กรุงเทพฯ--11 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (6 กรกฎาคม 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับกรณีที่หนังสือพิมพ์ “เวียงจันทน์ใหม่” และหนังสือพิมพ์ “ประชาชน”ของลาวฉบับวันที่ 6 กรกฎาคม 2543 ได้ลงข่าวเกี่ยวกับกรณีกองกำลังต่อต้านรัฐบาลลาวหลบหนีและถูกจับกุมในประเทศไทยในลักษณะที่ไม่เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ สรุปดังนี้
1. ตามที่นายดอนฯ และนายเหียม พมมะจัน เอกอัครราชทูตลาวประจำประเทศไทยได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเมื่อวานนี้ (5 กรกฎาคม 2543) ขอร้องให้สื่อมวลชนไทยลงข่าวในลักษณะที่สร้างสรรค์ และคำนึงถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ ตลอดจนเสนอข่าวอย่างสมเหตุสมผลทางการบนพื้นฐานของข้อมูลข่าวสารจากทางการของทั้งสองฝ่ายเพื่อป้องกันการเข้าใจผิดนั้น แต่ในวันนี้ตนได้รับรายงานข่าวเป็นบทความเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวในหนังสือพิมพ์ “เวียงจันทน์ใหม่” และ ”ประชาชน” ฉบับวันที่ 6 กรกฎาคม 2543 ในลักษณะที่แตกต่างจากการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนไทย ซึ่งไม่ใช่การเสนอข่าวอย่าง “มืออาชีพ” และไม่สอดคล้องกับคำขอร้องของเอกอัครราชทูตลาวประจำประเทศไทยที่ขอร้องให้สื่อมวลชนเสนอข่าวอย่างสร้างสรรค์และเป็นกลาง
2. นายดอนฯ กล่าวย้ำว่า เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2543 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในดินแดนเพื่อนบ้านของไทย เป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาจะให้เกิดขึ้นเพราะไม่มีประโยชน์ใดๆ ต่อประเทศไทยและต่อคนไทย แต่สิ่งที่ทำให้ประเทศไทยต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว ก็เพราะกลุ่มบุคคลที่ก่อการได้หนีเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งทางการทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องกันแล้วว่า ทั้งสองฝ่ายมีความรับผิดชอบร่วมกัน และจะร่วมมือกันสืบสวนหาสาเหตุและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว
3. นายดอนฯได้ย้ำว่า ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องภายในของลาว ประเทศไทยถูกชักนำให้เกี่ยวข้องด้วยเพราะมีชายแดนติดต่อกัน คนไทยที่เข้าร่วมในขบวนการต่อต้านอาจถูกชักจูง ว่าจ้าง หรือหลอกลวงเข้าไปในลาว อย่างไรก็ดี คนเหล่านั้นไม่ใช่ตัวแทนคนไทยโดยรวม สำหรับประเด็นที่ว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นกลุ่มโจรหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับหลักฐาน และข้อกล่าวหาของลาว และหากมีความผิดตามกฎหมาย คนเหล่านั้นก็จะถูกดำเนินคดีตามกระบวนการของกฎหมายไทย ซึ่งมีความชัดเจนครอบคลุมในทุกๆเรื่อง แม้คนต่างชาติกระทำความผิด ก็มีกฎหมายครอบคลุม ทั้งนี้ หากไม่ดำเนินการ ก็จะไม่เป็นไปตามแนวทางกฎหมายที่มีอยู่อันเป็นเรื่องไม่สามารถกระทำได้ และ นำมาซึ่งปัญหาต่างๆ ได้
4. สำหรับขั้นตอนทางกฎหมายต่อผู้ก่อการนั้น อาจพิจารณาได้เป็นสองส่วนโดยในส่วนของคนสัญชาติลาว แม้ว่าเอกอัครราชทูตลาวจะมีคำขอให้ส่งคนสัญชาติลาวแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นคำขอที่เป็นทางการในระดับหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2472 ระบุว่าจะต้องมีเอกสารหลักฐาน และข้อกล่าวหาประกอบ ดังนั้นจะต้องกระทำเป็นลายลักษณ์อักษร โดยส่งเอกสารและหลักฐาน พร้อมข้อกล่าวหา เพื่อที่กระทรวงการต่างประเทศจะได้ประสานงานกับสำนักงานอัยการพิจารณาคำฟ้องเพื่อการวินิจฉัยของศาลต่อไป สำหรับในส่วนของคนไทยนั้น นายดอนฯ ได้ชี้แจงว่า บุคคลดังกล่าวคงจะถูกดำเนินคดีในข้อหามีอาวุธสงครามไว้ในครอบครอง แต่หากมีการแจ้งข้อกล่าวหาจากฝ่ายลาวในทางใดทางหนึ่งก็ย่อมต้องพิจารณาว่าจะดำเนินการได้หรือไม่ตามตัวบทกฎหมายใด เพราะพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2472 ของไทยไม่ได้กล่าวถึงการส่งบุคคลสัญชาติไทยให้ประเทศที่สาม ยกเว้นแต่มีพันธะผูกพันตามสนธิสัญญาหรือความตกลงอื่น
