และตรวจสอบว่าเพื่อที่จะปฎิบัติตาม พันธกรณีดังกล่าวนั้น มีกฎหมายภายในประเทศรองรับหรือไม่ หรือถึงจะมีกฎหมายที่ เกี่ยวข้อง แต่มีส่วนใดที่ขัดกับ บทบัญญัติของความตกลงภายใต้องค์การการค้าโลก หรือไม่ และเพื่อให้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2537 ให้กระทรวงพาณิชย์ แต่งตั้งคณะกรรม-การ พิจารณาพันธกรณีภายใต้ กรรมสารสุดท้าย ของการเจรจารอบอุรุกวัย โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานคณะกรรมการ และมีปลัดกระทรวงของกระทรวงอื่นที่เกี่ยวข้อง ร่วมเป็นกรรมการด้วย คณะกรรมการดังกล่าว เห็นว่าควรจะมีการแบ่งงาน เพื่อให้การพิจารณาพันธกรณีของไทย ทำไปด้วยความรอบคอบ จึงได้แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการขึ้น 9 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการพิจารณาพันธกรณีด้านภาษีศุลกากรและมาตรการภาษีอื่น คณะอนุกรรมการพิจารณาพันธกรณีด้านสินค้าเกษตร คณะอนุกรรมการพิจารณาพันธกรณีด้านสิ่งทอ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป คณะอนุกรรมการพิจารณาพันธกรณีด้านมาตรการ สุขอนามัยและมาตรฐานสินค้า คณะอนุกรรมการพิจารณาพันธกรณีด้านการอุดหนุน และการต่อต้านการทุ่มตลาด คณะอนุกรรมการพิจารณาพันธกรณีด้านการค้าบริการ คณะอนุกรรมการพิจารณาพันธกรณีด้านมาตรการลงทุนที่ เกี่ยวกับการค้า คณะอนุกรรมการพิจารณาพันธกรณีด้านระเบียบทางการค้า และกฎเกณฑ์ของแกตต์ คณะอนุกรรมการพิจารณาการเข้าเป็นสมาชิกองค์การ การค้าโลก (WTO) นอกจากนี้ยังได้ขอความร่วมมือ จากคณะอนุกรรมการพิจารณาพันธกรณีของไทย ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ตามกรรมสารสุดท้ายของการเจรจา รอบอุรุกวัย ซึ่งแต่งตั้งโดย คณะกรรมการปรับปรุงแก้ไข กฎหมาย และพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญา และคณะ กรรมการดำเนินการ นำ ระบบราคาแกตต์มาใช้ในงานศุลกากร ซึ่งแต่งตั้งโดย กรมศุลกากรในการรายงาน ผลการพิจารณาพันธกรณี ในสองเรื่องดังกล่าวให้คณะกรรมการฯ ทราบด้วย ผลการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาพันธกรณีฯ คณะกรรมการพิจารณาพันธกรณีภายใต้กรรมสารสุดท้าย ของการเจรจาการค้า รอบอุรุกวัยได้พิจารณารายงานที่ได้รับ จากคณะอนุกรรมการต่าง ๆ และคณะกรรมการดำเนินการนำ ระบบราคาแกตต์ มาใช้ในงานศุลกากรแล้ว เห็นว่ากฎหมายไทยส่วนใหญ่ให้ อำนาจฝ่ายบริหารในการใช้ ดุลพินิจภายใต้ขอบเขตของกฎหมายนั้น ดังนั้น กฎหมายโดยส่วนใหญ่ที่มีอยู่ จึงรองรับพันธกรณี ภายใต้ความตกลงมาร์ราเกชได้ ยกเว้นในบางกรณีซึ่งจำเป็นต้องมี การออกกฎหมายใหม่ หรือแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่ สรุปผลการพิจารณาดังนี้ การปฎิบัติตามพันธกรณีโดยฝ่ายบริหารอาศัยกฎหมายที่มีอยู่ การลดและผูกพันภาษีศุลกากร การเจรจาเรื่องภาษีศุลกากรมีผลให้ทุกประเทศ ต้องลดอัตราภาษีศุลกากร และ ผูกพันที่จะไม่เพิ่มอัตราภาษีให้สูงกว่า อัตราที่ลดแล้ว ในส่วนของไทย