นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยถึงผลการหารือกับผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ว่าทางสหรัฐฯ ต้องการให้ไทยยืนยันว่าอยากให้มีการเปิดเจรจาการค้าโลกรอบใหม่ ส่วนทางไทยได้แจ้งให้สหรัฐฯ ทราบว่าขณะนี้มีเรื่องการละเมิดสิทธิข้าวหอมมะลิของไทยโดยนักวิจัยสหรัฐฯ ซึ่งทาง USTR ได้รับทราบปัญหาดังกล่าวแล้ว แต่ไม่สามารถที่จะตัดสินใจใดใด เพราะไม่ใช่เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง จึงได้ส่งจม.ให้กับทางกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ เพื่อช่วยพิจารณาให้ด้วย
"เราได้ขอให้เขาช่วยพิจารณาดำเนินการให้ ซึ่งทาง USTR ก็ได้แสดงท่าทีเข้าใจและเห็นใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและรับปากว่าจะช่วยติดตามเรื่องนี้ให้" นายอดิศัยกล่าว นอกจากนี้ ไทยยังได้หารือกับสหรัฐฯในเรื่องข้าวว่า ไทยและสหรัฐฯต่างเป็นประเทศผู้ปลูกข้าวและไม่ควรที่จะมีการขายตัดราคาข้าวกัน เพราะหากสหรัฐฯขายข้าวตัดราคาจะทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกตกต่ำลงมาก และจะกระทบกับราคาข้าวของเกษตรกรภายในประเทศ พร้อมกันนี้ได้เสนออีกว่าขณะนี้ไทยได้มีการเจรจาในเรื่องข้าวกับประเทศผู้ผลิตข้าวแล้ว 2 - 3 ราย ซึ่งประเทศเหล่านั้นต่างก็เห็นด้วย และทางสหรัฐฯก็รับที่จะพิจารณาในเรื่องนี้แล้ว นอกจากนั้นยังได้มีการเสนอสหรัฐฯ ไปอีกว่าหลังจากที่ไทยและสหรัฐฯ ได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมทางการพาณิชย์ (JCC) ขึ้นมา และลงนามในบันทึกความร่วมมือประมาณ 10 ปีที่แล้วจนถึงปัจจุบันนี้ ยังไม่เคยมีการประชุมร่วมกันเลยแม้แต่ครั้งเดียว จึงได้เสนอให้สหรัฐฯ พิจารณาว่าควรจะมีการประชุมกันขึ้นโดยสหรัฐฯ เห็นด้วยและกำหนดว่าจะมีการประชุมกันในปีหน้า ซึ่งไทยจะใช้เวทีการประชุมนี้นำปัญหาต่างๆ ที่มีอยู่ขึ้นหารือกับสหรัฐฯ ทั้งในระดับคณะทำงานและรัฐมนตรี โดยจะมีทั้งกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐ และ USTR ด้วย เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาต่อไป
นายอดิศัยได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ไทยได้เสนอตัวขอเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระหว่าง USTR กับ ประเทศในกลุ่มอาเซียน ประมาณเดือนมีนาคม เพื่อกระชับความสัมพันธ์ และสร้างความแข็งแกร่งให้แก่กลุ่มประเทศในภูมิภาคนี้ นอกจากนี้ไทยยังได้ขอให้สหรัฐฯ พิจารณาในเรื่องของสินค้าไก่ไทย ที่ยังส่งเข้าไปขายในสหรัฐฯ ไม่ได้เพราะมีความเข้มงวดเรื่องมาตรฐาน ส่วนปลาทูน่ากระป๋องที่สหรัฐได้ให้สิทธิพิเศษแก่กลุ่มประเทศในอเมริกาใต้นั้น จะกระทบกับการส่งออกของไทยและกลุ่มอาเซียนมาก จึงขอให้ช่วยพิจารณาหาทางช่วยเหลือ
