1.สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยระวัง
ปลาทูน่ากระป๋อง : อียูให้เงินชดเชยองค์กรผู้ผลิตปลาทูน่าสดที่ป้อนให้อุตสาหกรรมแปรรูป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อไทย
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึง มาตรการกีดกันทางการค้าของ สหภาพยุโรป (อียู) ว่า นอกจากจะนำมาตรการสุขอนามัยมากีดกันทางการค้าแล้ว ยังมีการอุดหนุนการผลิตสินค้าเกษตรในอัตราที่สูงมาก โดยล่าสุดคณะกรรมการอียูได้ประกาศ Commission Regulation 1103/2000 ให้เงินชดเชยองค์กรผู้ผลิตปลาทูน่าสดส่งให้ อุตสาหกรรมแปรรูป ในอัตราตันละ 3,600 บาท
การให้เงินชดเชยองค์การผู้ผลิตปลาทูน่าสดของอียูดังกล่าว จะทำให้ต้นทุนการผลิตปลาทูน่ากระป๋องของประเทศต่าง ๆ ลดลง โดยเฉพาะประเทศที่เป็นคู่แข่งของไทยที่ส่งสินค้าเข้าไปจำหน่ายในอียู และปลาทูน่ากระป๋องของไทยจะเสียเปรียบการแข่งขันด้านราคามากขึ้น เพราะประเทศเหล่านั้นยังได้รับสิทธิ GSP ขณะที่ประเทศไทยถูกตัดสิทธิ GSP ลงร้อยละ 100 ตั้งแต่มกราคม 2542 จากสถานการณ์ดังกล่าวอาจจะส่งผลให้การส่งออกปลาทูน่ากระป๋องของไทยไปอียูในช่วงต่อไปโน้มลดลงอีก
ในช่วงที่ผ่านมาการที่อียูตัดสิทธิ GSP สินค้าเกษตรไทยร้อยละ 50 ตั้งแต่ ปี 2541 และตัดสิทธิร้อยละ 100 ในปี 2542 ส่งผลให้ปริมาณและมูลค่าการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องของไทยไปตลาดอียู โน้มลดลง ดังนี้คือ ปี 2542 ไทยส่งออกมีปริมาณ 38,949 ตัน มูลค่า 3,233 ล้านบาท ลดลงจากปี 2541 ซึ่งส่งออกได้ 39,087 ตัน มูลค่า 4,235 ล้านบาท ร้อยละ 0.35 และ 23.66 ตามลำดับ
สำหรับปี 2543 (มกราคม - พฤษภาคม) ไทยส่งออกปลาทูน่ากระป๋องไป สหภาพยุโรปมีปริมาณ 10,627 ตัน มูลค่า 760.02 ล้านบาท ลดลงจากที่ส่งออกได้ปริมาณ 19,988 ตัน มูลค่า 1,603.19 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 46.83 และ 52.59 ตามลำดับ ทั้งนี้ เพราะนอกจากอียูจะตัดสิทธิ GSP สินค้าของไทยแล้ว กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (สิงหาคม 2541 - มิถุนายน 2543) อียูใช้มาตรการสุขอนามัยและชะลอห้ามนำเข้าสินค้าเกษตรจากไทยทั้งสิ้น 74 ครั้ง ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงมาก และมีแนวโน้มว่าอียูจะเข้มงวดในการนำเข้าสินค้าผลิตภัณฑ์ด้านอาหารมากขึ้น
ข้อคิดเห็น
เนื่องจากอียูเป็นตลาดสำคัญในการนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องของไทยประเทศหนึ่ง ดังนั้น การที่สินค้าไทยมีปัญหาด้านสุขอนามัยและไม่ผ่านการตรวจสอบจากอียูหรือประเทศผู้นำเข้าอื่น ๆ ทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้ส่งออกและประเทศชาติมาก ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนจะต้องร่วมมือกันแก้ไข โดยเฉพาะผู้ผลิตจะต้องทำการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพและมาตรฐานของประเทศผู้นำเข้า
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
มะนาว : คชก. อนุมัติเงินแทรกแซงตลาดมะนาว ปี 2543
จากการที่กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมะนาวจังหวัดเพชรบุรีและสหกรณ์การเกษตรบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ได้มีหนังสือเรียกร้องขอให้รัฐบาลช่วยเหลือแก้ไขปัญหาราคามะนาวตกต่ำ คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2543 แทรกแซงตลาดมะนาว ปี 2543 ดังนี้
1. อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย จำนวน 20 ล้านบาท เพื่อแทรกแซงตลาดมะนาว โดยให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) ยืมไปใช้รับซื้อมะนาวจากเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรในราคานำตลาด โดยกำหนดราคาเป้าหมายนำมะนาวชนิดคละ ผลละ 0.22 บาท ระยะเวลาแทรกแซง กรกฎาคม-กันยายน 2543 ระยะเวลาโครงการ กรกฎาคม-ตุลาคม 2543
2. กำหนดราคาเป้าหมายนำมะนาวชนิดคละ ผลละ 0.22 บาท สำหรับมะนาวขนาดผลใหญ่ - เล็ก ให้เพิ่มหรือลดตามอัตราส่วน
3. อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย จำนวน 22 ล้านบาท เพื่อใช้ในการแทรกแซงตลาดมะนาว ฤดูการผลิต ปี 2543 โดยแยกเป็น
1) ให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) จำนวน 20 ล้านบาท ยืมเป็นเงินทุนหมุนเวียนรับซื้อมะนาวจากเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรในราคานำตลาด เพื่อจำหน่ายออกนอกแหล่งผลิต ระยะเวลารับซื้อ กรกฎาคม - กันยายน 2543 ระยะเวลาโครงการ กรกฎาคม - ตุลาคม 2543 และให้ อคส. หักภาระการขาดทุนจากราคาซื้อขายและเน่าเสียตามที่เกิดขึ้นจริง และอนุมัติในหลักการให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของ อคส. ตามที่จ่ายจริง โดยให้นำเสนอคณะกรรมการ คชก. พิจารณาอนุมัติ
ทั้งนี้ ให้เบิกจ่ายเงินเพื่อดำเนินการตามโครงการนี้ได้โดยไม่ต้องรอปิดบัญชีโครงการแทรกแซงตลาดมะนาว ปี 2542 และเมื่อ อคส. ได้เบิกเงินจากกรมบัญชีกลางเรียบร้อยแล้ว ให้นำเงินจำนวน 20 ล้านบาท ส่งคืนโครงการช่วยเหลือสินค้าเกษตรที่มีปัญหาเร่งด่วน ปี 2543 ต่อไป
2) ให้กรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 2 ล้านบาท นำไปจัดสรรให้กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมะนาวจังหวัดเพชรบุรี ใช้รวบรวมผลผลิตมะนาวเพื่อระบายออกนอกแหล่งผลิต ระยะเวลาดำเนินการ กรกฎาคม - กันยายน 2543 ระยะเวลาโครงการ กรกฎาคม-ตุลาคม 2543 โดยให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของทางราชการได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกินร้อยละ 1 ของวงเงินดำเนินการ 4. มอบหมายให้จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรสาคร กรมส่งเสริมการเกษตรและองค์การคลังสินค้า ประสานกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ ในการพิจารณาจัดระบบการนำมะนาวของเกษตรกรมาจำหน่าย เพื่อมิให้เกิดปัญหาและข้อขัดแย้งในการรับซื้อมะนาว รวมทั้งกำกับดูแลการซื้อขายมะนาวให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เพื่อเกิดประโยชน์แก่เกษตรกรอย่างแท้จริง
2.2 ลำไย : คชก. อนุมัติแทรกแซงตลาดลำไย ปี 2543 (เพิ่มเติม)
เดิมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2543 อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย จำนวน 300 ล้านบาท เพื่อนำไปจัดสรรให้เกษตรกร สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบการ เพื่อซื้อลำไยสดแปรรูปเป็นลำไย- อบแห้ง และลำไยกระป๋อง กำหนดราคาเป้าหมายนำลำไยร่วงคละ ณ แหล่งผลิตกิโลกรัมละ 9.70 บาท และลำไยเกรดเอ ณ หน้าโรงงานลำไยกระป๋องกิโลกรัมละ 25.40 บาท แต่เนื่องจากปลายเดือนมิถุนายน 2543 เป็นต้นมา ราคาลำไยที่เกษตรกรขายได้ลดลงอย่างต่อเนื่องจากกิโลกรัมละ 33.71 บาท ในเดือนกุมภาพันธ์ 2543 เหลือกิโลกรัมละ 22.58 บาทในเดือนมิถุนายน และ 16.44 บาทในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นช่วงต้นฤดู และคาดว่าราคาจะยังลดต่ำลงอีกในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม-ปลายสิงหาคม นี้ ซึ่งเป็นระยะที่ผลผลิตออกมาก ประกอบกับผลผลิตในปีนี้ประมาณร้อยละ 80 เป็นลำไยเกรดเอ และเกรดบี ซึ่งมีผลขนาดเล็ก เมื่อนำไปอบแห้งแล้วจะได้น้ำหนักน้อย ขายไม่ได้ราคา