ภาคอุตสาหกรรม
การผลิตภาคอุตสาหกรรม : ในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนเกือบทุก หมวดสินค้า ยกเว้น หมวดเครื่องดื่ม ปิโตรเลียม และยาสูบ ทั้งนี้เป็นไปตามการส่งออกที่เร่งตัวขึ้น และความต้องการภายในประเทศที่ ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของเศรษฐกิจและการค้าของโลก รวมทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย
ในช่วงไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปี 2543 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมยังคง เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่มีอัตราที่ชะลอลง คือร้อยละ 9.5 และ 3.2 ตามลำดับ ส่งผลให้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 6.4
(หากไม่รวมผลผลิตสุราเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5) โดยเพิ่มขึ้นเกือบทุกหมวด ยกเว้น หมวดเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และสิ่งทอ สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตในช่วง ครึ่งแรกของปี 2543 อยู่ที่ระดับร้อยละ 55.6 (หากไม่รวมผลผลิตสุราอยู่ที่ระดับร้อยละ 59.4) อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิต เกือบเต็มที่ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า โลหะสังกะสี ยางรถยนต์ เยื่อกระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษ
ปัจจัยที่ทำให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวดี ได้แก่
ปริมาณการค้าและเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวสูงขึ้น ทำให้การ ส่งออกของไทย ในรูปของดอลลาร์ สรอ. ในช่วงครึ่งแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 21.2 เทียบกับร้อยละ 14 ในช่วงเดียวกันปีก่อน ประกอบกับผลการปรับโครงสร้างหนี้ และการปรับโครงสร้างธุรกิจ ซึ่งประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดพันธมิตรร่วมทุน (Strategic Partner) ซึ่งให้ความช่วยเหลือ ในการหาตลาดส่งออกให้ และผู้ประกอบการส่วนใหญ่ได้ปรับกลยุทธ์โดยเน้นการผลิตเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมที่ขยายตัวได้ดีจากปัจจัยนี้ ได้แก่ หมวดวัสดุก่อสร้าง อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เหล็ก และผลิตภัณฑ์เหล็ก และหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง ความต้องการภายในประเทศที่เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น จากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐ และมาตรการ สนับสนุนการลงทุนภาคเอกชน อาทิ มาตรการด้านภาษีอากร มาตรการฟื้นฟูธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และมาตรการ ช่วยเหลือทางด้านเงินทุนสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงยังคงปรับตัวลดลงมา โดยตลอด ส่งผลให้อุตสาหกรรมสำคัญ ฟื้นตัวขึ้น
ผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรม *
(อัตราเปลี่ยนแปลง : ร้อยละ)==================================================================
2542 2543__________________________________________________________________
ทั้งปี H1 H2 H1 __________________________________________________________________อาหาร 16.00 21.30 8.40 1.40เครื่องดื่ม 22.40 20.70 23.80 -39.00ยาสูบ -9.90 -11.20 -8.50 -3.50สิ่งทอ -1.20 -1.80 -0.50 2.60ปิโตรเลียม 2.10 3.40 0.80 -5.70วัสดุก่อสร้าง 12.30 6.90 18.60 4.00ผลิตภัณฑ์เหล็ก 12.30 3.60 21.50 23.50ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง 79.10 61.60 93.70 46.00ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ 12.70 -3.90 30.00 40.10รวม 12.50 7.60 17.50 6.40(ไม่รวมสุรา) 10.40 5.40 15.70 13.50_________________________________________________________________หมายเหตุ * คิดเป็นร้อยละ 62.4 ของการผลิตภาคอุตสาหกรรม =================================================================
อุตสาหกรรมที่การผลิต ยังคงขยายตัวดีในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 ได้แก่
หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกัน ปีก่อนถึงร้อยละ 46 โดยเฉพาะรถยนต์นั่ง และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ จากการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ และการจัดงานบางกอกมอเตอร์โชว์ในเดือนเมษายน เพื่อกระตุ้นตลาด ในขณะที่การส่งออกรถยนต์พาณิชย์ยังขยายตัวสูงขึ้น ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตของหมวดนี้ได้ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องแต่ยังจัดอยู่ในเกณฑ์ต่ำคือ ระดับร้อยละ 41.1
หมวดผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อส่งออก ผลิตเพิ่มขึ้นในเกณฑ์สูงถึงร้อยละ 40.1 ตามการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ส่งออก อาทิ ยางแท่ง อัญมณีและเครื่องประดับ แผงวงจรไฟฟ้า ปิโตรเคมี โทรทัศน์ เยื่อ กระดาษ และคอมเพรสเซอร์ โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตได้ปรับตัวสูงขึ้นมาสู่ระดับร้อยละ 64.4
หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.5 ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่องประกอบกับ การส่งออกท่อเหล็กไปยัง สหรัฐฯ และยุโรป และการส่งออกเหล็กแผ่นรีดร้อนและรีดเย็นไปยังญี่ปุ่นสามารถขยายตลาดได้เพิ่มขึ้น สำหรับหมวดที่ผลิตเพิ่มขึ้น ไม่มากนัก ได้แก่ หมวดวัสดุก่อสร้าง ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ตามการส่งออกไป
สหรัฐฯ ฮ่องกง อินเดีย บังคลาเทศ และ ศรีลังกา ในขณะที่ความต้องการภายในประเทศยังไม่ขยายตัว ส่วนหมวดอาหาร เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.4 เป็นผลจากการ ส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งลดลง ประกอบกับผลผลิตสับปะรดกระป๋องเริ่มชะลอตัวลงตามปริมาณวัตถุดิบที่ออกสู่ตลาดน้อยลง ในขณะที่ หมวดสิ่งทอเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 จากที่ลดลงร้อยละ 1.8 ในช่วงเดียวกันปีก่อน ตามการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ และการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อการส่งออก
==========================================================================================
อัตราการใช้กำลังการผลิต *
(หน่วย : ร้อยละ)_________________________________________________________________________________________
2542 2543 __________________________________________________________________________________________
ทั้งปี H1 H2 H1 __________________________________________________________________________________________ อาหาร 43.50 50.20 34.70 51.50
เครื่องดื่ม 101.90 91.50 112.30 35.40
ยาสูบ 54.40 58.30 50.60 56.20
วัสดุก่อสร้าง 49.80 50.90 48.70 53.00
ผลิตภัณฑ์เหล็ก 39.10 36.30 42.10 45.40
ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง 35.60 30.20 40.60 41.10
ปิโตรเลียม 85.70 88.10 83.40 83.00
ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ 57.70 53.00 62.30 64.40
เฉลี่ย 60.10 57.40 62.60 55.60
(ไม่รวมสุรา) 55.00 53.30 56.60 59.40 ________________________________________________________________________________________หมายเหตุ * ครอบคลุมรายการสินค้าอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 44.5 ของมูลค่าเพิ่มภาคอุตสาหกรรม========================================================================================
สำหรับอุตสาหกรรมที่การผลิตลดลงได้แก่ หมวดเครื่องดื่ม ตามการ ลดลงของผลผลิตสุรา เนื่องจากผู้ผลิต ได้เก็บสต็อกไว้มากในปีก่อน ในขณะที่การผลิตเครื่องดื่มประเภทอื่น ๆ ยังขยายตัว หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ผลิตลดลงเนื่องจากโรงกลั่น ไทยออยล์เกิดเหตุ เพลิงไหม้ในช่วงสิ้นปีก่อน ทำให้ไม่สามารถดำเนินการผลิตได้เต็มที่ในเดือนมกราคมปีนี้รวมทั้งโรงกลั่นบางจากและโรงกลั่นระยองมีการปิดซ่อมบำรุงในเดือนมีนาคม ประกอบกับการบริโภคน้ำมันได้ชะลอตัวลงเพราะราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ในขณะที่หมวดยาสูบมีการผลิตลดลงเล็กน้อย
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