กระทรวงการคลังสามารถที่จะออกประกาศ กระทรวง อาศัยความใน พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 เพื่อลด และผูกพันอัตราภาษีศุลกากร ดังนี้ สินค้าเกษตร จำนวนประมาณ 740 รายการ (รหัส HS 6-7 หลัก) โดยลดลง ปีละเท่า ๆ กัน ในเวลา 10 ปี สินค้าอื่นรวมสินค้าอุตสาหกรรม และทรัพยากรธรรมชาติ จำนวนประมาณ 3,089 รายการ (รหัส HS 6-7 หลัก) โดยลดลงปีละเท่า ๆ กัน ในเวลา 5 ปี ยกเว้น รายการ สิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม ในเวลา 10 ปี การลดการอุดหนุนสาขาเกษตร การเจรจาความตกลงการเกษตรมีผลให้ทุก ประเทศต้องลด การอุดหนุนที่มีลักษ ระบิดเบือนกลไกตลาดทุกประเภทลง โดยประเทศพัฒนาแล้ว ต้องลดมากกว่า และเมื่อลดแล้วต้องผูกพัน ที่จะไม่เพิ่มขึ้น ในส่วนของประเทศไทย กระทรวงที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการ ให้เงินอุดหนุนการเกษตรสามารถที่จะ จำกัดการอุดหนุน โดยอาศัยอำนาจบริหารที่มีอยู่ เพื่อลด และผูกพันการอุดหนุนดังนี้ การอุดหนุนภายใน ต้องลดการอุดหนุน เฉพาะ ที่จะปิดเบือนกลไกตลาดลง จากระดับ 22,126.18 ล้านบาท ลงเท่า ๆ กันต่อปี เริ่มจากปี 2538 ในเวลา 10 ปี จนเหลือไม่เกิน 19,028.48 ล้านบาท ในปี 2547 การอุดหนุนการส่งออก เนื่องจากในช่วงเวลาที่ใช้เป็นฐาน คือปี 2529-2533 ไทยไม่ได้ให้การอุดหนุนการส่งออก จึงไม่มีข้อผูกพันที่จะต้องลด แต่หากจะเริ่มให้การอุดหนุน ก็ต้องไม่ใช่การอุดหนุนโดยตรง การเปิดตลาดการค้าบริการ การเจรจาเรื่องการค้าบริการ ให้มีผลให้ทุกประเทศ ต้องเปิดตลาดการค้า บริการในสาขาต่าง ๆ ในกรณีของไทย ได้ผูกพันที่จะไม่ออกกฎหมาย หรือระเบียบกฎเกณฑ์ ภายในเพิ่มเติมจากที่มีอยู่ ในทางที่จะจำกัดการ เข้าสู่ตลาดการค้าบริการ มากกว่าในปัจจุบัน สำหรับกิจกรรมการค้าบริการ 95 รายการ ใน สาขาบริการ 10 สาขา ได้แก่ สาขาบริการด้านธุรกิจ การคมนาคมสื่อสาร การก่อสร้าง การจัดจำหน่าย การศึกษา สิ่งแวดล้อม การเงินการท่องเที่ยว การสันทนาการ วัฒนาธรรม และการกีฬา และบริการด้านการขนส่ง นอกเหนือจากข้อ 1.) ถึง 2.) ข้างต้นแล้ว กระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ ก็จะต้องคำนึงถึงสิทธิและพันธกรณีของ ไทยภายใต้องค์การการค้าโลก ในการปฏิบัติงาน ตามหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยการแก้ไขประกาศกระทรวงและระเบียบอื่น ที่เกี่ยวข้อง ให้สอดคล้องกับบท บัญญัติของ ความตกลงต่าง ๆ โดยอาศัยกฎหมายที่มีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประกาศตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายทางด้านสุขอนามัย และสุขอนามัย พืช และกฎหมายว่าด้วยการนำเข้า และส่งออกซึ่งสินค้า แต่การแก้ไขในส่วนนี้สามารถ กระทำได้ทันทีโดยฝ่ายบริหาร จึงกระทำได้โดยรวดเร็ว ทันต่อการเข้าเป็นสมาชิก การออกกฎหมายใหม่หรือการแก้ไข กฎหมายที่มีอยู่เพื่อรองรับพันธกรณี เพื่อให้ประเทศไทยสามารถปฏิบัติตามพันธกรณีในฐานะสมาชิกองค์การการค้าโลก