Mr. David L. Wilson ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดจากสหรัฐอเมริกาและเป็นที่ปรึกษาในธุรกิจด้านเสื้อผ้าของอเมริกาและอีกหลายประเทศ Mr. Wilson ได้เข้ามาทำการศึกษาอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทยระยะหนึ่ง ด้วยการเข้าไปสังเกตุการณ์ในโรงงานสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ แล้วสรุปเป็นข้อมูลโดยการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการส่งออกและบรรยายให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มฟัง เพื่อเป็นแนวทางการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ที่มีการแข่งขันด้านการตลาดรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะในปี 2005 ซึ่งเป็นปีที่ยกเลิกการกำหนดโควต้าแล้ว
เนื่องจากในปี 2005 เป็นปีที่ WTO ได้มีการตกลงกันว่าจะมีการยกเลิกโควต้านการนำเข้า ปล่อยให้ตลาดมีเสรีภาพอย่างจริงจัง ซึ่งผลที่จะตามมาก็คือการแข่งขันระหว่างผู้นำเข้าจากประเทศต่าง ๆ มีมากขึ้นและต่างก็ต้องหากลยุทธ์ที่ดีที่สุดที่จะจูงใจลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดใหญ่อย่างสหรัฐฯ ดังนั้น ก่อนอื่นคงต้องมาดูกันว่าผู้นำเข้าอเมริกาใช้ตัวเลือกอะไรสำหรับการตัดสินใจในการซื้อสินค้า ซึ่งปรากฎว่าสิ่งต่อไปนี้คือเงื่อนไขสำคัญตามลำดับ
1. Price ราคายังคงเป็นตัวเลือกที่สำคัญที่สุดราคาที่ถูกจึงเป็นสิ่งที่ลูกค้าให้ความสนใจ
2. Quality ต้องมีคุณภาพที่สม่ำเสมอ
3. Reliability มีความน่าเชื่อถือได้ในคุณภาพการผลิต ไปจนถึงการส่งมอบสินค้าในเวลาที่ตกลงกันไว้
4. Country Infrastucture มีความสามารถในการจัดหาวัตถุดิบและส่วนประกอบที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิต
5. Response Time เวลาในการส่งมอบสินค้าสามารถส่งมอบได้ในเวลาอันรวดเร็ว
6. Communication ความสามารถในการสื่อสารด้วยการใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งปรากฎว่านักธุรกิจไทยยังมีความสามารถ ในด้านนี้น้อยกว่าฮ่องกง ไต้หวัน
7. Human Rights บริษัทใหญ่ ๆ จะให้ความสำคัญในเรื่องจริยธรรมที่ผู้ประกอบการปฎิบัติต่อลูกจ้าง ตั้งแต่เรื่อง
ค่าแรงงาน ชั่วโมงการทำงาน สวัสดิการ เพราะบริษัทเหล่านี้มักถูก NGOs ต่อต้านในเรื่องการใช้แรงงานใน ประเทศโลกที่สาม
8. Electronic Data Interchange Capability ต้องมีความสามารถในการสื่อสารด้วยระบบคอมพิวเตอร์
นอกจากนั้น ปรากฎว่าทิศทางในการสั่งซื้อสินค้าหรือการนำเข้าในช่วงเวลาสองปีที่ผ่านมาได้มีการเปลี่ยนแปลงด้วยวิธีการที่เรียกว่า Consolidation เช่น Liz Claiborne เคยซื้อสินค้าจาก 496 โรงงานใน 38 ประเทศในปี 1998 ได้ลดการกระจายตัวของกลุ่มผู้ขายเหลือเพียง 248 โรงงาน ใน 30 ประเทศ โดยได้เพิ่มปริมาณการซื้อในแต่ละโรงงาน ให้มากขึ้นและมีความต้องการของลูกค้าสามารถทำงานร่วมกันในลักษณะของ Partner สิ่งที่ผู้ซื้อในหลายบริษัทต้องการอีกประการหนึ่งก็คือต้องการให้ผู้ขายสินค้ามีใบรับรองสินค้า สามารถรองรับความสม่ำเสมอของคุณภาพ มีระบบหรือกระบวนการรายงานเรื่องการควบคุมคุณภาพ และสุดท้ายมีความสามารถในการพัฒนาสินค้าตั้งแต่การทำตัวอย่างสินค้าที่จะทำให้ลูกค้าแน่ใจได้ว่าสินค้านั้นเป็นฯไปตาม Spec ที่ตกลงกันไว้
ในการสำรวจศักยภาพของโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย ปรากฎว่าค่อนข้างมีความอ่อนด้อยในเชิงวิศวกรรมในกลุ่มโรงงานที่ได้ทำการสำรวจ ปรากฎว่าไม่มีโรงงานไหนเลยที่มีระบบข้อมูลที่เรียกว่า Computer Standard Data System ซึ่งหมายถึงการเก็บข้อมูลกระบวนการผลิตเข้าไปในคอมพิวเตอร์ ซึ่งมี Software ขายอยู่ 4-5 ราย นอกจากนั้น ยังพบว่าต่ำกว่า 10% ที่มีวิศวกรในโรงงาน ในเรื่องของระยะเวลาที่ใช้นับตั้งแต่สินค้าเข้ามาในโรงงานไปจนถึงวันที่สินค้าออก ส่วนใหญ่ยังใช้เวลามากกว่า 21 วัน นอกจากนั้นยังพบว่าในโรงงานมากกว่า 52% มีระบบ CAD/CAM แต่ใช้ในการวาง Marker ในการตัดผ้าเท่านั้นไม่ได้ใช้ในการทำ Pattern เลย ทั้ง ๆ ที่ CAD System เหล่านั้นสามารถใช้ในการทำ Pattern ได้ทั้งสิ้น
ฉะนั้นถ้าหากต้องการให้ธุรกิจเติบโตไปจนถึงขั้นที่ว่าสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยมีความสำคัญในตลาดโลก โดยเฉพาะตลาดสำคัญ ๆ คือ สหรัฐ กลุ่มประเทศยุโรป รวมทั้งญี่ปุ่น มีแนวทางที่จะต้องนำไปดำเนินการดังต่อไปนี้
1. ลดราคาสินค้าด้วยการลด Labor Cost ที่ไม่ได้หมายถึงการลดค่าแรง แต่เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้มากขึ้นเพื่อ ให้ต้นทุนต่ำลงด้วยการบริหารจัดการที่ดี การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร
2. ทำระบบตรวจสอบคุณภาพหรือประกันคุณภาพให้ดีขึ้น โดยเฉพาะการใช้ข้อมูลเชิงสถิติ หรือกระบวนการสุ่มตรวจทาง สถิติเพื่อให้ได้สินค้าตรงตามความต้องการของลูกค้า
3. ทำธุรกิจให้ง่ายขึ้นโดยการปรับระบบการสื่อสารให้มีระบบอินเตอร์เนต ทำระบบ EDI จัดให้มี VDO Conference หรือมีหน่วยงานกลางที่จะทำให้ข้อมูลกระจายไปยังผู้ที่จะทำการสั่งซื้อ
4. ปรับปรุง Infrastructure ซึ่งหมายถึงวัตถุดิบต่าง ๆ ที่มีอยู่ในประเทศตั้งแต่ผ้าผืนไป จนถึงส่วนประกอบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นซิบ กระดุม ด้าย ฯลฯ ให้มีคุณภาพและมีความหลากหลาย สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้
5. สร้าง Value Added หรือเพิ่มคุณค่าในตัวสินค้า เช่น การสร้างสินค้าใหม่ ๆ พัฒนาผลิตภัณฑ์ในการทำตัวอย่าง เสนอลูกค้า ตัวอย่างที่เห็นชัดในเรื่องนี้คือฮ่องกง ซึ่งมีความพยายามที่จะนำเสนอสินค้ารูปแบบใหม่ ๆ ทำให้ยังอยู่
ในตลาดได้แม้ว่าจะมีค่าแรงแพงกว่าเมืองไทย
6. ทำ Pre-certify ให้โรงงานล่วงหน้าไม่ว่าจะเป็นเรื่องการประกันคุณภาพ Human Rights เพื่อให้ลูกค้าเห็นว่า โรงงานเหล่านั้นมีความพร้อมในการทำธุรกิจ
7. พัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการสำรวจพบว่ามีผู้ประกอบการที่มีความรู้ในการบริหารงาน เฉพาะในเรื่องเสื้อผ้าสำเร็จรูปน้อยมาก และนอกจากนั้นยังไม่มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านนี้โดยตรง
ไม่มีการฝึกอบรมเทคนิคการทำงานอย่างเป็นระบบ
