6. พันธกรณีของไทยกับองค์การการค้าระหว่างประเทศ
พันธกรณีภายใต้องค์การการค้าโลก
การเปิดตลาด ประกอบด้วย การเปิดตลาดสินค้าเกษตร (ไม่รวมสินค้าประมง) สิ่งทอ การลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรมทั่วไป (รวมสินค้าประมง)และความตกลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ITA-1)
ผลักดันการเปิดเสรีสินค้าเกษตร การที่ไทยเปิดตลาดสินค้าเกษตรจำนวน 23 รายการ ทำให้ไทยได้รับประโยชน์จากการเปิดตลาดสินค้าเกษตรจากประเทศพัฒนาแล้วด้วยเช่นกัน ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลี เปิดตลาดข้าว มันสำปะหลัง และแป้งมัน ให้แก่ไทย สหภาพยุโรป สหรัฐฯ และแคนาดา จะต้องยกเลิกระบบโควตาสิ่งทอภายในปี 2547 จะทำให้ไทยสามารถขยายการส่งออกไปในประเทศดังกล่าวได้
กฎระเบียบต่าง ๆ ไทยมีข้อผูกพันที่จะต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับข้อตกลง และต้องแจ้งให้ WTO ทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมาย กฎระเบียบพร้อมทั้งยังมีข้อผูกพันที่จะต้องออกกฎหมายและกฎระเบียบในด้านต่าง ๆ คือ การอุดหนุนและตอบโต้การอุดหนุน แหล่งกำเนิดสินค้า การออกใบอนุญาตนำเข้า การค้าโดยรัฐ ด้านสุขอนามัยสัตว์และสุขอนามัยพืช (SPS) มาตรฐานสำหรับสินค้านำเข้า (TBT) มาตรการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการค้า (TRIMs) และการประเมินราคาเพื่อการศุลกากร
สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้า ต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย และออกกฎหมายใหม่ให้สอดคล้องกับความตกลง
การค้าบริการ ไทยได้เปิดเสรีด้านการเข้าสู่ตลาดและการประติบัติเยี่ยงคนชาติใน 10 สาขาบริการ แต่เป็นการผูกพันเพียงเท่าที่กฎหมายปัจจุบันใช้บังคับอยู่
การทบทวนนโยบายการค้า (Trade Policy Review Body) ต้องรายงานนโยบายการค้าให้ที่ประชุมองค์กรทบทวนนโยบายการค้าของ WTO ทราบ ทุก 4 ปี โดยในปี 2542 ไทยได้รายงานให้ที่ประชุมทราบถึงการที่ไทยยังคงปฏิเสธกระแสเรียกร้องการใช้นโยบายปกป้องเพื่อกีดกันการนำเข้าหรือเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ ในทางตรงกันข้ามไทยได้ผลักดันนโยบายการปฏิรูปการเงิน การค้า และการลงทุนที่เปิดกว้างและเสรีด้วย
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ต้องไม่เรียกเก็บภาษีศุลกากรกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการค้า จนกว่า WTO จะมีมติเป็นอื่น
พันธกรณีภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)
การลดภาษี สินค้าทุกประเภทลงเหลือร้อยละ 0-5 ภายใน 10 ปี (พ.ศ. 2536- 2546) ยกเว้นสมาชิกใหม่ ได้แก่ เวียดนาม ลาว และพม่า สิ้นสุดภายในปี 2549-2551 สินค้าเกษตรไม่แปรรูปที่อ่อนไหว ซึ่งจะลดลงเหลือร้อยละ 0-5 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2553 และอ่อนไหวสูง (ข้าว) โดยใช้มาตรการพิเศษอนุญาตให้มีอัตราสุดท้ายมากกว่าร้อยละ 0-5 ได้
สินค้าที่มีการลดภาษีภายใต้ AFTA ขณะนี้มีจำนวนถึงกว่าร้อยละ 80 ของประเภทพิกัด ทำให้สินค้าออกของไทยเกือบทุกประเภทสามารถเข้าสู่ตลาดอาเซียนได้เพิ่มขึ้น เช่น ข้าว เครื่องคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์และส่วนประกอบ
ยกเลิกมาตรการจำกัดปริมาณ ทันทีที่สินค้าหนึ่งๆ ได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดภาษี และยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร (NTBs) อื่น ๆ ภายใน 5 ปี ต่อมา
การเปิดเสรีบริการตามกรอบความตกลงว่าด้วยการบริการในอาเซียน
มีพันธกรณีให้เปิดเสรีการเข้าสู่ตลาด (Market Access) และการประติบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment) แก่ประเทศสมาชิกอาเซียนมากกว่าที่เปิดเสรีให้แกประเทศสมาชิก WTO (GATS-plus Commitment) ใน 7 สาขาบริการ ได้แก่
* สาขาการเงินและการธนาคาร
* การสื่อสารโทรคมนาคม
* การขนส่งทางทะเล
* การขนส่งทางบก
* การเงินและการท่องเที่ยว
* การก่อสร้างและวิศวกรรม
* การบริการธุรกิจ
พันธกรณีภายใต้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC)
การเปิดเสรีรายสาขาให้เร็วขึ้นตามความสมัครใจ (Early Voluntary Sectoral Liberalization : EVSL) ในสินค้า 15 สาขา โดยให้ดำเนินการใน 9 สาขาแรก ได้แก่
* ปลาและผลิตภัณฑ์
* ผลิตภัณฑ์ป่าไม้
* อัญมณีและเครื่องประดับ
* เครื่องมือแพทย์ และอุปกรณ์
* ของเล่น
* เคมีภัณฑ์
* พลังงาน
* สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม
* การจัดทำข้อตกลงการยอมรับร่วมในสินค้าโทรคมนาคม
ซึ่งในปลายปี 2541 ได้มีการดำเนินการในเรื่อง การลดอัตราภาษีศุลกากร การอำนวยความสะดวกด้านการค้า ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ ตามกำหนดเวลาของแต่ละสาขา
- ส่วนอีก 6 สาขาที่เหลือ ที่จะต้องพิจารณาให้มีความคืบหน้า ได้แก่
* อาหาร
* พืชน้ำมันและผลิตภัณฑ์
* ยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์
* ปุ๋ย
* รถยนต์
* อากาศยานพลเรือน