ส่วนเรื่องที่สหรัฐฯ ขอไทย คือ เรื่องที่ไทยระบุให้มีใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า สำหรับสินค้าที่จะนำเข้าประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดความล่าช้าในขั้นตอนการนำเข้า เนื่องจากสินค้าบางตัวมีชิ้นส่วนที่มาจากหลายแหล่งกำเนิดทำให้ต้องเสียเวลาในการตรวจสอบ ซึ่งไทยได้รับไว้พิจารณาเช่นกัน
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ตุลาคม 2544--
-ปส-
"เราได้ขอให้เขาช่วยพิจารณาดำเนินการให้ ซึ่งทาง USTR ก็ได้แสดงท่าทีเข้าใจและเห็นใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและรับปากว่าจะช่วยติดตามเรื่องนี้ให้" นายอดิศัยกล่าว นอกจากนี้ ไทยยังได้หารือกับสหรัฐฯในเรื่องข้าวว่า ไทยและสหรัฐฯต่างเป็นประเทศผู้ปลูกข้าวและไม่ควรที่จะมีการขายตัดราคาข้าวกัน เพราะหากสหรัฐฯขายข้าวตัดราคาจะทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกตกต่ำลงมาก และจะกระทบกับราคาข้าวของเกษตรกรภายในประเทศ พร้อมกันนี้ได้เสนออีกว่าขณะนี้ไทยได้มีการเจรจาในเรื่องข้าวกับประเทศผู้ผลิตข้าวแล้ว 2 - 3 ราย ซึ่งประเทศเหล่านั้นต่างก็เห็นด้วย และทางสหรัฐฯก็รับที่จะพิจารณาในเรื่องนี้แล้ว นอกจากนั้นยังได้มีการเสนอสหรัฐฯ ไปอีกว่าหลังจากที่ไทยและสหรัฐฯ ได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมทางการพาณิชย์ (JCC) ขึ้นมา และลงนามในบันทึกความร่วมมือประมาณ 10 ปีที่แล้วจนถึงปัจจุบันนี้ ยังไม่เคยมีการประชุมร่วมกันเลยแม้แต่ครั้งเดียว จึงได้เสนอให้สหรัฐฯ พิจารณาว่าควรจะมีการประชุมกันขึ้นโดยสหรัฐฯ เห็นด้วยและกำหนดว่าจะมีการประชุมกันในปีหน้า ซึ่งไทยจะใช้เวทีการประชุมนี้นำปัญหาต่างๆ ที่มีอยู่ขึ้นหารือกับสหรัฐฯ ทั้งในระดับคณะทำงานและรัฐมนตรี โดยจะมีทั้งกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐ และ USTR ด้วย เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาต่อไป
นายอดิศัยได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ไทยได้เสนอตัวขอเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระหว่าง USTR กับ ประเทศในกลุ่มอาเซียน ประมาณเดือนมีนาคม เพื่อกระชับความสัมพันธ์ และสร้างความแข็งแกร่งให้แก่กลุ่มประเทศในภูมิภาคนี้ นอกจากนี้ไทยยังได้ขอให้สหรัฐฯ พิจารณาในเรื่องของสินค้าไก่ไทย ที่ยังส่งเข้าไปขายในสหรัฐฯ ไม่ได้เพราะมีความเข้มงวดเรื่องมาตรฐาน ส่วนปลาทูน่ากระป๋องที่สหรัฐได้ให้สิทธิพิเศษแก่กลุ่มประเทศในอเมริกาใต้นั้น จะกระทบกับการส่งออกของไทยและกลุ่มอาเซียนมาก จึงขอให้ช่วยพิจารณาหาทางช่วยเหลือ
ส่วนเรื่องที่สหรัฐฯ ขอไทย คือ เรื่องที่ไทยระบุให้มีใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า สำหรับสินค้าที่จะนำเข้าประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดความล่าช้าในขั้นตอนการนำเข้า เนื่องจากสินค้าบางตัวมีชิ้นส่วนที่มาจากหลายแหล่งกำเนิดทำให้ต้องเสียเวลาในการตรวจสอบ ซึ่งไทยได้รับไว้พิจารณาเช่นกัน
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ตุลาคม 2544--
-ปส-