ผลและอื่น ๆ ได้รับความเสียหายจำนวน 2,795,075 ไร่
ช่วงเกิดภัยจากพายุดีเปรสชั่นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และพายุเกมี ตั้งแต่วันที่ 15-31 สิงหาคม 2543 ตัดยอดข้อมูล ณ วันที่ 5 กันยายน 2543 จังหวัดที่ประสบอุทกภัย 26 จังหวัด พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 2,352 ,344 ไร่
การให้ความช่วยเหลือด้านพืช
1) จังหวัดให้ความช่วยเหลือในวงเงิน 8,905,435 บาท ช่วยได้ในพื้นที่ 93,750 ไร่
2) กรมส่งเสริมการเกษตร จัดซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 จำนวน 166,650 กิโลกรัม วงเงิน 2,499,750 บาท
3) คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 อนุมัติให้ดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยหลังน้ำลดเพิ่มเติมจากเงินทดรองราชการ โดยใช้งบกลางสำหรับแจกจ่ายพันธุ์ข้าวที่สำรองไว้ตามศูนย์ขยายพันธุ์พืชทั่วประเทศและแจกจ่ายปุ๋ยตามโครงการจัดหาปุ๋ยเคมี ปี 2540-2541 ที่ยังคงเหลืออยู่
4) กรมส่งเสริมการเกษตร ได้จัดทำรายละเอียดทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 ในพื้นที่จำนวน 1,634,470 ไร่ ใน 15 จังหวัด โดยช่วยเหลือเมล็ดพันธุ์ข้าว 15,441 ตัน และปุ๋ยเคมี 19,301 ตัน ในวงเงินรวม 419,942,350 บาท
5) การให้ความช่วยเหลือที่นอกเหนือจากนาข้าว โดยใช้งบกลางจากคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย พืชไร่ พืชผัก พันธุ์ไม้ผล ไม้ยืนต้น ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์ รวมเป็นเงิน 35,043,411 บาท
6) กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ดำเนินการจัดส่งเมล็ดพันธุ์ข้าวจำนวน 7,446,750 กิโลกรัม ให้ 5 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด และอุบลราชธานี ที่มีความต้องการเร่งด่วน ภายในเดือนสิงหาคม 2543
ช่วงเกิดภัยตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน -28 สิงหาคม 2543 ตัดยอดข้อมูล ณ วันที่ 5 กันยายน 2543 เกษตรกรได้รับความเสียหายจากสัตว์ตายหรือสูญหาย รวม 98,938 ราย จำนวน 2,254,088 ตัว
การให้ความช่วยเหลือด้านปศุสัตว์
1) กรมปศุสัตว์ได้สำรองเสบียงอาหารสัตว์ไว้ในกรณีฉุกเฉินไว้ที่ศูนย์/ สถานีอาหารสัตว์ รวม 33 แห่ง ซึ่งขณะที่ได้ให้ความช่วยเหลือพืชอาหารสัตว์ไปแล้ว 909,793 กิโลกรัม วัคซีนและยาป้องกันโรคสัตว์จำนวน 146,290 ตัว และทางจังหวัดดำเนินการให้ความช่วยเหลือโดยใช้เงินทดรองราชการอีก 3,201,500 บาท
2) ภายหลังน้ำลด จะใช้งบกลางฟื้นฟูสภาพการเลี้ยงสัตว์และการฟื้นฟูอาชีพเพิ่มเติม
ช่วงเกิดภัยตั้งแต่เดือนเมษายน-สิงหาคม 2543 มีจังหวัดที่ประสบอุทกภัย 31 จังหวัด เกษตรกรได้รับความเสียหาย 38,776 ราย พื้นที่ทำการประมงเสียหายรวม 52,287 ไร่ มูลค่ารวม 203,969,593 บาท
การใช้ความช่วยเหลือด้านประมง
1) กรมประมง ได้ดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบอุทกภัย เป็นพันธุ์สัตว์น้ำและอาหารสัตว์น้ำรวม 31 จังหวัด เป็นเงิน 11,392,685 บาท
2) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาจัดสรรเงินงบกลาง รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นการชดเชยความเสียหายให้แก่เกษตรกรที่ประสบภาวะน้ำท่วม รวม 3 ครั้ง ในวงเงินทั้งสิ้น 1,846,469,392 บาท
ข้าว : ราคาข้าวมีแนวโน้มตกต่ำ
กระทรวงเกษตรสหรัฐ ฯ คาดคะเนผลผลิตข้าวโลก ปี 2543/44 ว่าจะมีผลผลิตทั้งสิ้น 591.98 ล้านตัน ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 1.24 ถึงแม้ผลผลิตจะลดลงจากปีก่อนเล็กน้อยแต่ผลผลิตโลกก็ยังอยู่ในเกณฑ์สูงใกล้เคียงกับปีที่แล้ว สำหรับสถานการณ์การค้าโลกในปีนี้ค่อนข้างซบเซา ทำให้สต็อกคงเหลือเพิ่มขึ้นเมื่อรวมกับผลผลิตที่มีมากอยู่แล้ว จึงคาดว่าราคาข้าวในตลาดโลกปีหน้าจะมีแนวโน้มลดลง
สำหรับสถานการณ์การผลิตในประเทศผลผลิตปี 2543/44 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น จาก 18.978 ล้านตัน เป็น 19.041 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.34 เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวย ประกอบกับเกษตรกรใช้พันธุ์ดีมากขึ้น ในขณะที่การส่งออกของไทยตั้งแต่มกราคม-6 กันยายน 2543 ส่งออกได้ 3,932,678 ตัน ลดลงจาก 4,210,878 ตัน ในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.61 ส่งผลให้สต็อกคงเหลือเพิ่มขึ้นเมื่อรวมกับผลผลิตปี 2543/44 ซึ่งกำลังทยอยออกสู่ตลาดขณะนี้ ถ้าไม่สามารถระบายข้าวส่งออกได้ทัน คาดว่าน่าจะเกิดปัญหาราคาข้าวตกต่ำ เพราะในช่วงนี้ราคาข้าวได้เริ่มลดลงแล้ว โดยขณะนี้ราคาข้าวนาปี 5 % ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยอยู่ที่ตันละ 5,247 บาท ลดลงจากตันละ 5,404 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.91 และลดลงจาก 5,586 บาท/ตัน ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.07 ซึ่งตามปกติในช่วงเวลานี้ของทุกปีราคาไม่น่าจะลดลง จากภาวะดังกล่าวจึงคาดว่าปีหน้าราคาคงไม่ดีขึ้นกว่าปีนี้
สำหรับผลผลิตปี 2543/44 ขณะนี้เริ่มออกสู่ตลาดบ้างแล้วประมาณร้อยละ 6 ของผลผลิตทั้งหมด และผลผลิตจะทะยอยออกสู่ตลาดมากขึ้นและจะมากที่สุดในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม คิดเป็นร้อยละ 80 ของผลผลิตทั้งหมด ซึ่งในช่วงดังกล่าวคาดว่าจะเกิดปัญหาเรื่องราคาข้าวตกต่ำ
ข้อคิดเห็น
รัฐบาลควรเร่งออกมาตรการช่วยเหลือให้เร็วขึ้น เพื่อให้ทันในช่วงที่ผลผลิตออกมาก เพื่อมิให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาราคาตกต่ำ
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 35 ประจำวันที่ 4-10 ก.ย. 2543--
-สส-
ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนเมษายน 2543 เป็นต้นมา มีจังหวัดที่ประสบอุทกภัยรวม 45 จังหวัด โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่งเพิ่มขึ้น ซึ่งสำนักงานป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยธรรมชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สรุปความเสียหายตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2543 - 14 สิงหาคม 2543 ตัดยอดข้อมูล ณ วันที่ 5 กันยายน 2543 ปรากฏว่า เกษตรกรที่ประสบภัยดังกล่าวรวม 218,500 ครอบครัว พื้นที่การเกษตร ได้แก่ ข้าว พืชไร่ พืชผัก ไม้ผลและอื่น ๆ ได้รับความเสียหายจำนวน 2,795,075 ไร่
ช่วงเกิดภัยจากพายุดีเปรสชั่นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และพายุเกมี ตั้งแต่วันที่ 15-31 สิงหาคม 2543 ตัดยอดข้อมูล ณ วันที่ 5 กันยายน 2543 จังหวัดที่ประสบอุทกภัย 26 จังหวัด พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 2,352 ,344 ไร่
การให้ความช่วยเหลือด้านพืช
1) จังหวัดให้ความช่วยเหลือในวงเงิน 8,905,435 บาท ช่วยได้ในพื้นที่ 93,750 ไร่
2) กรมส่งเสริมการเกษตร จัดซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 จำนวน 166,650 กิโลกรัม วงเงิน 2,499,750 บาท
3) คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 อนุมัติให้ดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยหลังน้ำลดเพิ่มเติมจากเงินทดรองราชการ โดยใช้งบกลางสำหรับแจกจ่ายพันธุ์ข้าวที่สำรองไว้ตามศูนย์ขยายพันธุ์พืชทั่วประเทศและแจกจ่ายปุ๋ยตามโครงการจัดหาปุ๋ยเคมี ปี 2540-2541 ที่ยังคงเหลืออยู่
4) กรมส่งเสริมการเกษตร ได้จัดทำรายละเอียดทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 ในพื้นที่จำนวน 1,634,470 ไร่ ใน 15 จังหวัด โดยช่วยเหลือเมล็ดพันธุ์ข้าว 15,441 ตัน และปุ๋ยเคมี 19,301 ตัน ในวงเงินรวม 419,942,350 บาท
5) การให้ความช่วยเหลือที่นอกเหนือจากนาข้าว โดยใช้งบกลางจากคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย พืชไร่ พืชผัก พันธุ์ไม้ผล ไม้ยืนต้น ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์ รวมเป็นเงิน 35,043,411 บาท
6) กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ดำเนินการจัดส่งเมล็ดพันธุ์ข้าวจำนวน 7,446,750 กิโลกรัม ให้ 5 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด และอุบลราชธานี ที่มีความต้องการเร่งด่วน ภายในเดือนสิงหาคม 2543
ช่วงเกิดภัยตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน -28 สิงหาคม 2543 ตัดยอดข้อมูล ณ วันที่ 5 กันยายน 2543 เกษตรกรได้รับความเสียหายจากสัตว์ตายหรือสูญหาย รวม 98,938 ราย จำนวน 2,254,088 ตัว
การให้ความช่วยเหลือด้านปศุสัตว์
1) กรมปศุสัตว์ได้สำรองเสบียงอาหารสัตว์ไว้ในกรณีฉุกเฉินไว้ที่ศูนย์/ สถานีอาหารสัตว์ รวม 33 แห่ง ซึ่งขณะที่ได้ให้ความช่วยเหลือพืชอาหารสัตว์ไปแล้ว 909,793 กิโลกรัม วัคซีนและยาป้องกันโรคสัตว์จำนวน 146,290 ตัว และทางจังหวัดดำเนินการให้ความช่วยเหลือโดยใช้เงินทดรองราชการอีก 3,201,500 บาท
2) ภายหลังน้ำลด จะใช้งบกลางฟื้นฟูสภาพการเลี้ยงสัตว์และการฟื้นฟูอาชีพเพิ่มเติม