โดยให้มีการเจรจาตกลงครั้งต่อไปใน WTO ครั้งที่ 4 ในการเจรจา สินค้าเกษตรภายใต้ Built in Agenda (อาหาร พืชน้ำมันและผลิตภัณฑ์) และเจรจาลดอัตราภาษีศุลกากรสินค้าอุตสาหกรรม(ยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ ปุ๋ย) สำหรับอากาศยานพลเรือนไม่มีองค์ประกอบด้านอัตราภาษีศุลกากร
7. การค้าระหว่างประเทศยุคใหม่จะเป็นอย่างไร
กระแสการค้าเสรี
- การค้าระหว่างประเทศยุคใหม่จะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เนื่องจากมีปัจจัยสำคัญ ได้แก่
* ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ต้นทุนการคมนาคม สื่อสารระหว่างประเทศ และการประมวลผลข้อมูลลดลงอย่างมาก นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศยังเอื้ออำนวยให้ธุรกิจสามารถลดต้นทุนการผลิต ต้นทุนการรวบรวมและกระจายสินค้า (distribution cost) อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ธุรกิจที่จะแข่งขันได้ในอนาคตจะต้องมีการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อลดต้นทุน และเพิ่มมูลค่าสินค้า
* การเปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุนของประเทศต่าง ๆ ทั้งประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา อันเป็นผลจากการเจรจาการค้าขององค์การการค้าโลกการเจรจาการค้าของกลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาค ตลอดจนแรงกดดันจากประเทศมหาอำนาจ
- กระแสการค้าระหว่างประเทศยุคใหม่ จะเป็นการค้าเสรีที่มีการแข่งขันพร้อมกับการกีดกันการค้าอย่างรุนแรง โดยในการประชุม WTO ครั้งที่ 3 ที่นครซีแอตเติล สหรัฐฯ มีประเด็นที่รัฐมนตรีต้องพิจารณา อาทิ มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด มาตรการสุขอนามัย มาตรการด้านอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า สิ่งทอ ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า และการปฏิบัติเป็นพิเศษของประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งไม่สามารถตกลงกันได้ในการประชุมครั้งนี้ เนื่องจาก
* ข้อจำกัดในเรื่องเวลา
* เนื้อหาของการเจรจามีความซับซ้อน และมีการเสนอให้นำเรื่องต่างๆ
มาเจรจามากขึ้น ประเทศสมาชิกยังมีแนวคิดที่แตกต่างกัน
* ไม่สามารถนำเรื่องความโปร่งใสมาใช้ในการประชุมให้เกิดประสิทธิภาพได้
- ประเด็นที่จะต้องนำมาพิจารณาในการเจรจาการค้ารอบใหม่ (WTO) ได้แก่ เรื่องการลงทุนและนโยบายการแข่งขัน ความโปร่งใสในการจัดซื้อโดยรัฐ และการอำนวยความสะดวกทางการค้า สำหรับในเรื่องความโปร่งใสในการจัดซื้อโดยรัฐ ให้เริ่มการเจรจาและให้เสร็จสิ้นภายในการเจรจาการค้ารอบใหม่
- กลุ่มเศรษฐกิจการค้าระดับภูมิภาคจะมีบทบาทมากขึ้น ทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติต่อสินค้านำเข้าและการลงทุนจากประเทศสมาชิกแตกต่างจากประเทศนอกกลุ่ม รวมทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ข้อมูลข่าวสารจากทั่วโลกเชื่อมโยงถึงกันอย่างรวดเร็ว จึงส่งผลกระทบให้รูปแบบการค้าและการลงทุนเปลี่ยนแปลงมากขึ้น เช่น การค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce)
ปัญหากีดกันทางการค้าที่สำคัญที่ประเทศไทยประสบ
มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน (AD / CVD)
การใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนของประเทศผู้นำเข้า เป็นกติกาที่ WTO ยอมให้ประเทศภาคีเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (AD : Anti - dumping Duty) หรือตอบโต้การอุดหนุน (CVD : Countervailing Duty) ได้ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ภายใต้ความตกลง โดยต้องพิสูจน์ได้ว่ามีการทุ่มตลาดหรือการอุดหนุนและเกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมชนิดเดียวกันภายในประเทศ และความเสียหายนี้เกิดจากการทุ่มตลาดหรือการอุดหนุนจริง หากดำเนินการไม่สอดคล้องกับความตกลง ประเทศคู่กรณีที่เสียหายอาจนำเรื่องขึ้นหารือในคณะกรรมการความตกลงหรือยื่นฟ้องต่อองค์กรระงับข้อพิพาทขององค์การการค้าโลก (Dispute Settlement Body) เพื่อตัดสินให้ความเป็นธรรม
มาตรการด้านสุขอนามัย
ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ มีการกำหนดเงื่อนไขสุขอนามัยสำหรับสินค้านำเข้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้มงวดการนำเข้าสินค้าอาหาร ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองสุขภาพของประชาชน รวมทั้งเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคต่างๆ โดยกำหนดให้สินค้าอาหารนำเข้าต้องผลิตโดยถูกสุขอนามัย ปราศจากเชื้อโรคและไม่มีสารเจือปน นอกจากนี้บางประเทศยังได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการตรวจสอบจากเดิมซึ่งตรวจสอบเฉพาะสินค้าก่อนนำเข้า มาเป็นตรวจสอบแบบครบวงจรตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ การขนส่ง กรรมวิธีการผลิต สุขอนามัยโรงงานและสินค้าสำเร็จรูป และหากไม่ผ่านการตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด จะไม่อนุญาตให้นำเข้าสินค้าจากประเทศนั้น ทั้งนี้แต่ละประเทศจะกำหนดมาตรฐาน และความเข้มงวดที่แตกต่างกันออกไป
