1. สถานการณ์สินค้า
หนี้สิน : หนี้สินของเกษตรกรไทยในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ
จากผลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนเกษตรปีเพาะปลูก 2542/43 พบว่ามีจำนวนเกษตรกรผู้มีหนี้สินค้างชำระปลายปี 3.379 ล้านครัวเรือน หรือร้อยละ 59.88 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด โดยมีขนาดหนี้สินเฉลี่ย 37,230.87 บาทต่อครัวเรือนทั้งหมด หรือ 58,697.98 บาทต่อครัวเรือนผู้เป็นหนี้ หนี้สินค้างชำระดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดจากแหล่งเงินกู้ในสถาบันถึงร้อยละ 86.81 โดยเฉพาะ ธกส. ร้อยละ 66.33 ของหนี้ทั้งหมด และเป็นหนี้ที่ถึงกำหนดชำระแต่ยังคงค้างอยู่ไม่ก่อให้เกิดรายได้คิดเป็นร้อยละ 19.23 ซึ่งสาเหตุของการค้างชำระดังกล่าวมาจากหลาย ๆ สาเหตุ ได้แก่ การรอขายผลิตผลเกษตร เกิดจากนำรายได้ที่ต้องชำระคืนนำไปใช้ทางอื่น หรือเกิดจากผลผลิตได้รับความเสียหาย และเกิดจากการนำเงินกู้ไปใช้ทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ไม่ตรงวัตถุประสงค์ของการขอกู้ เป็นต้น
กลุ่มครัวเรือนที่เป็นหนี้ที่มีขนาดหนี้สินมากกว่า 90,000 บาทต่อครัวเรือน มีจำนวนครัวเรือนร้อยละ 8.96 ของครัวเรือนทั้งหมด หรือ 0.506 ล้านครัวเรือน มีปริมาณหนี้สินถึงกำหนดชำระ แต่ยังคงค้างอยู่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ 19,852.86 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 17.89 ของปริมาณหนี้ค้างชำระ
สำหรับกลุ่มเกษตรกรที่มีขนาดหนี้ค้างชำระต่ำกว่าและเท่ากับ 90,000 บาทต่อครัวเรือน มีอยู่ถึงร้อยละ 50.92 หรือ 2.873 ล้านครัวเรือน มีปริมาณหนี้ค้างชำระที่ถึงกำหนดแต่ยังคงค้างอยู่เป็นหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ 19,394.5 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 19.57 ของยอดหนี้สินค้างชำระ
ปริมาณหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของเกษตรกรทั้งสองกลุ่มดังกล่าวมีปริมาณใกล้เคียงกัน แต่มีสัดส่วนของจำนวนครัวเรือนเกษตรกรที่เป็นหนี้แตกต่างกันมาก ดังนั้น ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งมีข้อจำกัดทั้งความสามารถของเกษตรกรชำระหนี้ ทั้งด้านงบประมาณที่จะใช้สำหรับการแก้ไขปัญหาช่วยเหลือเกษตรกร เกษตรกรรายย่อยที่มีหนี้สินขนาดเล็กควรได้รับการพิจารณาเป็นลำดับต้น ๆ ในการแก้ไขปัญหา ประโยชน์ที่ได้รับจะสามารถกระจายและครอบคลุมเกษตรกรในวงกว้างมากกว่าที่จะกระจุกตัวอยู่เพียงกับเกษตรกรเพียงบางกลุ่มเท่านั้น
การผลิต : การผลิตสินค้าจากทรัพยากรไม้ภายใต้มาตรการทางการค้าและสิ่งแวดล้อม
การผลิตสินค้าจากทรัพยากรไม้ ทำให้เกิดอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้วัตถุดิบไม้ การจ้างงานและทำรายได้จากการส่งออกปีละหลายล้านบาท สินค้าส่งออกที่สำคัญคือ เฟอร์นิเจอร์ไม้ ผลิตภัณฑ์ไม้ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น เยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ มูลค่าการส่งออกโดยรวมมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจาก 26,693 ล้านบาท ในปี 2539 เพิ่มเป็น 59,957 ล้านบาท ในปี 2542 ตลาดส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่สำคัญของไทยคือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ประเทศไทยยังมีขีดความสามารถในการแข่งขันส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ แต่ขีดความสามารถในการแข่งขันส่งออก โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ไม้ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกสูงสุด มีแนวโน้มลดลงและต่ำกว่าประเทศคู่แข่งสำคัญ คือ อินโดนีเซียและมาเลเซีย ซึ่งได้เปรียบในเรื่องวัตถุดิบ ค่าจ้างแรงงานและค่าขนส่ง
