โครงการ GSP ฉบับใหม่ของสหภาพยุโรป ซึ่งจะมีผลใช้บังคับระหว่างปี 2545-2547 ยังคงปรากฏมาตรการ Drug regime (หรือ การลดหย่อนภาษีในอัตราพิเศษ หรือยกเว้นภาษี สำหรับสินค้าบางรายการ ซึ่งจะเป็นอัตราที่ต่ำกว่าอัตรา GSP ตามปกติ ให้แก่กลุ่มประเทศ Andean และอเมริกากลางที่มีการปราบปรามการผลิต/การค้ายาเสพติด)
ทั้งนี้ สหภาพยุโรป ใช้วิธีระบุรายชื่อประเทศที่ได้รับสิทธิพิเศษภายใต้มาตรการ Drug regime (ซึ่งได้แก่กลุ่ม Andean และอเมริกากลาง) เท่านั้น โดยไม่มีหลักเกณฑ์ใดๆ สำหรับประเทศอื่นๆ ซึ่งแม้ว่าจะมีการดำเนินการปราบปรามการผลิตและ การค้ายาเสพติด แต่หากมิได้อยู่ในรายชื่อดังกล่าว ก็ไม่สามารถได้รับสิทธิพิเศษภายใต้ Drug regime
นอกจากนั้น ไทยยังได้ทราบว่า สหภาพยุโรปจะเพิ่มชื่อปากีสถานในรายชื่อประเทศที่ได้รับสิทธิพิเศษ GSP ตลอดจน ได้ยื่นต่อสมาชิก WTO เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2544 ขอผ่อนผัน (waiver) ที่จะให้สหภาพยุโรปให้สิทธิพิเศษภายใต้โครงการ Drug regime ได้ ซึ่งตามที่ระบุไว้ในความตกลง WTO นั้น กระบวนการในการพิจารณาคำขอนี้ต้องไม่เกิน 90 วัน (ซึ่งหมายความว่า อาจจะมีการพิจารณาให้แล้วเสร็จก่อน 90 วัน ก็ได้)
การให้สิทธิ GSP นั้น แม้จะเป็นการให้ฝ่ายเดียว โดยประเทศผู้ให้สามารถกำหนดหลักเกณฑ์ในการให้ได้ก็ตาม แต่หลักเกณฑ์ดังกล่าวจะต้องไม่ขัดกับบทบัญญัติของ Enabling Clause ของ WTO กล่าวคือ การให้นั้นจะต้องเป็นการทั่วไป (generalized) จะต้องไม่เรียกร้องสิ่งตอบแทน (non-reciprocal) และต้องไม่เลือกปฏิบัติ (non-discrimination) แต่การให้สิทธิ GSP ภายใต้ Drug regime ของสหภาพยุโรปนั้น เป็นการให้สิทธิแก่ประเทศกำลังพัฒนาที่มีสถานะเช่นเดียวกันอย่างเลือกปฏิบัติ กล่าวคือการกำหนดรายชื่อประเทศที่ได้รับสิทธิ GSP ภายใต้ Drug regime เป็นการกำหนดตามอำเภอใจโดยไม่มีหลักเกณฑ์แต่อย่างใด ซึ่งขัดกับหลักเกณฑ์ของ Enabling Clause และเมื่อสหภาพยุโรปมิได้ขอ waiver ไว้ตาม Enabling Clause การเลือกปฏิบัตินี้ จึงไม่เข้าข่ายได้รับการยกเว้นหลัก MFN ใน Article I ของ GATT ดังนั้น ไทยเห็นว่าสหภาพยุโรปควรยกเลิกมาตรการการให้สิทธิ GSP ภายใต้ Drug regime
เมื่อพิจารณาตัวเลขสถิติการนำเข้ากุ้งของสหภาพยุโรปในช่วงที่ผ่านมาระหว่างปี 2539-2542 สินค้ากุ้งของไทย ได้รับผลกระทบจากมาตรการ Drug regime ที่สหภาพยุโรปให้สิทธิเป็นพิเศษแก่กลุ่ม Andean เนื่องจาก ยอดนำเข้าจากไทยและส่วนแบ่งตลาดของไทยลดลงในปี 2542 ในขณะที่ตัวเลขของเวเนซูเอลา และโคลอมเบีย (ซึ่งเป็นประเทศในกลุ่ม Andean ที่ส่งออกกุ้ง) ที่ส่งออกไปสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น
ดังนั้น ไทยจึงจะดำเนินการขอหารือกับสหภาพยุโรปภายใต้กระบวนการระงับข้อพิพาท เพื่อสร้างแรงกดดันต่อ สหภาพยุโรป และหากกรณีพิพาทดำเนินต่อไปจนถึงชั้นตั้งคณะผู้พิจารณา (Panel) และคำตัดสินมีผลให้สหภาพยุโรปต้อง ยกเลิกระบบ Drug regime แล้ว ไทยก็หวังว่า จะได้ประโยชน์ระยะยาวจากอัตราส่วนเหลื่อมภาษีที่ลดลง อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของไทยให้มากขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศกลุ่มประเทศ Andean และอเมริกากล