ปัญหาการค้าระหว่างประเทศที่เกิดมากขึ้นจากมาตรการด้านสุขอนามัย คือ ความแตกต่างของมาตรฐานสุขอนามัยในแต่ละประเทศ และความไม่สอดคล้องกับ มาตรฐานระหว่างประเทศ ทั้งนี้ เนื่องจากมาตรฐานสุขอนามัยของ CODEX ซึ่ง เป็นระบบมาตรฐานอาหารสากลที่ FAO และ WHO ร่วมกันสนับสนุนไม่ใช่ มาตรฐานบังคับ ดังนั้น การเจรจาแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดจากมาตรฐานสุขอนามัย จึงต้องใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ซึ่งใช้เวลาและงบประมาณมากเป็นหลักฐานในการเจรจาต่อรอง และแม้ว่าขณะนี้ WTO ได้กำหนดให้ความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) ต้องตั้งอยู่บนหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ต้องมีการประเมินความเสี่ยงที่เชื่อถือได้ เพื่อให้มีความโปร่งใสและไม่เป็นอุปสรรคทางการค้า แต่ข้อกังวลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น คือ ข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่ได้จะเป็นที่ยอมรับของประเทศผู้นำเข้ามากน้อยเพียงใด
มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม
การนำมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมมาใช้กับนโยบายการค้ามีความมุ่งหมายเพื่อ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมทั้งเพื่อมิให้มีการใช้ทรัพยากรเกินระดับ (over-exploration แต่ขณะเดียวกัน การปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมอาจก่อให้เกิดการสูญเสียประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และทำให้หลายประเทศเกิดความกังวลว่าความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) ของตนอาจลดลง เช่น กรณีพิพาทระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศผู้ส่งออกกุ้ง (ไทย อินเดีย มาเลเซีย และปากีสถาน) ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากสหรัฐฯ กำหนดเงื่อนไขให้ประเทศผู้ส่งออกกุ้งต้องติดเครื่องมือแยกเต่าทะเล
มาตรฐานแรงงานและสิทธิมนุษยชน
ประเทศพัฒนาแล้วได้นำเรื่องสิทธิแรงงานและสิทธิมนุษยชนมาเป็นข้อกีดกันทางการค้าทวิภาคีมากขึ้น ดังจะเห็นได้จาก กรณีที่สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ได้พยายามเชื่อมโยงประเด็นเรื่องสิทธิแรงงานเข้ากับการให้สิทธิพิเศษทางการค้า (Generalised System of Preferences : GSP) กับประเทศกำลังพัฒนา หรือกรณีที่ สหรัฐฯ นำประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนมาเป็นเงื่อนไขในการรับจีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO)
GMOs
GMOs : Genetically Modified Organisms เป็นกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพ (bio-technology) ในการทำให้สารอินทรีย์มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม การกล่าวถึง GMOs ในขณะนี้นับว่าเป็นเรื่องใหม่ในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศและยังไม่มีการให้คำจำกัดความของ GMOs ที่ชัดเจน แต่ตามคำจำกัดความของประเทศพัฒนาแล้ว สินค้าที่จะเข้าข่ายเป็น GMOs มีอยู่มากมาย ทั้งในรูปสินค้าเกษตรขั้นปฐมและสินค้าเกษตรแปรรูป
GMOs เป็นปัญหาใหม่ที่ผู้ส่งออกไทยจะต้องเร่งปรับตัว เนื่องจากสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดส่งออกอาหารที่สำคัญของไทยได้ประกาศใช้กฎระเบียบเกี่ยวกับการติดฉลากสินค้า GMOs ตั้งแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม 2542 เป็นต้นไป นอกจากนี้ ในวันที่ 1มกราคม 2543 สหภาพยุโรปจะประกาศใช้กฎระเบียบเรื่อง
Animal Welfare ซึ่งเป็นเรื่องใหม่สำหรับไทยและยังไม่มีความชัดเจนว่าควรจะต้องมีหลักปฏิบัติอย่างไร
การกำหนดกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศเกี่ยวกับสินค้า GMOs ในอนาคตจะเชื่อมโยงกับกฎหมายภายในของประเทศต่าง ๆ ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมาตรฐานด้านสุขอนามัย มาตรฐานในการผลิตอาหาร การปิดฉลากสินค้า รวมถึงการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เพราะสินค้าที่ผ่านกระบวนการเทคโนโลยีชีวภาพ นับเป็นสินค้าใหม่ ดังนั้น ประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรเป็นหลักอย่างไทย ควรให้ความสนใจประเด็นทางการค้าที่จะมีการหยิบยกขึ้นหารือในเวที WTO เพื่อติดตามผลการเจรจา ซึ่งจะเริ่มจากการกำหนดคำจำกัดความของ GMOs ก่อนที่จะไปถึงขั้นการวางกติกาการค้า
สำหรับผลกระทบจากกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ GMOs ต่อการส่งออกของประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรอย่างไทย อาจสรุปเบื้องต้นได้ 2 ด้าน คือ การเข้าสู่ตลาด (Market Access) และความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness)
8. แนวทางที่จะใช้รองรับกับปัญหาการกีดกันทางการค้า
บทบาทภาครัฐ
- เจรจาต่อรองในระดับทวิภาคีและพหุภาคีให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น เพื่อผลักดันการแก้ไขปัญหา สร้างเอกภาพในการกำหนดนโยบาย ท่าทีการเจรจาการค้าระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้จะต้องพัฒนาบุคลากรด้านการเจรจาและผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเจรจาและปรับตัวได้ทันกับสถานการณ์
