แท็ก
ไข้หวัดนก
สศข.5 ประกาศเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ไข้หวัดนก แม้ยังไม่ปรากฏรายงานการแพร่ระบาดของโรคแต่อย่างใด ทั้งนี้ทุกจังหวัดได้มอบเครื่องมืออุปกรณ์ เวชภัณฑ์ พร้อมน้ำยาและอุปกรณ์พ่นทำลายเชื้อโรค ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ย้ำต้องดำเนินการทันที ทั้งการติดตามเฝ้าระวัง การรณรงค์ พร้อมรายงานสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้หวัดนกในเขตพื้นที่ สศข.5 จากรายงานของสำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ (1 ตุลาคม -1 พฤศจิกายน 2548) มีรายงานสัตว์ปีกป่วยในพื้นที่ 3 จังหวัด กรมปศุสัตว์ได้กำหนดให้เป็นพื้นที่เฝ้าระวังและควบคุมอย่างใกล้ชิด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ และอุบลราชธานี ในพื้นที่ 6 ตำบล 12 ตำบล และ 5 ตำบล ตามลำดับ ส่วนอีก 2 จังหวัด คือ สุรินทร์ และศรีษะเกษ ไม่มีรายงานสัตว์ปีกป่วย ส่วนการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกยังไม่ปรากฏรายงานแต่อย่างใด และเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนก ทุกจังหวัดจึงได้มอบเครื่องมืออุปกรณ์ป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อหวัดนกและเวชภัณฑ์พร้อมน้ำยาฆ่าเชื้ออุปกรณ์พ่นทำลายเชื้อโรคให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานที่รับผิดชอบและให้ทุกพื้นที่ดำเนินการทันที รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามดูแลเฝ้าระวัง รายงานสถานการณ์อย่างต่อเนื่องและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปทราบทุกระยะ พร้อมทั้งรณรงค์การจัดระเบียบการเลี้ยงให้คนปลอดภัย ให้ประชาชนตระหนักระมัดระวังตนเองโดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีกและเชื้อโรค
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกและสัตว์ปีกแบบบูรณาการ (X-ray) เนื่องจากไข้หวัดนกนับเป็นโรคระบาดที่เป็นปัญหากระทบต่อประชากรโลกเช่นเดียวกับประเทศไทย และขณะนี้เป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลอพยพของนกจากประเทศแถบหนาวเนื่องมาจากการปลี่ยนแปลงฤดู ดังนั้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้ใช้มาตรการสำคัญเร่งด่วนเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค โดยได้ออกประกาศที่สำคัญเรื่องให้เข้มงวดมาตรการควบคุมและป้องกันโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก พร้อมประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การนำสัตว์ปีกเข้ามาเลี้ยงในพื้นที่พบชื้อไข้หวัดนก ซึ่งแผนระยะสั้น ที่มีความสำคัญเร่งด่วนเป็นโครงการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบบูรณาการ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 31 ธันวาคม 2548 พื้นที่เป้าหมาย 21 จังหวัด ส่วนใหญ่มีพื้นที่ครอบคลุมเขตรับผิดชอบของจังหวัดทางภาคกลางและภาคเหนือ ส่วนแผนระยะยาว เป็นการกำหนดมาตรการแยกสัตว์ปีกออกจากนก มี 2 แนวทางคือ เลี้ยงในโรงเรือนขนาดเล็กมีตาข่ายล้อมรอบ และสร้างโรงเรือนกลางในหมู่บ้านชุมชนสำหรับการเลี้ยงไก่เนื้อ ปัจจุบันมี 2 บริษัทที่ร่วมดำเนินการที่จังหวัดกำแพงเพชรและลพบุรี คือ บริษัทเบทาโกร และสหฟาร์ม คาดว่าในอนาคตระบบการเลี้ยงไก่ในใต้ถุนบ้านที่เป็นวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม จะปรับเปลี่ยนไปเป็นระบบการเลี้ยงไก่ปลอดภัยมากขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้หวัดนกในเขตพื้นที่ สศข.5 จากรายงานของสำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ (1 ตุลาคม -1 พฤศจิกายน 2548) มีรายงานสัตว์ปีกป่วยในพื้นที่ 3 จังหวัด กรมปศุสัตว์ได้กำหนดให้เป็นพื้นที่เฝ้าระวังและควบคุมอย่างใกล้ชิด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ และอุบลราชธานี ในพื้นที่ 6 ตำบล 12 ตำบล และ 5 ตำบล ตามลำดับ ส่วนอีก 2 จังหวัด คือ สุรินทร์ และศรีษะเกษ ไม่มีรายงานสัตว์ปีกป่วย ส่วนการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกยังไม่ปรากฏรายงานแต่อย่างใด และเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนก ทุกจังหวัดจึงได้มอบเครื่องมืออุปกรณ์ป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อหวัดนกและเวชภัณฑ์พร้อมน้ำยาฆ่าเชื้ออุปกรณ์พ่นทำลายเชื้อโรคให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานที่รับผิดชอบและให้ทุกพื้นที่ดำเนินการทันที รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามดูแลเฝ้าระวัง รายงานสถานการณ์อย่างต่อเนื่องและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปทราบทุกระยะ พร้อมทั้งรณรงค์การจัดระเบียบการเลี้ยงให้คนปลอดภัย ให้ประชาชนตระหนักระมัดระวังตนเองโดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีกและเชื้อโรค
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกและสัตว์ปีกแบบบูรณาการ (X-ray) เนื่องจากไข้หวัดนกนับเป็นโรคระบาดที่เป็นปัญหากระทบต่อประชากรโลกเช่นเดียวกับประเทศไทย และขณะนี้เป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลอพยพของนกจากประเทศแถบหนาวเนื่องมาจากการปลี่ยนแปลงฤดู ดังนั้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้ใช้มาตรการสำคัญเร่งด่วนเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค โดยได้ออกประกาศที่สำคัญเรื่องให้เข้มงวดมาตรการควบคุมและป้องกันโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีก พร้อมประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การนำสัตว์ปีกเข้ามาเลี้ยงในพื้นที่พบชื้อไข้หวัดนก ซึ่งแผนระยะสั้น ที่มีความสำคัญเร่งด่วนเป็นโครงการรณรงค์ค้นหาโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกแบบบูรณาการ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 31 ธันวาคม 2548 พื้นที่เป้าหมาย 21 จังหวัด ส่วนใหญ่มีพื้นที่ครอบคลุมเขตรับผิดชอบของจังหวัดทางภาคกลางและภาคเหนือ ส่วนแผนระยะยาว เป็นการกำหนดมาตรการแยกสัตว์ปีกออกจากนก มี 2 แนวทางคือ เลี้ยงในโรงเรือนขนาดเล็กมีตาข่ายล้อมรอบ และสร้างโรงเรือนกลางในหมู่บ้านชุมชนสำหรับการเลี้ยงไก่เนื้อ ปัจจุบันมี 2 บริษัทที่ร่วมดำเนินการที่จังหวัดกำแพงเพชรและลพบุรี คือ บริษัทเบทาโกร และสหฟาร์ม คาดว่าในอนาคตระบบการเลี้ยงไก่ในใต้ถุนบ้านที่เป็นวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม จะปรับเปลี่ยนไปเป็นระบบการเลี้ยงไก่ปลอดภัยมากขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-