บาทเนต/2 จากที่ได้แนะนำผู้อ่านให้ทราบถึง S.W.I.F.T. Message Type ด้านการโอนเงินในระบบบาทเนต2 ไปในฉบับก่อน ฉบับนี้จะขอกล่าวถึงด้านการโอนตราสารหนี้ พร้อมทั้งขั้นตอนการชำระดุลผ่านระบบบาทเนต2 เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจและเห็นภาพการดำเนินการส่งมอบและชำระราคาตราสารหนี้แบบ Real Time Gross Settlement - Delivery Versus Payment (RTGS-DVP) ได้ชัดเจนมากขึ้น ระบบทำงานอย่างไร
เมื่อผู้ซื้อและผู้ขายได้ติดต่อซื้อขายตราสารหนี้ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้วิธี Over The Counter (OTC) แล้ว จะส่งคำสั่งเข้าสู่ระบบบาทเนต2 เพื่อทำการชำระดุลที่ ธปท. ระบบจะทำการตรวจสอบความถูกต้อง และจับคู่คำสั่ง โดยใช้ข้อมูลเลขที่บัญชีตราสารหนี้ของตนเองและคู่ค้า รหัสตราสารหนี้ วันที่ส่งมอบ ราคาตรา และราคาซื้อขาย
คำสั่งที่ผ่านการจับคู่แล้ว ระบบจะทำการตรวจสอบยอดคงเหลือในบัญชีตราสารหนี้ของผู้ขายและกันไว้ แล้วจึงตรวจสอบยอดคงเหลือในบัญชีเงินของผู้ซื้อ ถ้ามีเพียงพอก็จะชำระดุลทั้งตราสารหนี้และเงินในเวลาเดียวกัน และส่งเอกสารแจ้งการชำระดุลให้ทั้ง 2 ฝ่าย ถ้าตราสารหนี้หรือเงินไม่เพียงพอก็จะนำรายการเข้าคิวไว้ จนกว่าจะมียอดคงเหลือเพียงพอจึงจะดำเนินการชำระดุลให้สมบูรณ์
นอกจากการโอนตราสารหนี้พร้อมการชำระราคาแล้ว ผู้ใช้บริการยังสามารถทำการโอนตราสารหนี้โดยไม่มีการชำระราคาได้ด้วย ซึ่งหลังจากจับคู่รายการได้แล้ว ก็จะตรวจสอบยอดคงเหลือในบัญชีตราสารหนี้ของผู้ขาย ถ้ามีเพียงพอระบบจะโอนจากผู้ขายให้ผู้ซื้อ และส่งเอกสารแจ้งทั้ง 2 ฝ่าย
สรุปคำสั่งการโอนตราสารหนี้
คำสั่ง การยืนยันหรือแจ้งปฏิเสธ
MT540: คำสั่งการรับโอนตราสารหนี้ MT544: ยืนยันการรับโอนตราสารหนี้
MT541: คำสั่งการรับโอนตราสารหนี้พร้อมชำระราคา MT545: ยืนยันการรับโอนตราสารหนี้พร้อมชำระราคา
MT542: คำสั่งการโอนตราสารหนี้ MT546: ยืนยันการโอนตราสารหนี้
MT543: คำสั่งการโอนตราสารหนี้พร้อมรับชำระราคา MT547: ยืนยันการโอนตราสารหนี้พร้อมรับชำระราคา
MT548 : แจ้งปฏิเสธ
บริการเพื่อบุคคลที่สาม
ผู้ที่ไม่ใช่ผู้ใช้บริการบาทเนต สามารถใช้บริการโอนตราสารหนี้ได้โดยผ่านสถาบันการเงินที่เป็นผู้ใช้บริการบาทเนต ในลักษณะที่เป็นการโอนหรือรับโอนกับบัญชีตราสารหนี้ของตนเอง แต่การชำระเงินหรือรับชำระเงินจะทำผ่านบัญชีเงินของผู้ใช้บริการบาทเนต
หากท่านผู้อ่านมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดสอบถามได้ที่ส่วนพัฒนาบาทเนต สายระบบการชำระเงิน ส่วนในฉบับหน้าจะนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับบริการ BAHTNET Web Service ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ผู้ใช้บริการจะส่งคำสั่งเข้าสู่ระบบได้ นอกเหนือจากช่องทาง SWIFT