- ใช้มาตรการปกป้องเพื่อเป็นเครื่องมือในการตอบโต้และเจรจาต่อรองทาง การค้า ขณะนี้ ประเทศไทยได้ออก "พระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ.2542 เพื่อคุ้มครองอุตสาห-กรรมภายในมิให้เกิดความเสียหายจากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นภายใต้พันธกรณีตามความตกลงเรื่อง มาตรการปกป้องของ WTO
- กำหนดท่าทีของไทยเพื่อรองรับกับปัญหาเรื่อง GMOs และ Animal Welfare ซึ่งเป็นปัญหาใหม่สำหรับไทยและใช้เป็นท่าทีในเวทีการเจรจาระหว่างประเทศ รวมทั้งสร้างความตื่นตัวเกี่ยวกับแนวโน้มการใช้มาตรการดังกล่าว เพื่อผู้ผลิตและผู้ส่งออกได้รับทราบข้อมูลและปัญหาที่จะเกิดขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมและปรับตัวในการแข่งขันในตลาดโลก
- ส่งเสริมระบบการจัดการด้านสุขอนามัยของภาคเกษตร และโรงงานอุตสาห-กรรม โดยการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากประเทศผู้นำเข้ามาตรวจและรับรองโรงงาน สนับสนุนระบบการจัดการที่ถูกต้องในระดับฟาร์ม (GAP) และระดับโรงงาน (ISO และ HACCP) รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้ส่งออกสินค้าประเภทอาหารแปรรูปได้รับ pre-certificate ในการส่งออกไปญี่ปุ่น
- ส่งเสริมการสร้างภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้าไทย โดยใช้ตราสัญลักษณ์สินค้าไทย "Thailand : Land of Diversity and Refinement"
- พัฒนาระบบสารสนเทศทางการค้า โดยให้บริการข้อมูลสารสนเทศที่มีความทันสมัย มีประสิทธิภาพ เรียกใช้ได้ง่าย เพื่อใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบายการค้าและการบริหารงานของกระทรวงพาณิชย์ ตลอดจนเชื่อมโยงกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและให้บริการแก่ภาคธุรกิจ
- สร้างความรู้ความเข้าใจแก่ภาคเอกชน เพื่อกระตุ้นให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรม และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความสำคัญของการค้าเสรี และพันธกรณีภายใต้กรอบการเจรจาต่าง ๆ เพื่อให้ภาคเอกชนเตรียมความพร้อมในการปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น โดยเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับข้อตกลงทางการค้า และกระตุ้นภาคเอกชนให้ปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะผู้ผลิต/ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) นอกจากนี้ควรให้คำปรึกษาแก่ภาคเอกชนเพื่อปกป้องผลประโยชน์ และชี้แนะช่องทางเพื่อฉกฉวยผลประโยชน์ในการค้าระหว่างประเทศ
? บทบาทภาคเอกชน
เอกชนจะต้องยอมรับความจริงว่า การเปิดเสรีทางการค้าจะมีมากขึ้น และมี การแข่งขันรุนแรงยิ่งขึ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับตัวและเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับผู้ที่จะเข้ามาบุกตลาดภายใน และการออกไปบุกตลาดภายนอกประเทศ ทั้งนี้ ต้องรีบดำเนินการโดยเร่งด่วน การปรับตัวของภาคเอกชน ได้แก่
- จะต้องมีสายตากว้างไกลมากขึ้น โดยการติดตามข้อมูลข่าวสารทางการค้า กฎระเบียบของประเทศผู้นำเข้า และผลการเจรจาในเวทีการค้าต่าง ๆ
- เร่งพัฒนาบุคลากรโดยเฉพาะด้านการค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้สามารถวางแผนและกำหนด กลยุทธ์ด้านตลาดในระยะยาวได้
- นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการผลิต การตลาด การบริหารการและจัดการ
- พัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้มีคุณภาพสูง มีความหลากหลายสอดคล้องกับความนิยมของตลาด และได้มาตรฐานในระดับสากล
- เร่งแสวงหาตลาดใหม่ เพื่อทดแทนตลาดเดิมที่มีการแข่งขันสูงและเป็นการขยายฐานการค้าให้มากขึ้น ซึ่งผู้ส่งออกส่วนใหญ่มักจะติดยึดอยู่กับตลาดเดิมๆ ลูกค้าเก่า เมื่อตลาดเดิมเกิดปัญหาก็ส่งผลกระทบต่อธุรกิจทันที
9. กลยุทธ์เพื่อการประกอบธุรกิจในปี 2000
- เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มกับสินค้าให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดและลดน้อยลงให้ได้ประโยชน์มากที่สุด รวมทั้งใช้ตราสัญลักษณ์ของตนเองแทนการรับจ้างผลิต
- ให้ความสำคัญกับการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ซึ่งเป็นรูปแบบการค้าใหม่ที่สามารถสนองตอบความต้องการของผู้ประกอบการในทุกๆ ด้าน เช่น ลดต้นทุนในการดำเนินกิจกรรมทางการค้า สะดวก รวดเร็ว ติดต่อธุรกิจการค้าทั่วโลกได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง และเข้าถึงลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก
- การขยายเครือข่ายการค้า โดยการสร้างตัวแทนการค้าหรือหุ้นส่วนในต่างประเทศเพื่อให้เป็นผู้ช่วยกระจายสินค้า การเจาะตลาด และโฆษณาสินค้า
- ภาคเอกชนควรมีการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นองค์กรกลาง เพื่อสร้างอำนาจการ ต่อรองสามารถพึ่งพาตนเองได้ และสร้างพันธมิตรกับบริษัทข้ามชาติ เพื่อแลกเปลี่ยน ข้อมูลและร่วมมือกันในด้านการค้า--จบ--
