กรุงเทพฯ--30 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2544 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับผลการประชุม PMC ASEAN+10 PMC ASEAN+1 และการหารือทวิภาคีกับประเทศต่างๆ ดังนี้
1. สหรัฐอเมริกา
ไทยเห็นว่าบทบาทของสหรัฐฯมีความสำคัญยิ่งในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศในอาเซียนโดยเฉพาะเรื่องการเปิดตลาดทางการค้า และเวทีความร่วมมือใหม่ภายใต้การประชุมระหว่าง USTR กับ การประชุมระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจของอาเซียน (AEM) จะนำไปสู่ลู่ทางใหม่ของความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ไทยได้แจ้งสหรัฐฯเรื่องความร่วมมือ 4 ฝ่ายไทย จีน พม่า และลาว ทางด้านยาเสพติดและอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งทางสหรัฐพร้อมจะให้ความร่วมมือในเรื่องดังกล่าว รวมทั้งให้ความช่วยเหลือในปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อ HIV/AIDS ในประเทศอาเซียน นอกจากนี้สหรัฐฯได้ประกาศต่อที่ประชุมฯถึงเรื่องที่ประธานาธิบดี George W. Bush ได้พิจารณาว่าประเทศอาเซียนมีความสำคัญกับสหรัฐฯ ในระดับต้นและพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงแก่อาเซียน รวมทั้งสนับสนุนการเชื่อมโยงอาเซียนกับองค์การระหว่างประเทศ อาทิ Organization of African Unity- OAU ร่วมกับประเทศในแอฟริกา และ Organization of American States- OAS ในทวีปอเมริกาด้วยอีกด้วย
2. ญี่ปุ่น
ในประเด็นที่ญี่ปุ่นให้ความสำคัญแก่การปฎิรูปภายในประเทศและลดปริมาณความช่วยเหลือและโครงการณ์ความร่วมมือระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่น ไทยเห็นว่าความพยายามของญี่ปุ่นในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจภายในของตนทั้งปัญหามูลหนี้ไม่ก่อรายได้ (NPL) และการสร้างอำนาจซื้อ หากญี่ปุ่นสามารถแก้ปัญหาได้จะเป็นการช่วยเศรษฐกิจของประเทศอาเซียนได้อย่างมาก ทั้งนี้ถึงแม้ประเทศอาเซียนกำลังประสบปัญหาทางการเมืองและเศรษฐกิจอยู่ในขณะนี้แต่ความร่วมมืออาเซียนในกรอบอนุภูมิภาคอื่น อาทิ เช่นความร่วมมือ 3 ฝ่ายไทย อินเดียและพม่า ที่ไทยมีบทบาทเป็นแกนนำได้มีความก้าวหน้าไปอย่างมากทั้งภาครัฐและเอกชน
3. WTO
ไทยได้เสนอให้กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วพิจารณารวมหัวข้อที่ประเทศกำลังพัฒนาให้ความสนใจเข้าในวาระการประชุมระดับรัฐมนตรีของ WTO ที่กรุง โดฮา ประเทศกาตาร์ด้วย อาทิการสร้างความมั่นใจให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาเกี่ยวกับความโปร่งใสของ GATT ขบวนการตัดสินข้อพิพาทที่มีความเป็นประชาธิปไตย รวมทั้งประเด็นการปฎิบัติตามพันธะกรณีของ GATT ซึ่งเป็นหัวข้อที่มีลักษณะกว้างขวางครอบคลุมและอยู่ความสนใจของประเทศกำลังพัฒนา โดยหากมีหัวข้อดังกล่าวในระเบียบวาระของที่ประชุมระดับรัฐมนตรีของ WTO ที่กรุงโดฮา ก็เชื่อว่าจะมีความเป็นไปได้ที่จะมีการเจรจาในรอบใหม่ โดยในส่วนของไทยแล้วให้การสนับสนุนการประชุม GATT รอบใหม่ด้วย
ทั้งนี้ในการประชุมฯในภาพรวมฝ่ายสหรัฐฯ กลุ่มประเทศประชาคมยุโรป และญี่ปุ่นได้กล่าวสนับสนุนไทยมากเนื่องจากตระหนักถึงความตั้งใจที่เป็นรูปธรรมของไทยในการจัดการกับปัญหายาเสพติด และกำลังขยายไปสู่การแก้ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติด้วย โดยการดำเนินการอย่างจริงใจในเรื่องดังกล่าวของไทยได้รับการต้อนรับจากหลายประเทศที่เข้าร่วมประชุม
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7--จบ--
