คุณถาม : ปี 2543 ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไร
EXIM ตอบ : จากรายงานการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของ The World Economic Forum (WEF)
เมื่อเดือนกันยายน 2543 ปรากฏว่า ประเทศไทยถูกลดอันดับความสามารถในการแข่งขันจากอันดับที่ 30
ในปี 2542 มาอยู่อันดับที่ 31 ในปี 2543 สาเหตุสำคัญที่ทำให้ไทยถูกลดอันดับความสามารถในการแข่งขัน
เนื่องจาก WEF ได้ให้น้ำหนักมากขึ้นกับปัจจัยด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการคำนวณความ
สามารถในการแข่งขัน ทำให้หลายประเทศที่ไม่ได้เป็นผู้นำทางเทคโนโลยีถูกลดอันดับความสามารถใน
การแข่งขันลง
อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศไทยมีความคืบหน้ามากในการดำเนินนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจ ทำให้ไทย
ถูกลดอันดับลง เพียง 1 อันดับ เช่นเดียวกับสิงคโปร์ ซึ่งถูกลดจากอันดับที่ 1 ในปี 2542 มาอยู่อันดับที่
2 ในปี 2543 ขณะที่ประเทศเพื่อน บ้านของไทยในภูมิภาคอาเซียนอีก 4 ประเทศ ที่ถูกจัดอันดับในครั้ง
นี้ด้วย ล้วนถูกลดอันดับความสามารถในการแข่งขันลงค่อนข้างมาก ดังนี้
* มาเลเซีย ลดจากอันดับที่ 16 ใน 2542 มาอยู่อันดับที่ 25 ในปี 2543
* ฟิลิปปินส์ ลดจากอันดับที่ 33 ในปี 2542 มาอยู่อันดับที่ 37 ในปี 2543
* อินโดนีเซีย ลดจากอันดับที่ 37 ในปี 2542 มาอยู่อันดับที่ 44 ในปี 2543
* เวียดนาม ลดจากอันดับที่ 48 ในปี 2542 มาอยู่อันดับที่ 53 ในปี 2543
สำหรับประเทศพัฒนาแล้วที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและได้รับการเลื่อนอันดับความสามารถในการ
แข่งขันให้ดีขึ้น ที่สำคัญคือ สหรัฐอเมริกา เลื่อนจากอันดับ 2 ในปี 2542 เป็นอันดับ 1 ในปี 2543
ส่วนญี่ปุ่นลดจากอันดับที่ 14 ในปี 2542 มาอยู่อันดับที่ 21 ในปี 2543
คุณถาม : สินค้าของไทยรายการใดบ้างที่ครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับหนึ่งใน EU
EXIM ตอบ : มีสินค้าของไทยหลายรายการที่สามารถครองส่วนแบ่งตลาดในสหภาพยุโรป (European Union: EU)
มากเป็นอันดับหนึ่ง แม้ว่าโดยรวมแล้วไทยมิได้เป็นแหล่งนำเข้าในลำดับต้นๆ ของ EU (ไทยเป็นแหล่ง
นำเข้าลำดับที่ 21 ของ EU) และสินค้าไทยมีส่วนแบ่งตลาดโดยรวมใน EU เพียงร้อยละ 0.5 เท่านั้น
สินค้าไทยที่ครองส่วนแบ่งตลาดใน EU มากเป็นอันดับหนึ่ง ได้แก่
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไทยเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังรายใหญ่ของโลก โดยมี EU เป็นผู้ซื้อราย
ใหญ่ที่สุด ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทยครองส่วนแบ่งตลาดใน EU สูงถึงร้อยละ 78 ของมูลค่านำ
เข้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทั้งหมดของ EU ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2543
ยางธรรมชาติ ปัจจุบันไทยสามารถครองส่วนแบ่งตลาดยางธรรมชาติใน EU ได้มากเป็นอันดับหนึ่ง
แทนที่มาเลเซีย หลังจากที่มาเลเซียมีนโยบายลดการผลิตยางธรรมชาติลง ในช่วง 2 เดือนแรกของปี
2543 ไทยมีส่วนแบ่งตลาดยางธรรมชาติใน EU ประมาณร้อยละ 31 ของมูลค่านำเข้ายางธรรมชาติ
ทั้งหมดของ EU เทียบกับส่วนแบ่งตลาดของมาเลเซีย ร้อยละ 23 และอินโดนีเซียร้อยละ 12
พลอย ไทยมีส่วนแบ่งตลาดพลอยใน EU ราวร้อยละ 23 ของมูลค่านำเข้าพลอยทั้งหมดของ EU
ในช่วง 2 เดือน แรกของปี 2543 คู่แข่งสำคัญของไทย คือ สวิตเซอร์แลนด์ มีส่วนแบ่งตลาดประมาณ
ร้อยละ 20
คุณถาม : นครรัฐวาติกันมีฐานะเป็นประเทศหรือไม่
EXIM ตอบ : นครรัฐวาติกัน (Vatican City) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า "Holy See" มีฐานะเป็นประเทศ เนื่องจากมี
