รายได้
รายได้รัฐบาลในเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นจากระยะ เดียวกันปีก่อน (ร้อยละ 4.1) การจัดเก็บรายได้ภาษีอากร ในเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.7 ตามการเพิ่มขึ้นของภาษีที่เก็บจากฐานรายได้ (ร้อยละ 8.6) โดยเฉพาะภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการจำหน่ายกำไรไป ต่างประเทศ และฐานการบริโภค (ร้อยละ 15.8) และภาษีจากการนำเข้า (ร้อยละ 11.1)
ภาษีที่จัดเก็บจากฐานการบริโภค ภาษีที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ร้อยละ 19.1) และภาษีสรรพสามิต (ร้อยละ 15.3) จากมาตรการปรับอัตราภาษีสินค้าที่เป็นโทษต่อร่างกาย เป็นการเพิ่มขึ้นของภาษีเบียร์ (ร้อยละ 18.9) แสตมป์ยาสูบ (ร้อยละ 22.1) ภาษีสรรพสามิตจากสินค้านำเข้า (ร้อยละ 33.1) และภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน (ร้อยละ 4.3)
ส่วนภาษีที่จัดเก็บลดลงได้แก่ ภาษีธุรกิจเฉพาะ (ร้อยละ 13.0) และภาษีอื่นๆ (ร้อยละ 34.1)
สำหรับรายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 26.1 เป็นการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจจำนวน 5.9 พันล้านบาท ที่สำคัญได้แก่ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย 2.1 พันล้านบาท โรงงานยาสูบ 1.0 พันล้านบาท การท่าอากาศยาน แห่งประเทศไทยและการสื่อสารแห่งประเทศไทยแห่งละ 0.5 พันล้านบาท
รายจ่าย
ส่วนรายจ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน (ร้อยละ 11.2) รายจ่ายที่สำคัญได้แก่ รายจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้อื่นๆ จำนวน 4.5 พันล้านบาท และเงินสมทบกองทุนประกันสังคม 0.7 พันล้านบาท รายจ่ายเงินนอกงบประมาณที่สำคัญคือ รายจ่ายภาษีท้องถิ่น (ภาษีมูลค่าเพิ่ม)ที่จัดสรรให้แก่ กทม. 2.3 พันล้านบาท
ดุลเงินสด รัฐบาลขาดดุลเงินสด 10.4 พันล้านบาท โดยมีการกู้ยืม ภายในประเทศสุทธิ 5.6 พันล้านบาท และชำระเงินกู้ ต่างประเทศ 0.96 พันล้านบาท ส่งผลให้ยอดเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคมลดลงเป็น 52.6 พันล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
รายได้รัฐบาลในเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นจากระยะ เดียวกันปีก่อน (ร้อยละ 4.1) การจัดเก็บรายได้ภาษีอากร ในเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.7 ตามการเพิ่มขึ้นของภาษีที่เก็บจากฐานรายได้ (ร้อยละ 8.6) โดยเฉพาะภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการจำหน่ายกำไรไป ต่างประเทศ และฐานการบริโภค (ร้อยละ 15.8) และภาษีจากการนำเข้า (ร้อยละ 11.1)
ภาษีที่จัดเก็บจากฐานการบริโภค ภาษีที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ร้อยละ 19.1) และภาษีสรรพสามิต (ร้อยละ 15.3) จากมาตรการปรับอัตราภาษีสินค้าที่เป็นโทษต่อร่างกาย เป็นการเพิ่มขึ้นของภาษีเบียร์ (ร้อยละ 18.9) แสตมป์ยาสูบ (ร้อยละ 22.1) ภาษีสรรพสามิตจากสินค้านำเข้า (ร้อยละ 33.1) และภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน (ร้อยละ 4.3)
ส่วนภาษีที่จัดเก็บลดลงได้แก่ ภาษีธุรกิจเฉพาะ (ร้อยละ 13.0) และภาษีอื่นๆ (ร้อยละ 34.1)
สำหรับรายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 26.1 เป็นการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจจำนวน 5.9 พันล้านบาท ที่สำคัญได้แก่ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย 2.1 พันล้านบาท โรงงานยาสูบ 1.0 พันล้านบาท การท่าอากาศยาน แห่งประเทศไทยและการสื่อสารแห่งประเทศไทยแห่งละ 0.5 พันล้านบาท
รายจ่าย
ส่วนรายจ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน (ร้อยละ 11.2) รายจ่ายที่สำคัญได้แก่ รายจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้อื่นๆ จำนวน 4.5 พันล้านบาท และเงินสมทบกองทุนประกันสังคม 0.7 พันล้านบาท รายจ่ายเงินนอกงบประมาณที่สำคัญคือ รายจ่ายภาษีท้องถิ่น (ภาษีมูลค่าเพิ่ม)ที่จัดสรรให้แก่ กทม. 2.3 พันล้านบาท
ดุลเงินสด รัฐบาลขาดดุลเงินสด 10.4 พันล้านบาท โดยมีการกู้ยืม ภายในประเทศสุทธิ 5.6 พันล้านบาท และชำระเงินกู้ ต่างประเทศ 0.96 พันล้านบาท ส่งผลให้ยอดเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคมลดลงเป็น 52.6 พันล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-