1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
ถั่วเหลือง : การตกลงซื้อขายถั่วเหลืองระหว่างผู้นำเข้าและสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร
สืบเนื่องจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายถั่วเหลืองและพืชน้ำมันอื่น เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2543 ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรี (พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์) ประธานคณะกรรมการฯ มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประชาสัมพันธ์และแจ้งให้สหกรณ์ผู้ปลูกถั่วเหลืองรับทราบมาตรการที่ให้ผู้นำเข้ารับซื้อถั่วเหลืองจากเกษตรกรในราคาขั้นต่ำที่กำหนดและประสานงานกับผู้นำเข้าให้ออกไปรับซื้อ ณ แหล่งผลิตของสมาชิกโดยตรง นั้น
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายถั่วเหลืองและพืชน้ำมันอื่น ได้จัดประชุมปรึกษาหารือระหว่างกลุ่มผู้นำเข้าและสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองเพื่อเจรจาหาข้อตกลงในการซื้อขายรวม 3 ครั้ง โดยภาคราชการ ประกอบด้วย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ และกรมการค้าภายใน ส่วนผู้นำเข้าทั้ง 6 กลุ่ม ประกอบด้วย สมาคมผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองและรำข้าว สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร สมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อเพื่อการส่งออก สมาคมปศุสัตว์ไทยและสมาคมส่งเสริมผู้ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ สำหรับสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตรแม่แตง จำกัด สหกรณ์การเกษตรแม่ริม จำกัด สหกรณ์การเกษตรสันป่าตอง จำกัด สหกรณ์นิคมลานสัก จำกัด สหกรณ์นิคมทับเสลา จำกัด สหกรณ์เมืองพิชัย จำกัด และประธานกลุ่มผู้ปลูกถั่วเหลือง จังหวัดสุโขทัย
ผลการประชุมสรุปได้ว่า สมาคมผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองและรำข้าว ซึ่งเป็นกลุ่มผู้รับซื้อรายใหญ่ยินดีให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรเป็นตัวแทนของสมาคมเพื่อรับซื้อรวบรวม ถั่วเหลืองจากเกษตรกร แล้วจัดส่งให้กับโรงงาน โดยสมาคมออกค่าใช้จ่ายในด้านบริหารการจัดการกิโลกรัมละ 0.25 บาท และค่าขนส่งให้ หรือสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรทำหน้าที่รวบรวมสินค้าจากสมาชิกจัดส่งถึงโรงงานจะได้รับกิโลกรัมละ 11.00 บาท ทั้งนี้ ราคาสินค้าเป็นไปตามมาตร-ฐานที่กำหนด สำหรับผู้นำเข้าอีก 5 กลุ่ม ยินดีรับซื้อถั่วเหลืองจากสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองโดยตรงเช่นกัน ทั้งนี้ ให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรประสานงานมายังกลุ่มผู้นำเข้าทั้ง 6 กลุ่มได้ตลอดเวลา
ปาล์มน้ำมัน : แผนพัฒนาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ปี 2543-2549
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในฐานะกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายถั่วเหลืองและพืชน้ำมันอื่น ซึ่งมี ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรี (พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์) เป็นประธาน ได้นำแผนพัฒนาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ปี 2543-2549 ซึ่งผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการฯ แล้ว เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง และในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2543 ที่ประชุมมีมติอนุมัติแผนพัฒนาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ปี 2543-2549 โดยแผนดังกล่าวมีระยะเวลาดำเนินการ 7 ปี (พ.