คุณสมบัติครบถ้วนตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ (ตามอนุสัญญา Montevideo) ซึ่งได้กำหนดองค์
ประกอบของความเป็นประเทศไว้ 4 ประการ คือ
1. ดินแดนที่มีเขตกำหนดอย่างแน่ชัด นครรัฐวาติกันตั้งอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี มีเนื้อที่เพียง 0.44
ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 271.75 ไร่ เท่านั้น ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก
2. ประชากรมีถิ่นที่อยู่อย่างถาวร ประชากรของวาติกัน ซึ่งมีเพียง 880 คน มีถิ่นที่อยู่ที่แน่นอน (ต่างจาก
กรณีของพวกยิปซีซี่งเป็นพวกเร่ร่อน จึงไม่ถือว่าเป็นประเทศ)
3. รัฐบาล นครรัฐวาติกันมีรัฐบาลปกครองตนเอง โดยมีพระสันตะปาปา John Paul ที่ 2 ผู้นำของ
ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นประมุขของประเทศ (Chief of State) และ Cardinal
Angelo Sodano เป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล (Head of Government)
4. เอกราชอธิปไตย สามารถดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศอื่นได้ นครรัฐวาติกันมีอิสระในการปกครอง
ตนเองสามารถที่จะทำสนธิสัญญาและส่งทูตไปยังประเทศอื่นได้
วาติกันมีการดำเนินธุรกิจทั้งในและระหว่างประเทศน้อยมาก รายได้หลักของประเทศมาจากเงิน
บริจาคจากชาวโรมันคาทอลิกทั่วโลก การจำหน่ายแสตมป์ การขายของที่ระลึก การเก็บค่าธรรมเนียม
เข้าชมพิพิธภัณฑ์ และการขายหนังสือและสิ่งพิมพ์
ในปี 2541 ไทยเริ่มมีการค้ากับนครรัฐวาติกัน โดยไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้า แต่ในช่วง 8 เดือนแรก
ของปี 2543 ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ากับนครรัฐวาติกันสูงถึง 9.7 ล้านบาท เนื่องจากไทยนำเข้าสินค้า
ประเภทโมเสค สินแร่โลหะ อื่นๆ และเศษโลหะจากนครรัฐวาติกัน ส่วนสินค้าที่ไทยส่งออกไปจำหน่ายยัง
นครรัฐวาติกัน ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ประทีปโคมไฟ มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
เคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์พลาสติก
คุณถาม : มาตรฐาน VDA 6.1 คืออะไร
EXIM ตอบ : VDA 6.1 คือ มาตรฐานรับรองคุณภาพยานยนต์และชิ้นส่วนที่กำหนดขึ้นโดยสมาคมยานยนต์ Verbrand der
Automobilindustrie e.V. (VDA) ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนรายใหญ่ของ
เยอรมนี เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการกำหนดคุณภาพของยานยนต์และชิ้นส่วนทั้งที่ผลิตในเยอรมมี และที่นำ
เข้าจากต่างประเทศ เพื่อความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ยานยนต์ในเยอรมนี เนื่องจากปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์
และชิ้นส่วนมีการวิจัยและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการผลิตสินค้าใหม่ๆ ออกสู่ตลาดอยู่เสมอ
มาตรฐาน VDA 6.1 พัฒนามาจากระบบ ISO 9000 มีสาระสำคัญแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่
เกี่ยวกับการจัดการ ในกระบวนการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วน และส่วนที่เกี่ยวกับผลผลิตและขั้นตอนการผลิต
ผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน VDA 6.1 ทีหน้าที่ต้องรับผิดชอบหากยานยนต์
และชิ้นส่วนที่ตนผลิตได้ เกิดความบกพร่องและอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ยานยนต์
ข้อมูลจาก : ฝ่ายวิชาการและแผนงาน--จบ--
--Exim News ปีที่ 6 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนธันวาคม 2543--
