กรุงเทพฯ--4 ต.ค.--พรรคประชาธิปัตย์
นายพิสิฐ ลี้อาธรรม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงเรื่องที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยให้สัมภาษณ์ที่ต่างประเทศว่า รัฐบาลสั่งการให้ธปท.แทรกแซงค่าเงินบาท ว่า เท่าที่ทราบไม่เคยมีเหตุการณ์ที่รัฐบาลจะสั่งการให้ไปกดดันเรื่องค่าเงินบาทเพราะทราบดีว่า เป็นเรื่องที่อ่อนไหวและคงไปสั่งการอะไรไม่ได้ และได้ยืนยันมาโดยตลอดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของ ธปท. และตนเองยังไม่ทราบว่าผู้ว่าฯธปท.ให้สัมภาษณ์เช่นนั้นหรือไม่ โดยจะขอหารือโดยตรงกับผู้ที่เกี่ยวข้องก่อน เพราะไม่อยากให้เอาเรื่องเช่นนี้มาต่อว่ากันทางสื่อมวลชน
ถามว่าห่วงหรือไม่ในช่วงปลายรัฐบาลจะมีการหยิบยกปัญหาเศรษฐกิจมาหาเสียงทางการเมือง รมช.คลังกล่าวว่า ก็รู้สึกเป็นห่วงและไม่ต้องการให้เอาเรื่องเศรษฐกิจมาโจมตีกัน โดยเฉพาะในปัจจุบันอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่ร้อยละ 5 ตามเป้าที่องค์กรของรัฐ ตั้งไว้ ซึ่งอยู่บนพื้นฐานที่เป็นไปได้ และตรงตามที่ไอเอ็มเอฟประเมินไว้ ดังนั้นตนจึงไม่อยากให้เอามาโจมตีกัน เพราะจากการที่ได้ไปร่วมประชุม ประจำปีกองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลก ที่สาธารณรัฐเชก ได้มีนายธนาคารสอบถามกันมากและแสดงความเป็นห่วงว่าเศรษฐกิจของไทยเป็นอย่างไรแน่ เพราะเกิดความสับสนกับข่าวที่ออกมา ดังนั้นตนจึงไม่อยากให้เอาเรื่องเศรษฐกิจมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง และหากเกิดความเสียหายอย่างไรก็น่าจะว่ากันในเรื่องนั้น ไม่ควรเอาภาพรวมทางเศรษฐกิจมาทำให้เกิดความสับสนเพราะจะเป็นปัญหาได้
นายพิสิฐ กล่าวว่า สำหรับปัญหาเรื่องค่าเงินบาทขอให้ดูว่าตอนนี้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งมาก แม้กระทั่งประเทศในยุโรปเองก็ต้องร่วมมือกันพยุงค่าเงินยูโร ปัญหาเหล่านี้ก็คล้ายกันหมด ส่วนเรื่องอัตราดอกเบี้ยซึ่งมีข่าวในทำนองว่านายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รมว.คลัง และนายศุภชัย พานิชภักดิ์ รมว.พาณิชย์ มีความเห็นที่ไม่สอดคล้องกันนั้น จริง ๆ แล้วทั้งสองคนมีความเห็นที่ไม่แตกต่างกัน นายธารินทร์ เห็นว่าการที่อัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นเรื่องดี ในขณะที่นายศุภชัย ได้พูดถึงอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ที่ไม่ควรจะต่ำไปกว่านี้ อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ธปท. ต้องเข้าไปดูแล
นายพิสิฐ กล่าวถึงนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ ที่จะใช้หาเสียงในการเลือกตั้งครั้งหน้า ว่าคงจะต้องพูดถึงเรื่องการฟื้นตัวของประเทศ ที่ดีขึ้นตามลำดับในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมาเพราะต่างประเทศให้ความมั่นใจกับไทยมาก จนถึงช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้เกิดความสับสน เรื่องจากข่าวคราวที่ออกไปในทางที่ไม่ได้ ในแง่ว่าการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เผชิญการเติบโต ไม่ตรงกับที่ตั้งเป้าไว้ และรัฐบาลจะทิ้งหลักการการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เคยทำมา 2 ปี สาเหตุที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะว่าแนวโน้มของรัฐบาลที่ร่วมทำงานกันมามีคะแนนเสียงที่ตกต่ำลงทำให้ต่างประเทศเกิดความสับสน ดังนั้นหลักการใหญ่คือต้องสร้างความเชื่อมั่น นอกจากนี้อีกนโยบายต้องพูดถึงเรื่องความเป็นอยู่ของคนในประเทศ ตั้งแต่การกระจายความเจริญ การกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น รวมไปถึงการโอนอำนาจไปยังด้านการเงินการคลังสู่ท้องถิ่นด้วย ส่วนเรื่องลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากร้อยละ 30 เหลือที่ร้อยละ 25 นั่นคงต้องหารือกันอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งตนเองไม่ต้องการให้เขียนอะไรที่ตายตัว
การเลือกตั้งในครั้งหน้าจะรับตำแหน่งในทีมเศรษฐกิจของพรรคต่อไปอีกหรือไม่ รมช.คลัง กล่าวว่า เท่าที่ทำงานกับนายกฯ และทีมเศรษฐกิจมา 2 ปีทุกอย่างก็ดี ดังนั้นอะไรที่อยู่ในวิสัยเข้าไปร่วมแรงร่วมใจแก้ปัญหาได้ก็จะทำ.--จบ--
