กรุงเทพฯ--15 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (14 พฤศจิกายน 2544) นายรัฐกิจ มานะทัต อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย ว่า มีรายงานข่าวในนสพ. The Asian Age (12 พฤศจิกายน 2544) ว่า ในปัจจุบันจำนวนปลาฉลามในบริเวณอ่าวเบงกอลด้านชายฝั่งรัฐโอริสสา มีจำนวนลดน้อยลงมากจนอาจสูญพันธ์ เพราะถูกล่าโดยเรือประมงเนื่องจากเนื้อปลาฉลามขายได้ราคาดี การล่าปลาฉลามดังกล่าวมีผลต่อระบบนิเวศวิทยา เพราะเมื่อจำนวนปลาฉลามลดน้อยลง ปลาหมึกซึ่งเป็นอาหารของปลาฉลามก็จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และจะทำให้จำนวนกุ้งซึ่งเป็นอาหารของปลาหมึกลดน้อยลงตามไปด้วย
ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของรัฐโอริสสาเป็นอย่างมากเนื่องจากกุ้งเป็นทรัพยากรเศรษฐกิจที่สำคัญ ถึงแม้ว่าการล่าปลาฉลามจะผิดกฎหมายอินเดีย แต่จากการสำรวจของ Orissa Widelife Society พบว่า เรือประมงจำนวนมากจากรัฐต่าง ๆ ของอินเดีย ศรีลังกา และจากประเทศไทย ได้ลักลอบล่าปลาฉลามในเขตรัฐโอริสสา ซึ่งกระทบต่อภาพพจน์ของเรือประมงไทยในอินเดีย ในการนี้ จึงขอความกรุณาสื่อมวลชนช่วยประชาสัมพันธ์เตือนเรือประมงไทยไม่ให้กระทำผิดกฎหมายดังกล่าว และเตือนเรือประมงไทยที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการประมงในเขตน่านน้ำอินเดีย ลักลอบเข้าไปทำการประมงด้วย เพราะเป็นการละเมิดกฎหมาย Wildlife Protection Act 1972
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (14 พฤศจิกายน 2544) นายรัฐกิจ มานะทัต อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย ว่า มีรายงานข่าวในนสพ. The Asian Age (12 พฤศจิกายน 2544) ว่า ในปัจจุบันจำนวนปลาฉลามในบริเวณอ่าวเบงกอลด้านชายฝั่งรัฐโอริสสา มีจำนวนลดน้อยลงมากจนอาจสูญพันธ์ เพราะถูกล่าโดยเรือประมงเนื่องจากเนื้อปลาฉลามขายได้ราคาดี การล่าปลาฉลามดังกล่าวมีผลต่อระบบนิเวศวิทยา เพราะเมื่อจำนวนปลาฉลามลดน้อยลง ปลาหมึกซึ่งเป็นอาหารของปลาฉลามก็จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และจะทำให้จำนวนกุ้งซึ่งเป็นอาหารของปลาหมึกลดน้อยลงตามไปด้วย
ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของรัฐโอริสสาเป็นอย่างมากเนื่องจากกุ้งเป็นทรัพยากรเศรษฐกิจที่สำคัญ ถึงแม้ว่าการล่าปลาฉลามจะผิดกฎหมายอินเดีย แต่จากการสำรวจของ Orissa Widelife Society พบว่า เรือประมงจำนวนมากจากรัฐต่าง ๆ ของอินเดีย ศรีลังกา และจากประเทศไทย ได้ลักลอบล่าปลาฉลามในเขตรัฐโอริสสา ซึ่งกระทบต่อภาพพจน์ของเรือประมงไทยในอินเดีย ในการนี้ จึงขอความกรุณาสื่อมวลชนช่วยประชาสัมพันธ์เตือนเรือประมงไทยไม่ให้กระทำผิดกฎหมายดังกล่าว และเตือนเรือประมงไทยที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการประมงในเขตน่านน้ำอินเดีย ลักลอบเข้าไปทำการประมงด้วย เพราะเป็นการละเมิดกฎหมาย Wildlife Protection Act 1972
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-