-อน-
EXIM ตอบ : จากรายงานการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของ The World Economic Forum (WEF)
เมื่อเดือนกันยายน 2543 ปรากฏว่า ประเทศไทยถูกลดอันดับความสามารถในการแข่งขันจากอันดับที่ 30
ในปี 2542 มาอยู่อันดับที่ 31 ในปี 2543 สาเหตุสำคัญที่ทำให้ไทยถูกลดอันดับความสามารถในการแข่งขัน
เนื่องจาก WEF ได้ให้น้ำหนักมากขึ้นกับปัจจัยด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการคำนวณความ
สามารถในการแข่งขัน ทำให้หลายประเทศที่ไม่ได้เป็นผู้นำทางเทคโนโลยีถูกลดอันดับความสามารถใน
การแข่งขันลง
อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศไทยมีความคืบหน้ามากในการดำเนินนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจ ทำให้ไทย
ถูกลดอันดับลง เพียง 1 อันดับ เช่นเดียวกับสิงคโปร์ ซึ่งถูกลดจากอันดับที่ 1 ในปี 2542 มาอยู่อันดับที่
2 ในปี 2543 ขณะที่ประเทศเพื่อน บ้านของไทยในภูมิภาคอาเซียนอีก 4 ประเทศ ที่ถูกจัดอันดับในครั้ง
นี้ด้วย ล้วนถูกลดอันดับความสามารถในการแข่งขันลงค่อนข้างมาก ดังนี้
* มาเลเซีย ลดจากอันดับที่ 16 ใน 2542 มาอยู่อันดับที่ 25 ในปี 2543
* ฟิลิปปินส์ ลดจากอันดับที่ 33 ในปี 2542 มาอยู่อันดับที่ 37 ในปี 2543
* อินโดนีเซีย ลดจากอันดับที่ 37 ในปี 2542 มาอยู่อันดับที่ 44 ในปี 2543
* เวียดนาม ลดจากอันดับที่ 48 ในปี 2542 มาอยู่อันดับที่ 53 ในปี 2543
สำหรับประเทศพัฒนาแล้วที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและได้รับการเลื่อนอันดับความสามารถในการ
แข่งขันให้ดีขึ้น ที่สำคัญคือ สหรัฐอเมริกา เลื่อนจากอันดับ 2 ในปี 2542 เป็นอันดับ 1 ในปี 2543
ส่วนญี่ปุ่นลดจากอันดับที่ 14 ในปี 2542 มาอยู่อันดับที่ 21 ในปี 2543
คุณถาม : สินค้าของไทยรายการใดบ้างที่ครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับหนึ่งใน EU
EXIM ตอบ : มีสินค้าของไทยหลายรายการที่สามารถครองส่วนแบ่งตลาดในสหภาพยุโรป (European Union: EU)
มากเป็นอันดับหนึ่ง แม้ว่าโดยรวมแล้วไทยมิได้เป็นแหล่งนำเข้าในลำดับต้นๆ ของ EU (ไทยเป็นแหล่ง
นำเข้าลำดับที่ 21 ของ EU) และสินค้าไทยมีส่วนแบ่งตลาดโดยรวมใน EU เพียงร้อยละ 0.5 เท่านั้น
สินค้าไทยที่ครองส่วนแบ่งตลาดใน EU มากเป็นอันดับหนึ่ง ได้แก่
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไทยเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังรายใหญ่ของโลก โดยมี EU เป็นผู้ซื้อราย
ใหญ่ที่สุด ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของไทยครองส่วนแบ่งตลาดใน EU สูงถึงร้อยละ 78 ของมูลค่านำ
เข้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทั้งหมดของ EU ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2543
ยางธรรมชาติ ปัจจุบันไทยสามารถครองส่วนแบ่งตลาดยางธรรมชาติใน EU ได้มากเป็นอันดับหนึ่ง
แทนที่มาเลเซีย หลังจากที่มาเลเซียมีนโยบายลดการผลิตยางธรรมชาติลง ในช่วง 2 เดือนแรกของปี
2543 ไทยมีส่วนแบ่งตลาดยางธรรมชาติใน EU ประมาณร้อยละ 31 ของมูลค่านำเข้ายางธรรมชาติ
ทั้งหมดของ EU เทียบกับส่วนแบ่งตลาดของมาเลเซีย ร้อยละ 23 และอินโดนีเซียร้อยละ 12
พลอย ไทยมีส่วนแบ่งตลาดพลอยใน EU ราวร้อยละ 23 ของมูลค่านำเข้าพลอยทั้งหมดของ EU
ในช่วง 2 เดือน แรกของปี 2543 คู่แข่งสำคัญของไทย คือ สวิตเซอร์แลนด์ มีส่วนแบ่งตลาดประมาณ
ร้อยละ 20
คุณถาม : นครรัฐวาติกันมีฐานะเป็นประเทศหรือไม่
EXIM ตอบ : นครรัฐวาติกัน (Vatican City) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า "Holy See" มีฐานะเป็นประเทศ เนื่องจากมี