ทำให้เกษตรกรมีการชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลเข้าช่วยเหลืออีกเป็นครั้งที่ 2 ซึ่ง คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้มีมติให้ดำเนินการแทรกแซงตลาดลำไย ปี 2543 เพิ่มเติมจากที่ได้อนุมัติไว้ครั้งก่อนในคราวประชุมเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2543 ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1. อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 300 ล้านบาท ให้กรม-วิชาการเกษตร นำไปจัดสรรให้สถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการยืมเป็นทุนหมุนเวียนรับซื้อลำไยสดเพื่อระบายออกนอกแหล่งผลิต ระยะเวลาดำเนินการ กรกฎาคม-สิงหาคม 2543 ระยะเวลาโครงการ กรกฎาคม - ธันวาคม 2543 ทั้งนี้ให้ค่าใช้จ่ายดำเนินการของทางราชการตามที่จ่ายจริงไม่เกินร้อยละ 1 ของวงเงินดำเนินการ
2. อนุมัติการดำเนินโครงการรับจำนำลำไยอบแห้ง ปี 2543 โดย
1) กำหนดราคาเป้าหมายนำลำไยอบแห้งทั้งเปลือก ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
เกรด AA (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 ซม. ขึ้นไป) ราคา กก.ละ 63 บาท
เกรด A (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.2-2.4 ซม.) ราคา กก.ละ 44 บาท
เกรด B (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.9-2.1 ซม.) ราคา กก.ละ 25 บาท
เกรด C (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.6-1.8 ซม.) ราคา กก.ละ 13 บาท
2) ให้องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) องค์การคลังสินค้า (อคส.) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รับจำนำลำไยอบแห้งปริมาณ30,000 ตัน จากเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือเงินทุนหมุนเวียนจาก คชก. ในปี 2543 โดยใช้วงเงินดำเนินการของ ธ.ก.ส. จำนวน 2,000 ล้านบาท (อ.ต.ก. และ อคส. รับฝากเก็บและออกใบประทวนสินค้า หน่วยงานละ 15,000 ตัน ธ.ก.ส. รับจำนำใบประทวนสินค้า) ราคารับจำนำร้อยละ 70 ของราคาเป้าหมายนำ โดยคิดดอกเบี้ยจากเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี ระยะเวลารับจำนำ กรกฎาคม-สิงหาคม 2543 ระยะเวลาไถ่ถอนภายใน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ ระยะเวลาโครงการ กรกฎาคม 2543 - มีนาคม 2544
ทั้งนี้ ให้ อ.ต.ก. และ อคส. เป็นผู้ดำเนินการจำหน่ายลำไยอบแห้งที่พ้นกำหนดไถ่ถอนแล้ว และให้เร่งรัดการชำระเงินคืนแก่ ธ.ก.ส. โดยเร็ว เพื่อเป็นการลดภาระการชดเชยของกองทุนรวมฯ
3) อนุมัติเงินจ่ายขาด วงเงิน 45 ล้านบาท ให้ ธ.ก.ส. เป็นค่าชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ (คิดจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปกติลูกค้าชั้นดี : Prime rate หักด้วยดอกเบี้ยที่คิดจากเกษตรกรอัตราร้อยละ 3) ระยะเวลาไม่เกิน 4.5 เดือน และเงินจ่ายขาดวงเงิน 3 ล้านบาทให้ อ.ต.ก. และ อคส. เป็นค่าใช้จ่ายบริหารเหมาจ่ายในอัตราตันละ 100 บาท สำหรับค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการรับจำนำให้เป็นไปตามที่จ่ายจริง โดยให้นำเสนอคณะกรรมการ คชก. เพื่ออนุมัติวงเงินต่อไป
4) อนุมัติในหลักการให้ผูกพันภาระที่เกิดขึ้นจากส่วนต่างราคารับจำนำกับราคาขายตามที่เป็นจริง เช่นเดียวกับหลักเกณฑ์การรับจำนำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยกองทุนรวมฯ จะไม่รับภาระค่าเสียหายอื่น ๆ เช่น การสูญเสียน้ำหนัก และการเสื่อมคุณภาพที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ปกติ
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 27 ประจำวันที่ 10-16 ก.ค. 2543--
-สส-
