ข่าวในประเทศ
1. ธปท.ระบุตัวเลขหนี้ต่างประเทศของไทยยังสูงกว่าที่ควรจะเป็น ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงภาระหนี้ต่างประเทศของไทยในขณะนี้ว่า อยู่ในระดับร้อยละ 78 ซึ่งสูงกว่าที่ควรจะเป็น โดยสัดส่วนหนี้ที่เหมาะสมกับพื้นฐานเศรษฐกิจในปัจจุบันน่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 60-70 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ดังนั้นจึงไม่ควรก่อหนี้เพิ่มขึ้นอีก เพราะหากภาระหนี้ต่างประเทศเกินร้อยละ 80 ของจีดีพี จะทำให้ฐานะการคลังมีปัญหาแน่นอน สำหรับหนี้ต่างประเทศ ณ สิ้นเดือน ม.ย.43 มีจำนวนประมาณ 8.83 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. แบ่งเป็นหนี้ภาคเอกชนประมาณ 5.3 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. และหนี้ภาครัฐประมาณ 3.53 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นหนี้ระยะยาวประมาณร้อยละ 80.2 และหนี้ระยะสั้นประมาณร้อยละ 19.8 ของหนี้ทั้งหมด โดยหนี้ภาคเอกชนแบ่งเป็นหนี้ภาคการเงิน 1.58 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. แยกเป็นหนี้ของสถาบันการเงิน 5.1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หนี้จากกิจการวิเทศธนกิจ (บีไอบีเอฟ) จำนวน 1.07 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่หนี้ภาคธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน (Non-Bank) มีจำนวนประมาณ 3.72 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่วนหนี้ภาครัฐแยกเป็นหนี้ของรัฐบาลประมาณ 2.27 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. และหนี้ของ ธปท.จำนวน 1.26 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. สำหรับวิกฤติเศรษฐกิจรอบที่ 2 นั้นไม่น่ากังวล เพราะหากจะเกิดขึ้นต้องเห็นสัญญาณที่ชัดเจนแล้ว ที่ผ่านมาทางการพยายามแก้ไขปัญหาระยะยาว 15-20 ปีข้างหน้า เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ (มติชน,แนวหน้า 18)
2. รมว.คลังกล่าวถึงสาเหตุของปัญหาเศรษฐกิจและคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 43 รมว.คลังกล่าวถึงความรู้สึกของประชาชนต่อภาวะเศรษฐกิจที่ว่ายังไม่ดีขึ้น เนื่องจากประการแรก มีการพูดถึงหรือตั้งข้อสังเกตกันมากว่าจะเกิดวิกฤตรอบที่ 2 ทำให้ผู้บริโภคไม่กล้าใช้จ่าย ประการที่สองเกิดจากปัจจัยต่างประเทศ คือ ราคาน้ำมันแพงขึ้น และประการที่สาม ความไม่ต่อเนื่องของนโยบายบางด้าน หนึ่งในจำนวนนั้น คือ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ไม่สามารถเข้าสู่การพิจาณาของสภาผู้แทนราษฎรได้ นอกจากนั้นยังมีคนว่างงานอีกพอสมควร อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 5 ในสิ้นปีนี้ แม้จะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันบ้าง โดยอาศัยสมมติฐานของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่ว่า ปี 43 การส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 10 และเกินดุลบัญชีเดินสะพัด 9.8 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่ประมาณการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ล่าสุดคาดว่า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 4.5 (กรุงเทพธุรกิจ 18)
3. มูลค่าการส่งสินค้าออกไปยังตลาดใหม่ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 43 รายงานข่าวจาก ก.พาณิชย์ว่า การส่งออกไปตลาดใหม่ช่วง 8 เดือนแรกของปี 43 (ม.ค.-ส.ค.) ขยายตัวร้อยละ 27.32 แบ่งเป็นตลาดจีนและมองโกเลียขยายตัวร้อยละ 55.19 ละตินอเมริการ้อยละ 49.46 เอเชียใต้ร้อยละ 45.15 โดยจีนและมองโกเลีย มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด คือ 1,279.52 ล.ดอลลาร์ สรอ. (ไทยโพสต์ 18)