-สส-
พันธกรณีภายใต้องค์การการค้าโลก
การเปิดตลาด ประกอบด้วย การเปิดตลาดสินค้าเกษตร (ไม่รวมสินค้าประมง) สิ่งทอ การลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรมทั่วไป (รวมสินค้าประมง)และความตกลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ITA-1)
ผลักดันการเปิดเสรีสินค้าเกษตร การที่ไทยเปิดตลาดสินค้าเกษตรจำนวน 23 รายการ ทำให้ไทยได้รับประโยชน์จากการเปิดตลาดสินค้าเกษตรจากประเทศพัฒนาแล้วด้วยเช่นกัน ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลี เปิดตลาดข้าว มันสำปะหลัง และแป้งมัน ให้แก่ไทย สหภาพยุโรป สหรัฐฯ และแคนาดา จะต้องยกเลิกระบบโควตาสิ่งทอภายในปี 2547 จะทำให้ไทยสามารถขยายการส่งออกไปในประเทศดังกล่าวได้
กฎระเบียบต่าง ๆ ไทยมีข้อผูกพันที่จะต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับข้อตกลง และต้องแจ้งให้ WTO ทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมาย กฎระเบียบพร้อมทั้งยังมีข้อผูกพันที่จะต้องออกกฎหมายและกฎระเบียบในด้านต่าง ๆ คือ การอุดหนุนและตอบโต้การอุดหนุน แหล่งกำเนิดสินค้า การออกใบอนุญาตนำเข้า การค้าโดยรัฐ ด้านสุขอนามัยสัตว์และสุขอนามัยพืช (SPS) มาตรฐานสำหรับสินค้านำเข้า (TBT) มาตรการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการค้า (TRIMs) และการประเมินราคาเพื่อการศุลกากร
สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้า ต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย และออกกฎหมายใหม่ให้สอดคล้องกับความตกลง
การค้าบริการ ไทยได้เปิดเสรีด้านการเข้าสู่ตลาดและการประติบัติเยี่ยงคนชาติใน 10 สาขาบริการ แต่เป็นการผูกพันเพียงเท่าที่กฎหมายปัจจุบันใช้บังคับอยู่
การทบทวนนโยบายการค้า (Trade Policy Review Body) ต้องรายงานนโยบายการค้าให้ที่ประชุมองค์กรทบทวนนโยบายการค้าของ WTO ทราบ ทุก 4 ปี โดยในปี 2542 ไทยได้รายงานให้ที่ประชุมทราบถึงการที่ไทยยังคงปฏิเสธกระแสเรียกร้องการใช้นโยบายปกป้องเพื่อกีดกันการนำเข้าหรือเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ ในทางตรงกันข้ามไทยได้ผลักดันนโยบายการปฏิรูปการเงิน การค้า และการลงทุนที่เปิดกว้างและเสรีด้วย
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ต้องไม่เรียกเก็บภาษีศุลกากรกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการค้า จนกว่า WTO จะมีมติเป็นอื่น
พันธกรณีภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)
การลดภาษี สินค้าทุกประเภทลงเหลือร้อยละ 0-5 ภายใน 10 ปี (พ.ศ. 2536- 2546) ยกเว้นสมาชิกใหม่ ได้แก่ เวียดนาม ลาว และพม่า สิ้นสุดภายในปี 2549-2551 สินค้าเกษตรไม่แปรรูปที่อ่อนไหว ซึ่งจะลดลงเหลือร้อยละ 0-5 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2553 และอ่อนไหวสูง (ข้าว) โดยใช้มาตรการพิเศษอนุญาตให้มีอัตราสุดท้ายมากกว่าร้อยละ 0-5 ได้
สินค้าที่มีการลดภาษีภายใต้ AFTA ขณะนี้มีจำนวนถึงกว่าร้อยละ 80 ของประเภทพิกัด ทำให้สินค้าออกของไทยเกือบทุกประเภทสามารถเข้าสู่ตลาดอาเซียนได้เพิ่มขึ้น เช่น ข้าว เครื่องคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์และส่วนประกอบ
ยกเลิกมาตรการจำกัดปริมาณ ทันทีที่สินค้าหนึ่งๆ ได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดภาษี และยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร (NTBs) อื่น ๆ ภายใน 5 ปี ต่อมา
การเปิดเสรีบริการตามกรอบความตกลงว่าด้วยการบริการในอาเซียน
มีพันธกรณีให้เปิดเสรีการเข้าสู่ตลาด (Market Access) และการประติบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment) แก่ประเทศสมาชิกอาเซียนมากกว่าที่เปิดเสรีให้แกประเทศสมาชิก WTO (GATS-plus Commitment) ใน 7 สาขาบริการ ได้แก่
* สาขาการเงินและการธนาคาร
* การสื่อสารโทรคมนาคม
* การขนส่งทางทะเล
* การขนส่งทางบก
* การเงินและการท่องเที่ยว
* การก่อสร้างและวิศวกรรม
* การบริการธุรกิจ
พันธกรณีภายใต้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC)
การเปิดเสรีรายสาขาให้เร็วขึ้นตามความสมัครใจ (Early Voluntary Sectoral Liberalization : EVSL) ในสินค้า 15 สาขา โดยให้ดำเนินการใน 9 สาขาแรก ได้แก่
* ปลาและผลิตภัณฑ์
* ผลิตภัณฑ์ป่าไม้
* อัญมณีและเครื่องประดับ
* เครื่องมือแพทย์ และอุปกรณ์
* ของเล่น
* เคมีภัณฑ์
* พลังงาน
* สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม
* การจัดทำข้อตกลงการยอมรับร่วมในสินค้าโทรคมนาคม
ซึ่งในปลายปี 2541 ได้มีการดำเนินการในเรื่อง การลดอัตราภาษีศุลกากร การอำนวยความสะดวกด้านการค้า ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ ตามกำหนดเวลาของแต่ละสาขา
- ส่วนอีก 6 สาขาที่เหลือ ที่จะต้องพิจารณาให้มีความคืบหน้า ได้แก่
* อาหาร
* พืชน้ำมันและผลิตภัณฑ์
* ยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์
* ปุ๋ย
* รถยนต์
* อากาศยานพลเรือน