Mr. Wilson ได้สรุปในตอนท้าย ว่าอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย ยังมีช่องว่างให้ใช้ความสามารถในการพัฒนากระบวนการผลิตอีกมาก เพราะที่ผ่านมายังไม่ได้ใช้ทั้งคนและเทคโนโลยีให้เต็มประสิทธิภาพ เนื่องมาจากความรู้ในระบบวิศวกรรมค่อนข้างต่ำ จึงควรที่จะหันมาใส่ใจในเรื่องการพัฒนาระบบการทำงานให้มากขึ้นก่อนเข้าสู่เวทีการแข่งขันในตลาดโลกที่ปราศจากโควต้าในปี 2005 ที่จะมาถึงนี้
ที่มา : วารสาร Apparel Digest ของสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 2/31 มกราคม 2543--
เนื่องจากในปี 2005 เป็นปีที่ WTO ได้มีการตกลงกันว่าจะมีการยกเลิกโควต้านการนำเข้า ปล่อยให้ตลาดมีเสรีภาพอย่างจริงจัง ซึ่งผลที่จะตามมาก็คือการแข่งขันระหว่างผู้นำเข้าจากประเทศต่าง ๆ มีมากขึ้นและต่างก็ต้องหากลยุทธ์ที่ดีที่สุดที่จะจูงใจลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดใหญ่อย่างสหรัฐฯ ดังนั้น ก่อนอื่นคงต้องมาดูกันว่าผู้นำเข้าอเมริกาใช้ตัวเลือกอะไรสำหรับการตัดสินใจในการซื้อสินค้า ซึ่งปรากฎว่าสิ่งต่อไปนี้คือเงื่อนไขสำคัญตามลำดับ
1. Price ราคายังคงเป็นตัวเลือกที่สำคัญที่สุดราคาที่ถูกจึงเป็นสิ่งที่ลูกค้าให้ความสนใจ
2. Quality ต้องมีคุณภาพที่สม่ำเสมอ
3. Reliability มีความน่าเชื่อถือได้ในคุณภาพการผลิต ไปจนถึงการส่งมอบสินค้าในเวลาที่ตกลงกันไว้
4. Country Infrastucture มีความสามารถในการจัดหาวัตถุดิบและส่วนประกอบที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิต
5. Response Time เวลาในการส่งมอบสินค้าสามารถส่งมอบได้ในเวลาอันรวดเร็ว
6. Communication ความสามารถในการสื่อสารด้วยการใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งปรากฎว่านักธุรกิจไทยยังมีความสามารถ ในด้านนี้น้อยกว่าฮ่องกง ไต้หวัน
7. Human Rights บริษัทใหญ่ ๆ จะให้ความสำคัญในเรื่องจริยธรรมที่ผู้ประกอบการปฎิบัติต่อลูกจ้าง ตั้งแต่เรื่อง
ค่าแรงงาน ชั่วโมงการทำงาน สวัสดิการ เพราะบริษัทเหล่านี้มักถูก NGOs ต่อต้านในเรื่องการใช้แรงงานใน ประเทศโลกที่สาม
8. Electronic Data Interchange Capability ต้องมีความสามารถในการสื่อสารด้วยระบบคอมพิวเตอร์
นอกจากนั้น ปรากฎว่าทิศทางในการสั่งซื้อสินค้าหรือการนำเข้าในช่วงเวลาสองปีที่ผ่านมาได้มีการเปลี่ยนแปลงด้วยวิธีการที่เรียกว่า Consolidation เช่น Liz Claiborne เคยซื้อสินค้าจาก 496 โรงงานใน 38 ประเทศในปี 1998 ได้ลดการกระจายตัวของกลุ่มผู้ขายเหลือเพียง 248 โรงงาน ใน 30 ประเทศ โดยได้เพิ่มปริมาณการซื้อในแต่ละโรงงาน ให้มากขึ้นและมีความต้องการของลูกค้าสามารถทำงานร่วมกันในลักษณะของ Partner สิ่งที่ผู้ซื้อในหลายบริษัทต้องการอีกประการหนึ่งก็คือต้องการให้ผู้ขายสินค้ามีใบรับรองสินค้า สามารถรองรับความสม่ำเสมอของคุณภาพ มีระบบหรือกระบวนการรายงานเรื่องการควบคุมคุณภาพ และสุดท้ายมีความสามารถในการพัฒนาสินค้าตั้งแต่การทำตัวอย่างสินค้าที่จะทำให้ลูกค้าแน่ใจได้ว่าสินค้านั้นเป็นฯไปตาม Spec ที่ตกลงกันไว้
ในการสำรวจศักยภาพของโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย ปรากฎว่าค่อนข้างมีความอ่อนด้อยในเชิงวิศวกรรมในกลุ่มโรงงานที่ได้ทำการสำรวจ ปรากฎว่าไม่มีโรงงานไหนเลยที่มีระบบข้อมูลที่เรียกว่า Computer Standard Data System ซึ่งหมายถึงการเก็บข้อมูลกระบวนการผลิตเข้าไปในคอมพิวเตอร์ ซึ่งมี Software ขายอยู่ 4-5 ราย นอกจากนั้น ยังพบว่าต่ำกว่า 10% ที่มีวิศวกรในโรงงาน ในเรื่องของระยะเวลาที่ใช้นับตั้งแต่สินค้าเข้ามาในโรงงานไปจนถึงวันที่สินค้าออก ส่วนใหญ่ยังใช้เวลามากกว่า 21 วัน นอกจากนั้นยังพบว่าในโรงงานมากกว่า 52% มีระบบ CAD/CAM แต่ใช้ในการวาง Marker ในการตัดผ้าเท่านั้นไม่ได้ใช้ในการทำ Pattern เลย ทั้ง ๆ ที่ CAD System เหล่านั้นสามารถใช้ในการทำ Pattern ได้ทั้งสิ้น
ฉะนั้นถ้าหากต้องการให้ธุรกิจเติบโตไปจนถึงขั้นที่ว่าสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยมีความสำคัญในตลาดโลก โดยเฉพาะตลาดสำคัญ ๆ คือ สหรัฐ กลุ่มประเทศยุโรป รวมทั้งญี่ปุ่น มีแนวทางที่จะต้องนำไปดำเนินการดังต่อไปนี้
1. ลดราคาสินค้าด้วยการลด Labor Cost ที่ไม่ได้หมายถึงการลดค่าแรง แต่เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้มากขึ้นเพื่อ ให้ต้นทุนต่ำลงด้วยการบริหารจัดการที่ดี การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร
2. ทำระบบตรวจสอบคุณภาพหรือประกันคุณภาพให้ดีขึ้น โดยเฉพาะการใช้ข้อมูลเชิงสถิติ หรือกระบวนการสุ่มตรวจทาง สถิติเพื่อให้ได้สินค้าตรงตามความต้องการของลูกค้า
3. ทำธุรกิจให้ง่ายขึ้นโดยการปรับระบบการสื่อสารให้มีระบบอินเตอร์เนต ทำระบบ EDI จัดให้มี VDO Conference หรือมีหน่วยงานกลางที่จะทำให้ข้อมูลกระจายไปยังผู้ที่จะทำการสั่งซื้อ
4. ปรับปรุง Infrastructure ซึ่งหมายถึงวัตถุดิบต่าง ๆ ที่มีอยู่ในประเทศตั้งแต่ผ้าผืนไป จนถึงส่วนประกอบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นซิบ กระดุม ด้าย ฯลฯ ให้มีคุณภาพและมีความหลากหลาย สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้
5. สร้าง Value Added หรือเพิ่มคุณค่าในตัวสินค้า เช่น การสร้างสินค้าใหม่ ๆ พัฒนาผลิตภัณฑ์ในการทำตัวอย่าง เสนอลูกค้า ตัวอย่างที่เห็นชัดในเรื่องนี้คือฮ่องกง ซึ่งมีความพยายามที่จะนำเสนอสินค้ารูปแบบใหม่ ๆ ทำให้ยังอยู่
ในตลาดได้แม้ว่าจะมีค่าแรงแพงกว่าเมืองไทย
6. ทำ Pre-certify ให้โรงงานล่วงหน้าไม่ว่าจะเป็นเรื่องการประกันคุณภาพ Human Rights เพื่อให้ลูกค้าเห็นว่า โรงงานเหล่านั้นมีความพร้อมในการทำธุรกิจ
7. พัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการสำรวจพบว่ามีผู้ประกอบการที่มีความรู้ในการบริหารงาน เฉพาะในเรื่องเสื้อผ้าสำเร็จรูปน้อยมาก และนอกจากนั้นยังไม่มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านนี้โดยตรง
ไม่มีการฝึกอบรมเทคนิคการทำงานอย่างเป็นระบบ
Mr. Wilson ได้สรุปในตอนท้าย ว่าอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย ยังมีช่องว่างให้ใช้ความสามารถในการพัฒนากระบวนการผลิตอีกมาก เพราะที่ผ่านมายังไม่ได้ใช้ทั้งคนและเทคโนโลยีให้เต็มประสิทธิภาพ เนื่องมาจากความรู้ในระบบวิศวกรรมค่อนข้างต่ำ จึงควรที่จะหันมาใส่ใจในเรื่องการพัฒนาระบบการทำงานให้มากขึ้นก่อนเข้าสู่เวทีการแข่งขันในตลาดโลกที่ปราศจากโควต้าในปี 2005 ที่จะมาถึงนี้
ที่มา : วารสาร Apparel Digest ของสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 2/31 มกราคม 2543--