4. ก.คลังจะออกตราสารหนี้อายุมากกว่า 15 ปี แหล่งข่าวจาก ก.คลังเปิดเผยว่า ก.คลังเตรียมออกตราสารทางการเงินระยะยาวอายุมากกว่า 15 ปี เพื่อระดมทุน และเป็นการพัฒนาตลาดตราสารหนี้โดยคาดว่าจะสามารถกำหนดรายละเอียดต่างๆ ได้อย่างชัดเจนในสิ้นเดือน ก.ย.43 และเปิดประมูลได้ในปี งปม.44 (วัฏจักร 18)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคโดยรวมของ สรอ. ลดลงอย่างไม่คาดหมาย ในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 15 ก.ย. 43 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 ดัชนีราคาผู้บริโภค(PPI) โดยรวม ลดลงร้อยละ 0.1 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน ก.ค. 43 ซึ่งเป็นการลดลงเป็นครั้งแรกในรอบมากกว่า 14 ปี เนื่องจากราคาพลังงานลดลง ขณะเดียวกัน ถ้าไม่รวมราคาพลังงานและอาหารที่ผันผวน PPI ที่เป็นแกน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ซึ่งเพิ่มขึ้นในอัตราเดียวกันกับเดือน ก.ค. 43 ทั้งนี้ ในเดือน ส.ค. 43 ราคาพลังงานลดลงร้อยละ 2.9 นำโดยราคาน้ำมันเบนซินลดลงร้อยละ 6 จากรายงานครั้งนี้ แสดงว่าเงินเฟ้อของ สรอ. ยังคงชะลอตัว และเชื่อว่าจะส่งผลให้ ธ. กลางคลายความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อลงได้บ้างแต่อาจเป็นเพียงชั่วคราว เพราะราคาพลังงานได้กลับสูงขึ้นอีกในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมาและอยู่ใกล้กับระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี(รอยเตอร์ 15)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือน ส.ค.43 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 15 ก.ย.43 ธ.กลาง สรอ. (เฟด) รายงานว่า เดือน ส.ค.43 ผลผลิตอุตสาหกรรม ปรับตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 หลังจากที่ไม่เปลี่ยนแปลงในเดือน ก.ค.43 เพิ่มขึ้นเหนือความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์จากการสำรวจของรอยเตอร์ ที่คาดว่า ในเดือน ส.ค.43 ผลผลิตฯ จะไม่เปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับเดือนก่อน ขณะที่การใช้กำลังการผลิต เท่ากับร้อยละ 82.3 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับร้อยละ 82.2 ในเดือน ก.ค.43 อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์ไม่ได้กังวลว่าการเพิ่มของผลผลิตฯในครั้งนี้ จะกระตุ้นให้เฟดตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก เนื่องจากอัตราการเพิ่มของผลผลิตฯ ในเดือนดังกล่าว เป็นผลมาจากการที่เฟดปรับลดอัตราการเพิ่มของผลผลิตฯ ในเดือน ก.ค.43 จากเดิมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เป็นไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ การที่ผลผลิตฯ เพิ่มขึ้นมีปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์และรถบรรทุกเล็กที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 9.9 ในเดือน ก.ค.43 และการผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 2.0 ในเดือน ก.ค.43 ซึ่งหากไม่รวมการผลิตยานพาหนะและชิ้นส่วน ผลผลิตฯ ในเดือน ส.ค.นี้เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 (รอยเตอร์ 15)
3. ราคาขายส่งโดยรวมของเยอรมนีเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 เทียบต่อปีในเดือน ส.ค. 43 รายงานจาก Wiesbaden ในเยอรมนี เมื่อวันที่ 15 ก.ย. 43 สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 ราคาขายส่งโดยรวม เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เทียบต่อปี ลดลงจากที่เคยสูงสุดที่อัตราร้อยละ 5.8 ในเดือน ก.ค. 42 ขณะเดียวกัน ถ้าไม่รวมราคาพลังงานที่ผันผวน ราคาขายส่งในเดือน ส.ค. 43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 เทียบต่อปี ลดลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ในเดือน ก.ค. 43 ทั้งนี้ ราคาขายส่งที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเงินยูโรอ่อนค่าลงและราคาน้ำมันสูงขึ้น (รอยเตอร์ 15)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 15ก.ย. 43 41.813 (41.773)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 15 ก.ย.43 ซื้อ 41.5293 (41.6111) ขาย 41.8293 (41.9038)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,350 (5,350) ขาย 5,450 (5,450)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 31.98 (30.63)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 14.24 (14.24)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.