ความเป็นมา
ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ครั้งที่ 3/2543 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2543 ได้มอบให้กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ศึกษาหาความเป็นไปได้ในการจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเช็ก
กรมฯ ได้ดำเนินการจัดทำรายงานการศึกษาเบื้องต้นเสร็จแล้ว สรุปได้ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ทางการค้า ไทยกับสาธารณรัฐเช็กต่างไม่ได้เป็นคู่ค้าที่สำคัญต่อกัน และมีอัตราการขยายตัวต่ำทั้งด้านการส่งออกและนำเข้า โดยมีมูลค่าการค้าระหว่างกันในปี 2542 เพียง 46.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 0.043 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย โดยสาธารณรัฐเช็กเป็นคู่ค้าลำดับที่ 69 ในด้านการส่งออกของไทยและเป็นคู่ค้าลำดับที่ 72 ในด้านการนำเข้า ขณะที่ไทยเป็นคู่ค้าลำดับที่ 51 ในด้านการส่งออกของสาธารณรัฐเช็กและเป็นคู่ค้าลำดับที่ 30 ในด้านนำเข้าสาธารณรัฐเช็ก โดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้าสาธารณรัฐเช็กมาโดยตลอด แต่ในช่วงปี 2541-43 ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าสาธารณรัฐเช็กปีละประมาณ 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
2. ข้อวิเคราะห์
ภาคเกษตรและภาคบริการมีความสำคัญต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยมากกว่าสาธารณรัฐเช็ก โดยไทยมีสัดส่วนภาคเกษตรและภาคบริการคิดเป็นร้อยละ 11.2 และ 26.4 ของ GDP ขณะที่สาธารณรัฐเช็กมีสัดส่วนร้อยละ 4.1 และ 16.3 ตามลำดับ โครงสร้างการผลิตของไทยและสาธารณรัฐเช็กส่วนใหญ่ไม่แข่งขันกัน เนื่องจากผลิตสินค้าคนละประเภท โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่แตกต่างกันตามลักษณะภูมิอากาศและภูมิประเทศ แต่มีสินค้าบางรายการที่อาจแข่งขันกัน เช่น ชิ้นส่วนและอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ นมและผลิตภัณฑ์นม น้ำตาลทราย เฟอร์นิเจอร์ไม้ รองเท้า และเนื้อสัตว์ปีก ซึ่งเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบการผลิตและการค้าของไทยกับสาธารณรัฐเช็กแล้ว คาดว่าการทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเช็กจะไม่มีผลกระทบต่อการผลิตและการค้าภายในของไทยมากนัก เนื่องจากสาธารณรัฐเช็กมีตลาดหลักคนละตลาดกับไทยและไม่ใช่แหล่งนำเข้าสำคัญของไทยในรายการดังกล่าว ไทยกับสาธารณรัฐเช็กมีต้นทุนการผลิตในด้านค่าจ้างแรงงานต่อหน่วยใกล้เคียงกัน คือ ในปี 2542 ต้นทุนแรงงานเฉลี่ยของไทยชั่วโมงละ 1.98 เหรียญสหรัฐฯ ส่วนต้นทุนแรงงานเฉลี่ยของสาธารณรัฐเช็กชั่วโมงละ 2.03 เหรียญสหรัฐฯ สาธารณรัฐเช็กเป็นตลาดขนาดเล็ก เมื่อเปรียบเทียบกับไทยหรือประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ หรือมาเลเซีย โดยพิจารณาจากจำนวนประชากรและมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งในปี 2542 ไทยมีประชากร 61.81 ล้านคน รายได้เฉลี่ยต่อหัว 2,040 เหรียญสหรัฐฯต่อปี มีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศทั้งสิ้น 108,378 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนสาธารณรัฐเช็กมีประชากร 10.27 ล้านคน มีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 5,170 เหรียญสหรัฐฯต่อปี มีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศทั้งสิ้น 55,749 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งสองประเทศพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศสูง ทั้งด้านการส่งออกและนำเข้า โดยในปี 2542 สาธารณรัฐเช็กมีสัดส่วนการค้ารวมของประเทศต่อ GDP ร้อยละ 104.91 ขณะที่ไทย มีสัดส่วนการค้ารวมต่อ GDP ร้อยละ 76.68 เนื่องจากสาธารณรัฐเช็กเป็นประเทศที่เป็น Landlocked ไม่มีทรัพยากรทางทะเล ต้องพึ่งพาวัตถุดิบหลายอย่างจากประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งเครื่องจักรและเทคโนโลยีจากสหภาพยุโรป การค้าระหว่างประเทศของไทยกับสาธารณรัฐเช็กในช่วงที่ผ่านมามีมูลค่าน้อยมากและก่อนหน้าปี 2540 ส่วนใหญ่ไทยจะเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ากับสาธารณรัฐเช็ก แต่เริ่มเกินดุลในช่วงหลังจากที่ไทยเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 โดยการค้าของไทยกับสาธารณรัฐเช็กในปี 2543 มีมูลค่า 71.