-อน-
เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2544 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับผลการประชุม PMC ASEAN+10 PMC ASEAN+1 และการหารือทวิภาคีกับประเทศต่างๆ ดังนี้
1. สหรัฐอเมริกา
ไทยเห็นว่าบทบาทของสหรัฐฯมีความสำคัญยิ่งในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศในอาเซียนโดยเฉพาะเรื่องการเปิดตลาดทางการค้า และเวทีความร่วมมือใหม่ภายใต้การประชุมระหว่าง USTR กับ การประชุมระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจของอาเซียน (AEM) จะนำไปสู่ลู่ทางใหม่ของความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ไทยได้แจ้งสหรัฐฯเรื่องความร่วมมือ 4 ฝ่ายไทย จีน พม่า และลาว ทางด้านยาเสพติดและอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งทางสหรัฐพร้อมจะให้ความร่วมมือในเรื่องดังกล่าว รวมทั้งให้ความช่วยเหลือในปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อ HIV/AIDS ในประเทศอาเซียน นอกจากนี้สหรัฐฯได้ประกาศต่อที่ประชุมฯถึงเรื่องที่ประธานาธิบดี George W. Bush ได้พิจารณาว่าประเทศอาเซียนมีความสำคัญกับสหรัฐฯ ในระดับต้นและพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงแก่อาเซียน รวมทั้งสนับสนุนการเชื่อมโยงอาเซียนกับองค์การระหว่างประเทศ อาทิ Organization of African Unity- OAU ร่วมกับประเทศในแอฟริกา และ Organization of American States- OAS ในทวีปอเมริกาด้วยอีกด้วย
2. ญี่ปุ่น
ในประเด็นที่ญี่ปุ่นให้ความสำคัญแก่การปฎิรูปภายในประเทศและลดปริมาณความช่วยเหลือและโครงการณ์ความร่วมมือระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่น ไทยเห็นว่าความพยายามของญี่ปุ่นในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจภายในของตนทั้งปัญหามูลหนี้ไม่ก่อรายได้ (NPL) และการสร้างอำนาจซื้อ หากญี่ปุ่นสามารถแก้ปัญหาได้จะเป็นการช่วยเศรษฐกิจของประเทศอาเซียนได้อย่างมาก ทั้งนี้ถึงแม้ประเทศอาเซียนกำลังประสบปัญหาทางการเมืองและเศรษฐกิจอยู่ในขณะนี้แต่ความร่วมมืออาเซียนในกรอบอนุภูมิภาคอื่น อาทิ เช่นความร่วมมือ 3 ฝ่ายไทย อินเดียและพม่า ที่ไทยมีบทบาทเป็นแกนนำได้มีความก้าวหน้าไปอย่างมากทั้งภาครัฐและเอกชน
3. WTO
ไทยได้เสนอให้กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วพิจารณารวมหัวข้อที่ประเทศกำลังพัฒนาให้ความสนใจเข้าในวาระการประชุมระดับรัฐมนตรีของ WTO ที่กรุง โดฮา ประเทศกาตาร์ด้วย อาทิการสร้างความมั่นใจให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาเกี่ยวกับความโปร่งใสของ GATT ขบวนการตัดสินข้อพิพาทที่มีความเป็นประชาธิปไตย รวมทั้งประเด็นการปฎิบัติตามพันธะกรณีของ GATT ซึ่งเป็นหัวข้อที่มีลักษณะกว้างขวางครอบคลุมและอยู่ความสนใจของประเทศกำลังพัฒนา โดยหากมีหัวข้อดังกล่าวในระเบียบวาระของที่ประชุมระดับรัฐมนตรีของ WTO ที่กรุงโดฮา ก็เชื่อว่าจะมีความเป็นไปได้ที่จะมีการเจรจาในรอบใหม่ โดยในส่วนของไทยแล้วให้การสนับสนุนการประชุม GATT รอบใหม่ด้วย
ทั้งนี้ในการประชุมฯในภาพรวมฝ่ายสหรัฐฯ กลุ่มประเทศประชาคมยุโรป และญี่ปุ่นได้กล่าวสนับสนุนไทยมากเนื่องจากตระหนักถึงความตั้งใจที่เป็นรูปธรรมของไทยในการจัดการกับปัญหายาเสพติด และกำลังขยายไปสู่การแก้ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติด้วย โดยการดำเนินการอย่างจริงใจในเรื่องดังกล่าวของไทยได้รับการต้อนรับจากหลายประเทศที่เข้าร่วมประชุม
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7--จบ--
-อน-