ในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2543 นี้ ทางการได้ดำเนินมาตรการทางด้านการรักษา เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน โดยได้ปรับเปลี่ยนโยบายการเงินเป็นการกำหนดเป้าหมาย เงินเฟ้อ (Inflation Targeting) และดูแลเสถียรภาพ ของอัตราแลกเปลี่ยน นอกจากนี้ ยังได้ผ่อนคลาย มาตรการให้แก่สถาบันการเงินในการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ ยกเลิกการจัดทำ เป้าหมายสินเชื่อ และการขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน โดยสรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้
1. มาตรการในการกำหนดนโยบายการเงิน
1.1 ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยแพร่รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ (Inflation Report)
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายการเงิน โดยวิธีการกำหนดเป้าหมาย เงินเฟ้อ (Inflation Targeting) ซึ่งอยู่ภายใต้ความ รับผิดชอบของคณะกรรมการนโยบายการเงิน และเพื่อ เสนอกรอบการประมาณการเงินเฟ้อที่ชัดเจนและมอง ไปข้างหน้า ถ่ายทอดแนวความคิดของคณะกรรมการฯ ต่อสาธารณชน และอธิบายเหตุผลของการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยจะ เผยแพร่รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ (Inflation Report) เป็นประจำทุก 3 เดือน และได้เริ่มเผยแพร่รายงาน ดังกล่าวนี้เป็นฉบับแรกในเดือนกรกฎาคม 2543
(ประกาศข่าวธปท. ฉบับที่ 85/2543 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2543)
2. มาตรการในด้านการ ป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท
2.1 การระงับสิทธิการ ทำธุรกรรมของสถาบันการเงินที่ดำเนินการ ไม่สอดคล้องกับมาตรการป้องปรามการ เก็งกำไรค่าเงินบาท
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้แจ้งให้แก่สถาบันการเงินทราบว่า ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2543 เป็นต้นไป หากยังพบว่าสถาบัน การเงินไม่ดำเนินการให้สอดคล้องกับมาตรการในการจำกัดการทำธุรกรรมทางการเงินที่เป็นการปล่อย สภาพคล่องเงินบาท หรือสร้างภาระผูกพันที่ต้องจ่าย เงินตราต่างประเทศในอนาคตให้แก่ผู้มีถิ่นที่อยู่ นอกประเทศ โดยไม่มีธุรกิจการค้าหรือการลงทุน รองรับสถาบันการเงินดังกล่าวจะถูกระงับสิทธิการ ทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนกับธนาคารแห่งประเทศไทย รวมทั้งอาจถูกระงับสิทธิอื่นๆในอนาคตด้วย ทั้งนี้ ตามที่ธนาคารจะเห็นสมควร
(หนังสือเวียน ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2543)
3. มาตรการด้านสินเชื่อ
3.1 เกณฑ์การสนับสนุนเงินให้สินเชื่อเพื่อเป็นเงินลงทุนระยะยาวแก่ SMEs ที่เป็น NPL
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศหลักเกณฑ์การสนับสนุนเงินให้สินเชื่อเพื่อเป็นเงินลงทุนระยะยาวแก่ SMEs ที่เป็น NPL ซึ่งมีขนาดสินทรัพย์ถาวรสุทธิไม่เกิน 200 ล้านบาท และ มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจต่อไป โดยที่ต้องผ่านขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้หรือดำเนินการ ควบคู่ไปกับการให้สินเชื่อใหม่ และสินเชื่อใหม่ต้อง นำไปใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตหรือ ขยายงาน สถาบันการเงินจะให้สินเชื่อไม่เกินร้อยละ 25 ของสินทรัพย์ถาวรสุทธิของผู้ประกอบการ แต่ละรายและไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อราย อายุเงินกู้ ไม่เกิน 5 ปีโดยคิดดอกเบี้ยในอัตราไม่เกิน MLR ต่อปี
(ข่าวธปท. ฉบับที่ 87/2543 ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2543)
3.2 ซักซ้อมความเข้าใจ เกี่ยวกับความหมายของเงินให้สินเชื่อที่ใช้คำนวณการปฏิบัติตามเงื่อนไขในการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์เปิดสาขา (เงื่อนไขข้อ 6)
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการคำนวณเงินให้ สินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ข้อ 6 ที่ให้ธนาคารพาณิชย์ซึ่งเปิดสาขาในส่วน ภูมิภาคต้องให้สินเชื่อไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของ เงินฝากที่ได้จากภูมิภาคนั้น ว่าให้นับรวมเงินให้ สินเชื่อที่ถูกจัดชั้นเป็นหนี้สงสัยจะสูญที่ธนาคารพาณิชย์ตัดออกจากบัญชี เนื่องจากได้กันเงิน สำรองครบถ้วนแล้ว เข้าไปในการคำนวณด้วย
(หนังสือเวียนลงวันที่ 21 สิงหาคม 2543)
3.3 การปฎิบัติเกี่ยวกับการให้สินเชื่อ การก่อภาระผูกพัน การลงทุน ในหลักทรัพย์ และการขายสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์