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยระวัง
ปลาทูน่ากระป๋อง : อียูให้เงินชดเชยองค์กรผู้ผลิตปลาทูน่าสดที่ป้อนให้อุตสาหกรรมแปรรูป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อไทย
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึง มาตรการกีดกันทางการค้าของ สหภาพยุโรป (อียู) ว่า นอกจากจะนำมาตรการสุขอนามัยมากีดกันทางการค้าแล้ว ยังมีการอุดหนุนการผลิตสินค้าเกษตรในอัตราที่สูงมาก โดยล่าสุดคณะกรรมการอียูได้ประกาศ Commission Regulation 1103/2000 ให้เงินชดเชยองค์กรผู้ผลิตปลาทูน่าสดส่งให้ อุตสาหกรรมแปรรูป ในอัตราตันละ 3,600 บาท
การให้เงินชดเชยองค์การผู้ผลิตปลาทูน่าสดของอียูดังกล่าว จะทำให้ต้นทุนการผลิตปลาทูน่ากระป๋องของประเทศต่าง ๆ ลดลง โดยเฉพาะประเทศที่เป็นคู่แข่งของไทยที่ส่งสินค้าเข้าไปจำหน่ายในอียู และปลาทูน่ากระป๋องของไทยจะเสียเปรียบการแข่งขันด้านราคามากขึ้น เพราะประเทศเหล่านั้นยังได้รับสิทธิ GSP ขณะที่ประเทศไทยถูกตัดสิทธิ GSP ลงร้อยละ 100 ตั้งแต่มกราคม 2542 จากสถานการณ์ดังกล่าวอาจจะส่งผลให้การส่งออกปลาทูน่ากระป๋องของไทยไปอียูในช่วงต่อไปโน้มลดลงอีก
ในช่วงที่ผ่านมาการที่อียูตัดสิทธิ GSP สินค้าเกษตรไทยร้อยละ 50 ตั้งแต่ ปี 2541 และตัดสิทธิร้อยละ 100 ในปี 2542 ส่งผลให้ปริมาณและมูลค่าการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องของไทยไปตลาดอียู โน้มลดลง ดังนี้คือ ปี 2542 ไทยส่งออกมีปริมาณ 38,949 ตัน มูลค่า 3,233 ล้านบาท ลดลงจากปี 2541 ซึ่งส่งออกได้ 39,087 ตัน มูลค่า 4,235 ล้านบาท ร้อยละ 0.35 และ 23.66 ตามลำดับ
สำหรับปี 2543 (มกราคม - พฤษภาคม) ไทยส่งออกปลาทูน่ากระป๋องไป สหภาพยุโรปมีปริมาณ 10,627 ตัน มูลค่า 760.02 ล้านบาท ลดลงจากที่ส่งออกได้ปริมาณ 19,988 ตัน มูลค่า 1,603.19 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 46.83 และ 52.59 ตามลำดับ ทั้งนี้ เพราะนอกจากอียูจะตัดสิทธิ GSP สินค้าของไทยแล้ว กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (สิงหาคม 2541 - มิถุนายน 2543) อียูใช้มาตรการสุขอนามัยและชะลอห้ามนำเข้าสินค้าเกษตรจากไทยทั้งสิ้น 74 ครั้ง ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงมาก และมีแนวโน้มว่าอียูจะเข้มงวดในการนำเข้าสินค้าผลิตภัณฑ์ด้านอาหารมากขึ้น
ข้อคิดเห็น
เนื่องจากอียูเป็นตลาดสำคัญในการนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องของไทยประเทศหนึ่ง ดังนั้น การที่สินค้าไทยมีปัญหาด้านสุขอนามัยและไม่ผ่านการตรวจสอบจากอียูหรือประเทศผู้นำเข้าอื่น ๆ ทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้ส่งออกและประเทศชาติมาก ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนจะต้องร่วมมือกันแก้ไข โดยเฉพาะผู้ผลิตจะต้องทำการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพและมาตรฐานของประเทศผู้นำเข้า
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
มะนาว : คชก. อนุมัติเงินแทรกแซงตลาดมะนาว ปี 2543
จากการที่กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมะนาวจังหวัดเพชรบุรีและสหกรณ์การเกษตรบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ได้มีหนังสือเรียกร้องขอให้รัฐบาลช่วยเหลือแก้ไขปัญหาราคามะนาวตกต่ำ คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2543 แทรกแซงตลาดมะนาว ปี 2543 ดังนี้
1. อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย จำนวน 20 ล้านบาท เพื่อแทรกแซงตลาดมะนาว โดยให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) ยืมไปใช้รับซื้อมะนาวจากเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรในราคานำตลาด โดยกำหนดราคาเป้าหมายนำมะนาวชนิดคละ ผลละ 0.22 บาท ระยะเวลาแทรกแซง กรกฎาคม-กันยายน 2543 ระยะเวลาโครงการ กรกฎาคม-ตุลาคม 2543
2. กำหนดราคาเป้าหมายนำมะนาวชนิดคละ ผลละ 0.22 บาท สำหรับมะนาวขนาดผลใหญ่ - เล็ก ให้เพิ่มหรือลดตามอัตราส่วน
3. อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย จำนวน 22 ล้านบาท เพื่อใช้ในการแทรกแซงตลาดมะนาว ฤดูการผลิต ปี 2543 โดยแยกเป็น
1) ให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) จำนวน 20 ล้านบาท ยืมเป็นเงินทุนหมุนเวียนรับซื้อมะนาวจากเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรในราคานำตลาด เพื่อจำหน่ายออกนอกแหล่งผลิต ระยะเวลารับซื้อ กรกฎาคม - กันยายน 2543 ระยะเวลาโครงการ กรกฎาคม - ตุลาคม 2543 และให้ อคส. หักภาระการขาดทุนจากราคาซื้อขายและเน่าเสียตามที่เกิดขึ้นจริง และอนุมัติในหลักการให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของ อคส. ตามที่จ่ายจริง โดยให้นำเสนอคณะกรรมการ คชก. พิจารณาอนุมัติ
ทั้งนี้ ให้เบิกจ่ายเงินเพื่อดำเนินการตามโครงการนี้ได้โดยไม่ต้องรอปิดบัญชีโครงการแทรกแซงตลาดมะนาว ปี 2542 และเมื่อ อคส. ได้เบิกเงินจากกรมบัญชีกลางเรียบร้อยแล้ว ให้นำเงินจำนวน 20 ล้านบาท ส่งคืนโครงการช่วยเหลือสินค้าเกษตรที่มีปัญหาเร่งด่วน ปี 2543 ต่อไป
2) ให้กรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 2 ล้านบาท นำไปจัดสรรให้กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมะนาวจังหวัดเพชรบุรี ใช้รวบรวมผลผลิตมะนาวเพื่อระบายออกนอกแหล่งผลิต ระยะเวลาดำเนินการ กรกฎาคม - กันยายน 2543 ระยะเวลาโครงการ กรกฎาคม-ตุลาคม 2543 โดยให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของทางราชการได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกินร้อยละ 1 ของวงเงินดำเนินการ 4. มอบหมายให้จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรสาคร กรมส่งเสริมการเกษตรและองค์การคลังสินค้า ประสานกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ ในการพิจารณาจัดระบบการนำมะนาวของเกษตรกรมาจำหน่าย เพื่อมิให้เกิดปัญหาและข้อขัดแย้งในการรับซื้อมะนาว รวมทั้งกำกับดูแลการซื้อขายมะนาวให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เพื่อเกิดประโยชน์แก่เกษตรกรอย่างแท้จริง
2.2 ลำไย : คชก. อนุมัติแทรกแซงตลาดลำไย ปี 2543 (เพิ่มเติม)
เดิมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2543 อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย จำนวน 300 ล้านบาท เพื่อนำไปจัดสรรให้เกษตรกร สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบการ เพื่อซื้อลำไยสดแปรรูปเป็นลำไย- อบแห้ง และลำไยกระป๋อง กำหนดราคาเป้าหมายนำลำไยร่วงคละ ณ แหล่งผลิตกิโลกรัมละ 9.70 บาท และลำไยเกรดเอ ณ หน้าโรงงานลำไยกระป๋องกิโลกรัมละ 25.40 บาท แต่เนื่องจากปลายเดือนมิถุนายน 2543 เป็นต้นมา ราคาลำไยที่เกษตรกรขายได้ลดลงอย่างต่อเนื่องจากกิโลกรัมละ 33.71 บาท ในเดือนกุมภาพันธ์ 2543 เหลือกิโลกรัมละ 22.58 บาทในเดือนมิถุนายน และ 16.44 บาทในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นช่วงต้นฤดู และคาดว่าราคาจะยังลดต่ำลงอีกในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม-ปลายสิงหาคม นี้ ซึ่งเป็นระยะที่ผลผลิตออกมาก ประกอบกับผลผลิตในปีนี้ประมาณร้อยละ 80 เป็นลำไยเกรดเอ และเกรดบี ซึ่งมีผลขนาดเล็ก เมื่อนำไปอบแห้งแล้วจะได้น้ำหนักน้อย ขายไม่ได้ราคา