-วว-
นายพิสิฐ ลี้อาธรรม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงเรื่องที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยให้สัมภาษณ์ที่ต่างประเทศว่า รัฐบาลสั่งการให้ธปท.แทรกแซงค่าเงินบาท ว่า เท่าที่ทราบไม่เคยมีเหตุการณ์ที่รัฐบาลจะสั่งการให้ไปกดดันเรื่องค่าเงินบาทเพราะทราบดีว่า เป็นเรื่องที่อ่อนไหวและคงไปสั่งการอะไรไม่ได้ และได้ยืนยันมาโดยตลอดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของ ธปท. และตนเองยังไม่ทราบว่าผู้ว่าฯธปท.ให้สัมภาษณ์เช่นนั้นหรือไม่ โดยจะขอหารือโดยตรงกับผู้ที่เกี่ยวข้องก่อน เพราะไม่อยากให้เอาเรื่องเช่นนี้มาต่อว่ากันทางสื่อมวลชน
ถามว่าห่วงหรือไม่ในช่วงปลายรัฐบาลจะมีการหยิบยกปัญหาเศรษฐกิจมาหาเสียงทางการเมือง รมช.คลังกล่าวว่า ก็รู้สึกเป็นห่วงและไม่ต้องการให้เอาเรื่องเศรษฐกิจมาโจมตีกัน โดยเฉพาะในปัจจุบันอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่ร้อยละ 5 ตามเป้าที่องค์กรของรัฐ ตั้งไว้ ซึ่งอยู่บนพื้นฐานที่เป็นไปได้ และตรงตามที่ไอเอ็มเอฟประเมินไว้ ดังนั้นตนจึงไม่อยากให้เอามาโจมตีกัน เพราะจากการที่ได้ไปร่วมประชุม ประจำปีกองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลก ที่สาธารณรัฐเชก ได้มีนายธนาคารสอบถามกันมากและแสดงความเป็นห่วงว่าเศรษฐกิจของไทยเป็นอย่างไรแน่ เพราะเกิดความสับสนกับข่าวที่ออกมา ดังนั้นตนจึงไม่อยากให้เอาเรื่องเศรษฐกิจมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง และหากเกิดความเสียหายอย่างไรก็น่าจะว่ากันในเรื่องนั้น ไม่ควรเอาภาพรวมทางเศรษฐกิจมาทำให้เกิดความสับสนเพราะจะเป็นปัญหาได้
นายพิสิฐ กล่าวว่า สำหรับปัญหาเรื่องค่าเงินบาทขอให้ดูว่าตอนนี้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งมาก แม้กระทั่งประเทศในยุโรปเองก็ต้องร่วมมือกันพยุงค่าเงินยูโร ปัญหาเหล่านี้ก็คล้ายกันหมด ส่วนเรื่องอัตราดอกเบี้ยซึ่งมีข่าวในทำนองว่านายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รมว.คลัง และนายศุภชัย พานิชภักดิ์ รมว.พาณิชย์ มีความเห็นที่ไม่สอดคล้องกันนั้น จริง ๆ แล้วทั้งสองคนมีความเห็นที่ไม่แตกต่างกัน นายธารินทร์ เห็นว่าการที่อัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นเรื่องดี ในขณะที่นายศุภชัย ได้พูดถึงอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ที่ไม่ควรจะต่ำไปกว่านี้ อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ธปท. ต้องเข้าไปดูแล
นายพิสิฐ กล่าวถึงนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ ที่จะใช้หาเสียงในการเลือกตั้งครั้งหน้า ว่าคงจะต้องพูดถึงเรื่องการฟื้นตัวของประเทศ ที่ดีขึ้นตามลำดับในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมาเพราะต่างประเทศให้ความมั่นใจกับไทยมาก จนถึงช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้เกิดความสับสน เรื่องจากข่าวคราวที่ออกไปในทางที่ไม่ได้ ในแง่ว่าการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เผชิญการเติบโต ไม่ตรงกับที่ตั้งเป้าไว้ และรัฐบาลจะทิ้งหลักการการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เคยทำมา 2 ปี สาเหตุที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะว่าแนวโน้มของรัฐบาลที่ร่วมทำงานกันมามีคะแนนเสียงที่ตกต่ำลงทำให้ต่างประเทศเกิดความสับสน ดังนั้นหลักการใหญ่คือต้องสร้างความเชื่อมั่น นอกจากนี้อีกนโยบายต้องพูดถึงเรื่องความเป็นอยู่ของคนในประเทศ ตั้งแต่การกระจายความเจริญ การกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น รวมไปถึงการโอนอำนาจไปยังด้านการเงินการคลังสู่ท้องถิ่นด้วย ส่วนเรื่องลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากร้อยละ 30 เหลือที่ร้อยละ 25 นั่นคงต้องหารือกันอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งตนเองไม่ต้องการให้เขียนอะไรที่ตายตัว
การเลือกตั้งในครั้งหน้าจะรับตำแหน่งในทีมเศรษฐกิจของพรรคต่อไปอีกหรือไม่ รมช.คลัง กล่าวว่า เท่าที่ทำงานกับนายกฯ และทีมเศรษฐกิจมา 2 ปีทุกอย่างก็ดี ดังนั้นอะไรที่อยู่ในวิสัยเข้าไปร่วมแรงร่วมใจแก้ปัญหาได้ก็จะทำ.--จบ--
-วว-