ประเทศไทยและอินเดียได้มีความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกันมาช้านานแล้ว โดยได้ร่วมกันจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee) เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2532 (1989) และมีการประชุมร่วมกัน มาตลอด โดยผลัดกันเป็นเจ้าภาพ สำหรับการประชุมครั้งต่อไป เป็นครั้งที่ 10 ฝ่ายอินเดียจะเป็นเจ้าภาพ กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-11 กันยายน 2544 ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์มอบหมายให้ นายธรรมนูญ เชี่ยวสกุล รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทย และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
สาระการประชุม
การประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าอินเดีย-ไทย ครั้งที่ 10 มีสาระสำคัญของการประชุม คือ
1. การค้าทวิภาคี ฝ่ายไทยจะหยิบยกเรื่องภาษีนำเข้าและการเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษที่อินเดียเรียกเก็บจาก สินค้านำเข้าทุกชนิด การตอบโต้การทุ่มตลาด และนโยบายควบคุมการนำเข้า เป็นต้น ส่วนอินเดียจะหยิบยกเรื่อง การขอยกเว้นภาษีสำหรับสิ่งพิมพ์ที่นำเข้าโดย Air India และ Indian Airlines และการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากการประกอบการของ Air India และ Indian Airlines (การขอคืนภาษีย้อนหลัง) รวมทั้งความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมเหล็ก เป็นตัน
2. การลงทุน ทั้งสองฝ่ายจะหารือในเรื่องลู่ทางและโอกาสในการลงทุนของนักลงทุนไทยในอินเดีย ได้แก่ การสร้างถนนและทางหลวง การก่อสร้าง การบริการและการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป และการประมง เป็นต้น ลู่ทาง และโอกาสในการลงทุนของนักลงทุนอินเดียในไทย ได้แก่ การลงทุนด้าน IT, technology transfer, agriculture and human resource development เป็นต้น
3. ความร่วมมือทางการค้า จะหารือและแลกเปลี่ยนความร่วมมือในด้านการค้าแบบหักบัญชี (Account Trade) เขตการค้าเสรี (Free Trade Area) และแลกเปลี่ยนความเห็นและท่าทีระหว่างกันในเวทีขององค์การการค้าโลก
4. การขยายปริมาณการค้าระหว่างกัน จะหารือเรื่องสินค้าที่ทั้งสองฝ่ายสนใจที่จะขยายปริมาณการค้าระหว่างกันให้มากขึ้น
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กันยายน 2544--
-ปส-
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์มอบหมายให้ นายธรรมนูญ เชี่ยวสกุล รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทย และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
สาระการประชุม
การประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าอินเดีย-ไทย ครั้งที่ 10 มีสาระสำคัญของการประชุม คือ
1. การค้าทวิภาคี ฝ่ายไทยจะหยิบยกเรื่องภาษีนำเข้าและการเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษที่อินเดียเรียกเก็บจาก สินค้านำเข้าทุกชนิด การตอบโต้การทุ่มตลาด และนโยบายควบคุมการนำเข้า เป็นต้น ส่วนอินเดียจะหยิบยกเรื่อง การขอยกเว้นภาษีสำหรับสิ่งพิมพ์ที่นำเข้าโดย Air India และ Indian Airlines และการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากการประกอบการของ Air India และ Indian Airlines (การขอคืนภาษีย้อนหลัง) รวมทั้งความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมเหล็ก เป็นตัน
2. การลงทุน ทั้งสองฝ่ายจะหารือในเรื่องลู่ทางและโอกาสในการลงทุนของนักลงทุนไทยในอินเดีย ได้แก่ การสร้างถนนและทางหลวง การก่อสร้าง การบริการและการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป และการประมง เป็นต้น ลู่ทาง และโอกาสในการลงทุนของนักลงทุนอินเดียในไทย ได้แก่ การลงทุนด้าน IT, technology transfer, agriculture and human resource development เป็นต้น
3. ความร่วมมือทางการค้า จะหารือและแลกเปลี่ยนความร่วมมือในด้านการค้าแบบหักบัญชี (Account Trade) เขตการค้าเสรี (Free Trade Area) และแลกเปลี่ยนความเห็นและท่าทีระหว่างกันในเวทีขององค์การการค้าโลก
4. การขยายปริมาณการค้าระหว่างกัน จะหารือเรื่องสินค้าที่ทั้งสองฝ่ายสนใจที่จะขยายปริมาณการค้าระหว่างกันให้มากขึ้น
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กันยายน 2544--
-ปส-