ธนาคารแห่งประเทศไทยขอให้ธนาคารพาณิชย์ทบทวนข้อกำหนดเกี่ยวกับนโยบาย ระเบียบและหลักเกณฑ์ในการให้สินเชื่อ การก่อภาระผูกพัน การลงทุนในหลักทรัพย์และการขายหลักทรัพย์ โดยให้มีการมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบ ให้ชัดเจน ตลอดจนมีกระบวนการบริหารความเสี่ยง เช่น การให้สินเชื่อและการก่อภาระผูกพันให้กำหนดในเรื่อง ประเภทและสัดส่วนของวงเงินให้สินเชื่อโดยรวมและการก่อภาระผูกพันแก่ภาคเศรษฐกิจต่างๆ หรือประเภทธุรกิจที่อยู่ในภาคเศรษฐกิจนั้น เพื่อมิให้เกิดการกระจุกตัวของสินเชื่อและการก่อภาระผูกพัน นอกจากนี้ ยังให้กำหนดผู้รับผิดชอบงานความเสี่ยงทางเครดิตแยกจากบุคคลอื่นโดยรับผิดชอบการพิจารณาสินเชื่อและการก่อภาระผูกพันก่อนนำเสนอ ผู้มีอำนาจอนุมัติ ส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์ให้มีข้อกำหนดในเรื่องผู้รับผิดชอบและขั้นตอนต่างๆ รวมถึงขั้นตอนการจ่ายเงินและการรับเงิน การรายงานการ ซื้อขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุมัติแล้วเช่นเดียวกับการให้สินเชื่อ เป็นต้น
(หนังสือเวียนลงวันที่ 16 สิงหาคม 2543)
3.4 ยกเลิกการจัดทำ เป้าหมายการให้สินเชื่อแก่ภาคเศรษฐกิจต่างๆ
ธนาคารแห่งประเทศไทย เห็นควรให้ธนาคารพาณิชย์ยกเลิกการจัดทำเป้าหมาย การให้สินเชื่อแก่ภาคเศรษฐกิจต่างๆ ตั้งแต่งวดเดือนมิถุนายน 2544 เป็นต้นไป และให้รายงานเฉพาะผลการให้สินเชื่อดังกล่าวเป็นรายเดือน โดยไม่ต้องเปรียบเทียบกับเป้าหมายประจำปีดังที่เคยปฏิบัติตามแบบรายงานเดิม เริ่มตั้งแต่ข้อมูลเดือนมกราคม 2544 เป็นต้นไป
(หนังสือเวียนลงวันที่ 12 กันยายน 2543)
4. มาตรการในด้านการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน
4.1 อสังหาริมทรัพย์รอการขาย ที่ได้มาจากการชำระหนี้
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนด ให้สถาบันการเงิน (ไม่รวมกิจการวิเทศธนกิจ) ถือปฎิบัติ ในการดำเนินการลดยอดอสังหาริมทรัพย์รอการขาย ที่ได้รับมาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2540 ให้หมดไปตาม หลักเกณฑ์ต่างๆที่กำหนดไว้ในประกาศ โดยให้เสนอ แผนการที่จะทยอยลดยอดอสังหาริมทรัพย์รอการขาย เป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี หากธนาคารแห่งประเทศไทยมิได้ ทักท้วงภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับแผนให้ถือว่าธนาคารอนุญาตให้ตามแผนที่เสนอมา
(หนังสือเวียนลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2543)
4.2 การขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน
4.2.1 การอนุญาตให้บริษัทเงินทุนประกอบธุรกิจเพิ่มเติมและมี สำนักงานสาขา
ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งให้สถาบันการเงินทราบว่า ขณะนี้ บริษัทเงินทุนสินเอเซียจำกัด (มหาชน) ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจเพิ่มเติมและ มีสำนักงานสาขา (Super Finance) ได้ ดังต่อไปนี้
1) การเปิดบัญชีรับฝากเงินแบบออมทรัพย์และประจำโดยใช้สมุดคู่ฝาก
2) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
3) การมีสำนักงานสาขาในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
นอกจากนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบธุรกิจดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกประกาศ 2 ฉบับ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการเปิดบัญชี รับฝากเงินแบบออมทรัพย์และประจำโดยใช้สมุด คู่ฝากของบริษัทเงินทุน และเรื่องการกำหนดระบบการควบคุมภายในเกี่ยวกับการรับฝากเงินแบบ ออมทรัพย์และประจำโดยใช้สมุดคู่ฝากของบริษัท เงินทุน ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2543
(หนังสือเวียนลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2543 )
4.2.2 การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์และการขายชอร์ต
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์เพิ่มเติมจากที่เคยอนุญาต โดยธนาคารพาณิชย์ที่จะขออนุญาต ต้องมีคุณสมบัติและมีความพร้อม ในด้านการประกอบธุรกิจ มีระบบการควบคุมภายใน ระบบบริหารความเสี่ยงตลอดจนการปฏิบัติงานที่เหมาะสม ต้องยื่นแผนประกอบการซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาอย่างน้อย 30 วันก่อน เริ่มประกอบธุรกิจ หากธนาคารแห่งประเทศไทย มิได้ทักท้วงภายใน 30 วันก็ให้ดำเนินการได้ และ ในกรณีที่ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ด้วย ก็ต้องแจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบถึงการได้รับอนุญาตก่อนประกอบธุรกิจดังกล่าว โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1) ธุรกิจที่อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบได้
1.1 ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภท กิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์กรณีเป็นตัวแทนหรือ นายหน้า
1.2 ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์เฉพาะตราสารแห่งหนี้ ในฐานะเป็นคู่สัญญากับผู้ยืมหรือผู้ให้ยืม
1.3 การให้ยืมหลักทรัพย์ เฉพาะตราสารแห่งหนี้ โดยเป็นคู่สัญญากับผู้ที่ได้ รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประเภทกิจการการยืมและ ให้ยืมหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์
1.4 การขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อการส่งมอบ (การขายชอร์ต) เฉพาะตราสารแห่งหนี้
ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจตามข้อ 1) ต้องเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์และภาระผูกพันไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ณ วันที่เริ่มประกอบธุรกิจ
