สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเข้าสู่ช่วงเทศกาลท่องเที่ยว ทำให้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 49.19 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.45 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.53 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 49.84 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 47.25 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 49.32 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 51.48 บาท ส่วนราคา ลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 1,200 บาท (บวกลบ 45 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.50 ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.02 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.50 ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.48
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่เย็นลง ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีมติเห็นชอบให้กรมปศุสัตว์แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกแบบถาวรระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด ซึ่งจะทำงานในเชิงรุก โดยการเอ็กซเรย์และฉีดยาฆ่าเชื้อทั่วประเทศ และอบรมอาสาสมัครในการป้องกันและทำความเข้าใจกับโรคไข้หวัดนกด้วย
จากความเชื่อมั่นในรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกที่ได้วางมาตรการต่าง ๆ มารองรับได้อย่างรอบคอบรัดกุม เช่น การเอ็กซเรย์พื้นที่เลี้ยงสัตว์ปีก ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อในพื้นที่เสี่ยง ควบคุมในการเคลื่อนย้ายสัตว์อย่างเคร่งครัด และมีการวางมาตรการระยะยาวในการผลักดันการเลี้ยงสัตว์ปีกให้เข้าสู่ระบบการเลี้ยงแบบมาตรฐาน และการสนับสนุนด้านสินเชื่อแก่เกษตรกร รวมไปถึงมาตรฐานการผลิตไก่ปรุงสุกของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไก่ในประเทศไทย ทำให้ประเทศคู่ค้ามีคำสั่งซื้อไก่ปรุงสุกเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าปี 2549 ไทยจะสามารถส่งออกไก่ปรุงสุกได้ประมาณ 400,000 ตัน
ในการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออกครั้งแรกที่จะจัดขึ้นในสัปดาห์หน้า ประกอบด้วยผู้แทนจาก 10 ชาติสมาชิกอาเซียน กับอีก 6 ประเทศในภูมิภาค ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และเกาหลีใต้ ที่ประชุมจะเผยแผนต้านไข้หวัดนกในระดับภูมิภาค โดยจะมีการกำหนดกลไกต่าง ๆ เพื่อสกัดกั้นการระบาดของโรค รวมทั้งมีการสำรองและรับประกันการเข้าถึงทั้งวัคซีนและยาต้านไข้หวัดนก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 33.03 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.01 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.06 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 39.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 33.49 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 28.91 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 30.04 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 15.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.50 ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.92 ส่วนราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 35.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.50 ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.90
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่เย็นลง ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้นจากข่าวโรคไข้หวัดนก ทำให้ความต้องการบริโภคลดลง เพราะ ผู้บริโภคบางส่วนไม่มั่นใจในการบริโภคไข่ไก่ แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 219 บาท ลดลงจาก ร้อยฟองละ 227 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.47 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 199 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 259 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 205 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 243 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 17 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 196.33 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 287 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 292 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.54 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 242 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 307 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 289 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 294 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 386 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 48.78 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.47 จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.63 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 42.18 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 53.98 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 45.34 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.05 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.54 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.48 จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 36.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.64 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 50.45 ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 5-11 ธันวาคม 2548--
-พห-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเข้าสู่ช่วงเทศกาลท่องเที่ยว ทำให้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 49.19 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.45 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.53 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 49.84 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 47.25 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 49.32 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 51.48 บาท ส่วนราคา ลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 1,200 บาท (บวกลบ 45 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.50 ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.02 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.50 ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.48
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่เย็นลง ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีมติเห็นชอบให้กรมปศุสัตว์แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกแบบถาวรระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด ซึ่งจะทำงานในเชิงรุก โดยการเอ็กซเรย์และฉีดยาฆ่าเชื้อทั่วประเทศ และอบรมอาสาสมัครในการป้องกันและทำความเข้าใจกับโรคไข้หวัดนกด้วย
จากความเชื่อมั่นในรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกที่ได้วางมาตรการต่าง ๆ มารองรับได้อย่างรอบคอบรัดกุม เช่น การเอ็กซเรย์พื้นที่เลี้ยงสัตว์ปีก ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อในพื้นที่เสี่ยง ควบคุมในการเคลื่อนย้ายสัตว์อย่างเคร่งครัด และมีการวางมาตรการระยะยาวในการผลักดันการเลี้ยงสัตว์ปีกให้เข้าสู่ระบบการเลี้ยงแบบมาตรฐาน และการสนับสนุนด้านสินเชื่อแก่เกษตรกร รวมไปถึงมาตรฐานการผลิตไก่ปรุงสุกของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไก่ในประเทศไทย ทำให้ประเทศคู่ค้ามีคำสั่งซื้อไก่ปรุงสุกเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าปี 2549 ไทยจะสามารถส่งออกไก่ปรุงสุกได้ประมาณ 400,000 ตัน
ในการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออกครั้งแรกที่จะจัดขึ้นในสัปดาห์หน้า ประกอบด้วยผู้แทนจาก 10 ชาติสมาชิกอาเซียน กับอีก 6 ประเทศในภูมิภาค ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และเกาหลีใต้ ที่ประชุมจะเผยแผนต้านไข้หวัดนกในระดับภูมิภาค โดยจะมีการกำหนดกลไกต่าง ๆ เพื่อสกัดกั้นการระบาดของโรค รวมทั้งมีการสำรองและรับประกันการเข้าถึงทั้งวัคซีนและยาต้านไข้หวัดนก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 33.03 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.01 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.06 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 39.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 33.49 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 28.91 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 30.04 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 15.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.50 ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.92 ส่วนราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 35.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.50 ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.90
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่เย็นลง ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้นจากข่าวโรคไข้หวัดนก ทำให้ความต้องการบริโภคลดลง เพราะ ผู้บริโภคบางส่วนไม่มั่นใจในการบริโภคไข่ไก่ แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 219 บาท ลดลงจาก ร้อยฟองละ 227 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.47 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 199 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 259 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 205 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 243 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 17 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 196.33 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 287 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 292 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.54 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 242 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 307 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 289 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 294 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 386 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 48.78 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.47 จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.63 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 42.18 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 53.98 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 45.34 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.05 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.54 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.48 จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 36.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.64 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 50.45 ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 5-11 ธันวาคม 2548--
-พห-