สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การซื้อขายยังคงซบเซา แม้ว่าจะเข้าสู่เทศกาลตรุษจีนในสัปดาห์หน้า แต่ความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปริมาณผลผลิตแล้ว ยังมีน้อยกว่าทำให้ราคาสุกรมีชีวิตปรับลดลงอีกและยังคงมีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะเมื่อผ่านพ้นเทศกาลไปแล้ว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 35.28 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.66 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.07โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.69 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 35.20 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 33.60 บาทและภาคใต้กิโลกรัมละ 38.54บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 900 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.50บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะการค้าแจ่มใส ราคาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะเกิดภาวะผลผลิตไก่เนื้อขาดช่วง ในขณะที่ความต้องการบริโภคเพิ่มมากขึ้นเพราะผลกระทบจากเทศกาลตรุษจีนที่จะเริ่มขึ้นในสัปดาห์หน้า แนวโน้มคาดว่าราคาจะเพิ่มขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 27.85 บาท เพิ่มขึ้น จากกิโลกรัมละ 27.50 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.27 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 27.96 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 26.44 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 27.89 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 31.55 บาทส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 10.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคายังคงอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากในช่วงนี้ประสบปัญหาผลผลิตล้นตลาด เพราะผลจากสภาพอากาศที่เย็นลงทำให้มีแนวโน้มว่าราคาจะลดลงอีกและภาวะการซื้อขายยังไม่ค่อยแจ่มใสนัก นายสัญชัย ชวนชัยรัตน์ นายกสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ เปิดเผยว่า ตลาดไข่ไก่กำลังประสบภาวะผกผันทางราคา เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตล้นตลาดเพราะอากาศดีในช่วงที่ผ่านมา ทำให้มีผลผลิตไข่ไก่เพิ่มสูงถึง 23-24 ล้านฟองต่อวัน ในขณะที่ความต้องการบริโภคลดลงร้อยละ 3-5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนทำให้เกษตรกรประสบกับภาวะขาดทุน ดังนั้นในปลายเดือนมกราคมนี้ ทางสมาคมจะเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมเพื่อวางแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนซึ่งในเบื้องต้นจะขอความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องดังนี้ 1) นำเงินกองทุน คชก.จำนวน 45 ล้านบาทรับซื้อไข่ไก่เก็บไว้ในห้องเย็น โดยขอเช่าห้องเย็นจากองค์การคลังสินค้าเก็บสินค้าระยะหนึ่ง จึงค่อยทยอยออกมาจำหน่ายภายในเดือนมิถุนายน และ 2) ขอให้ผู้เลี้ยงปลดไก่แก่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะไก่ที่มีอายุการเลี้ยงเกิน 60 สัปดาห์ซึ่งจะช่วยลดแม่ไก่ได้ถึง 3 ล้านตัวหรือร้อยละ 10 ของปริมาณแม่ไก่ทั้งระบบ ซึ่งหากสมาชิกผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมกันแก้ไขปัญหาภายใต้มาตรการดังกล่าว คาดว่าจะสามารถแก้ไขราคาไข่ไก่ตกต่ำได้ภายใน 1 สัปดาห์เท่านั้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 150 บาทลดลงจากร้อยฟองละ 158 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.06 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 147 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 181 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 140 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 162 บาทส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 17 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 160 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 186 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 174 บาทภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 205 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 169 บาทและภาคใต้ร้อยฟองละ 197 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 213 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 32.36 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 22.81 บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.63 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.79
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 4 ประจำสัปดาห์ 24 - 30 ม.ค. 2543--
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การซื้อขายยังคงซบเซา แม้ว่าจะเข้าสู่เทศกาลตรุษจีนในสัปดาห์หน้า แต่ความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปริมาณผลผลิตแล้ว ยังมีน้อยกว่าทำให้ราคาสุกรมีชีวิตปรับลดลงอีกและยังคงมีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะเมื่อผ่านพ้นเทศกาลไปแล้ว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 35.28 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.66 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.07โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.69 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 35.20 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 33.60 บาทและภาคใต้กิโลกรัมละ 38.54บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 900 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.50บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะการค้าแจ่มใส ราคาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะเกิดภาวะผลผลิตไก่เนื้อขาดช่วง ในขณะที่ความต้องการบริโภคเพิ่มมากขึ้นเพราะผลกระทบจากเทศกาลตรุษจีนที่จะเริ่มขึ้นในสัปดาห์หน้า แนวโน้มคาดว่าราคาจะเพิ่มขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 27.85 บาท เพิ่มขึ้น จากกิโลกรัมละ 27.50 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.27 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 27.96 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 26.44 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 27.89 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 31.55 บาทส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 10.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคายังคงอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากในช่วงนี้ประสบปัญหาผลผลิตล้นตลาด เพราะผลจากสภาพอากาศที่เย็นลงทำให้มีแนวโน้มว่าราคาจะลดลงอีกและภาวะการซื้อขายยังไม่ค่อยแจ่มใสนัก นายสัญชัย ชวนชัยรัตน์ นายกสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ เปิดเผยว่า ตลาดไข่ไก่กำลังประสบภาวะผกผันทางราคา เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตล้นตลาดเพราะอากาศดีในช่วงที่ผ่านมา ทำให้มีผลผลิตไข่ไก่เพิ่มสูงถึง 23-24 ล้านฟองต่อวัน ในขณะที่ความต้องการบริโภคลดลงร้อยละ 3-5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนทำให้เกษตรกรประสบกับภาวะขาดทุน ดังนั้นในปลายเดือนมกราคมนี้ ทางสมาคมจะเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมเพื่อวางแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนซึ่งในเบื้องต้นจะขอความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องดังนี้ 1) นำเงินกองทุน คชก.จำนวน 45 ล้านบาทรับซื้อไข่ไก่เก็บไว้ในห้องเย็น โดยขอเช่าห้องเย็นจากองค์การคลังสินค้าเก็บสินค้าระยะหนึ่ง จึงค่อยทยอยออกมาจำหน่ายภายในเดือนมิถุนายน และ 2) ขอให้ผู้เลี้ยงปลดไก่แก่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะไก่ที่มีอายุการเลี้ยงเกิน 60 สัปดาห์ซึ่งจะช่วยลดแม่ไก่ได้ถึง 3 ล้านตัวหรือร้อยละ 10 ของปริมาณแม่ไก่ทั้งระบบ ซึ่งหากสมาชิกผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมกันแก้ไขปัญหาภายใต้มาตรการดังกล่าว คาดว่าจะสามารถแก้ไขราคาไข่ไก่ตกต่ำได้ภายใน 1 สัปดาห์เท่านั้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 150 บาทลดลงจากร้อยฟองละ 158 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.06 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 147 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 181 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 140 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 162 บาทส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 17 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 160 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 186 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 174 บาทภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 205 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 169 บาทและภาคใต้ร้อยฟองละ 197 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 213 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 32.36 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 22.81 บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.63 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.79
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 4 ประจำสัปดาห์ 24 - 30 ม.ค. 2543--