ศ. 2543-2549) งบประมาณดำเนินการทั้งสิ้น 4,161.534 ล้านบาท โดยจำแนกเป็นงบประมาณจ่ายขาดให้เกษตรกร เป็นเงิน 2,774 ล้านบาท และงบประมาณของส่วนราชการ 1,387.534 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบเงินทุนหมุนเวียน จำนวน 596 ล้านบาท เงินกู้ เอดีบี สร้างโรงงานสกัดน้ำมันของกลุ่มเกษตรกรของกรมส่งเสริมสหกรณ์ จำนวน 300 ล้านบาท และงบดำเนินการ จำนวน 491.534 ล้านบาท สาระสำคัญของแผนมีดังนี้
1. วัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตให้แข่งขันด้านราคาได้อย่างถาวรภายใต้ระบบการค้าเสรี ส่งเสริมให้มีการประสานผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างเกษตรกรและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งสร้างระบบที่ทำให้อุตสาหกรรมมีรายได้อย่างยั่งยืนไม่เป็นภาระของรัฐในระยะยาว ลดความสูญเสียจากการใช้ทรัพยากรการผลิตที่ไม่เหมาะสมและขาดประสิทธิภาพ และสามารถลดการนำเข้าน้ำมันปาล์มและน้ำมันพืชอื่นจากต่างประเทศ
2. เป้าหมายเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ผลปาล์มสดจาก 2.525 ตัน/ปี เป็น 3 ตัน/ปี และเพิ่มคุณภาพด้านน้ำมันจากร้อยละ 17 เป็นร้อยละ 19 เมื่อสิ้นสุดแผน ลดพื้นที่ปลูกปาล์มนอกเขตเหมาะสมปลูก 157,000 ไร่ ส่วนเขตเหมาะสมปลูกดำเนินการปลูกปาล์มพันธุ์ดีทดแทนสวนปาล์มเก่าที่ยังไม่ถึงอายุปลูกทดแทน อีกทั้งให้มีการปลูกในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการปลูกปาล์มเท่านั้น โดยจะมีพื้นที่ปลูกปาล์มประมาณ 2 ล้านไร่ เมื่อสิ้นสุดแผนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทั้งระบบให้ครบวงจร
3. แนวทางการพัฒนา มีดังนี้
3.1 เพิ่มขีดความสามารถในการผลิต โดยการผลิตพันธุ์ดี การส่งเสริมและพัฒนา สวนปาล์มและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
3.2 พัฒนาทรัพยากรและองค์กรเกษตรโดยพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร และส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกร
3.3 การวิจัยและพัฒนาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม โดยปรับปรุงพันธุ์ดีให้ผลผลิตสูงและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ปลูก พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการใช้ประโยชน์ วิจัยและศึกษาศักยภาพการผลิตของอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากน้ำมันปาล์ม และการนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ประโยชน์
4. การจัดตั้งองค์กรรับผลิตชอบเฉพาะเรื่องปาล์มน้ำมัน จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มในแหล่งผลิตและตั้งอนุกรรมการ ภายใต้คณะกรรมการนโยบายถั่วเหลืองและพืชน้ำมันอื่นเพื่อกำกับดูแลติดตามและประเมินผลการดำเนินการ
5. แผนงาน/โครงการ แผนงานด้านการผลิต ประกอบด้วย แผนเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต 6 โครงการ แผนปรับปรุงองค์กรบริหาร 2 โครงการ และแผนวิจัยและพัฒนาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม 4 โครงการ แผนงานด้านการตลาด ประกอบด้วย แผน-พัฒนาระบบตลาด 2 โครงการ แผนพัฒนาระบบสารสนเทศปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม 1 โครงการ และแผนงานด้านการแปรรูปประกอบด้วย แผนเพิ่มประสิทธิภาพการแปรรูป 2 โครงการ
ฝ้าย : ข้อตกลงการรับซื้อฝ้าย ปี 2543/44 ไม่สดใส