ทำให้เกษตรกรมีการชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลเข้าช่วยเหลืออีกเป็นครั้งที่ 2 ซึ่ง คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้มีมติให้ดำเนินการแทรกแซงตลาดลำไย ปี 2543 เพิ่มเติมจากที่ได้อนุมัติไว้ครั้งก่อนในคราวประชุมเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2543 ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1. อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 300 ล้านบาท ให้กรม-วิชาการเกษตร นำไปจัดสรรให้สถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการยืมเป็นทุนหมุนเวียนรับซื้อลำไยสดเพื่อระบายออกนอกแหล่งผลิต ระยะเวลาดำเนินการ กรกฎาคม-สิงหาคม 2543 ระยะเวลาโครงการ กรกฎาคม - ธันวาคม 2543 ทั้งนี้ให้ค่าใช้จ่ายดำเนินการของทางราชการตามที่จ่ายจริงไม่เกินร้อยละ 1 ของวงเงินดำเนินการ
2. อนุมัติการดำเนินโครงการรับจำนำลำไยอบแห้ง ปี 2543 โดย
1) กำหนดราคาเป้าหมายนำลำไยอบแห้งทั้งเปลือก ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
เกรด AA (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 ซม. ขึ้นไป) ราคา กก.ละ 63 บาท
เกรด A (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.2-2.4 ซม.) ราคา กก.ละ 44 บาท
เกรด B (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.9-2.1 ซม.) ราคา กก.ละ 25 บาท
เกรด C (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.6-1.8 ซม.) ราคา กก.ละ 13 บาท
2) ให้องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) องค์การคลังสินค้า (อคส.) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รับจำนำลำไยอบแห้งปริมาณ30,000 ตัน จากเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือเงินทุนหมุนเวียนจาก คชก. ในปี 2543 โดยใช้วงเงินดำเนินการของ ธ.ก.ส. จำนวน 2,000 ล้านบาท (อ.ต.ก. และ อคส. รับฝากเก็บและออกใบประทวนสินค้า หน่วยงานละ 15,000 ตัน ธ.ก.ส. รับจำนำใบประทวนสินค้า) ราคารับจำนำร้อยละ 70 ของราคาเป้าหมายนำ โดยคิดดอกเบี้ยจากเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี ระยะเวลารับจำนำ กรกฎาคม-สิงหาคม 2543 ระยะเวลาไถ่ถอนภายใน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ ระยะเวลาโครงการ กรกฎาคม 2543 - มีนาคม 2544
ทั้งนี้ ให้ อ.ต.ก. และ อคส. เป็นผู้ดำเนินการจำหน่ายลำไยอบแห้งที่พ้นกำหนดไถ่ถอนแล้ว และให้เร่งรัดการชำระเงินคืนแก่ ธ.ก.ส. โดยเร็ว เพื่อเป็นการลดภาระการชดเชยของกองทุนรวมฯ
3) อนุมัติเงินจ่ายขาด วงเงิน 45 ล้านบาท ให้ ธ.ก.ส. เป็นค่าชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ (คิดจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปกติลูกค้าชั้นดี : Prime rate หักด้วยดอกเบี้ยที่คิดจากเกษตรกรอัตราร้อยละ 3) ระยะเวลาไม่เกิน 4.5 เดือน และเงินจ่ายขาดวงเงิน 3 ล้านบาทให้ อ.ต.ก. และ อคส. เป็นค่าใช้จ่ายบริหารเหมาจ่ายในอัตราตันละ 100 บาท สำหรับค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการรับจำนำให้เป็นไปตามที่จ่ายจริง โดยให้นำเสนอคณะกรรมการ คชก. เพื่ออนุมัติวงเงินต่อไป
4) อนุมัติในหลักการให้ผูกพันภาระที่เกิดขึ้นจากส่วนต่างราคารับจำนำกับราคาขายตามที่เป็นจริง เช่นเดียวกับหลักเกณฑ์การรับจำนำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยกองทุนรวมฯ จะไม่รับภาระค่าเสียหายอื่น ๆ เช่น การสูญเสียน้ำหนัก และการเสื่อมคุณภาพที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ปกติ
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 27 ประจำวันที่ 10-16 ก.ค. 2543--
-สส-