จำเป็นต้องมีการแก้ ไขกฎหมายที่ใช้อยู่และออกกฎหมายใหม่ ดังนี้ การออกกฎหมายใหม่ก่อนเข้าเป็นสมาชิก ต้อง ออกพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานขององค์การการค้า โลกเพื่อรับรองสภาพนิติบุคคลของ องค์การการค้าโลก และให้เอกสิทธิ์และคุ้มกันแก่องค์การผู้แทนสมาชิก และพนักงานขององค์การ ในกรณีที่เดินทางมาปฏิบัติภารกิจ ที่เกี่ยวกับงานขององค์การในประเทศไทย การแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่ก่อนเข้าเป็นสมาชิก ต้องแก้ไขพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 เพื่อเพิ่มอำนาจกระทรวงการคลัง ในการเรียกเก็บอากรตาม ข้อผูกพันตามสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศ การออกกฎหมายใหม่ภายหลัง เข้าเป็นสมาชิก เนื่องจากความตกลงฯ ได้ให้ความยืดหยุ่น แก่ประเทศกำลังพัฒนาในแง่เวลา ที่จะต้องออกกฎหมายใหม่ หากยังไม่มีกฎหมายภายใน รองรับสิทธิ และพันธกรณีที่เพียงพอ ในส่วนนี้ มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งประเทศไทยจะต้องออกใหม่ ในอนาคตภายในเวลา ที่กำหนดไว้ในความตกลงที่เกี่ยวข้อง โดยมีเวลาที่กำหนดให้ นับจากวันที่ความตกลง มาร์ราเกชจัดตั้งองค์การการค้าโลกมีผลบังคับ ใช้ ดังนี้ พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธ์พืช (ภายใน 10 ปี) พระราชบัญญัติคุ้มครองบ่งชี้แหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ (ภายใน 5 ปี) พระราชบัญญัติคุ้มครองการออกแบบวงจรรวม (ภายใน 5 ปี) พระราชบัญญัติคุ้มครองความลับทางการค้า (ภายใน 5 ปี) กฎหมายที่ต้องแก้ไขภายหลังเข้าเป็นสมาชิก ในการแก้ไขกฎหมายต่าง ๆ ประเทศไทยก็มีสิทธิ ในฐานะประเทศกำลังพัฒนา ที่จะมี เวลาในการปรับตัวเช่นเดียวกัน ดังนี้ กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา (ภายใน 5 ปี) พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 กฎหมายเกี่ยวกับการประเมินราคาเพื่อการศุลกากร (ภายใน 5 ปี) พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2534 พระราชกำหนดพิกัดอัตราภาษีศุลกากร พ.ศ. 2530 กฎหมายเกี่ยวกับการนิคมอุตสาหกรรม (ภายใน 8 ปี) พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 การดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อ เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก เพื่อปฎิบัติให้เป็นไป ตามขั้นตอนที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 มาตรา 156 อนุมาตรา 12 และมาตรา 178 วรรค 2 กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการ ตามลำดับจนลุล่วงตามเป้าหมาย ดังนี้ รัฐบาลได้ทำการเสนอให้รัฐสภาโดยประชุมร่วมกัน พิจารณาให้ความเห็นชอบ ความตกลงมาร์ราเกช จัดตั้งองค์การการค้าโลก ซึ่งรวมความตกลงผนวกท้าย และพิธีสารอื่น เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2537 และรัฐสภาพได้ ให้ความเห็นชอบตามเสนอ เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบดังกล่าวแล้ว เพื่อให้ไทยปฎิบัติตาม พันธกรณีภายใต้องค์การการค้าโลก รัฐบาลได้เสนอร่างพระราชบัญญัติคุ้มครอง การดำเนินงานขององค์การการค้าโลก และร่างแก้ไขพระราชกำหนดพิกัด อัตราภาษีศุลกากร พ.