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยส่งออก 40.34 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นำเข้า 31.33 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยได้ดุลการค้า 9.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯการนำเข้าของไทยจากสาธารณรัฐเช็กร้อยละ 49 เป็นการนำเข้านมและครีม ( มีสัดส่วนร้อยละ 5 ของมูลค่าการนำเข้านมและครีมทั้งหมดของไทย) ส่วนที่เหลือเป็นการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบเป็นส่วนใหญ่ เช่น หนังวัวดิบ และเครื่องจักร ส่วนการนำเข้าของสาธารณรัฐเช็กจากไทยส่วนใหญ่เป็นสินค้าสำเร็จรูป เช่น เสื้อผ้า อาหารสำเร็จรูป และอัญมณีและเครื่องประดับ
3. ข้อคิดเห็น
3.1 การจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเช็กคาดว่าไทยจะได้ประโยชน์ไม่มากนัก เนื่องจากตลาดมีขนาดเล็ก ระยะทางไกล ต้นทุนค่าขนส่งค่อนข้างสูง การพึ่งพาทางการค้าระหว่างกันมีน้อย ขณะที่อัตราภาษีนำเข้าของสาธารณรัฐเช็กค่อนข้างต่ำ และการกีดกันทางการค้ามีไม่มาก นอกจากนั้นการขยายตลาดสินค้าไทยผ่านสาธารณรัฐเช็กไปประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะสหภาพยุโรปจะทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากมีการเข้มงวดเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้า
3.2 การจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเช็กมีความเป็นไปได้น้อย เนื่องจากสาธารณรัฐเช็กมีข้อตกลงเป็นสหภาพศุลกากร (Customs Union) กับสาธารณรัฐสโลวัก ทำให้สองประเทศนี้มีระบบภาษีศุลกากรและข้อจำกัดร่วมกันเป็นอัตราเดียวเพื่อใช้กับประเทศนอกกลุ่ม ซึ่งการจัดทำเขตเสรีการค้ากับไทย สาธารณรัฐเช็ก อาจมีปัญหาเรื่องของการปรับอัตราภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษี รวมทั้งการตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้าเข้า
นอกจากนี้ สาธารณรัฐเช็กได้ปรับมาตรการด้านภาษีและกฎระเบียบให้สอดคล้องเป็นมาตรฐานเดียวกับสหภาพยุโรป โดยเฉพาะด้านมาตรการสุขอนามัยและกฎระเบียบของสินค้านำเข้าเพื่อที่จะเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป ทำให้สาธารณรัฐเช็กจะมีข้อจำกัดในการปรับเปลี่ยนมาตรการที่เป็นอุปสรรคทางการค้าตามความต้องการของประเทศคู่เจรจา ดังนั้นการเปิดเสรีการค้าของไทยกับสาธารณรัฐเช็กเพื่อลดมาตรการการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีอาจจะทำได้ยาก
3.3 ควรมีการสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าในรูปแบบอื่น เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างกันแทนการเปิดเสรีการค้า เนื่องจากสาธารณรัฐเช็กกำลังเปิดตลาดเพิ่มมากขึ้นเพราะมีการปรับตัวด้านเศรษฐกิจการค้าเพื่อเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป ซึ่งจะทำให้ตลาดการค้าขยายตัวและอำนาจซื้อของสาธารณรัฐเช็กมีมากขึ้น ทำให้มีช่องทางในการที่ไทยจะขยายตลาดเพิ่มขึ้นได้ สาธารณรัฐเช็กจึงเป็นตลาดที่น่าสนใจตลาดหนึ่งที่ไทยน่าจะขยายการค้าได้ดีในอนาคต
3.4 แม้ว่าไทยจะไม่ได้ทำเขตการค้าเสรีกับสาธารณรัฐเช็ก แต่ไทยก็จะได้รับประโยชน์จากการขยายการค้าส่งออกไปยังตลาดแห่งนี้จากการที่สาธารณรัฐเช็กเปิดตลาดภายใต้กรอบ WTO ในระดับหนึ่ง
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-
ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ครั้งที่ 3/2543 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2543 ได้มอบให้กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ศึกษาหาความเป็นไปได้ในการจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเช็ก
กรมฯ ได้ดำเนินการจัดทำรายงานการศึกษาเบื้องต้นเสร็จแล้ว สรุปได้ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ทางการค้า ไทยกับสาธารณรัฐเช็กต่างไม่ได้เป็นคู่ค้าที่สำคัญต่อกัน และมีอัตราการขยายตัวต่ำทั้งด้านการส่งออกและนำเข้า โดยมีมูลค่าการค้าระหว่างกันในปี 2542 เพียง 46.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 0.043 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย โดยสาธารณรัฐเช็กเป็นคู่ค้าลำดับที่ 69 ในด้านการส่งออกของไทยและเป็นคู่ค้าลำดับที่ 72 ในด้านการนำเข้า ขณะที่ไทยเป็นคู่ค้าลำดับที่ 51 ในด้านการส่งออกของสาธารณรัฐเช็กและเป็นคู่ค้าลำดับที่ 30 ในด้านนำเข้าสาธารณรัฐเช็ก โดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้าสาธารณรัฐเช็กมาโดยตลอด แต่ในช่วงปี 2541-43 ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าสาธารณรัฐเช็กปีละประมาณ 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
2. ข้อวิเคราะห์
ภาคเกษตรและภาคบริการมีความสำคัญต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยมากกว่าสาธารณรัฐเช็ก โดยไทยมีสัดส่วนภาคเกษตรและภาคบริการคิดเป็นร้อยละ 11.2 และ 26.4 ของ GDP ขณะที่สาธารณรัฐเช็กมีสัดส่วนร้อยละ 4.1 และ 16.3 ตามลำดับ โครงสร้างการผลิตของไทยและสาธารณรัฐเช็กส่วนใหญ่ไม่แข่งขันกัน เนื่องจากผลิตสินค้าคนละประเภท โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่แตกต่างกันตามลักษณะภูมิอากาศและภูมิประเทศ แต่มีสินค้าบางรายการที่อาจแข่งขันกัน เช่น ชิ้นส่วนและอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ นมและผลิตภัณฑ์นม น้ำตาลทราย เฟอร์นิเจอร์ไม้ รองเท้า และเนื้อสัตว์ปีก ซึ่งเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบการผลิตและการค้าของไทยกับสาธารณรัฐเช็กแล้ว คาดว่าการทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเช็กจะไม่มีผลกระทบต่อการผลิตและการค้าภายในของไทยมากนัก เนื่องจากสาธารณรัฐเช็กมีตลาดหลักคนละตลาดกับไทยและไม่ใช่แหล่งนำเข้าสำคัญของไทยในรายการดังกล่าว ไทยกับสาธารณรัฐเช็กมีต้นทุนการผลิตในด้านค่าจ้างแรงงานต่อหน่วยใกล้เคียงกัน คือ ในปี 2542 ต้นทุนแรงงานเฉลี่ยของไทยชั่วโมงละ 1.98 เหรียญสหรัฐฯ ส่วนต้นทุนแรงงานเฉลี่ยของสาธารณรัฐเช็กชั่วโมงละ 2.03 เหรียญสหรัฐฯ สาธารณรัฐเช็กเป็นตลาดขนาดเล็ก เมื่อเปรียบเทียบกับไทยหรือประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ หรือมาเลเซีย โดยพิจารณาจากจำนวนประชากรและมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งในปี 2542 ไทยมีประชากร 61.81 ล้านคน รายได้เฉลี่ยต่อหัว 2,040 เหรียญสหรัฐฯต่อปี มีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศทั้งสิ้น 108,378 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนสาธารณรัฐเช็กมีประชากร 10.27 ล้านคน มีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 5,170 เหรียญสหรัฐฯต่อปี มีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศทั้งสิ้น 55,749 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งสองประเทศพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศสูง ทั้งด้านการส่งออกและนำเข้า โดยในปี 2542 สาธารณรัฐเช็กมีสัดส่วนการค้ารวมของประเทศต่อ GDP ร้อยละ 104.91 ขณะที่ไทย มีสัดส่วนการค้ารวมต่อ GDP ร้อยละ 76.68 เนื่องจากสาธารณรัฐเช็กเป็นประเทศที่เป็น Landlocked ไม่มีทรัพยากรทางทะเล ต้องพึ่งพาวัตถุดิบหลายอย่างจากประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งเครื่องจักรและเทคโนโลยีจากสหภาพยุโรป การค้าระหว่างประเทศของไทยกับสาธารณรัฐเช็กในช่วงที่ผ่านมามีมูลค่าน้อยมากและก่อนหน้าปี 2540 ส่วนใหญ่ไทยจะเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ากับสาธารณรัฐเช็ก แต่เริ่มเกินดุลในช่วงหลังจากที่ไทยเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 โดยการค้าของไทยกับสาธารณรัฐเช็กในปี 2543 มีมูลค่า 71.