คุณสมบัติครบถ้วนตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ (ตามอนุสัญญา Montevideo) ซึ่งได้กำหนดองค์
ประกอบของความเป็นประเทศไว้ 4 ประการ คือ
1. ดินแดนที่มีเขตกำหนดอย่างแน่ชัด นครรัฐวาติกันตั้งอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี มีเนื้อที่เพียง 0.44
ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 271.75 ไร่ เท่านั้น ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก
2. ประชากรมีถิ่นที่อยู่อย่างถาวร ประชากรของวาติกัน ซึ่งมีเพียง 880 คน มีถิ่นที่อยู่ที่แน่นอน (ต่างจาก
กรณีของพวกยิปซีซี่งเป็นพวกเร่ร่อน จึงไม่ถือว่าเป็นประเทศ)
3. รัฐบาล นครรัฐวาติกันมีรัฐบาลปกครองตนเอง โดยมีพระสันตะปาปา John Paul ที่ 2 ผู้นำของ
ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นประมุขของประเทศ (Chief of State) และ Cardinal
Angelo Sodano เป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล (Head of Government)
4. เอกราชอธิปไตย สามารถดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศอื่นได้ นครรัฐวาติกันมีอิสระในการปกครอง
ตนเองสามารถที่จะทำสนธิสัญญาและส่งทูตไปยังประเทศอื่นได้
วาติกันมีการดำเนินธุรกิจทั้งในและระหว่างประเทศน้อยมาก รายได้หลักของประเทศมาจากเงิน
บริจาคจากชาวโรมันคาทอลิกทั่วโลก การจำหน่ายแสตมป์ การขายของที่ระลึก การเก็บค่าธรรมเนียม
เข้าชมพิพิธภัณฑ์ และการขายหนังสือและสิ่งพิมพ์
ในปี 2541 ไทยเริ่มมีการค้ากับนครรัฐวาติกัน โดยไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้า แต่ในช่วง 8 เดือนแรก
ของปี 2543 ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ากับนครรัฐวาติกันสูงถึง 9.7 ล้านบาท เนื่องจากไทยนำเข้าสินค้า
ประเภทโมเสค สินแร่โลหะ อื่นๆ และเศษโลหะจากนครรัฐวาติกัน ส่วนสินค้าที่ไทยส่งออกไปจำหน่ายยัง
นครรัฐวาติกัน ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ประทีปโคมไฟ มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
เคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์พลาสติก
คุณถาม : มาตรฐาน VDA 6.1 คืออะไร
EXIM ตอบ : VDA 6.1 คือ มาตรฐานรับรองคุณภาพยานยนต์และชิ้นส่วนที่กำหนดขึ้นโดยสมาคมยานยนต์ Verbrand der
Automobilindustrie e.V. (VDA) ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนรายใหญ่ของ
เยอรมนี เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการกำหนดคุณภาพของยานยนต์และชิ้นส่วนทั้งที่ผลิตในเยอรมมี และที่นำ
เข้าจากต่างประเทศ เพื่อความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ยานยนต์ในเยอรมนี เนื่องจากปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์
และชิ้นส่วนมีการวิจัยและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการผลิตสินค้าใหม่ๆ ออกสู่ตลาดอยู่เสมอ
มาตรฐาน VDA 6.1 พัฒนามาจากระบบ ISO 9000 มีสาระสำคัญแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่
เกี่ยวกับการจัดการ ในกระบวนการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วน และส่วนที่เกี่ยวกับผลผลิตและขั้นตอนการผลิต
ผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน VDA 6.1 ทีหน้าที่ต้องรับผิดชอบหากยานยนต์
และชิ้นส่วนที่ตนผลิตได้ เกิดความบกพร่องและอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ยานยนต์
ข้อมูลจาก : ฝ่ายวิชาการและแผนงาน--จบ--
--Exim News ปีที่ 6 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนธันวาคม 2543--
-อน-