CARICOM (Caribbean Community and Common Market) หรือ ประชาคมและตลาดร่วมแคริบเบียน โดยได้เริ่มพัฒนาขึ้นจากสมาคมการค้าเสรีแคริบเบียน (Caribbean Free Trade Association : CARIFTA) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 ประกอบด้วยสมาชิก 15 ประเทศ คือ แอนติกาและบาร์บูดา บาฮามาส บาร์เบโดส เบลีซ โดมินิกา เกรเนดา กายอานา เฮติ จาเมกา มอนต์เซอร์รัต เซนต์คิตส์และเนวิส เซนต์ลูเซีย เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ ซูรินาเม และตรินิแดดและโตเบโก มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรลุเป้าหมายการเป็นตลาดร่วมภายในปี พ.ศ. 2543 ก่อนก้าวสู่การเป็นสหภาพเศรษฐกิจ (Economic Union) ต่อไป
ปัจจุบันประเทศสมาชิก CARICOM ได้เร่งดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการเป็นตลาดร่วม ดังนี้
ยกเว้นและลดหย่อนมาตรการทางด้านภาษีและมิใช่ภาษี ประเทศสมาชิก CARICOM ตกลงร่วมกันที่จะใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้า ทั้งมาตรการทางด้านภาษีและมิใช่ภาษีระหว่างกันโดยเร็วที่สุด ปัจจุบันประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ยกเลิกการกีดกันทางการค้าระหว่างกันลงแล้ว ยกเว้นบางประเทศ เช่น โดมินิกา ที่ยังคงเก็บภาษีขาเข้าสินค้า 2 ชนิด คือ บุหรี่ และยานพาหนะ เป็นต้น
อนุญาตให้มีการเคลื่อนย้ายบริการระหว่างประเทศสมาชิกได้อย่างเสรี ประเทศสมาชิก CARICOM ตกลงว่าจะไม่นำมาตรการใหม่ ๆ มาใช้กีดกันการเคลื่อนย้ายบริการระหว่างประเทศสมาชิก ขณะเดียวกันจะพยายามยกเลิกมาตรการกีดกันการเคลื่อนย้ายบริการที่มีอยู่เดิมโดยเร็วที่สุด และภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2543 ต้องไม่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนย้ายบริการภายในกลุ่ม CARICOM
อนุญาตให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศสมาชิกได้อย่างเสรี ปัจจุบันประเทศสมาชิก CARICOM ส่วนใหญ่อนุญาตให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างกันได้อย่างเสรี โดยประชากรของประเทศสมาชิก CARICOM สามารถเดินทางผ่านเข้า-ออกประเทศภายในกลุ่ม CARICOM ได้ โดยใช้หนังสือเดินทาง (Passport) เพียงอย่างเดียวยกเว้นบางประเทศ อาทิ บาร์เบโดส ที่ไม่อนุญาตให้ประชากรจากบาฮามาส เบลีซ และซูรินาเม เดินทางเข้า-ออกบาร์เบโดสเช่นประเทศสมาชิกอื่น ๆ ของกลุ่ม CARICOM
สำหรับความคืบหน้าในการก้าวสู่การเป็นสหภาพเศรษฐกิจนั้น ประเทศสมาชิกกลุ่ม CARICOM อยู่ระหว่างการจัดตั้งศาลยุติธรรมแห่งแคริบเบียน (Caribbean Court of Justice) เพื่อพิจารณาตัดสินข้อพิพาททางการค้าและข้อพิพาททางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก โดยคาดว่าสามารถจัดตั้งให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2543 นอกจากนี้ ประเทศสมาชิก CARICOM ยังได้กำหนดเป้าหมายในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจร่วมกัน เช่น กำหนดให้ประเทศสมาชิก CARICOM มีทุนสำรองระหว่างประเทศเพียงพอไว้ใช้ชำระค่าสินค้าและบริการนำเข้าจากต่างประเทศได้อย่างน้อย 3 เดือน และดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพเป็นระยะเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 ปี เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การกำหนดนโยบายเศรษฐกิจร่วมกันของกลุ่ม CARICOM นับว่ายังมีอุปสรรคอยู่มาก เนื่องจากประเทศสมาชิก CARICOM ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแตกต่างกัน และมีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เหลื่อมล้ำกันมาก--จบ--
-อน-
ปัจจุบันประเทศสมาชิก CARICOM ได้เร่งดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการเป็นตลาดร่วม ดังนี้
ยกเว้นและลดหย่อนมาตรการทางด้านภาษีและมิใช่ภาษี ประเทศสมาชิก CARICOM ตกลงร่วมกันที่จะใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้า ทั้งมาตรการทางด้านภาษีและมิใช่ภาษีระหว่างกันโดยเร็วที่สุด ปัจจุบันประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ยกเลิกการกีดกันทางการค้าระหว่างกันลงแล้ว ยกเว้นบางประเทศ เช่น โดมินิกา ที่ยังคงเก็บภาษีขาเข้าสินค้า 2 ชนิด คือ บุหรี่ และยานพาหนะ เป็นต้น
อนุญาตให้มีการเคลื่อนย้ายบริการระหว่างประเทศสมาชิกได้อย่างเสรี ประเทศสมาชิก CARICOM ตกลงว่าจะไม่นำมาตรการใหม่ ๆ มาใช้กีดกันการเคลื่อนย้ายบริการระหว่างประเทศสมาชิก ขณะเดียวกันจะพยายามยกเลิกมาตรการกีดกันการเคลื่อนย้ายบริการที่มีอยู่เดิมโดยเร็วที่สุด และภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2543 ต้องไม่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนย้ายบริการภายในกลุ่ม CARICOM
อนุญาตให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศสมาชิกได้อย่างเสรี ปัจจุบันประเทศสมาชิก CARICOM ส่วนใหญ่อนุญาตให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างกันได้อย่างเสรี โดยประชากรของประเทศสมาชิก CARICOM สามารถเดินทางผ่านเข้า-ออกประเทศภายในกลุ่ม CARICOM ได้ โดยใช้หนังสือเดินทาง (Passport) เพียงอย่างเดียวยกเว้นบางประเทศ อาทิ บาร์เบโดส ที่ไม่อนุญาตให้ประชากรจากบาฮามาส เบลีซ และซูรินาเม เดินทางเข้า-ออกบาร์เบโดสเช่นประเทศสมาชิกอื่น ๆ ของกลุ่ม CARICOM
สำหรับความคืบหน้าในการก้าวสู่การเป็นสหภาพเศรษฐกิจนั้น ประเทศสมาชิกกลุ่ม CARICOM อยู่ระหว่างการจัดตั้งศาลยุติธรรมแห่งแคริบเบียน (Caribbean Court of Justice) เพื่อพิจารณาตัดสินข้อพิพาททางการค้าและข้อพิพาททางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก โดยคาดว่าสามารถจัดตั้งให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2543 นอกจากนี้ ประเทศสมาชิก CARICOM ยังได้กำหนดเป้าหมายในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจร่วมกัน เช่น กำหนดให้ประเทศสมาชิก CARICOM มีทุนสำรองระหว่างประเทศเพียงพอไว้ใช้ชำระค่าสินค้าและบริการนำเข้าจากต่างประเทศได้อย่างน้อย 3 เดือน และดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพเป็นระยะเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 ปี เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การกำหนดนโยบายเศรษฐกิจร่วมกันของกลุ่ม CARICOM นับว่ายังมีอุปสรรคอยู่มาก เนื่องจากประเทศสมาชิก CARICOM ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแตกต่างกัน และมีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เหลื่อมล้ำกันมาก--จบ--
-อน-