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยส่งออก 40.34 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นำเข้า 31.33 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยได้ดุลการค้า 9.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯการนำเข้าของไทยจากสาธารณรัฐเช็กร้อยละ 49 เป็นการนำเข้านมและครีม ( มีสัดส่วนร้อยละ 5 ของมูลค่าการนำเข้านมและครีมทั้งหมดของไทย) ส่วนที่เหลือเป็นการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบเป็นส่วนใหญ่ เช่น หนังวัวดิบ และเครื่องจักร ส่วนการนำเข้าของสาธารณรัฐเช็กจากไทยส่วนใหญ่เป็นสินค้าสำเร็จรูป เช่น เสื้อผ้า อาหารสำเร็จรูป และอัญมณีและเครื่องประดับ
3. ข้อคิดเห็น
3.1 การจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเช็กคาดว่าไทยจะได้ประโยชน์ไม่มากนัก เนื่องจากตลาดมีขนาดเล็ก ระยะทางไกล ต้นทุนค่าขนส่งค่อนข้างสูง การพึ่งพาทางการค้าระหว่างกันมีน้อย ขณะที่อัตราภาษีนำเข้าของสาธารณรัฐเช็กค่อนข้างต่ำ และการกีดกันทางการค้ามีไม่มาก นอกจากนั้นการขยายตลาดสินค้าไทยผ่านสาธารณรัฐเช็กไปประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะสหภาพยุโรปจะทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากมีการเข้มงวดเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้า
3.2 การจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเช็กมีความเป็นไปได้น้อย เนื่องจากสาธารณรัฐเช็กมีข้อตกลงเป็นสหภาพศุลกากร (Customs Union) กับสาธารณรัฐสโลวัก ทำให้สองประเทศนี้มีระบบภาษีศุลกากรและข้อจำกัดร่วมกันเป็นอัตราเดียวเพื่อใช้กับประเทศนอกกลุ่ม ซึ่งการจัดทำเขตเสรีการค้ากับไทย สาธารณรัฐเช็ก อาจมีปัญหาเรื่องของการปรับอัตราภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษี รวมทั้งการตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้าเข้า
นอกจากนี้ สาธารณรัฐเช็กได้ปรับมาตรการด้านภาษีและกฎระเบียบให้สอดคล้องเป็นมาตรฐานเดียวกับสหภาพยุโรป โดยเฉพาะด้านมาตรการสุขอนามัยและกฎระเบียบของสินค้านำเข้าเพื่อที่จะเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป ทำให้สาธารณรัฐเช็กจะมีข้อจำกัดในการปรับเปลี่ยนมาตรการที่เป็นอุปสรรคทางการค้าตามความต้องการของประเทศคู่เจรจา ดังนั้นการเปิดเสรีการค้าของไทยกับสาธารณรัฐเช็กเพื่อลดมาตรการการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีอาจจะทำได้ยาก
3.3 ควรมีการสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าในรูปแบบอื่น เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างกันแทนการเปิดเสรีการค้า เนื่องจากสาธารณรัฐเช็กกำลังเปิดตลาดเพิ่มมากขึ้นเพราะมีการปรับตัวด้านเศรษฐกิจการค้าเพื่อเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป ซึ่งจะทำให้ตลาดการค้าขยายตัวและอำนาจซื้อของสาธารณรัฐเช็กมีมากขึ้น ทำให้มีช่องทางในการที่ไทยจะขยายตลาดเพิ่มขึ้นได้ สาธารณรัฐเช็กจึงเป็นตลาดที่น่าสนใจตลาดหนึ่งที่ไทยน่าจะขยายการค้าได้ดีในอนาคต
3.4 แม้ว่าไทยจะไม่ได้ทำเขตการค้าเสรีกับสาธารณรัฐเช็ก แต่ไทยก็จะได้รับประโยชน์จากการขยายการค้าส่งออกไปยังตลาดแห่งนี้จากการที่สาธารณรัฐเช็กเปิดตลาดภายใต้กรอบ WTO ในระดับหนึ่ง
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-