--จุลสารระบบการชำระเงิน/ตุลาคม 2544--
-ยก-
เมื่อผู้ซื้อและผู้ขายได้ติดต่อซื้อขายตราสารหนี้ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้วิธี Over The Counter (OTC) แล้ว จะส่งคำสั่งเข้าสู่ระบบบาทเนต2 เพื่อทำการชำระดุลที่ ธปท. ระบบจะทำการตรวจสอบความถูกต้อง และจับคู่คำสั่ง โดยใช้ข้อมูลเลขที่บัญชีตราสารหนี้ของตนเองและคู่ค้า รหัสตราสารหนี้ วันที่ส่งมอบ ราคาตรา และราคาซื้อขาย
คำสั่งที่ผ่านการจับคู่แล้ว ระบบจะทำการตรวจสอบยอดคงเหลือในบัญชีตราสารหนี้ของผู้ขายและกันไว้ แล้วจึงตรวจสอบยอดคงเหลือในบัญชีเงินของผู้ซื้อ ถ้ามีเพียงพอก็จะชำระดุลทั้งตราสารหนี้และเงินในเวลาเดียวกัน และส่งเอกสารแจ้งการชำระดุลให้ทั้ง 2 ฝ่าย ถ้าตราสารหนี้หรือเงินไม่เพียงพอก็จะนำรายการเข้าคิวไว้ จนกว่าจะมียอดคงเหลือเพียงพอจึงจะดำเนินการชำระดุลให้สมบูรณ์
นอกจากการโอนตราสารหนี้พร้อมการชำระราคาแล้ว ผู้ใช้บริการยังสามารถทำการโอนตราสารหนี้โดยไม่มีการชำระราคาได้ด้วย ซึ่งหลังจากจับคู่รายการได้แล้ว ก็จะตรวจสอบยอดคงเหลือในบัญชีตราสารหนี้ของผู้ขาย ถ้ามีเพียงพอระบบจะโอนจากผู้ขายให้ผู้ซื้อ และส่งเอกสารแจ้งทั้ง 2 ฝ่าย
สรุปคำสั่งการโอนตราสารหนี้
คำสั่ง การยืนยันหรือแจ้งปฏิเสธ
MT540: คำสั่งการรับโอนตราสารหนี้ MT544: ยืนยันการรับโอนตราสารหนี้
MT541: คำสั่งการรับโอนตราสารหนี้พร้อมชำระราคา MT545: ยืนยันการรับโอนตราสารหนี้พร้อมชำระราคา
MT542: คำสั่งการโอนตราสารหนี้ MT546: ยืนยันการโอนตราสารหนี้
MT543: คำสั่งการโอนตราสารหนี้พร้อมรับชำระราคา MT547: ยืนยันการโอนตราสารหนี้พร้อมรับชำระราคา
MT548 : แจ้งปฏิเสธ
บริการเพื่อบุคคลที่สาม
ผู้ที่ไม่ใช่ผู้ใช้บริการบาทเนต สามารถใช้บริการโอนตราสารหนี้ได้โดยผ่านสถาบันการเงินที่เป็นผู้ใช้บริการบาทเนต ในลักษณะที่เป็นการโอนหรือรับโอนกับบัญชีตราสารหนี้ของตนเอง แต่การชำระเงินหรือรับชำระเงินจะทำผ่านบัญชีเงินของผู้ใช้บริการบาทเนต
หากท่านผู้อ่านมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดสอบถามได้ที่ส่วนพัฒนาบาทเนต สายระบบการชำระเงิน ส่วนในฉบับหน้าจะนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับบริการ BAHTNET Web Service ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ผู้ใช้บริการจะส่งคำสั่งเข้าสู่ระบบได้ นอกเหนือจากช่องทาง SWIFT
--จุลสารระบบการชำระเงิน/ตุลาคม 2544--
-ยก-