โดยให้มีการเจรจาตกลงครั้งต่อไปใน WTO ครั้งที่ 4 ในการเจรจา สินค้าเกษตรภายใต้ Built in Agenda (อาหาร พืชน้ำมันและผลิตภัณฑ์) และเจรจาลดอัตราภาษีศุลกากรสินค้าอุตสาหกรรม(ยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ ปุ๋ย) สำหรับอากาศยานพลเรือนไม่มีองค์ประกอบด้านอัตราภาษีศุลกากร
7. การค้าระหว่างประเทศยุคใหม่จะเป็นอย่างไร
กระแสการค้าเสรี
- การค้าระหว่างประเทศยุคใหม่จะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เนื่องจากมีปัจจัยสำคัญ ได้แก่
* ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ต้นทุนการคมนาคม สื่อสารระหว่างประเทศ และการประมวลผลข้อมูลลดลงอย่างมาก นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศยังเอื้ออำนวยให้ธุรกิจสามารถลดต้นทุนการผลิต ต้นทุนการรวบรวมและกระจายสินค้า (distribution cost) อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ธุรกิจที่จะแข่งขันได้ในอนาคตจะต้องมีการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อลดต้นทุน และเพิ่มมูลค่าสินค้า
* การเปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุนของประเทศต่าง ๆ ทั้งประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา อันเป็นผลจากการเจรจาการค้าขององค์การการค้าโลกการเจรจาการค้าของกลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาค ตลอดจนแรงกดดันจากประเทศมหาอำนาจ
- กระแสการค้าระหว่างประเทศยุคใหม่ จะเป็นการค้าเสรีที่มีการแข่งขันพร้อมกับการกีดกันการค้าอย่างรุนแรง โดยในการประชุม WTO ครั้งที่ 3 ที่นครซีแอตเติล สหรัฐฯ มีประเด็นที่รัฐมนตรีต้องพิจารณา อาทิ มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด มาตรการสุขอนามัย มาตรการด้านอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า สิ่งทอ ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า และการปฏิบัติเป็นพิเศษของประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งไม่สามารถตกลงกันได้ในการประชุมครั้งนี้ เนื่องจาก
* ข้อจำกัดในเรื่องเวลา
* เนื้อหาของการเจรจามีความซับซ้อน และมีการเสนอให้นำเรื่องต่างๆ
มาเจรจามากขึ้น ประเทศสมาชิกยังมีแนวคิดที่แตกต่างกัน
* ไม่สามารถนำเรื่องความโปร่งใสมาใช้ในการประชุมให้เกิดประสิทธิภาพได้
- ประเด็นที่จะต้องนำมาพิจารณาในการเจรจาการค้ารอบใหม่ (WTO) ได้แก่ เรื่องการลงทุนและนโยบายการแข่งขัน ความโปร่งใสในการจัดซื้อโดยรัฐ และการอำนวยความสะดวกทางการค้า สำหรับในเรื่องความโปร่งใสในการจัดซื้อโดยรัฐ ให้เริ่มการเจรจาและให้เสร็จสิ้นภายในการเจรจาการค้ารอบใหม่
- กลุ่มเศรษฐกิจการค้าระดับภูมิภาคจะมีบทบาทมากขึ้น ทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติต่อสินค้านำเข้าและการลงทุนจากประเทศสมาชิกแตกต่างจากประเทศนอกกลุ่ม รวมทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ข้อมูลข่าวสารจากทั่วโลกเชื่อมโยงถึงกันอย่างรวดเร็ว จึงส่งผลกระทบให้รูปแบบการค้าและการลงทุนเปลี่ยนแปลงมากขึ้น เช่น การค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce)
ปัญหากีดกันทางการค้าที่สำคัญที่ประเทศไทยประสบ
มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน (AD / CVD)
การใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนของประเทศผู้นำเข้า เป็นกติกาที่ WTO ยอมให้ประเทศภาคีเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (AD : Anti - dumping Duty) หรือตอบโต้การอุดหนุน (CVD : Countervailing Duty) ได้ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ภายใต้ความตกลง โดยต้องพิสูจน์ได้ว่ามีการทุ่มตลาดหรือการอุดหนุนและเกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมชนิดเดียวกันภายในประเทศ และความเสียหายนี้เกิดจากการทุ่มตลาดหรือการอุดหนุนจริง หากดำเนินการไม่สอดคล้องกับความตกลง ประเทศคู่กรณีที่เสียหายอาจนำเรื่องขึ้นหารือในคณะกรรมการความตกลงหรือยื่นฟ้องต่อองค์กรระงับข้อพิพาทขององค์การการค้าโลก (Dispute Settlement Body) เพื่อตัดสินให้ความเป็นธรรม
มาตรการด้านสุขอนามัย
ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ มีการกำหนดเงื่อนไขสุขอนามัยสำหรับสินค้านำเข้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้มงวดการนำเข้าสินค้าอาหาร ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองสุขภาพของประชาชน รวมทั้งเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคต่างๆ โดยกำหนดให้สินค้าอาหารนำเข้าต้องผลิตโดยถูกสุขอนามัย ปราศจากเชื้อโรคและไม่มีสารเจือปน นอกจากนี้บางประเทศยังได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการตรวจสอบจากเดิมซึ่งตรวจสอบเฉพาะสินค้าก่อนนำเข้า มาเป็นตรวจสอบแบบครบวงจรตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ การขนส่ง กรรมวิธีการผลิต สุขอนามัยโรงงานและสินค้าสำเร็จรูป และหากไม่ผ่านการตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด จะไม่อนุญาตให้นำเข้าสินค้าจากประเทศนั้น ทั้งนี้แต่ละประเทศจะกำหนดมาตรฐาน และความเข้มงวดที่แตกต่างกันออกไป