2) สำหรับการประกอบธุรกิจตามข้อ 1.2 และข้อ 1.3 ธนาคารพาณิชย์จะทำการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ได้เฉพาะกับคู่สัญญาที่เป็นสถาบันเท่านั้น และในการคำนวณจำนวนเงินหรือมูลค่าของหลักทรัพย์เมื่อรวมกับจำนวนเงินที่ธนาคารพาณิชย์ ให้สินเชื่อลงทุนหรือก่อภาระผูกพันกับคู่สัญญารายใดรายหนึ่งต้องไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุนชั้นที่ 1
(หนังสือเวียนลงวันที่ 12 กันยายน 2543 เพื่อนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 6 กันยายน 2543 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2543)
4.2.3 การขยายขอบเขต การประกอบธุรกิจ Custodian Service
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจ Custodian Service ให้แก่ธนาคารพาณิชย์ โดยให้เพิ่มการดูแลและเก็บรักษาเอกสารแสดงสิทธิ์ในทรัพย์สินต่างๆ
และเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวเนื่องกับการจำหน่ายจ่ายโอน หรือประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพิ่มเติมจากเดิม ซึ่งเป็นการรับหรือส่งมอบหลักทรัพย์ การรับหรือจ่ายเงินค่าหลักทรัพย์ การรับเงินปันผล การส่งมอบ ผลประโยชน์อันเกิดจากหลักทรัพย์นั้นๆ และการเป็นตัวแทนผู้รับมอบฉันทะจากลูกค้าในการ เข้าประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นและลงคะแนนเสียง
(หนังสือเวียนลงวันที่ 18 กันยายน 2543)
4.2.4 การขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจให้ธนาคารพาณิชย์เป็นตัวแทน จำหน่ายหุ้น
ธนาคารแห่งประเทศไทย เห็นสมควรขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจ ให้แก่ธนาคารพาณิชย์เป็นตัวแทนจำหน่ายหุ้น ในประเทศ ดังนี้
1) ธนาคารพาณิชย์ที่จะประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนจำหน่ายหุ้นในประเทศต้องได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้แต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายหุ้นได้ และธนาคารพาณิชย์จะประกอบธุรกิจได้เฉพาะกิจการแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนหรือเอกสารเปิดเผย ข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นที่จำหน่ายแจกจ่ายหรือรับใบจองซื้อหุ้น รับชำระเงินค่าจองซื้อหุ้น ยืนยันการจอง ซื้อหุ้น ส่งมอบหุ้นให้แก่ผู้จองที่ได้รับการจัดสรร และคืนเงินค่าจองให้แก่ผู้ที่มิได้รับการจัดสรร
2) ธนาคารพาณิชย์ต้องแจ้งให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบโดยละเอียดทุกครั้งที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายหุ้น พร้อมทั้งส่งสำเนาสัญญาการแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายหุ้นที่ได้ ลงนามแล้วให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยภายใน 7 วัน นับแต่วันที่มีการลงนามในสัญญา
3) หากปรากฎภายหลังว่ามีการปฏิบัติที่ไม่ได้อยู่ในขอบเขตที่ได้รับอนุญาต หรือไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในการอนุญาตนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจเพิกถอนการอนุญาตได้
(หนังสือเวียนลงวันที่ 27 กันยายน 2543)
4.2.5 การอนุญาตให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ประกอบกิจการตัวแทนเรียกเก็บหนี้
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ประกอบกิจการตัวแทนเรียกเก็บหนี้ โดยมีค่าตอบแทนและบริษัทต้องไม่เข้ารับความเสี่ยงจากการเป็นตัวแทนเรียกเก็บหนี้ นอกจากนี้ บริษัทต้องจัดให้มีระบบการบัญชีและการจัดเก็บเอกสารหลักฐานของสัญญาหนี้ในกิจการตัวแทนเรียกเก็บหนี้แยกต่างหากจากกิจการอื่นของบริษัท ตลอดจนการ จัดทำรายงานในกิจการตัวแทนเรียกเก็บหนี้แต่ละราย ออกจากกัน เพื่อให้ผู้ว่าจ้างสามารถตรวจสอบและ ดูแลผลการดำเนินงานได้
(หนังสือเวียนลงวันที่ 23 สิงหาคม 2543 เพื่อนำส่งประกาศกระทรวงการคลังลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2543 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2543)
5. มาตรการในด้านการกำกับและพัฒนาสถาบันการเงิน
5.1 การย้ายสถานที่ทำการของกิจการวิเทศธนกิจ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้ สำนักงานวิเทศธนกิจย้ายที่ทำการ ที่ตั้งในเขตกรุงเทพมหานครได้โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
1) ให้ย้ายสำนักงานปัจจุบันไปเปิด ณ ที่ทำการแห่งใหม่ภายใน 2 ปี นับวันที่ซื้อหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น
2) ให้ปิดสำนักงานปัจจุบันในวันเดียวกับการเปิดสำนักงานแห่งใหม่และต้องแจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบ ล่วงหน้าอย่างน้อย 45 วัน
3) ให้ติดประกาศ ณ สำนักงานปัจจุบันแจ้งกำหนดวันเปิดและวันปิด สำนักงานที่เกี่ยวข้องล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน และลงประกาศการย้ายสถานที่ทำการในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อย 1 ฉบับ