ช่วงเกิดภัยตั้งแต่เดือนเมษายน-สิงหาคม 2543 มีจังหวัดที่ประสบอุทกภัย 31 จังหวัด เกษตรกรได้รับความเสียหาย 38,776 ราย พื้นที่ทำการประมงเสียหายรวม 52,287 ไร่ มูลค่ารวม 203,969,593 บาท
การใช้ความช่วยเหลือด้านประมง
1) กรมประมง ได้ดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบอุทกภัย เป็นพันธุ์สัตว์น้ำและอาหารสัตว์น้ำรวม 31 จังหวัด เป็นเงิน 11,392,685 บาท
2) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาจัดสรรเงินงบกลาง รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นการชดเชยความเสียหายให้แก่เกษตรกรที่ประสบภาวะน้ำท่วม รวม 3 ครั้ง ในวงเงินทั้งสิ้น 1,846,469,392 บาท
ข้าว : ราคาข้าวมีแนวโน้มตกต่ำ
กระทรวงเกษตรสหรัฐ ฯ คาดคะเนผลผลิตข้าวโลก ปี 2543/44 ว่าจะมีผลผลิตทั้งสิ้น 591.98 ล้านตัน ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 1.24 ถึงแม้ผลผลิตจะลดลงจากปีก่อนเล็กน้อยแต่ผลผลิตโลกก็ยังอยู่ในเกณฑ์สูงใกล้เคียงกับปีที่แล้ว สำหรับสถานการณ์การค้าโลกในปีนี้ค่อนข้างซบเซา ทำให้สต็อกคงเหลือเพิ่มขึ้นเมื่อรวมกับผลผลิตที่มีมากอยู่แล้ว จึงคาดว่าราคาข้าวในตลาดโลกปีหน้าจะมีแนวโน้มลดลง
สำหรับสถานการณ์การผลิตในประเทศผลผลิตปี 2543/44 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น จาก 18.978 ล้านตัน เป็น 19.041 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.34 เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวย ประกอบกับเกษตรกรใช้พันธุ์ดีมากขึ้น ในขณะที่การส่งออกของไทยตั้งแต่มกราคม-6 กันยายน 2543 ส่งออกได้ 3,932,678 ตัน ลดลงจาก 4,210,878 ตัน ในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.61 ส่งผลให้สต็อกคงเหลือเพิ่มขึ้นเมื่อรวมกับผลผลิตปี 2543/44 ซึ่งกำลังทยอยออกสู่ตลาดขณะนี้ ถ้าไม่สามารถระบายข้าวส่งออกได้ทัน คาดว่าน่าจะเกิดปัญหาราคาข้าวตกต่ำ เพราะในช่วงนี้ราคาข้าวได้เริ่มลดลงแล้ว โดยขณะนี้ราคาข้าวนาปี 5 % ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยอยู่ที่ตันละ 5,247 บาท ลดลงจากตันละ 5,404 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.91 และลดลงจาก 5,586 บาท/ตัน ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.07 ซึ่งตามปกติในช่วงเวลานี้ของทุกปีราคาไม่น่าจะลดลง จากภาวะดังกล่าวจึงคาดว่าปีหน้าราคาคงไม่ดีขึ้นกว่าปีนี้
สำหรับผลผลิตปี 2543/44 ขณะนี้เริ่มออกสู่ตลาดบ้างแล้วประมาณร้อยละ 6 ของผลผลิตทั้งหมด และผลผลิตจะทะยอยออกสู่ตลาดมากขึ้นและจะมากที่สุดในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม คิดเป็นร้อยละ 80 ของผลผลิตทั้งหมด ซึ่งในช่วงดังกล่าวคาดว่าจะเกิดปัญหาเรื่องราคาข้าวตกต่ำ
ข้อคิดเห็น
รัฐบาลควรเร่งออกมาตรการช่วยเหลือให้เร็วขึ้น เพื่อให้ทันในช่วงที่ผลผลิตออกมาก เพื่อมิให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาราคาตกต่ำ
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 35 ประจำวันที่ 4-10 ก.ย. 2543--
-สส-