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2542 ยกเว้นอากรขาเข้าฝ้ายและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้นำเข้าต้องรับซื้อฝ้ายในประเทศในปริมาณและราคาที่เหมาะสม หากผู้นำเข้าไม่ปฏิบัติตาม ให้ปรับอัตราอากรกลับไปอยู่ระดับเดิม คือ ร้อยละ 5 และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการดูแลรับซื้อฝ้ายเป็นผู้พิจารณาเรื่องดังกล่าว
ผลการดำเนินการในปี 2542/43
ได้กำหนดให้สมาคมอุตสาหกรรมฝ้ายไทยรับซื้อฝ้ายดอกจากเกษตรกร และสมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยรับซื้อฝ้ายปุยจากสมาคมอุตสาหกรรมฝ้ายไทยตามราคาและคุณภาพที่กำหนด คือ กำหนดราคาฝ้ายปุยและฝ้ายดอก ตามราคาฝ้ายปุยซื้อขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ค ดังนี้ ราคาขั้นต่ำ ณ หน้าโรงงาน ฝ้ายปุยคุณภาพ T3 กิโลกรัมละ 49.69 บาท และฝ้ายดอกคุณภาพชั้น 1 กิโลกรัมละ 16.23 บาท
เกษตรกรได้รับราคาฝ้ายดอก ณ ไร่นา เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.44 บาท (ตัดราคาของต้นฤดูและปลายฤดู ซึ่งฝ้ายมีคุณภาพต่ำ ) และการรับซื้อฝ้ายประสบปัญหาด้านคุณภาพและการกำหนดเกณฑ์การตรวจสอบคุณภาพฝ้าย
การดำเนินการในปี 2543/44 >
คณะกรรมการดูแลรับซื้อฝ้าย ซึ่งมีเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเป็นประธาน ได้จัดให้มีการประชุมหลายครั้ง ซึ่งในคราวประชุม ครั้งที่ 4/2543 เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2543 ได้พิจารณาเรื่องข้อตกลงการรับซื้อฝ้าย ปี 2543/44 โดยให้ทั้ง 2 สมาคม ทำความตกลงเรื่องการรับซื้อฝ้ายไทย
สมาคมอุตสาหกรรมฝ้ายไทยเสนอดังนี้
1. ให้แต่งตั้งคณะกรรมการกลางเพื่อพิจารณากำหนดราคาฝ้ายให้เคลื่อนไหวตามราคาตลาดต่างประเทศ โดยที่คณะกรรมการดูแลรับซื้อฝ้าย ได้มีมติให้กำหนดราคาฝ้ายดอกชั้น 1 กิโลกรัมละ 16.80 บาท ซึ่งได้พิจารณาจากต้นทุนการผลิตของเกษตรกรบวกกำไรมาตรฐาน
2. ด้านคุณภาพฝ้าย สมาคมเสนอทางเลือกการตรวจวัดคุณภาพ คือ ใช้กล่องมาตรฐานฝ้ายที่จัดทำโดยหน่วยงานกลาง หรือตาม Universal Standard ที่ใช้เครื่อง HVI ตรวจสอบ แต่ต้องทำความตกลงเรื่องช่วงของคุณภาพ คือ T3 เทียบกับ Middling 31-34
3. การคำนวณราคาฝ้ายดอกเป็นฝ้ายปุย สมาคมเสนอราคาขั้นต่ำกิโลกรัมละ 53.00 บาท
ส่วนสมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยเห็นว่า
1. การกำหนดราคาให้เป็นไปตามกลไกตลาด โดยไม่ต้องมีคณะกรรมการกลางเป็นผู้กำหนดราคา
2. คุณภาพ สมาคมยืนยันว่าตาม Universal Standard ฝ้ายปุยไทยคุณภาพ T3 เทียบเท่ากับ Middling 31 เท่านั้น
3. ราคาขั้นต่ำฝ้ายปุยควรเป็นกิโลกรัมละ 51.00 บาท
4. สมาคมเสนอจะรับซื้อฝ้ายดอกจากเกษตรกร โดยไม่ผ่านสมาคมอุตสาหกรรมฝ้ายไทย
จากการที่สมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของสมาคมอุตสาห-กรรมฝ้ายไทยในทุกประเด็น ส่วนราชการจึงได้หารือกันและมีมติดังนี้
1. ให้สมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยรับซื้อผลผลิตฝ้ายดอกทั้งชนิดใยยาวและใยสั้นจากเกษตรกรทั้งหมด และให้สมาคมฯ ทำสัญญารับซื้อผลผลิตกับหน่วยงานราชการ
2. กำหนดราคาฝ้ายดอกขั้นต่ำที่เกษตรกรขายได้ ชั้น 1 กิโลกรัมละ 16.80 บาท และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดราคารับซื้อฝ้ายดอกชั้น 2 ชั้น 3 และฝ้ายดอกชนิดใยสั้น
3. ให้หน่วยงานราชการกำหนดจุดรับซื้อที่เหมาะสม เพื่อให้สมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย เข้าไปดำเนินการรับซื้อ ณ จุดดังกล่าว
4. หากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงและลงนามรับซื้อฝ้ายแล้ว ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับอากรขาเข้ากลับสู่ระดับเดิม คือ ร้อยละ 5
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 40 ประจำวันที่ 9-15 ต.ค. 2543--
-สส-