ระบุตัวเลขหนี้ต่างประเทศของไทยยังสูงกว่าที่ควรจะเป็น ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงภาระหนี้ต่างประเทศของไทยในขณะนี้ว่า อยู่ในระดับร้อยละ 78 ซึ่งสูงกว่าที่ควรจะเป็น โดยสัดส่วนหนี้ที่เหมาะสมกับพื้นฐานเศรษฐกิจในปัจจุบันน่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 60-70 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ดังนั้นจึงไม่ควรก่อหนี้เพิ่มขึ้นอีก เพราะหากภาระหนี้ต่างประเทศเกินร้อยละ 80 ของจีดีพี จะทำให้ฐานะการคลังมีปัญหาแน่นอน สำหรับหนี้ต่างประเทศ ณ สิ้นเดือน ม.ย.43 มีจำนวนประมาณ 8.83 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. แบ่งเป็นหนี้ภาคเอกชนประมาณ 5.3 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. และหนี้ภาครัฐประมาณ 3.53 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นหนี้ระยะยาวประมาณร้อยละ 80.2 และหนี้ระยะสั้นประมาณร้อยละ 19.8 ของหนี้ทั้งหมด โดยหนี้ภาคเอกชนแบ่งเป็นหนี้ภาคการเงิน 1.58 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. แยกเป็นหนี้ของสถาบันการเงิน 5.1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หนี้จากกิจการวิเทศธนกิจ (บีไอบีเอฟ) จำนวน 1.07 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่หนี้ภาคธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน (Non-Bank) มีจำนวนประมาณ 3.72 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่วนหนี้ภาครัฐแยกเป็นหนี้ของรัฐบาลประมาณ 2.27 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. และหนี้ของ ธปท.จำนวน 1.26 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. สำหรับวิกฤติเศรษฐกิจรอบที่ 2 นั้นไม่น่ากังวล เพราะหากจะเกิดขึ้นต้องเห็นสัญญาณที่ชัดเจนแล้ว ที่ผ่านมาทางการพยายามแก้ไขปัญหาระยะยาว 15-20 ปีข้างหน้า เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ (มติชน,แนวหน้า 18)
2. รมว.คลังกล่าวถึงสาเหตุของปัญหาเศรษฐกิจและคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 43 รมว.คลังกล่าวถึงความรู้สึกของประชาชนต่อภาวะเศรษฐกิจที่ว่ายังไม่ดีขึ้น เนื่องจากประการแรก มีการพูดถึงหรือตั้งข้อสังเกตกันมากว่าจะเกิดวิกฤตรอบที่ 2 ทำให้ผู้บริโภคไม่กล้าใช้จ่าย ประการที่สองเกิดจากปัจจัยต่างประเทศ คือ ราคาน้ำมันแพงขึ้น และประการที่สาม ความไม่ต่อเนื่องของนโยบายบางด้าน หนึ่งในจำนวนนั้น คือ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ไม่สามารถเข้าสู่การพิจาณาของสภาผู้แทนราษฎรได้ นอกจากนั้นยังมีคนว่างงานอีกพอสมควร อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 5 ในสิ้นปีนี้ แม้จะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันบ้าง โดยอาศัยสมมติฐานของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่ว่า ปี 43 การส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 10 และเกินดุลบัญชีเดินสะพัด 9.8 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่ประมาณการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ล่าสุดคาดว่า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 4.5 (กรุงเทพธุรกิจ 18)
3. มูลค่าการส่งสินค้าออกไปยังตลาดใหม่ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 43 รายงานข่าวจาก ก.พาณิชย์ว่า การส่งออกไปตลาดใหม่ช่วง 8 เดือนแรกของปี 43 (ม.ค.-ส.ค.) ขยายตัวร้อยละ 27.32 แบ่งเป็นตลาดจีนและมองโกเลียขยายตัวร้อยละ 55.19 ละตินอเมริการ้อยละ 49.46 เอเชียใต้ร้อยละ 45.15 โดยจีนและมองโกเลีย มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด คือ 1,279.52 ล.ดอลลาร์ สรอ. (ไทยโพสต์ 18)