5. นายดอนฯ ได้ย้ำว่า แม้ในยามนี้ไทยก็ไม่ได้นิ่งนอนใจในการช่วยดูแลปัญหา ที่เกิดขึ้น โดยในระหว่างนี้ ไทยกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการเสนอต่อลาวให้มีการจัดประชุม คณะกรรมการร่วมว่าด้วยการรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไปไทย-ลาว (General Border Committee — GBC) เพื่อสืบสาวราวเรื่องของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ รวมทั้งหาทางป้องกันมิให้เกิดเรื่องประเภทนี้ขึ้นอีก หากข้อเสนอนี้เป็นไปไม่ได้ในช่วงนี้สำหรับลาว ก็อาจให้อนุกรรมการของ GBC หารือกันหรือขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและเจ้าแขวงที่เกี่ยวข้องของทั้งไทยและลาวพบปะกันเพื่อเป้าหมาย ดังกล่าว
6. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้มีผลกระทบในทางลบต่อทุกฝ่าย ไม่ว่าต่อประเทศไทย ประเทศลาว หรือความสัมพันธ์ไทย-ลาว ซึ่งไม่เป็นผลดี ดังนั้น ทุกฝ่ายจำเป็นต้องป้องกัน และช่วยกัน - 3 - โดยท่านนายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย ได้ให้แนวทางที่ชัดเจนว่า ไทยและลาวต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง ซึ่งในประเด็นนี้สื่อมวลชนของไทยตระหนักดีอยู่แล้ว แต่ใคร่ขอร้องให้สื่ออื่นๆ ลดการใช้อารมณ์ ควรนำเสนอข่าวอย่างสร้างสรรค์ ไม่ให้กระทบต่อความสัมพันธ์ มองปัญหาด้วยความเป็นธรรม และในท้ายที่สุด นายดอนฯ ได้ย้ำคำพูดของเอกอัครราชทูตเหียมฯที่ขอให้สื่อมวลชนเสนอข่าวอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งสื่อมวลชนไทยได้ตอบสนองด้วยดีแล้ว แต่ขอให้สื่ออื่นๆรายงานข่าวในลักษณะเดียวกันด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (6 กรกฎาคม 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับกรณีที่หนังสือพิมพ์ “เวียงจันทน์ใหม่” และหนังสือพิมพ์ “ประชาชน”ของลาวฉบับวันที่ 6 กรกฎาคม 2543 ได้ลงข่าวเกี่ยวกับกรณีกองกำลังต่อต้านรัฐบาลลาวหลบหนีและถูกจับกุมในประเทศไทยในลักษณะที่ไม่เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ สรุปดังนี้
1. ตามที่นายดอนฯ และนายเหียม พมมะจัน เอกอัครราชทูตลาวประจำประเทศไทยได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเมื่อวานนี้ (5 กรกฎาคม 2543) ขอร้องให้สื่อมวลชนไทยลงข่าวในลักษณะที่สร้างสรรค์ และคำนึงถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ ตลอดจนเสนอข่าวอย่างสมเหตุสมผลทางการบนพื้นฐานของข้อมูลข่าวสารจากทางการของทั้งสองฝ่ายเพื่อป้องกันการเข้าใจผิดนั้น แต่ในวันนี้ตนได้รับรายงานข่าวเป็นบทความเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวในหนังสือพิมพ์ “เวียงจันทน์ใหม่” และ ”ประชาชน” ฉบับวันที่ 6 กรกฎาคม 2543 ในลักษณะที่แตกต่างจากการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนไทย ซึ่งไม่ใช่การเสนอข่าวอย่าง “มืออาชีพ” และไม่สอดคล้องกับคำขอร้องของเอกอัครราชทูตลาวประจำประเทศไทยที่ขอร้องให้สื่อมวลชนเสนอข่าวอย่างสร้างสรรค์และเป็นกลาง
2. นายดอนฯ กล่าวย้ำว่า เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2543 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในดินแดนเพื่อนบ้านของไทย เป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาจะให้เกิดขึ้นเพราะไม่มีประโยชน์ใดๆ ต่อประเทศไทยและต่อคนไทย แต่สิ่งที่ทำให้ประเทศไทยต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว ก็เพราะกลุ่มบุคคลที่ก่อการได้หนีเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งทางการทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องกันแล้วว่า ทั้งสองฝ่ายมีความรับผิดชอบร่วมกัน และจะร่วมมือกันสืบสวนหาสาเหตุและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว
3. นายดอนฯได้ย้ำว่า ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องภายในของลาว ประเทศไทยถูกชักนำให้เกี่ยวข้องด้วยเพราะมีชายแดนติดต่อกัน คนไทยที่เข้าร่วมในขบวนการต่อต้านอาจถูกชักจูง ว่าจ้าง หรือหลอกลวงเข้าไปในลาว อย่างไรก็ดี คนเหล่านั้นไม่ใช่ตัวแทนคนไทยโดยรวม สำหรับประเด็นที่ว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นกลุ่มโจรหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับหลักฐาน และข้อกล่าวหาของลาว และหากมีความผิดตามกฎหมาย คนเหล่านั้นก็จะถูกดำเนินคดีตามกระบวนการของกฎหมายไทย ซึ่งมีความชัดเจนครอบคลุมในทุกๆเรื่อง แม้คนต่างชาติกระทำความผิด ก็มีกฎหมายครอบคลุม ทั้งนี้ หากไม่ดำเนินการ ก็จะไม่เป็นไปตามแนวทางกฎหมายที่มีอยู่อันเป็นเรื่องไม่สามารถกระทำได้ และ นำมาซึ่งปัญหาต่างๆ ได้
4. สำหรับขั้นตอนทางกฎหมายต่อผู้ก่อการนั้น อาจพิจารณาได้เป็นสองส่วนโดยในส่วนของคนสัญชาติลาว แม้ว่าเอกอัครราชทูตลาวจะมีคำขอให้ส่งคนสัญชาติลาวแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นคำขอที่เป็นทางการในระดับหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2472 ระบุว่าจะต้องมีเอกสารหลักฐาน และข้อกล่าวหาประกอบ ดังนั้นจะต้องกระทำเป็นลายลักษณ์อักษร โดยส่งเอกสารและหลักฐาน พร้อมข้อกล่าวหา เพื่อที่กระทรวงการต่างประเทศจะได้ประสานงานกับสำนักงานอัยการพิจารณาคำฟ้องเพื่อการวินิจฉัยของศาลต่อไป สำหรับในส่วนของคนไทยนั้น นายดอนฯ ได้ชี้แจงว่า บุคคลดังกล่าวคงจะถูกดำเนินคดีในข้อหามีอาวุธสงครามไว้ในครอบครอง แต่หากมีการแจ้งข้อกล่าวหาจากฝ่ายลาวในทางใดทางหนึ่งก็ย่อมต้องพิจารณาว่าจะดำเนินการได้หรือไม่ตามตัวบทกฎหมายใด เพราะพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2472 ของไทยไม่ได้กล่าวถึงการส่งบุคคลสัญชาติไทยให้ประเทศที่สาม ยกเว้นแต่มีพันธะผูกพันตามสนธิสัญญาหรือความตกลงอื่น
5. นายดอนฯ ได้ย้ำว่า แม้ในยามนี้ไทยก็ไม่ได้นิ่งนอนใจในการช่วยดูแลปัญหา ที่เกิดขึ้น โดยในระหว่างนี้ ไทยกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการเสนอต่อลาวให้มีการจัดประชุม คณะกรรมการร่วมว่าด้วยการรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไปไทย-ลาว (General Border Committee — GBC) เพื่อสืบสาวราวเรื่องของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ รวมทั้งหาทางป้องกันมิให้เกิดเรื่องประเภทนี้ขึ้นอีก หากข้อเสนอนี้เป็นไปไม่ได้ในช่วงนี้สำหรับลาว ก็อาจให้อนุกรรมการของ GBC หารือกันหรือขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและเจ้าแขวงที่เกี่ยวข้องของทั้งไทยและลาวพบปะกันเพื่อเป้าหมาย ดังกล่าว
6. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้มีผลกระทบในทางลบต่อทุกฝ่าย ไม่ว่าต่อประเทศไทย ประเทศลาว หรือความสัมพันธ์ไทย-ลาว ซึ่งไม่เป็นผลดี ดังนั้น ทุกฝ่ายจำเป็นต้องป้องกัน และช่วยกัน - 3 - โดยท่านนายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย ได้ให้แนวทางที่ชัดเจนว่า ไทยและลาวต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง ซึ่งในประเด็นนี้สื่อมวลชนของไทยตระหนักดีอยู่แล้ว แต่ใคร่ขอร้องให้สื่ออื่นๆ ลดการใช้อารมณ์ ควรนำเสนอข่าวอย่างสร้างสรรค์ ไม่ให้กระทบต่อความสัมพันธ์ มองปัญหาด้วยความเป็นธรรม และในท้ายที่สุด นายดอนฯ ได้ย้ำคำพูดของเอกอัครราชทูตเหียมฯที่ขอให้สื่อมวลชนเสนอข่าวอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งสื่อมวลชนไทยได้ตอบสนองด้วยดีแล้ว แต่ขอให้สื่ออื่นๆรายงานข่าวในลักษณะเดียวกันด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-