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
ถั่วเหลือง : การตกลงซื้อขายถั่วเหลืองระหว่างผู้นำเข้าและสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร
สืบเนื่องจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายถั่วเหลืองและพืชน้ำมันอื่น เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2543 ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรี (พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์) ประธานคณะกรรมการฯ มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประชาสัมพันธ์และแจ้งให้สหกรณ์ผู้ปลูกถั่วเหลืองรับทราบมาตรการที่ให้ผู้นำเข้ารับซื้อถั่วเหลืองจากเกษตรกรในราคาขั้นต่ำที่กำหนดและประสานงานกับผู้นำเข้าให้ออกไปรับซื้อ ณ แหล่งผลิตของสมาชิกโดยตรง นั้น
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายถั่วเหลืองและพืชน้ำมันอื่น ได้จัดประชุมปรึกษาหารือระหว่างกลุ่มผู้นำเข้าและสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองเพื่อเจรจาหาข้อตกลงในการซื้อขายรวม 3 ครั้ง โดยภาคราชการ ประกอบด้วย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ และกรมการค้าภายใน ส่วนผู้นำเข้าทั้ง 6 กลุ่ม ประกอบด้วย สมาคมผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองและรำข้าว สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร สมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อเพื่อการส่งออก สมาคมปศุสัตว์ไทยและสมาคมส่งเสริมผู้ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ สำหรับสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตรแม่แตง จำกัด สหกรณ์การเกษตรแม่ริม จำกัด สหกรณ์การเกษตรสันป่าตอง จำกัด สหกรณ์นิคมลานสัก จำกัด สหกรณ์นิคมทับเสลา จำกัด สหกรณ์เมืองพิชัย จำกัด และประธานกลุ่มผู้ปลูกถั่วเหลือง จังหวัดสุโขทัย
ผลการประชุมสรุปได้ว่า สมาคมผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองและรำข้าว ซึ่งเป็นกลุ่มผู้รับซื้อรายใหญ่ยินดีให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรเป็นตัวแทนของสมาคมเพื่อรับซื้อรวบรวม ถั่วเหลืองจากเกษตรกร แล้วจัดส่งให้กับโรงงาน โดยสมาคมออกค่าใช้จ่ายในด้านบริหารการจัดการกิโลกรัมละ 0.25 บาท และค่าขนส่งให้ หรือสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรทำหน้าที่รวบรวมสินค้าจากสมาชิกจัดส่งถึงโรงงานจะได้รับกิโลกรัมละ 11.00 บาท ทั้งนี้ ราคาสินค้าเป็นไปตามมาตร-ฐานที่กำหนด สำหรับผู้นำเข้าอีก 5 กลุ่ม ยินดีรับซื้อถั่วเหลืองจากสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองโดยตรงเช่นกัน ทั้งนี้ ให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรประสานงานมายังกลุ่มผู้นำเข้าทั้ง 6 กลุ่มได้ตลอดเวลา
ปาล์มน้ำมัน : แผนพัฒนาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ปี 2543-2549
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในฐานะกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายถั่วเหลืองและพืชน้ำมันอื่น ซึ่งมี ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรี (พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์) เป็นประธาน ได้นำแผนพัฒนาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ปี 2543-2549 ซึ่งผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการฯ แล้ว เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง และในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2543 ที่ประชุมมีมติอนุมัติแผนพัฒนาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ปี 2543-2549 โดยแผนดังกล่าวมีระยะเวลาดำเนินการ 7 ปี (พ.ศ. 2543-2549) งบประมาณดำเนินการทั้งสิ้น 4,161.534 ล้านบาท โดยจำแนกเป็นงบประมาณจ่ายขาดให้เกษตรกร เป็นเงิน 2,774 ล้านบาท และงบประมาณของส่วนราชการ 1,387.534 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบเงินทุนหมุนเวียน จำนวน 596 ล้านบาท เงินกู้ เอดีบี สร้างโรงงานสกัดน้ำมันของกลุ่มเกษตรกรของกรมส่งเสริมสหกรณ์ จำนวน 300 ล้านบาท และงบดำเนินการ จำนวน 491.534 ล้านบาท สาระสำคัญของแผนมีดังนี้
1. วัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตให้แข่งขันด้านราคาได้อย่างถาวรภายใต้ระบบการค้าเสรี ส่งเสริมให้มีการประสานผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างเกษตรกรและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งสร้างระบบที่ทำให้อุตสาหกรรมมีรายได้อย่างยั่งยืนไม่เป็นภาระของรัฐในระยะยาว ลดความสูญเสียจากการใช้ทรัพยากรการผลิตที่ไม่เหมาะสมและขาดประสิทธิภาพ และสามารถลดการนำเข้าน้ำมันปาล์มและน้ำมันพืชอื่นจากต่างประเทศ
2. เป้าหมายเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ผลปาล์มสดจาก 2.525 ตัน/ปี เป็น 3 ตัน/ปี และเพิ่มคุณภาพด้านน้ำมันจากร้อยละ 17 เป็นร้อยละ 19 เมื่อสิ้นสุดแผน ลดพื้นที่ปลูกปาล์มนอกเขตเหมาะสมปลูก 157,000 ไร่ ส่วนเขตเหมาะสมปลูกดำเนินการปลูกปาล์มพันธุ์ดีทดแทนสวนปาล์มเก่าที่ยังไม่ถึงอายุปลูกทดแทน อีกทั้งให้มีการปลูกในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการปลูกปาล์มเท่านั้น โดยจะมีพื้นที่ปลูกปาล์มประมาณ 2 ล้านไร่ เมื่อสิ้นสุดแผนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทั้งระบบให้ครบวงจร
3. แนวทางการพัฒนา มีดังนี้
3.1 เพิ่มขีดความสามารถในการผลิต โดยการผลิตพันธุ์ดี การส่งเสริมและพัฒนา สวนปาล์มและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
3.2 พัฒนาทรัพยากรและองค์กรเกษตรโดยพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร และส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกร
3.3 การวิจัยและพัฒนาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม โดยปรับปรุงพันธุ์ดีให้ผลผลิตสูงและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ปลูก พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการใช้ประโยชน์ วิจัยและศึกษาศักยภาพการผลิตของอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากน้ำมันปาล์ม และการนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ประโยชน์
4. การจัดตั้งองค์กรรับผลิตชอบเฉพาะเรื่องปาล์มน้ำมัน จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มในแหล่งผลิตและตั้งอนุกรรมการ ภายใต้คณะกรรมการนโยบายถั่วเหลืองและพืชน้ำมันอื่นเพื่อกำกับดูแลติดตามและประเมินผลการดำเนินการ
5. แผนงาน/โครงการ แผนงานด้านการผลิต ประกอบด้วย แผนเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต 6 โครงการ แผนปรับปรุงองค์กรบริหาร 2 โครงการ และแผนวิจัยและพัฒนาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม 4 โครงการ แผนงานด้านการตลาด ประกอบด้วย แผน-พัฒนาระบบตลาด 2 โครงการ แผนพัฒนาระบบสารสนเทศปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม 1 โครงการ และแผนงานด้านการแปรรูปประกอบด้วย แผนเพิ่มประสิทธิภาพการแปรรูป 2 โครงการ
ฝ้าย : ข้อตกลงการรับซื้อฝ้าย ปี 2543/44 ไม่สดใส