ปัจจุบันการผลิตสินค้าจากทรัพยากรไม้ทุกชนิดจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับกระแสการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่แผ่ขยายไปทุกระดับภูมิภาคของโลก ประเทศที่พัฒนาแล้ว องค์กรต่าง ๆ ได้เริ่มมีการรณรงค์ไปทั่วโลกให้มีการซื้อขายไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่มาจากแหล่งที่มีการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ไม่ทำลายป่าธรรมชาติ มีการรับรองด้านป่าไม้ และผลิตภัณฑ์ไม้ต้องมาจากกระบวนการผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีการรวมตัวของกลุ่มผู้ซื้อไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่ผ่านการรับรองด้านป่าไม้ โดยเฉพาะตลาดยุโรป ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างภาพลักษณ์สินค้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ของไทย ให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก โดยมีแนวทางการผลิตสินค้าจากทรัพยากรไม้ตามมาตรการทางการค้าและสิ่งแวดล้อมที่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านวัตถุดิบภายใต้หลักการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน พัฒนาอุตสาหกรรมไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง สร้างความพร้อมด้านการตลาด ตลอดจนพัฒนาด้านคุณภาพมาตรฐานสินค้า สนับสนุนให้มีการรับรองป่าไม้อย่างจริงจัง เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันส่งออก และเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อมโลก ภายใต้การค้าที่อยู่บนพื้นฐานของการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนตลอดไป
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 3 ประจำวันที่ 22 - 28 ม.ค. 2544--
-สส-
หนี้สิน : หนี้สินของเกษตรกรไทยในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ
จากผลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนเกษตรปีเพาะปลูก 2542/43 พบว่ามีจำนวนเกษตรกรผู้มีหนี้สินค้างชำระปลายปี 3.379 ล้านครัวเรือน หรือร้อยละ 59.88 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด โดยมีขนาดหนี้สินเฉลี่ย 37,230.87 บาทต่อครัวเรือนทั้งหมด หรือ 58,697.98 บาทต่อครัวเรือนผู้เป็นหนี้ หนี้สินค้างชำระดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดจากแหล่งเงินกู้ในสถาบันถึงร้อยละ 86.81 โดยเฉพาะ ธกส. ร้อยละ 66.33 ของหนี้ทั้งหมด และเป็นหนี้ที่ถึงกำหนดชำระแต่ยังคงค้างอยู่ไม่ก่อให้เกิดรายได้คิดเป็นร้อยละ 19.23 ซึ่งสาเหตุของการค้างชำระดังกล่าวมาจากหลาย ๆ สาเหตุ ได้แก่ การรอขายผลิตผลเกษตร เกิดจากนำรายได้ที่ต้องชำระคืนนำไปใช้ทางอื่น หรือเกิดจากผลผลิตได้รับความเสียหาย และเกิดจากการนำเงินกู้ไปใช้ทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ไม่ตรงวัตถุประสงค์ของการขอกู้ เป็นต้น
กลุ่มครัวเรือนที่เป็นหนี้ที่มีขนาดหนี้สินมากกว่า 90,000 บาทต่อครัวเรือน มีจำนวนครัวเรือนร้อยละ 8.96 ของครัวเรือนทั้งหมด หรือ 0.506 ล้านครัวเรือน มีปริมาณหนี้สินถึงกำหนดชำระ แต่ยังคงค้างอยู่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ 19,852.86 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 17.89 ของปริมาณหนี้ค้างชำระ
สำหรับกลุ่มเกษตรกรที่มีขนาดหนี้ค้างชำระต่ำกว่าและเท่ากับ 90,000 บาทต่อครัวเรือน มีอยู่ถึงร้อยละ 50.92 หรือ 2.873 ล้านครัวเรือน มีปริมาณหนี้ค้างชำระที่ถึงกำหนดแต่ยังคงค้างอยู่เป็นหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ 19,394.5 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 19.57 ของยอดหนี้สินค้างชำระ
ปริมาณหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของเกษตรกรทั้งสองกลุ่มดังกล่าวมีปริมาณใกล้เคียงกัน แต่มีสัดส่วนของจำนวนครัวเรือนเกษตรกรที่เป็นหนี้แตกต่างกันมาก ดังนั้น ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งมีข้อจำกัดทั้งความสามารถของเกษตรกรชำระหนี้ ทั้งด้านงบประมาณที่จะใช้สำหรับการแก้ไขปัญหาช่วยเหลือเกษตรกร เกษตรกรรายย่อยที่มีหนี้สินขนาดเล็กควรได้รับการพิจารณาเป็นลำดับต้น ๆ ในการแก้ไขปัญหา ประโยชน์ที่ได้รับจะสามารถกระจายและครอบคลุมเกษตรกรในวงกว้างมากกว่าที่จะกระจุกตัวอยู่เพียงกับเกษตรกรเพียงบางกลุ่มเท่านั้น
การผลิต : การผลิตสินค้าจากทรัพยากรไม้ภายใต้มาตรการทางการค้าและสิ่งแวดล้อม
การผลิตสินค้าจากทรัพยากรไม้ ทำให้เกิดอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้วัตถุดิบไม้ การจ้างงานและทำรายได้จากการส่งออกปีละหลายล้านบาท สินค้าส่งออกที่สำคัญคือ เฟอร์นิเจอร์ไม้ ผลิตภัณฑ์ไม้ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น เยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ มูลค่าการส่งออกโดยรวมมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจาก 26,693 ล้านบาท ในปี 2539 เพิ่มเป็น 59,957 ล้านบาท ในปี 2542 ตลาดส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่สำคัญของไทยคือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ประเทศไทยยังมีขีดความสามารถในการแข่งขันส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ แต่ขีดความสามารถในการแข่งขันส่งออก โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ไม้ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกสูงสุด มีแนวโน้มลดลงและต่ำกว่าประเทศคู่แข่งสำคัญ คือ อินโดนีเซียและมาเลเซีย ซึ่งได้เปรียบในเรื่องวัตถุดิบ ค่าจ้างแรงงานและค่าขนส่ง
ปัจจุบันการผลิตสินค้าจากทรัพยากรไม้ทุกชนิดจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับกระแสการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่แผ่ขยายไปทุกระดับภูมิภาคของโลก ประเทศที่พัฒนาแล้ว องค์กรต่าง ๆ ได้เริ่มมีการรณรงค์ไปทั่วโลกให้มีการซื้อขายไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่มาจากแหล่งที่มีการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ไม่ทำลายป่าธรรมชาติ มีการรับรองด้านป่าไม้ และผลิตภัณฑ์ไม้ต้องมาจากกระบวนการผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีการรวมตัวของกลุ่มผู้ซื้อไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่ผ่านการรับรองด้านป่าไม้ โดยเฉพาะตลาดยุโรป ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างภาพลักษณ์สินค้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ของไทย ให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก โดยมีแนวทางการผลิตสินค้าจากทรัพยากรไม้ตามมาตรการทางการค้าและสิ่งแวดล้อมที่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านวัตถุดิบภายใต้หลักการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน พัฒนาอุตสาหกรรมไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง สร้างความพร้อมด้านการตลาด ตลอดจนพัฒนาด้านคุณภาพมาตรฐานสินค้า สนับสนุนให้มีการรับรองป่าไม้อย่างจริงจัง เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันส่งออก และเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อมโลก ภายใต้การค้าที่อยู่บนพื้นฐานของการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนตลอดไป
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 3 ประจำวันที่ 22 - 28 ม.ค. 2544--
-สส-