4) ให้จำหน่ายหรือ ยกเลิกการเช่าที่ดินและ/หรืออาคารสำนักงานปัจจุบันให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ย้ายไปเปิดดำเนินการ ณ สำนักงานแห่งใหม่และแจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันจำหน่ายหรือยกเลิกการเช่า
(หนังสือเวียนลงวันที่ 8 สิงหาคม 2543)
5.2 ตราสารที่ให้นับ เข้าเป็นเงินกองทุน
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศเพิ่มเติมรายละเอียดคุณสมบัติของตราสารที่มีลักษณะคล้ายทุนที่ให้นับเข้าเป็น เงินกองทุนชั้นที่ 2 ดังนี้
1) กำหนดให้อายุของ ตราสารที่มีลักษณะคล้ายทุนไม่ต่ำกว่า 10 ปี และ ในช่วง 5 ปีสุดท้ายก่อนครบกำหนด ให้สถาบันการเงินทยอยลดการนับเงินที่ได้รับ เนื่องจากการออกตราสาร ดังกล่าวเข้าเป็นกองทุนลงร้อยละ 20 ต่อปี
2) ให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนมีสิทธิ์เลื่อนการชำระดอกเบี้ยตามตราสารออกไปได้ ในกรณีที่ไม่มีกำไรจากการดำเนินงานและ ไม่จ่ายเงินปันผลสำหรับหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ แต่ จะต้องเลื่อนการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยในกรณีที่การชำระดังกล่าวทำให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงต่ำกว่าร้อยละ 0 หรือเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยแทรกแซงโดยมีคำสั่ง ให้ลดทุนและเพิ่มทุน
อนึ่ง ในกรณีที่มีการเลื่อนการชำระดอกเบี้ยของตราสารที่มีลักษณะคล้ายทุนนี้ ออกไป หากประสงค์จะจ่ายดอกเบี้ยจำนวนนี้ก็สามารถจ่ายได้ในอัตราที่ไม่เกินกว่าที่ระบุไว้ตาม หน้าตราสาร (Original Coupon Rate)
(หนังสือเวียนลงวันที่ 23 สิงหาคม 2543 เพื่อนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 22 สิงหาคม 2543 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2543)
5.3 การเพิ่มเติมประเภทของสินทรัพย์สภาพคล่อง
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุน สามารถใช้หลักทรัพย์ที่บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (Secondary Mortgage Corporation) ออกใหม่ ตามพระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 นำมาใช้ในการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องได้
(หนังสือเวียนลงวันที่ 24 สิงหาคม 2543 เพื่อนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2543 มีผลบังคับใช้ 23 มิถุนายน 2543)
5.4 การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฎิบัติในเรื่องการรับฝากเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศผ่อนปรนให้ธนาคารพาณิชย์ปฎิบัติ ในเรื่องการรับฝากเงิน ตามข้อเสนอขอปรับปรุง แก้ไขของสมาคมธนาคารไทยและสมาคมธนาคารต่างชาติ ดังนี้
1) เมื่อลูกค้าขอเปิดบัญชีเงินฝาก ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดให้มีเอกสาร แสดงตนหรือสำเนาเอกสารดังกล่าวเพื่อเป็นหลักฐานประกอบการขอเปิดบัญชี และผู้ฝากต้อง ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาด้วย โดยได้ผ่อนปรนให้ในกรณีที่ผู้ฝากเป็นบุคคลธรรมดาเอกสารที่ต้องมีอย่างน้อยเป็นเอกสารที่ระบุเลขประจำตัวประชาชน ส่วนผู้ฝากที่มิใช่สัญชาติไทยสามารถใช้หนังสือ เดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือเอกสารหลักฐานแสดงตนที่ออกหรือรับรองโดยหน่วยงานหรือองค์กรที่น่าเชื่อถือ เป็นต้น
2) การจัดเก็บรักษาเอกสารหรือสำเนาเอกสารที่ได้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องแล้วให้เก็บไว้ในห้องมั่นคงนั้น ได้ผ่อนปรนให้เก็บไว้ในสถานที่ปลอดภัย ณ ธนาคารพาณิชย์ได้ ตั้งแต่วันเปิดบัญชีเงินฝากและเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี
3) สำหรับการดำเนินการต่อผู้ฝากเงินอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ให้ธนาคารพาณิชย์ต้องดำเนินการ ให้เป็นไปตามประกาศภายใน 6 เดือนนับแต่วันบังคับใช้ โดยผ่อนปรนให้มีข้อยกเว้น สำหรับบัญชีเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวและธนาคารพาณิชย์ได้แจ้งทางจดหมายลงทะเบียนให้ผู้ฝากดำเนินการแล้ว
(หนังสือเวียนลงวันที่ 29 สิงหาคม 2543 เพื่อนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 22 สิงหาคม 2543 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2543)
5.5 การปฏิบัติเกี่ยวกับการไถ่ถอนตราสารที่มีลักษณะคล้ายทุนหรือตราสารหนี้ด้อยสิทธิระยะยาวที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นชอบให้นับเป็นเงินกองทุน ชั้นที่ 2 ได้
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การไถ่ถอนตราสารหนี้ด้อยสิทธิระยะยาวและตราสารที่มีลักษณะคล้ายทุนก่อนกำหนด ดังนี้
1) สถาบันการเงินต้องยื่นคำขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ในการขอไถ่ถอนตราสารที่มีลักษณะคล้ายทุน หรือตราสารหนี้ด้อยสิทธิระยะยาวก่อนครบกำหนด ทั้งนี้ ถ้าเป็น ตราสารที่มีลักษณะคล้ายทุนจะขอไถ่ถอนได้หลังจากได้ออกตราสารนั้นไปแล้ว 5 ปี
2) ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาอนุญาตให้ไถ่ถอนตราสารดังกล่าวก่อนกำหนดได้โดยมีเงื่อนไขว่าสถาบันการเงินจะต้องเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 หรือชั้นที่ 2 เพื่อทดแทน ตราสารเดิมที่ไถ่ถอนทันที หรือการไถ่ถอนนั้นจะไม่ ส่งผลให้อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงลดลงต่ำกว่าร้อยละ 12 โดยพิจารณาถึงการกันสำรองเต็มจำนวนแล้ว
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
1. มาตรการในการกำหนดนโยบายการเงิน
1.1 ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยแพร่รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ (Inflation Report)
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายการเงิน โดยวิธีการกำหนดเป้าหมาย เงินเฟ้อ (Inflation Targeting) ซึ่งอยู่ภายใต้ความ รับผิดชอบของคณะกรรมการนโยบายการเงิน และเพื่อ เสนอกรอบการประมาณการเงินเฟ้อที่ชัดเจนและมอง ไปข้างหน้า ถ่ายทอดแนวความคิดของคณะกรรมการฯ ต่อสาธารณชน และอธิบายเหตุผลของการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยจะ เผยแพร่รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ (Inflation Report) เป็นประจำทุก 3 เดือน และได้เริ่มเผยแพร่รายงาน ดังกล่าวนี้เป็นฉบับแรกในเดือนกรกฎาคม 2543
(ประกาศข่าวธปท. ฉบับที่ 85/2543 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2543)
2. มาตรการในด้านการ ป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท
2.1 การระงับสิทธิการ ทำธุรกรรมของสถาบันการเงินที่ดำเนินการ ไม่สอดคล้องกับมาตรการป้องปรามการ เก็งกำไรค่าเงินบาท
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้แจ้งให้แก่สถาบันการเงินทราบว่า ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2543 เป็นต้นไป หากยังพบว่าสถาบัน การเงินไม่ดำเนินการให้สอดคล้องกับมาตรการในการจำกัดการทำธุรกรรมทางการเงินที่เป็นการปล่อย สภาพคล่องเงินบาท หรือสร้างภาระผูกพันที่ต้องจ่าย เงินตราต่างประเทศในอนาคตให้แก่ผู้มีถิ่นที่อยู่ นอกประเทศ โดยไม่มีธุรกิจการค้าหรือการลงทุน รองรับสถาบันการเงินดังกล่าวจะถูกระงับสิทธิการ ทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนกับธนาคารแห่งประเทศไทย รวมทั้งอาจถูกระงับสิทธิอื่นๆในอนาคตด้วย ทั้งนี้ ตามที่ธนาคารจะเห็นสมควร
(หนังสือเวียน ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2543)
3. มาตรการด้านสินเชื่อ
3.1 เกณฑ์การสนับสนุนเงินให้สินเชื่อเพื่อเป็นเงินลงทุนระยะยาวแก่ SMEs ที่เป็น NPL
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศหลักเกณฑ์การสนับสนุนเงินให้สินเชื่อเพื่อเป็นเงินลงทุนระยะยาวแก่ SMEs ที่เป็น NPL ซึ่งมีขนาดสินทรัพย์ถาวรสุทธิไม่เกิน 200 ล้านบาท และ มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจต่อไป โดยที่ต้องผ่านขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้หรือดำเนินการ ควบคู่ไปกับการให้สินเชื่อใหม่ และสินเชื่อใหม่ต้อง นำไปใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตหรือ ขยายงาน สถาบันการเงินจะให้สินเชื่อไม่เกินร้อยละ 25 ของสินทรัพย์ถาวรสุทธิของผู้ประกอบการ แต่ละรายและไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อราย อายุเงินกู้ ไม่เกิน 5 ปีโดยคิดดอกเบี้ยในอัตราไม่เกิน MLR ต่อปี
(ข่าวธปท. ฉบับที่ 87/2543 ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2543)
3.2 ซักซ้อมความเข้าใจ เกี่ยวกับความหมายของเงินให้สินเชื่อที่ใช้คำนวณการปฏิบัติตามเงื่อนไขในการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์เปิดสาขา (เงื่อนไขข้อ 6)
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการคำนวณเงินให้ สินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ข้อ 6 ที่ให้ธนาคารพาณิชย์ซึ่งเปิดสาขาในส่วน ภูมิภาคต้องให้สินเชื่อไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของ เงินฝากที่ได้จากภูมิภาคนั้น ว่าให้นับรวมเงินให้ สินเชื่อที่ถูกจัดชั้นเป็นหนี้สงสัยจะสูญที่ธนาคารพาณิชย์ตัดออกจากบัญชี เนื่องจากได้กันเงิน สำรองครบถ้วนแล้ว เข้าไปในการคำนวณด้วย
(หนังสือเวียนลงวันที่ 21 สิงหาคม 2543)
3.3 การปฎิบัติเกี่ยวกับการให้สินเชื่อ การก่อภาระผูกพัน การลงทุน ในหลักทรัพย์ และการขายสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์
ธนาคารแห่งประเทศไทยขอให้ธนาคารพาณิชย์ทบทวนข้อกำหนดเกี่ยวกับนโยบาย ระเบียบและหลักเกณฑ์ในการให้สินเชื่อ การก่อภาระผูกพัน การลงทุนในหลักทรัพย์และการขายหลักทรัพย์ โดยให้มีการมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบ ให้ชัดเจน ตลอดจนมีกระบวนการบริหารความเสี่ยง เช่น การให้สินเชื่อและการก่อภาระผูกพันให้กำหนดในเรื่อง ประเภทและสัดส่วนของวงเงินให้สินเชื่อโดยรวมและการก่อภาระผูกพันแก่ภาคเศรษฐกิจต่างๆ หรือประเภทธุรกิจที่อยู่ในภาคเศรษฐกิจนั้น เพื่อมิให้เกิดการกระจุกตัวของสินเชื่อและการก่อภาระผูกพัน นอกจากนี้ ยังให้กำหนดผู้รับผิดชอบงานความเสี่ยงทางเครดิตแยกจากบุคคลอื่นโดยรับผิดชอบการพิจารณาสินเชื่อและการก่อภาระผูกพันก่อนนำเสนอ ผู้มีอำนาจอนุมัติ ส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์ให้มีข้อกำหนดในเรื่องผู้รับผิดชอบและขั้นตอนต่างๆ รวมถึงขั้นตอนการจ่ายเงินและการรับเงิน การรายงานการ ซื้อขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุมัติแล้วเช่นเดียวกับการให้สินเชื่อ เป็นต้น
