เมื่อวันที่ 10 | 11 กันยายน 2544 รัฐมนตรีเศรษฐกิจของประเทศเอเชีย 10 ประเทศ ได้แก่รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน 7 ประเทศ จีน เกาหลี และญี่ปุ่น กับรัฐมนตรีเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป 15 ประเทศ รวมทั้ง ผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปด้านการค้า ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรป (ASEM Economic Ministers' Meeting : EMM) ครั้งที่ 3 ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เพื่อหารือเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจการค้าและการลงทุน ระหว่างเอเชียกับยุโรป สำหรับไทยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายอดิศัย โพธารามิก) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม
สรุปสาระสำคัญของการประชุมได้ ดังนี้
1. การกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างเอเชีย-ยุโรปด้านการค้า
รัฐมนตรีสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานในปัจจุบันของแผนปฏิบัติการอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation Action Plan : TFAP) เพื่อลดเลิกอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี ในการนี้ รัฐมนตรีได้ขอให้ประเทศสมาชิกจัดทำรายงานความคืบหน้าในการลดเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs) โดยความสมัครใจเป็นประจำทุกปี
รัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ปรับปรุงกลไกการดำเนินการตามแผน TFAP ทั้ง 8 สาขา ให้มีเอกภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใส และขอให้เจ้าหน้าที่อาวุโสฯ เลือกวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) ในรายงานการลดเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs) ของประเทศสมาชิก เพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวปฏิบัติ ในการลดเลิกมาตรการดังกล่าว
ด้านการลงทุน
รัฐมนตรีรับทราบว่าแผนปฏิบัติการส่งเสริมการลงทุน (Investment Promotion Action Plan : IPAP) ประสบความสำเร็จในการส่งเสริมบรรยากาศในการลงทุนของทั้งสองภูมิภาค โดยการใช้มาตรการที่แก้ไขปัญหาอุปสรรคที่กีดขวางการลงทุน และการปฏิบัติตามมาตรการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด (Most Effective Measures) ในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ รวมถึงการจัดทำเครือข่ายข้อมูลการลงทุนทางอินเทอร์เน็ต (ASEM Investment Online webpage http://www.europa.ec.int/aio) เป็นประโยชน์ต่อการขยายการลงทุนระหว่างเอเชียและยุโรป จึงขอให้ดำเนินการต่อไป
นอกจากนี้ รัฐมนตรีเห็นชอบให้ต่ออายุการทำงานของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน (Investment Expert Group : IEG) ออกไปอีก 2 ปี จนถึงปี 2546 เพื่อดำเนินกิจกรรมภายใต้แผน IPAP
ความร่วมมือด้านอื่นๆ
เวียดนามได้จัดทำข้อเสนอความร่วมมืออาเซมในบางสาขาอุตสาหกรรมที่มีความ สนใจร่วมกันตามกรอบความร่วมมืออาเชีย-ยุโรป 2000 (Asia-Europe Cooperation Framework : AECF) อาทิ เช่น เทคโนโลยีการเกษตร ขบวนการผลิตอาหาร เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การขนส่ง และพลังงาน โดยได้มอบหมายให้ เจ้าหน้าที่อาวุโสฯ ไปดำเนินการ โดยใช้กลไกความร่วมมือที่มีอยู่ ภายใต้ TFAP IPAP และความร่วมมือกับภาคเอกชน (AEBF) ทั้งนี้ การดำเนินงานจะต้องหลีกเลี่ยงการทำงานซ้ำซ้อนกับกิจกรรมอื่นๆ ภายใต้ความร่วมมืออาเซม เช่น การดำเนินงานภายใต้การประชุมรัฐมนตรีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมเอเชีย-ยุโรป เป็นต้น
2. ความร่วมมือกับภาคเอกชน
นาย Stephen Lee ประธานสภาธุรกิจเอเชีย-ยุโรป ได้รายงานความคืบหน้าของการเตรียมการจัดประชุมสภาธุรกิจเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 6 (Asia-Europe Business Forum : AEBF) ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 8 | 9 ตุลาคม 2544 ณ สิงคโปร์ นอกจากนี้ ยังมีการจัดการพบปะของนักธุรกิจ (Business Matching) SMEs ของบริษัทในเอเชียและยุโรป เป็นครั้งแรก เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประสบการณ์ สร้างความคุ้นเคยและเป็นการเริ่มต้นทางธุรกิจระหว่างกัน
3. เรื่องภายใต้องค์การการค้าโลกรัฐมนตรีได้มีการหารือแลกเปลี่ยนความเห็นกันอย่างกว้างขวางในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับองค์การการค้าโลก (WTO) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่ประชุมสนับสนุนการเปิดการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบใหม่ ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก ครั้งที่ 4 ซึ่งจะจัดขึ้นที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ โดยเห็นว่าจะต้องเป็นการเจรจาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดเสรีการค้าและปรับปรุงกฎระเบียบให้มีความเข้มแข็งขึ้น รวมทั้งจะต้องมีความสมดุล คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศสมาชิก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้ประเทศเหล่านี้มีบทบาทเข้มแข็งขึ้นในเวทีเศรษฐกิจโลก รวมทั้ง สนับสนุนการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของประเทศสมาชิก อาเซมที่ยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการอยู่
4. การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรป ครั้ง ที่ 4
ที่ประชุมรับทราบข้อเสนอของประเทศเดนมาร์คที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 4 ในช่วงครึ่งหลังของปี 2545
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กันยายน 2544--
-ปส-
สรุปสาระสำคัญของการประชุมได้ ดังนี้
1. การกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างเอเชีย-ยุโรปด้านการค้า
รัฐมนตรีสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานในปัจจุบันของแผนปฏิบัติการอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation Action Plan : TFAP) เพื่อลดเลิกอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี ในการนี้ รัฐมนตรีได้ขอให้ประเทศสมาชิกจัดทำรายงานความคืบหน้าในการลดเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs) โดยความสมัครใจเป็นประจำทุกปี
รัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ปรับปรุงกลไกการดำเนินการตามแผน TFAP ทั้ง 8 สาขา ให้มีเอกภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใส และขอให้เจ้าหน้าที่อาวุโสฯ เลือกวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) ในรายงานการลดเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs) ของประเทศสมาชิก เพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวปฏิบัติ ในการลดเลิกมาตรการดังกล่าว
ด้านการลงทุน
รัฐมนตรีรับทราบว่าแผนปฏิบัติการส่งเสริมการลงทุน (Investment Promotion Action Plan : IPAP) ประสบความสำเร็จในการส่งเสริมบรรยากาศในการลงทุนของทั้งสองภูมิภาค โดยการใช้มาตรการที่แก้ไขปัญหาอุปสรรคที่กีดขวางการลงทุน และการปฏิบัติตามมาตรการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด (Most Effective Measures) ในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ รวมถึงการจัดทำเครือข่ายข้อมูลการลงทุนทางอินเทอร์เน็ต (ASEM Investment Online webpage http://www.europa.ec.int/aio) เป็นประโยชน์ต่อการขยายการลงทุนระหว่างเอเชียและยุโรป จึงขอให้ดำเนินการต่อไป
นอกจากนี้ รัฐมนตรีเห็นชอบให้ต่ออายุการทำงานของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน (Investment Expert Group : IEG) ออกไปอีก 2 ปี จนถึงปี 2546 เพื่อดำเนินกิจกรรมภายใต้แผน IPAP
ความร่วมมือด้านอื่นๆ
เวียดนามได้จัดทำข้อเสนอความร่วมมืออาเซมในบางสาขาอุตสาหกรรมที่มีความ สนใจร่วมกันตามกรอบความร่วมมืออาเชีย-ยุโรป 2000 (Asia-Europe Cooperation Framework : AECF) อาทิ เช่น เทคโนโลยีการเกษตร ขบวนการผลิตอาหาร เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การขนส่ง และพลังงาน โดยได้มอบหมายให้ เจ้าหน้าที่อาวุโสฯ ไปดำเนินการ โดยใช้กลไกความร่วมมือที่มีอยู่ ภายใต้ TFAP IPAP และความร่วมมือกับภาคเอกชน (AEBF) ทั้งนี้ การดำเนินงานจะต้องหลีกเลี่ยงการทำงานซ้ำซ้อนกับกิจกรรมอื่นๆ ภายใต้ความร่วมมืออาเซม เช่น การดำเนินงานภายใต้การประชุมรัฐมนตรีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมเอเชีย-ยุโรป เป็นต้น
2. ความร่วมมือกับภาคเอกชน
นาย Stephen Lee ประธานสภาธุรกิจเอเชีย-ยุโรป ได้รายงานความคืบหน้าของการเตรียมการจัดประชุมสภาธุรกิจเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 6 (Asia-Europe Business Forum : AEBF) ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 8 | 9 ตุลาคม 2544 ณ สิงคโปร์ นอกจากนี้ ยังมีการจัดการพบปะของนักธุรกิจ (Business Matching) SMEs ของบริษัทในเอเชียและยุโรป เป็นครั้งแรก เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประสบการณ์ สร้างความคุ้นเคยและเป็นการเริ่มต้นทางธุรกิจระหว่างกัน
3. เรื่องภายใต้องค์การการค้าโลกรัฐมนตรีได้มีการหารือแลกเปลี่ยนความเห็นกันอย่างกว้างขวางในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับองค์การการค้าโลก (WTO) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่ประชุมสนับสนุนการเปิดการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบใหม่ ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก ครั้งที่ 4 ซึ่งจะจัดขึ้นที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ โดยเห็นว่าจะต้องเป็นการเจรจาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดเสรีการค้าและปรับปรุงกฎระเบียบให้มีความเข้มแข็งขึ้น รวมทั้งจะต้องมีความสมดุล คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศสมาชิก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้ประเทศเหล่านี้มีบทบาทเข้มแข็งขึ้นในเวทีเศรษฐกิจโลก รวมทั้ง สนับสนุนการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของประเทศสมาชิก อาเซมที่ยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการอยู่
4. การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรป ครั้ง ที่ 4
ที่ประชุมรับทราบข้อเสนอของประเทศเดนมาร์คที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 4 ในช่วงครึ่งหลังของปี 2545
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กันยายน 2544--
-ปส-