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ธันวาคม 2544--
-ปส-
ทั้งนี้ สหภาพยุโรป ใช้วิธีระบุรายชื่อประเทศที่ได้รับสิทธิพิเศษภายใต้มาตรการ Drug regime (ซึ่งได้แก่กลุ่ม Andean และอเมริกากลาง) เท่านั้น โดยไม่มีหลักเกณฑ์ใดๆ สำหรับประเทศอื่นๆ ซึ่งแม้ว่าจะมีการดำเนินการปราบปรามการผลิตและ การค้ายาเสพติด แต่หากมิได้อยู่ในรายชื่อดังกล่าว ก็ไม่สามารถได้รับสิทธิพิเศษภายใต้ Drug regime
นอกจากนั้น ไทยยังได้ทราบว่า สหภาพยุโรปจะเพิ่มชื่อปากีสถานในรายชื่อประเทศที่ได้รับสิทธิพิเศษ GSP ตลอดจน ได้ยื่นต่อสมาชิก WTO เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2544 ขอผ่อนผัน (waiver) ที่จะให้สหภาพยุโรปให้สิทธิพิเศษภายใต้โครงการ Drug regime ได้ ซึ่งตามที่ระบุไว้ในความตกลง WTO นั้น กระบวนการในการพิจารณาคำขอนี้ต้องไม่เกิน 90 วัน (ซึ่งหมายความว่า อาจจะมีการพิจารณาให้แล้วเสร็จก่อน 90 วัน ก็ได้)
การให้สิทธิ GSP นั้น แม้จะเป็นการให้ฝ่ายเดียว โดยประเทศผู้ให้สามารถกำหนดหลักเกณฑ์ในการให้ได้ก็ตาม แต่หลักเกณฑ์ดังกล่าวจะต้องไม่ขัดกับบทบัญญัติของ Enabling Clause ของ WTO กล่าวคือ การให้นั้นจะต้องเป็นการทั่วไป (generalized) จะต้องไม่เรียกร้องสิ่งตอบแทน (non-reciprocal) และต้องไม่เลือกปฏิบัติ (non-discrimination) แต่การให้สิทธิ GSP ภายใต้ Drug regime ของสหภาพยุโรปนั้น เป็นการให้สิทธิแก่ประเทศกำลังพัฒนาที่มีสถานะเช่นเดียวกันอย่างเลือกปฏิบัติ กล่าวคือการกำหนดรายชื่อประเทศที่ได้รับสิทธิ GSP ภายใต้ Drug regime เป็นการกำหนดตามอำเภอใจโดยไม่มีหลักเกณฑ์แต่อย่างใด ซึ่งขัดกับหลักเกณฑ์ของ Enabling Clause และเมื่อสหภาพยุโรปมิได้ขอ waiver ไว้ตาม Enabling Clause การเลือกปฏิบัตินี้ จึงไม่เข้าข่ายได้รับการยกเว้นหลัก MFN ใน Article I ของ GATT ดังนั้น ไทยเห็นว่าสหภาพยุโรปควรยกเลิกมาตรการการให้สิทธิ GSP ภายใต้ Drug regime
เมื่อพิจารณาตัวเลขสถิติการนำเข้ากุ้งของสหภาพยุโรปในช่วงที่ผ่านมาระหว่างปี 2539-2542 สินค้ากุ้งของไทย ได้รับผลกระทบจากมาตรการ Drug regime ที่สหภาพยุโรปให้สิทธิเป็นพิเศษแก่กลุ่ม Andean เนื่องจาก ยอดนำเข้าจากไทยและส่วนแบ่งตลาดของไทยลดลงในปี 2542 ในขณะที่ตัวเลขของเวเนซูเอลา และโคลอมเบีย (ซึ่งเป็นประเทศในกลุ่ม Andean ที่ส่งออกกุ้ง) ที่ส่งออกไปสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น
ดังนั้น ไทยจึงจะดำเนินการขอหารือกับสหภาพยุโรปภายใต้กระบวนการระงับข้อพิพาท เพื่อสร้างแรงกดดันต่อ สหภาพยุโรป และหากกรณีพิพาทดำเนินต่อไปจนถึงชั้นตั้งคณะผู้พิจารณา (Panel) และคำตัดสินมีผลให้สหภาพยุโรปต้อง ยกเลิกระบบ Drug regime แล้ว ไทยก็หวังว่า จะได้ประโยชน์ระยะยาวจากอัตราส่วนเหลื่อมภาษีที่ลดลง อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของไทยให้มากขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศกลุ่มประเทศ Andean และอเมริกากล
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ธันวาคม 2544--
-ปส-