ปลาป่น : ราคาปีนี้สดใส
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปีนี้จะสามารถผลิตปลาป่นได้ประมาณ 562,000 ตัน ลดลงจาก 573,000 ตันในปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 1.92 เนื่องจากทรัพยากรประมงทะเลมีปริมาณลดลง ทำให้การจับสัตว์น้ำทะเลลดลงเป็นเหตุให้วัตถุดิบในการผลิตปลาป่นลดตามลงด้วย
สำหรับราคาปลาป่นคุณภาพดีโปรตีน 60% ในช่วง 5 เดือนแรก (มค.-พค.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.63 บาท เพิ่มขึ้นจาก 15.41 บาท/กิโลกรัม ในช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นร้อยละ 27.38 ทั้งนี้ เนื่องจากความต้องการใช้ปลาป่นคุณภาพดีในการผลิตอาหารกุ้งมีมาก เพราะมีการส่งออกอาหารกุ้งไปยังประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับขณะนี้ตลาดโลกประสบปัญหาขาดแคลนปลาป่น เพราะประเทศชิลี ซึ่งเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่มีการควบคุมการจับปลา ทำให้ผลผลิตปลาป่นที่ผลิตได้มีไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศที่มีมากขึ้น เพราะมีการเลี้ยงปลาแซลมอลเพิ่มขึ้นเป็นเหตุให้ต้องนำเข้าจากประเทศเปรู แต่เปรูยังมีข้อจำกัดในการจับปลาทำให้ได้ผลผลิตในปริมาณไม่แน่นอน
สำหรับการส่งออกในช่วง 4 เดือนแรก (มค.-เมย.) มีปริมาณการส่งปลาป่นอาหารสัตว์จำนวน 2,571.51 ตัน มูลค่า 35.23 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 32.16 และ 43.09 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าปลาป่นคุณภาพดีโปรตีน 60% ขึ้นไปมีปริมาณ 19,029.25 ตัน มูลค่า 397.37 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 69.36 และ 74.65 ตามลำดับ สาเหตุที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นจำนวนมาก เนื่องจากความต้องการของปลาป่นคุณภาพดีในอุตสาหกรรมอาหารกุ้งเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับค่าเงินบาทลดลงทำให้มูลค่านำเข้าเพิ่มสูงขึ้นมาก
ดังนั้น ผู้ผลิตปลาป่นของไทยควรจะต้องพัฒนาคุณภาพมาตรฐานปลาป่นให้ดีขึ้น เพื่อสนองความต้องการของตลาดภายในประเทศ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการส่งออกและลดการนำเข้าปลาป่นคุณภาพดีและเป็นโอกาสของผู้ผลิตปลาป่นและชาวประมง สามารถขายปลาป่นและปลาเป็ดในราคาที่สูงขึ้น
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 22 ประจำวันที่ 11-17 มิ.ย. 2544--
-สส-
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปีนี้จะสามารถผลิตปลาป่นได้ประมาณ 562,000 ตัน ลดลงจาก 573,000 ตันในปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 1.92 เนื่องจากทรัพยากรประมงทะเลมีปริมาณลดลง ทำให้การจับสัตว์น้ำทะเลลดลงเป็นเหตุให้วัตถุดิบในการผลิตปลาป่นลดตามลงด้วย
สำหรับราคาปลาป่นคุณภาพดีโปรตีน 60% ในช่วง 5 เดือนแรก (มค.-พค.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.63 บาท เพิ่มขึ้นจาก 15.41 บาท/กิโลกรัม ในช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นร้อยละ 27.38 ทั้งนี้ เนื่องจากความต้องการใช้ปลาป่นคุณภาพดีในการผลิตอาหารกุ้งมีมาก เพราะมีการส่งออกอาหารกุ้งไปยังประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับขณะนี้ตลาดโลกประสบปัญหาขาดแคลนปลาป่น เพราะประเทศชิลี ซึ่งเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่มีการควบคุมการจับปลา ทำให้ผลผลิตปลาป่นที่ผลิตได้มีไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศที่มีมากขึ้น เพราะมีการเลี้ยงปลาแซลมอลเพิ่มขึ้นเป็นเหตุให้ต้องนำเข้าจากประเทศเปรู แต่เปรูยังมีข้อจำกัดในการจับปลาทำให้ได้ผลผลิตในปริมาณไม่แน่นอน
สำหรับการส่งออกในช่วง 4 เดือนแรก (มค.-เมย.) มีปริมาณการส่งปลาป่นอาหารสัตว์จำนวน 2,571.51 ตัน มูลค่า 35.23 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 32.16 และ 43.09 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าปลาป่นคุณภาพดีโปรตีน 60% ขึ้นไปมีปริมาณ 19,029.25 ตัน มูลค่า 397.37 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 69.36 และ 74.65 ตามลำดับ สาเหตุที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นจำนวนมาก เนื่องจากความต้องการของปลาป่นคุณภาพดีในอุตสาหกรรมอาหารกุ้งเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับค่าเงินบาทลดลงทำให้มูลค่านำเข้าเพิ่มสูงขึ้นมาก
ดังนั้น ผู้ผลิตปลาป่นของไทยควรจะต้องพัฒนาคุณภาพมาตรฐานปลาป่นให้ดีขึ้น เพื่อสนองความต้องการของตลาดภายในประเทศ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการส่งออกและลดการนำเข้าปลาป่นคุณภาพดีและเป็นโอกาสของผู้ผลิตปลาป่นและชาวประมง สามารถขายปลาป่นและปลาเป็ดในราคาที่สูงขึ้น
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 22 ประจำวันที่ 11-17 มิ.ย. 2544--
-สส-