ปัญหาการค้าระหว่างประเทศที่เกิดมากขึ้นจากมาตรการด้านสุขอนามัย คือ ความแตกต่างของมาตรฐานสุขอนามัยในแต่ละประเทศ และความไม่สอดคล้องกับ มาตรฐานระหว่างประเทศ ทั้งนี้ เนื่องจากมาตรฐานสุขอนามัยของ CODEX ซึ่ง เป็นระบบมาตรฐานอาหารสากลที่ FAO และ WHO ร่วมกันสนับสนุนไม่ใช่ มาตรฐานบังคับ ดังนั้น การเจรจาแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดจากมาตรฐานสุขอนามัย จึงต้องใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ซึ่งใช้เวลาและงบประมาณมากเป็นหลักฐานในการเจรจาต่อรอง และแม้ว่าขณะนี้ WTO ได้กำหนดให้ความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) ต้องตั้งอยู่บนหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ต้องมีการประเมินความเสี่ยงที่เชื่อถือได้ เพื่อให้มีความโปร่งใสและไม่เป็นอุปสรรคทางการค้า แต่ข้อกังวลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น คือ ข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่ได้จะเป็นที่ยอมรับของประเทศผู้นำเข้ามากน้อยเพียงใด
มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม
การนำมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมมาใช้กับนโยบายการค้ามีความมุ่งหมายเพื่อ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมทั้งเพื่อมิให้มีการใช้ทรัพยากรเกินระดับ (over-exploration แต่ขณะเดียวกัน การปฏิบัติตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมอาจก่อให้เกิดการสูญเสียประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และทำให้หลายประเทศเกิดความกังวลว่าความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) ของตนอาจลดลง เช่น กรณีพิพาทระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศผู้ส่งออกกุ้ง (ไทย อินเดีย มาเลเซีย และปากีสถาน) ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากสหรัฐฯ กำหนดเงื่อนไขให้ประเทศผู้ส่งออกกุ้งต้องติดเครื่องมือแยกเต่าทะเล
มาตรฐานแรงงานและสิทธิมนุษยชน
ประเทศพัฒนาแล้วได้นำเรื่องสิทธิแรงงานและสิทธิมนุษยชนมาเป็นข้อกีดกันทางการค้าทวิภาคีมากขึ้น ดังจะเห็นได้จาก กรณีที่สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ได้พยายามเชื่อมโยงประเด็นเรื่องสิทธิแรงงานเข้ากับการให้สิทธิพิเศษทางการค้า (Generalised System of Preferences : GSP) กับประเทศกำลังพัฒนา หรือกรณีที่ สหรัฐฯ นำประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนมาเป็นเงื่อนไขในการรับจีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO)
GMOs
GMOs : Genetically Modified Organisms เป็นกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพ (bio-technology) ในการทำให้สารอินทรีย์มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม การกล่าวถึง GMOs ในขณะนี้นับว่าเป็นเรื่องใหม่ในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศและยังไม่มีการให้คำจำกัดความของ GMOs ที่ชัดเจน แต่ตามคำจำกัดความของประเทศพัฒนาแล้ว สินค้าที่จะเข้าข่ายเป็น GMOs มีอยู่มากมาย ทั้งในรูปสินค้าเกษตรขั้นปฐมและสินค้าเกษตรแปรรูป
GMOs เป็นปัญหาใหม่ที่ผู้ส่งออกไทยจะต้องเร่งปรับตัว เนื่องจากสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดส่งออกอาหารที่สำคัญของไทยได้ประกาศใช้กฎระเบียบเกี่ยวกับการติดฉลากสินค้า GMOs ตั้งแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม 2542 เป็นต้นไป นอกจากนี้ ในวันที่ 1มกราคม 2543 สหภาพยุโรปจะประกาศใช้กฎระเบียบเรื่อง
Animal Welfare ซึ่งเป็นเรื่องใหม่สำหรับไทยและยังไม่มีความชัดเจนว่าควรจะต้องมีหลักปฏิบัติอย่างไร
การกำหนดกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศเกี่ยวกับสินค้า GMOs ในอนาคตจะเชื่อมโยงกับกฎหมายภายในของประเทศต่าง ๆ ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมาตรฐานด้านสุขอนามัย มาตรฐานในการผลิตอาหาร การปิดฉลากสินค้า รวมถึงการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เพราะสินค้าที่ผ่านกระบวนการเทคโนโลยีชีวภาพ นับเป็นสินค้าใหม่ ดังนั้น ประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรเป็นหลักอย่างไทย ควรให้ความสนใจประเด็นทางการค้าที่จะมีการหยิบยกขึ้นหารือในเวที WTO เพื่อติดตามผลการเจรจา ซึ่งจะเริ่มจากการกำหนดคำจำกัดความของ GMOs ก่อนที่จะไปถึงขั้นการวางกติกาการค้า
สำหรับผลกระทบจากกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ GMOs ต่อการส่งออกของประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรอย่างไทย อาจสรุปเบื้องต้นได้ 2 ด้าน คือ การเข้าสู่ตลาด (Market Access) และความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness)
8. แนวทางที่จะใช้รองรับกับปัญหาการกีดกันทางการค้า
บทบาทภาครัฐ
- เจรจาต่อรองในระดับทวิภาคีและพหุภาคีให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น เพื่อผลักดันการแก้ไขปัญหา สร้างเอกภาพในการกำหนดนโยบาย ท่าทีการเจรจาการค้าระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้จะต้องพัฒนาบุคลากรด้านการเจรจาและผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเจรจาและปรับตัวได้ทันกับสถานการณ์