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2542 ยกเว้นอากรขาเข้าฝ้ายและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้นำเข้าต้องรับซื้อฝ้ายในประเทศในปริมาณและราคาที่เหมาะสม หากผู้นำเข้าไม่ปฏิบัติตาม ให้ปรับอัตราอากรกลับไปอยู่ระดับเดิม คือ ร้อยละ 5 และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการดูแลรับซื้อฝ้ายเป็นผู้พิจารณาเรื่องดังกล่าว
ผลการดำเนินการในปี 2542/43
ได้กำหนดให้สมาคมอุตสาหกรรมฝ้ายไทยรับซื้อฝ้ายดอกจากเกษตรกร และสมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยรับซื้อฝ้ายปุยจากสมาคมอุตสาหกรรมฝ้ายไทยตามราคาและคุณภาพที่กำหนด คือ กำหนดราคาฝ้ายปุยและฝ้ายดอก ตามราคาฝ้ายปุยซื้อขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ค ดังนี้ ราคาขั้นต่ำ ณ หน้าโรงงาน ฝ้ายปุยคุณภาพ T3 กิโลกรัมละ 49.69 บาท และฝ้ายดอกคุณภาพชั้น 1 กิโลกรัมละ 16.23 บาท
เกษตรกรได้รับราคาฝ้ายดอก ณ ไร่นา เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.44 บาท (ตัดราคาของต้นฤดูและปลายฤดู ซึ่งฝ้ายมีคุณภาพต่ำ ) และการรับซื้อฝ้ายประสบปัญหาด้านคุณภาพและการกำหนดเกณฑ์การตรวจสอบคุณภาพฝ้าย
การดำเนินการในปี 2543/44 >
คณะกรรมการดูแลรับซื้อฝ้าย ซึ่งมีเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเป็นประธาน ได้จัดให้มีการประชุมหลายครั้ง ซึ่งในคราวประชุม ครั้งที่ 4/2543 เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2543 ได้พิจารณาเรื่องข้อตกลงการรับซื้อฝ้าย ปี 2543/44 โดยให้ทั้ง 2 สมาคม ทำความตกลงเรื่องการรับซื้อฝ้ายไทย
สมาคมอุตสาหกรรมฝ้ายไทยเสนอดังนี้
1. ให้แต่งตั้งคณะกรรมการกลางเพื่อพิจารณากำหนดราคาฝ้ายให้เคลื่อนไหวตามราคาตลาดต่างประเทศ โดยที่คณะกรรมการดูแลรับซื้อฝ้าย ได้มีมติให้กำหนดราคาฝ้ายดอกชั้น 1 กิโลกรัมละ 16.80 บาท ซึ่งได้พิจารณาจากต้นทุนการผลิตของเกษตรกรบวกกำไรมาตรฐาน
2. ด้านคุณภาพฝ้าย สมาคมเสนอทางเลือกการตรวจวัดคุณภาพ คือ ใช้กล่องมาตรฐานฝ้ายที่จัดทำโดยหน่วยงานกลาง หรือตาม Universal Standard ที่ใช้เครื่อง HVI ตรวจสอบ แต่ต้องทำความตกลงเรื่องช่วงของคุณภาพ คือ T3 เทียบกับ Middling 31-34
3. การคำนวณราคาฝ้ายดอกเป็นฝ้ายปุย สมาคมเสนอราคาขั้นต่ำกิโลกรัมละ 53.00 บาท
ส่วนสมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยเห็นว่า
1. การกำหนดราคาให้เป็นไปตามกลไกตลาด โดยไม่ต้องมีคณะกรรมการกลางเป็นผู้กำหนดราคา
2. คุณภาพ สมาคมยืนยันว่าตาม Universal Standard ฝ้ายปุยไทยคุณภาพ T3 เทียบเท่ากับ Middling 31 เท่านั้น
3. ราคาขั้นต่ำฝ้ายปุยควรเป็นกิโลกรัมละ 51.00 บาท
4. สมาคมเสนอจะรับซื้อฝ้ายดอกจากเกษตรกร โดยไม่ผ่านสมาคมอุตสาหกรรมฝ้ายไทย
จากการที่สมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของสมาคมอุตสาห-กรรมฝ้ายไทยในทุกประเด็น ส่วนราชการจึงได้หารือกันและมีมติดังนี้
1. ให้สมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยรับซื้อผลผลิตฝ้ายดอกทั้งชนิดใยยาวและใยสั้นจากเกษตรกรทั้งหมด และให้สมาคมฯ ทำสัญญารับซื้อผลผลิตกับหน่วยงานราชการ
2. กำหนดราคาฝ้ายดอกขั้นต่ำที่เกษตรกรขายได้ ชั้น 1 กิโลกรัมละ 16.80 บาท และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดราคารับซื้อฝ้ายดอกชั้น 2 ชั้น 3 และฝ้ายดอกชนิดใยสั้น
3. ให้หน่วยงานราชการกำหนดจุดรับซื้อที่เหมาะสม เพื่อให้สมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย เข้าไปดำเนินการรับซื้อ ณ จุดดังกล่าว
4. หากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงและลงนามรับซื้อฝ้ายแล้ว ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับอากรขาเข้ากลับสู่ระดับเดิม คือ ร้อยละ 5
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 40 ประจำวันที่ 9-15 ต.ค. 2543--
-สส-