การผลิตภาคอุตสาหกรรม : ในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนเกือบทุก หมวดสินค้า ยกเว้น หมวดเครื่องดื่ม ปิโตรเลียม และยาสูบ ทั้งนี้เป็นไปตามการส่งออกที่เร่งตัวขึ้น และความต้องการภายในประเทศที่ ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของเศรษฐกิจและการค้าของโลก รวมทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย
ในช่วงไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปี 2543 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมยังคง เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่มีอัตราที่ชะลอลง คือร้อยละ 9.5 และ 3.2 ตามลำดับ ส่งผลให้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 6.4
(หากไม่รวมผลผลิตสุราเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5) โดยเพิ่มขึ้นเกือบทุกหมวด ยกเว้น หมวดเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และสิ่งทอ สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตในช่วง ครึ่งแรกของปี 2543 อยู่ที่ระดับร้อยละ 55.6 (หากไม่รวมผลผลิตสุราอยู่ที่ระดับร้อยละ 59.4) อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิต เกือบเต็มที่ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า โลหะสังกะสี ยางรถยนต์ เยื่อกระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษ
ปัจจัยที่ทำให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวดี ได้แก่
ปริมาณการค้าและเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวสูงขึ้น ทำให้การ ส่งออกของไทย ในรูปของดอลลาร์ สรอ. ในช่วงครึ่งแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 21.2 เทียบกับร้อยละ 14 ในช่วงเดียวกันปีก่อน ประกอบกับผลการปรับโครงสร้างหนี้ และการปรับโครงสร้างธุรกิจ ซึ่งประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดพันธมิตรร่วมทุน (Strategic Partner) ซึ่งให้ความช่วยเหลือ ในการหาตลาดส่งออกให้ และผู้ประกอบการส่วนใหญ่ได้ปรับกลยุทธ์โดยเน้นการผลิตเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมที่ขยายตัวได้ดีจากปัจจัยนี้ ได้แก่ หมวดวัสดุก่อสร้าง อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เหล็ก และผลิตภัณฑ์เหล็ก และหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง ความต้องการภายในประเทศที่เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น จากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐ และมาตรการ สนับสนุนการลงทุนภาคเอกชน อาทิ มาตรการด้านภาษีอากร มาตรการฟื้นฟูธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และมาตรการ ช่วยเหลือทางด้านเงินทุนสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงยังคงปรับตัวลดลงมา โดยตลอด ส่งผลให้อุตสาหกรรมสำคัญ ฟื้นตัวขึ้น
ผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรม *
(อัตราเปลี่ยนแปลง : ร้อยละ)==================================================================
2542 2543__________________________________________________________________
ทั้งปี H1 H2 H1 __________________________________________________________________อาหาร 16.00 21.30 8.40 1.40เครื่องดื่ม 22.40 20.70 23.80 -39.00ยาสูบ -9.90 -11.20 -8.50 -3.50สิ่งทอ -1.20 -1.80 -0.50 2.60ปิโตรเลียม 2.10 3.40 0.80 -5.70วัสดุก่อสร้าง 12.30 6.90 18.60 4.00ผลิตภัณฑ์เหล็ก 12.30 3.60 21.50 23.50ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง 79.10 61.60 93.70 46.00ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ 12.70 -3.90 30.00 40.10รวม 12.50 7.60 17.50 6.40(ไม่รวมสุรา) 10.40 5.40 15.70 13.50_________________________________________________________________หมายเหตุ * คิดเป็นร้อยละ 62.4 ของการผลิตภาคอุตสาหกรรม =================================================================
อุตสาหกรรมที่การผลิต ยังคงขยายตัวดีในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 ได้แก่
หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกัน ปีก่อนถึงร้อยละ 46 โดยเฉพาะรถยนต์นั่ง และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ จากการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ และการจัดงานบางกอกมอเตอร์โชว์ในเดือนเมษายน เพื่อกระตุ้นตลาด ในขณะที่การส่งออกรถยนต์พาณิชย์ยังขยายตัวสูงขึ้น ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตของหมวดนี้ได้ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องแต่ยังจัดอยู่ในเกณฑ์ต่ำคือ ระดับร้อยละ 41.1
หมวดผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อส่งออก ผลิตเพิ่มขึ้นในเกณฑ์สูงถึงร้อยละ 40.1 ตามการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ส่งออก อาทิ ยางแท่ง อัญมณีและเครื่องประดับ แผงวงจรไฟฟ้า ปิโตรเคมี โทรทัศน์ เยื่อ กระดาษ และคอมเพรสเซอร์ โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตได้ปรับตัวสูงขึ้นมาสู่ระดับร้อยละ 64.4
หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.5 ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่องประกอบกับ การส่งออกท่อเหล็กไปยัง สหรัฐฯ และยุโรป และการส่งออกเหล็กแผ่นรีดร้อนและรีดเย็นไปยังญี่ปุ่นสามารถขยายตลาดได้เพิ่มขึ้น สำหรับหมวดที่ผลิตเพิ่มขึ้น ไม่มากนัก ได้แก่ หมวดวัสดุก่อสร้าง ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ตามการส่งออกไป
สหรัฐฯ ฮ่องกง อินเดีย บังคลาเทศ และ ศรีลังกา ในขณะที่ความต้องการภายในประเทศยังไม่ขยายตัว ส่วนหมวดอาหาร เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.4 เป็นผลจากการ ส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งลดลง ประกอบกับผลผลิตสับปะรดกระป๋องเริ่มชะลอตัวลงตามปริมาณวัตถุดิบที่ออกสู่ตลาดน้อยลง ในขณะที่ หมวดสิ่งทอเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 จากที่ลดลงร้อยละ 1.8 ในช่วงเดียวกันปีก่อน ตามการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ และการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อการส่งออก
==========================================================================================
อัตราการใช้กำลังการผลิต *
(หน่วย : ร้อยละ)_________________________________________________________________________________________
2542 2543 __________________________________________________________________________________________
ทั้งปี H1 H2 H1 __________________________________________________________________________________________ อาหาร 43.50 50.20 34.70 51.50
เครื่องดื่ม 101.90 91.50 112.30 35.40
ยาสูบ 54.40 58.30 50.60 56.20
วัสดุก่อสร้าง 49.80 50.90 48.70 53.00
ผลิตภัณฑ์เหล็ก 39.10 36.30 42.10 45.40
ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง 35.60 30.20 40.60 41.10
ปิโตรเลียม 85.70 88.10 83.40 83.00
ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ 57.70 53.00 62.30 64.40
เฉลี่ย 60.10 57.40 62.60 55.60
(ไม่รวมสุรา) 55.00 53.30 56.60 59.40 ________________________________________________________________________________________หมายเหตุ * ครอบคลุมรายการสินค้าอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 44.5 ของมูลค่าเพิ่มภาคอุตสาหกรรม========================================================================================
สำหรับอุตสาหกรรมที่การผลิตลดลงได้แก่ หมวดเครื่องดื่ม ตามการ ลดลงของผลผลิตสุรา เนื่องจากผู้ผลิต ได้เก็บสต็อกไว้มากในปีก่อน ในขณะที่การผลิตเครื่องดื่มประเภทอื่น ๆ ยังขยายตัว หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ผลิตลดลงเนื่องจากโรงกลั่น ไทยออยล์เกิดเหตุ เพลิงไหม้ในช่วงสิ้นปีก่อน ทำให้ไม่สามารถดำเนินการผลิตได้เต็มที่ในเดือนมกราคมปีนี้รวมทั้งโรงกลั่นบางจากและโรงกลั่นระยองมีการปิดซ่อมบำรุงในเดือนมีนาคม ประกอบกับการบริโภคน้ำมันได้ชะลอตัวลงเพราะราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ในขณะที่หมวดยาสูบมีการผลิตลดลงเล็กน้อย
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-