- ใช้มาตรการปกป้องเพื่อเป็นเครื่องมือในการตอบโต้และเจรจาต่อรองทาง การค้า ขณะนี้ ประเทศไทยได้ออก "พระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ.2542 เพื่อคุ้มครองอุตสาห-กรรมภายในมิให้เกิดความเสียหายจากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นภายใต้พันธกรณีตามความตกลงเรื่อง มาตรการปกป้องของ WTO
- กำหนดท่าทีของไทยเพื่อรองรับกับปัญหาเรื่อง GMOs และ Animal Welfare ซึ่งเป็นปัญหาใหม่สำหรับไทยและใช้เป็นท่าทีในเวทีการเจรจาระหว่างประเทศ รวมทั้งสร้างความตื่นตัวเกี่ยวกับแนวโน้มการใช้มาตรการดังกล่าว เพื่อผู้ผลิตและผู้ส่งออกได้รับทราบข้อมูลและปัญหาที่จะเกิดขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมและปรับตัวในการแข่งขันในตลาดโลก
- ส่งเสริมระบบการจัดการด้านสุขอนามัยของภาคเกษตร และโรงงานอุตสาห-กรรม โดยการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากประเทศผู้นำเข้ามาตรวจและรับรองโรงงาน สนับสนุนระบบการจัดการที่ถูกต้องในระดับฟาร์ม (GAP) และระดับโรงงาน (ISO และ HACCP) รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้ส่งออกสินค้าประเภทอาหารแปรรูปได้รับ pre-certificate ในการส่งออกไปญี่ปุ่น
- ส่งเสริมการสร้างภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้าไทย โดยใช้ตราสัญลักษณ์สินค้าไทย "Thailand : Land of Diversity and Refinement"
- พัฒนาระบบสารสนเทศทางการค้า โดยให้บริการข้อมูลสารสนเทศที่มีความทันสมัย มีประสิทธิภาพ เรียกใช้ได้ง่าย เพื่อใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบายการค้าและการบริหารงานของกระทรวงพาณิชย์ ตลอดจนเชื่อมโยงกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและให้บริการแก่ภาคธุรกิจ
- สร้างความรู้ความเข้าใจแก่ภาคเอกชน เพื่อกระตุ้นให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรม และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความสำคัญของการค้าเสรี และพันธกรณีภายใต้กรอบการเจรจาต่าง ๆ เพื่อให้ภาคเอกชนเตรียมความพร้อมในการปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น โดยเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับข้อตกลงทางการค้า และกระตุ้นภาคเอกชนให้ปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะผู้ผลิต/ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) นอกจากนี้ควรให้คำปรึกษาแก่ภาคเอกชนเพื่อปกป้องผลประโยชน์ และชี้แนะช่องทางเพื่อฉกฉวยผลประโยชน์ในการค้าระหว่างประเทศ
? บทบาทภาคเอกชน
เอกชนจะต้องยอมรับความจริงว่า การเปิดเสรีทางการค้าจะมีมากขึ้น และมี การแข่งขันรุนแรงยิ่งขึ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับตัวและเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับผู้ที่จะเข้ามาบุกตลาดภายใน และการออกไปบุกตลาดภายนอกประเทศ ทั้งนี้ ต้องรีบดำเนินการโดยเร่งด่วน การปรับตัวของภาคเอกชน ได้แก่
- จะต้องมีสายตากว้างไกลมากขึ้น โดยการติดตามข้อมูลข่าวสารทางการค้า กฎระเบียบของประเทศผู้นำเข้า และผลการเจรจาในเวทีการค้าต่าง ๆ
- เร่งพัฒนาบุคลากรโดยเฉพาะด้านการค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้สามารถวางแผนและกำหนด กลยุทธ์ด้านตลาดในระยะยาวได้
- นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการผลิต การตลาด การบริหารการและจัดการ
- พัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้มีคุณภาพสูง มีความหลากหลายสอดคล้องกับความนิยมของตลาด และได้มาตรฐานในระดับสากล
- เร่งแสวงหาตลาดใหม่ เพื่อทดแทนตลาดเดิมที่มีการแข่งขันสูงและเป็นการขยายฐานการค้าให้มากขึ้น ซึ่งผู้ส่งออกส่วนใหญ่มักจะติดยึดอยู่กับตลาดเดิมๆ ลูกค้าเก่า เมื่อตลาดเดิมเกิดปัญหาก็ส่งผลกระทบต่อธุรกิจทันที
9. กลยุทธ์เพื่อการประกอบธุรกิจในปี 2000
- เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มกับสินค้าให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดและลดน้อยลงให้ได้ประโยชน์มากที่สุด รวมทั้งใช้ตราสัญลักษณ์ของตนเองแทนการรับจ้างผลิต
- ให้ความสำคัญกับการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ซึ่งเป็นรูปแบบการค้าใหม่ที่สามารถสนองตอบความต้องการของผู้ประกอบการในทุกๆ ด้าน เช่น ลดต้นทุนในการดำเนินกิจกรรมทางการค้า สะดวก รวดเร็ว ติดต่อธุรกิจการค้าทั่วโลกได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง และเข้าถึงลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก
- การขยายเครือข่ายการค้า โดยการสร้างตัวแทนการค้าหรือหุ้นส่วนในต่างประเทศเพื่อให้เป็นผู้ช่วยกระจายสินค้า การเจาะตลาด และโฆษณาสินค้า
- ภาคเอกชนควรมีการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นองค์กรกลาง เพื่อสร้างอำนาจการ ต่อรองสามารถพึ่งพาตนเองได้ และสร้างพันธมิตรกับบริษัทข้ามชาติ เพื่อแลกเปลี่ยน ข้อมูลและร่วมมือกันในด้านการค้า--จบ--
-สส-