4. ก.คลังจะออกตราสารหนี้อายุมากกว่า 15 ปี แหล่งข่าวจาก ก.คลังเปิดเผยว่า ก.คลังเตรียมออกตราสารทางการเงินระยะยาวอายุมากกว่า 15 ปี เพื่อระดมทุน และเป็นการพัฒนาตลาดตราสารหนี้โดยคาดว่าจะสามารถกำหนดรายละเอียดต่างๆ ได้อย่างชัดเจนในสิ้นเดือน ก.ย.43 และเปิดประมูลได้ในปี งปม.44 (วัฏจักร 18)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคโดยรวมของ สรอ. ลดลงอย่างไม่คาดหมาย ในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 15 ก.ย. 43 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 ดัชนีราคาผู้บริโภค(PPI) โดยรวม ลดลงร้อยละ 0.1 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน ก.ค. 43 ซึ่งเป็นการลดลงเป็นครั้งแรกในรอบมากกว่า 14 ปี เนื่องจากราคาพลังงานลดลง ขณะเดียวกัน ถ้าไม่รวมราคาพลังงานและอาหารที่ผันผวน PPI ที่เป็นแกน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ซึ่งเพิ่มขึ้นในอัตราเดียวกันกับเดือน ก.ค. 43 ทั้งนี้ ในเดือน ส.ค. 43 ราคาพลังงานลดลงร้อยละ 2.9 นำโดยราคาน้ำมันเบนซินลดลงร้อยละ 6 จากรายงานครั้งนี้ แสดงว่าเงินเฟ้อของ สรอ. ยังคงชะลอตัว และเชื่อว่าจะส่งผลให้ ธ. กลางคลายความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อลงได้บ้างแต่อาจเป็นเพียงชั่วคราว เพราะราคาพลังงานได้กลับสูงขึ้นอีกในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมาและอยู่ใกล้กับระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี(รอยเตอร์ 15)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือน ส.ค.43 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 15 ก.ย.43 ธ.กลาง สรอ. (เฟด) รายงานว่า เดือน ส.ค.43 ผลผลิตอุตสาหกรรม ปรับตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 หลังจากที่ไม่เปลี่ยนแปลงในเดือน ก.ค.43 เพิ่มขึ้นเหนือความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์จากการสำรวจของรอยเตอร์ ที่คาดว่า ในเดือน ส.ค.43 ผลผลิตฯ จะไม่เปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับเดือนก่อน ขณะที่การใช้กำลังการผลิต เท่ากับร้อยละ 82.3 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับร้อยละ 82.2 ในเดือน ก.ค.43 อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์ไม่ได้กังวลว่าการเพิ่มของผลผลิตฯในครั้งนี้ จะกระตุ้นให้เฟดตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก เนื่องจากอัตราการเพิ่มของผลผลิตฯ ในเดือนดังกล่าว เป็นผลมาจากการที่เฟดปรับลดอัตราการเพิ่มของผลผลิตฯ ในเดือน ก.ค.43 จากเดิมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เป็นไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ การที่ผลผลิตฯ เพิ่มขึ้นมีปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์และรถบรรทุกเล็กที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 9.9 ในเดือน ก.ค.43 และการผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 2.0 ในเดือน ก.ค.43 ซึ่งหากไม่รวมการผลิตยานพาหนะและชิ้นส่วน ผลผลิตฯ ในเดือน ส.ค.นี้เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 (รอยเตอร์ 15)
3. ราคาขายส่งโดยรวมของเยอรมนีเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 เทียบต่อปีในเดือน ส.ค. 43 รายงานจาก Wiesbaden ในเยอรมนี เมื่อวันที่ 15 ก.ย. 43 สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 ราคาขายส่งโดยรวม เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เทียบต่อปี ลดลงจากที่เคยสูงสุดที่อัตราร้อยละ 5.8 ในเดือน ก.ค. 42 ขณะเดียวกัน ถ้าไม่รวมราคาพลังงานที่ผันผวน ราคาขายส่งในเดือน ส.ค. 43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 เทียบต่อปี ลดลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ในเดือน ก.ค. 43 ทั้งนี้ ราคาขายส่งที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเงินยูโรอ่อนค่าลงและราคาน้ำมันสูงขึ้น (รอยเตอร์ 15)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 15ก.ย. 43 41.813 (41.773)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 15 ก.ย.43 ซื้อ 41.5293 (41.6111) ขาย 41.8293 (41.9038)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,350 (5,350) ขาย 5,450 (5,450)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 31.98 (30.63)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 14.24 (14.24)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-