(หนังสือเวียนลงวันที่ 16 สิงหาคม 2543)
3.4 ยกเลิกการจัดทำ เป้าหมายการให้สินเชื่อแก่ภาคเศรษฐกิจต่างๆ
ธนาคารแห่งประเทศไทย เห็นควรให้ธนาคารพาณิชย์ยกเลิกการจัดทำเป้าหมาย การให้สินเชื่อแก่ภาคเศรษฐกิจต่างๆ ตั้งแต่งวดเดือนมิถุนายน 2544 เป็นต้นไป และให้รายงานเฉพาะผลการให้สินเชื่อดังกล่าวเป็นรายเดือน โดยไม่ต้องเปรียบเทียบกับเป้าหมายประจำปีดังที่เคยปฏิบัติตามแบบรายงานเดิม เริ่มตั้งแต่ข้อมูลเดือนมกราคม 2544 เป็นต้นไป
(หนังสือเวียนลงวันที่ 12 กันยายน 2543)
4. มาตรการในด้านการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน
4.1 อสังหาริมทรัพย์รอการขาย ที่ได้มาจากการชำระหนี้
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนด ให้สถาบันการเงิน (ไม่รวมกิจการวิเทศธนกิจ) ถือปฎิบัติ ในการดำเนินการลดยอดอสังหาริมทรัพย์รอการขาย ที่ได้รับมาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2540 ให้หมดไปตาม หลักเกณฑ์ต่างๆที่กำหนดไว้ในประกาศ โดยให้เสนอ แผนการที่จะทยอยลดยอดอสังหาริมทรัพย์รอการขาย เป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี หากธนาคารแห่งประเทศไทยมิได้ ทักท้วงภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับแผนให้ถือว่าธนาคารอนุญาตให้ตามแผนที่เสนอมา
(หนังสือเวียนลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2543)
4.2 การขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน
4.2.1 การอนุญาตให้บริษัทเงินทุนประกอบธุรกิจเพิ่มเติมและมี สำนักงานสาขา
ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งให้สถาบันการเงินทราบว่า ขณะนี้ บริษัทเงินทุนสินเอเซียจำกัด (มหาชน) ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจเพิ่มเติมและ มีสำนักงานสาขา (Super Finance) ได้ ดังต่อไปนี้
1) การเปิดบัญชีรับฝากเงินแบบออมทรัพย์และประจำโดยใช้สมุดคู่ฝาก
2) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
3) การมีสำนักงานสาขาในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
นอกจากนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบธุรกิจดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกประกาศ 2 ฉบับ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการเปิดบัญชี รับฝากเงินแบบออมทรัพย์และประจำโดยใช้สมุด คู่ฝากของบริษัทเงินทุน และเรื่องการกำหนดระบบการควบคุมภายในเกี่ยวกับการรับฝากเงินแบบ ออมทรัพย์และประจำโดยใช้สมุดคู่ฝากของบริษัท เงินทุน ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2543
(หนังสือเวียนลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2543 )
4.2.2 การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์และการขายชอร์ต
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์เพิ่มเติมจากที่เคยอนุญาต โดยธนาคารพาณิชย์ที่จะขออนุญาต ต้องมีคุณสมบัติและมีความพร้อม ในด้านการประกอบธุรกิจ มีระบบการควบคุมภายใน ระบบบริหารความเสี่ยงตลอดจนการปฏิบัติงานที่เหมาะสม ต้องยื่นแผนประกอบการซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาอย่างน้อย 30 วันก่อน เริ่มประกอบธุรกิจ หากธนาคารแห่งประเทศไทย มิได้ทักท้วงภายใน 30 วันก็ให้ดำเนินการได้ และ ในกรณีที่ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ด้วย ก็ต้องแจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบถึงการได้รับอนุญาตก่อนประกอบธุรกิจดังกล่าว โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1) ธุรกิจที่อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบได้
1.1 ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภท กิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์กรณีเป็นตัวแทนหรือ นายหน้า
1.2 ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์เฉพาะตราสารแห่งหนี้ ในฐานะเป็นคู่สัญญากับผู้ยืมหรือผู้ให้ยืม
1.3 การให้ยืมหลักทรัพย์ เฉพาะตราสารแห่งหนี้ โดยเป็นคู่สัญญากับผู้ที่ได้ รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประเภทกิจการการยืมและ ให้ยืมหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือศูนย์รับฝากหลักทรัพย์
1.4 การขายหลักทรัพย์ที่ต้องยืมหลักทรัพย์มาเพื่อการส่งมอบ (การขายชอร์ต) เฉพาะตราสารแห่งหนี้
ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจตามข้อ 1) ต้องเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์และภาระผูกพันไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ณ วันที่เริ่มประกอบธุรกิจ
2) สำหรับการประกอบธุรกิจตามข้อ 1.2 และข้อ 1.3 ธนาคารพาณิชย์จะทำการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ได้เฉพาะกับคู่สัญญาที่เป็นสถาบันเท่านั้น และในการคำนวณจำนวนเงินหรือมูลค่าของหลักทรัพย์เมื่อรวมกับจำนวนเงินที่ธนาคารพาณิชย์ ให้สินเชื่อลงทุนหรือก่อภาระผูกพันกับคู่สัญญารายใดรายหนึ่งต้องไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุนชั้นที่ 1
(หนังสือเวียนลงวันที่ 12 กันยายน 2543 เพื่อนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 6 กันยายน 2543 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2543)
4.2.3 การขยายขอบเขต การประกอบธุรกิจ Custodian Service
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจ Custodian Service ให้แก่ธนาคารพาณิชย์ โดยให้เพิ่มการดูแลและเก็บรักษาเอกสารแสดงสิทธิ์ในทรัพย์สินต่างๆ
และเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวเนื่องกับการจำหน่ายจ่ายโอน หรือประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพิ่มเติมจากเดิม ซึ่งเป็นการรับหรือส่งมอบหลักทรัพย์ การรับหรือจ่ายเงินค่าหลักทรัพย์ การรับเงินปันผล การส่งมอบ ผลประโยชน์อันเกิดจากหลักทรัพย์นั้นๆ และการเป็นตัวแทนผู้รับมอบฉันทะจากลูกค้าในการ เข้าประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นและลงคะแนนเสียง
(หนังสือเวียนลงวันที่ 18 กันยายน 2543)
4.2.4 การขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจให้ธนาคารพาณิชย์เป็นตัวแทน จำหน่ายหุ้น
ธนาคารแห่งประเทศไทย เห็นสมควรขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจ ให้แก่ธนาคารพาณิชย์เป็นตัวแทนจำหน่ายหุ้น ในประเทศ ดังนี้
1) ธนาคารพาณิชย์ที่จะประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนจำหน่ายหุ้นในประเทศต้องได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้แต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายหุ้นได้ และธนาคารพาณิชย์จะประกอบธุรกิจได้เฉพาะกิจการแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนหรือเอกสารเปิดเผย ข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นที่จำหน่ายแจกจ่ายหรือรับใบจองซื้อหุ้น รับชำระเงินค่าจองซื้อหุ้น ยืนยันการจอง ซื้อหุ้น ส่งมอบหุ้นให้แก่ผู้จองที่ได้รับการจัดสรร และคืนเงินค่าจองให้แก่ผู้ที่มิได้รับการจัดสรร
2) ธนาคารพาณิชย์ต้องแจ้งให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบโดยละเอียดทุกครั้งที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายหุ้น พร้อมทั้งส่งสำเนาสัญญาการแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายหุ้นที่ได้ ลงนามแล้วให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยภายใน 7 วัน นับแต่วันที่มีการลงนามในสัญญา
3) หากปรากฎภายหลังว่ามีการปฏิบัติที่ไม่ได้อยู่ในขอบเขตที่ได้รับอนุญาต หรือไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในการอนุญาตนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจเพิกถอนการอนุญาตได้
(หนังสือเวียนลงวันที่ 27 กันยายน 2543)
4.2.5 การอนุญาตให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ประกอบกิจการตัวแทนเรียกเก็บหนี้
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ประกอบกิจการตัวแทนเรียกเก็บหนี้ โดยมีค่าตอบแทนและบริษัทต้องไม่เข้ารับความเสี่ยงจากการเป็นตัวแทนเรียกเก็บหนี้ นอกจากนี้ บริษัทต้องจัดให้มีระบบการบัญชีและการจัดเก็บเอกสารหลักฐานของสัญญาหนี้ในกิจการตัวแทนเรียกเก็บหนี้แยกต่างหากจากกิจการอื่นของบริษัท ตลอดจนการ จัดทำรายงานในกิจการตัวแทนเรียกเก็บหนี้แต่ละราย ออกจากกัน เพื่อให้ผู้ว่าจ้างสามารถตรวจสอบและ ดูแลผลการดำเนินงานได้
(หนังสือเวียนลงวันที่ 23 สิงหาคม 2543 เพื่อนำส่งประกาศกระทรวงการคลังลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2543 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2543)
5. มาตรการในด้านการกำกับและพัฒนาสถาบันการเงิน
5.1 การย้ายสถานที่ทำการของกิจการวิเทศธนกิจ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้ สำนักงานวิเทศธนกิจย้ายที่ทำการ ที่ตั้งในเขตกรุงเทพมหานครได้โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
1) ให้ย้ายสำนักงานปัจจุบันไปเปิด ณ ที่ทำการแห่งใหม่ภายใน 2 ปี นับวันที่ซื้อหรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น
2) ให้ปิดสำนักงานปัจจุบันในวันเดียวกับการเปิดสำนักงานแห่งใหม่และต้องแจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบ ล่วงหน้าอย่างน้อย 45 วัน
3) ให้ติดประกาศ ณ สำนักงานปัจจุบันแจ้งกำหนดวันเปิดและวันปิด สำนักงานที่เกี่ยวข้องล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน และลงประกาศการย้ายสถานที่ทำการในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อย 1 ฉบับ
4) ให้จำหน่ายหรือ ยกเลิกการเช่าที่ดินและ/หรืออาคารสำนักงานปัจจุบันให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ย้ายไปเปิดดำเนินการ ณ สำนักงานแห่งใหม่และแจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันจำหน่ายหรือยกเลิกการเช่า
(หนังสือเวียนลงวันที่ 8 สิงหาคม 2543)
5.2 ตราสารที่ให้นับ เข้าเป็นเงินกองทุน
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศเพิ่มเติมรายละเอียดคุณสมบัติของตราสารที่มีลักษณะคล้ายทุนที่ให้นับเข้าเป็น เงินกองทุนชั้นที่ 2 ดังนี้
1) กำหนดให้อายุของ ตราสารที่มีลักษณะคล้ายทุนไม่ต่ำกว่า 10 ปี และ ในช่วง 5 ปีสุดท้ายก่อนครบกำหนด ให้สถาบันการเงินทยอยลดการนับเงินที่ได้รับ เนื่องจากการออกตราสาร ดังกล่าวเข้าเป็นกองทุนลงร้อยละ 20 ต่อปี
2) ให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนมีสิทธิ์เลื่อนการชำระดอกเบี้ยตามตราสารออกไปได้ ในกรณีที่ไม่มีกำไรจากการดำเนินงานและ ไม่จ่ายเงินปันผลสำหรับหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ แต่ จะต้องเลื่อนการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยในกรณีที่การชำระดังกล่าวทำให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงต่ำกว่าร้อยละ 0 หรือเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยแทรกแซงโดยมีคำสั่ง ให้ลดทุนและเพิ่มทุน
อนึ่ง ในกรณีที่มีการเลื่อนการชำระดอกเบี้ยของตราสารที่มีลักษณะคล้ายทุนนี้ ออกไป หากประสงค์จะจ่ายดอกเบี้ยจำนวนนี้ก็สามารถจ่ายได้ในอัตราที่ไม่เกินกว่าที่ระบุไว้ตาม หน้าตราสาร (Original Coupon Rate)
(หนังสือเวียนลงวันที่ 23 สิงหาคม 2543 เพื่อนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 22 สิงหาคม 2543 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2543)
5.3 การเพิ่มเติมประเภทของสินทรัพย์สภาพคล่อง
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุน สามารถใช้หลักทรัพย์ที่บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (Secondary Mortgage Corporation) ออกใหม่ ตามพระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 นำมาใช้ในการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องได้
(หนังสือเวียนลงวันที่ 24 สิงหาคม 2543 เพื่อนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2543 มีผลบังคับใช้ 23 มิถุนายน 2543)
5.4 การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฎิบัติในเรื่องการรับฝากเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศผ่อนปรนให้ธนาคารพาณิชย์ปฎิบัติ ในเรื่องการรับฝากเงิน ตามข้อเสนอขอปรับปรุง แก้ไขของสมาคมธนาคารไทยและสมาคมธนาคารต่างชาติ ดังนี้
1) เมื่อลูกค้าขอเปิดบัญชีเงินฝาก ธนาคารพาณิชย์ต้องจัดให้มีเอกสาร แสดงตนหรือสำเนาเอกสารดังกล่าวเพื่อเป็นหลักฐานประกอบการขอเปิดบัญชี และผู้ฝากต้อง ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาด้วย โดยได้ผ่อนปรนให้ในกรณีที่ผู้ฝากเป็นบุคคลธรรมดาเอกสารที่ต้องมีอย่างน้อยเป็นเอกสารที่ระบุเลขประจำตัวประชาชน ส่วนผู้ฝากที่มิใช่สัญชาติไทยสามารถใช้หนังสือ เดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือเอกสารหลักฐานแสดงตนที่ออกหรือรับรองโดยหน่วยงานหรือองค์กรที่น่าเชื่อถือ เป็นต้น
2) การจัดเก็บรักษาเอกสารหรือสำเนาเอกสารที่ได้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องแล้วให้เก็บไว้ในห้องมั่นคงนั้น ได้ผ่อนปรนให้เก็บไว้ในสถานที่ปลอดภัย ณ ธนาคารพาณิชย์ได้ ตั้งแต่วันเปิดบัญชีเงินฝากและเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี
3) สำหรับการดำเนินการต่อผู้ฝากเงินอยู่แล้วก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ให้ธนาคารพาณิชย์ต้องดำเนินการ ให้เป็นไปตามประกาศภายใน 6 เดือนนับแต่วันบังคับใช้ โดยผ่อนปรนให้มีข้อยกเว้น สำหรับบัญชีเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวและธนาคารพาณิชย์ได้แจ้งทางจดหมายลงทะเบียนให้ผู้ฝากดำเนินการแล้ว
(หนังสือเวียนลงวันที่ 29 สิงหาคม 2543 เพื่อนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 22 สิงหาคม 2543 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2543)
5.5 การปฏิบัติเกี่ยวกับการไถ่ถอนตราสารที่มีลักษณะคล้ายทุนหรือตราสารหนี้ด้อยสิทธิระยะยาวที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นชอบให้นับเป็นเงินกองทุน ชั้นที่ 2 ได้
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การไถ่ถอนตราสารหนี้ด้อยสิทธิระยะยาวและตราสารที่มีลักษณะคล้ายทุนก่อนกำหนด ดังนี้
1) สถาบันการเงินต้องยื่นคำขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ในการขอไถ่ถอนตราสารที่มีลักษณะคล้ายทุน หรือตราสารหนี้ด้อยสิทธิระยะยาวก่อนครบกำหนด ทั้งนี้ ถ้าเป็น ตราสารที่มีลักษณะคล้ายทุนจะขอไถ่ถอนได้หลังจากได้ออกตราสารนั้นไปแล้ว 5 ปี
2) ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาอนุญาตให้ไถ่ถอนตราสารดังกล่าวก่อนกำหนดได้โดยมีเงื่อนไขว่าสถาบันการเงินจะต้องเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 หรือชั้นที่ 2 เพื่อทดแทน ตราสารเดิมที่ไถ่ถอนทันที หรือการไถ่ถอนนั้นจะไม่ ส่งผลให้อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงลดลงต่ำกว่าร้อยละ 12 โดยพิจารณาถึงการกันสำรองเต็มจำนวนแล้ว
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-