ศ 2530 ต่อสภาผู้แทนราษฎร และได้รับการพิจารณาครั้งแรก ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2537 แต่เนื่องจากสภาผู้แทน ขอเวลาศึกษาร่างกฎหมาย จึงได้ทำการพิจารณาอีกครั้งในวันที่ 7 ธันวาคม 2537 และได้ผ่านการ พิจารณาในวันที่ 7 ธันวาคมนี้ ส่วนวุฒิสภาพ ได้พิจารณา และให้ความเห็นชอบใน วันที่ 9 ธันวาคม 2537 ต่อมาหลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย ร่างพระ ราชบัญญัติทั้งสองฉบับดังกล่าวแล้ว สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 111 ตอนที่ 62 ก ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2537 มีผลใช้บังคับ กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการ ยื่นสัตยาบันสารเพื่อให้ไทย มีสถานะเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก ในวันที่ 28 ธันวาคม 2537 และ ไทยเป็นสมาชิกลำดับที่ 59 ผลประโยชน์ที่ไทยจะได้รับในฐานะสมาชิกองค์การการค้าโลก [Back to Header
] ผลการเจรจารอบอุรุกวัยเป็นผลของการประนีประนอมของสมาชิก 125 ประเทศ โดยผลการเจรจาได้ให้ทั้งสิทธิประ โยชน์ และได้สร้างพันธกรณี แก่สมาชิก เช่นเดียวกับสนธิสัญญา ระหว่างประเทศทั่วไป เมื่อทุกประเทสปฎิบัติตามพันธกรณี ประเทสไทยจะได้ประโยชน์ ในภาพกว้างจาก ผลการเจรจา สรุปสาระ ดังนี้ การมีกฎระเบียบการค้าโลกที่ได้รับการปรับปรุงให้รัดกุม เข้มแข็งขึ้น ได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎเกณฑ์การค้าให้มีความชัดเจนรัดกุม มีความโปร่งใส และเป็นธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีการปรับปรุงกระบวนการ ระงับข้อพิพาทให้มีความรวดเร็ว และมีผลใช้บังคับที่เข้มงวดกว่าเดิม อันจะทำ ให้ประเทศใหญ่ หันมาใช้กระบวนการ ระงับข้อพิพาทในระบบพหุภาคีมากกว่า ที่จะใช้อำนาจทาง เศรษฐกิจ แต่ข้างเดียว และจะทำให้การใช้มาตรการฝ่ายเดียว และการบีบคั้นในด้านทวีภาคี ลดลง อันจะเป็นผลดีกับประเทศไทย ได้มีการสร้างกฎระเบียบทางการค้าสินค้าเกษตร ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยรวมถึงการลดการอุดหนุนทุกชนิด และ การเปิดตลาดสินค้าเกษตร เพื่อการขยายการค้า และส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรมในตลาดโลก ดังนั้น การเข้าสู่ตลาด จะสะดวกขึ้น และการแข่งขันกับประเทศอื่นจะมีความเป็นธรรมมากขึ้น ผลโดยทั่วไปก็คือ ราคาสินค้า เกษตรในตลาดโลกจะมีแนวโน้มสูงขึ้นกว่า ในอดีต และจากการศึกษาของอังค์แทด พบว่า การลด การอุดหนุนดังกล่าวจะทำ ให้ ราคาสินค้าเกษตร สูงขึ้นโดยเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 10 ภายใน 6 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะ อย่างยิ่งราคาข้าวจะสูงขึ้น ประมาณร้อยละ 18.3 ในด้านทรัพย์สินทางปัญญา ได้มีการกำหนดมาตรฐานสากลของการคุ้มครอง ทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นที่ยอมรับของ ประเทศสมาชิกในเรื่องสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้าและ เครื่องหมายบริการ ลิขสิทธิ์และสิทธิเกี่ยวเนื่อง การออกแบบวงจรรวม สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ความลับทางการค้า และการออกแบบ อุตสาหกรรม รวมทั้งได้กำหนดให้ ใช้กระบวนการระงับข้อพิพาทในองค์การการค้าโลก ซึ่งจะมีผลในการลดแรงกดดัน ในระดับทวิภาครในด้านนี้ลง นอกจากนี้ยังได้กำหนดกฎระเบียบในการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการกำหนดให้มีมาตรการ ณ จุดผ่านแดน เพื่อตรวจสอบสินค้าละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ด้วยกฎระเบียบเหล่านี้ จะเสริมบรรยากาศการลงทุน เพราะผู้ลงทุนทราบว่าจะไม่มีการ ละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และจะกระตุ้นให้ผู้ผลิตของไทยพัฒนา มาตรฐานการผลิต และคิดค้นสร้างสรรค์งานที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง เป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมไปอีกระดับหนึ่ง และจะเป็นการคุ้มครองงาน อันมีสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของไทยอีกด้วย การขยายตัวของการค้าโลก ผลการเจรจารอบอุรุกวัยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนของกาเรปิดตลาด จะเป็นผลให้การค้าขยายตัวมากขึ้น ซึ่งหมายความว่ารายได้รวมของโลก จะเพิ่มมากขึ้น และจากประมาณการขององค์การ ระหว่างประเทศที่เป็น ที่ยอมรับกันโดยทั่วไปก็คาดหมายในทำนองเดียวกันนี้ เช่น ประมาณการของสำนังานเลขาธิการแกตต์ พบว่าเมื่อถึงปี 2548 อันเป็นปีที่ การเปิดเสรีตามที่ตกลงในรอบนี้เสร็จสิ้น รายได้รวมทั่วโลก จะสูงขึ้นปีละ 235 พันล้านเหรียญสหรัฐ และธนาคารโลกร่วมกับองค์การ โออีซีดี ก็ประมาณว่าภายใน ปี 2545 รายได้รวมต่อปีจะสูงขึ้น 213 พันล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อรายได้ทั่วโลกสูงขึ้นอนาจการซื้อจะสูงขึ้น โดยทั่วไปประเทศที่มีศักยภาพทางการผลิต เพื่อส่งออกสูงเข่นไทย ย่อมมีโอกาส และช่องทางที่จะขยายการลงทุนและการค้ามากขึ้น การขยายตัวของการค้าไทย ความเจริญ และการพัฒฯาทางเศรษฐกิจของไทยทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ต้องพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศ เป็นสำคัญ ดังจะเห็นได้ว่าสัดส่วน การค้าระหว่างประเทศของไทย ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ได้เพิ่มจากร้อยละ 42 ในปี 2526 เป็นร้อยละ 65 ในปี 2536 โดยมูลค่า การค้าระหว่างประเทศได้ขยายตัว เพิ่มขึ้นถึง 7 เท่าตัว จาก 3.5 แสนล้านบาทในปี 2525 เป็น 2.1 ล้านล้านบาทในปี 2536 อันเป็น ผล จากการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกถึง 8 เท่า โดยสรุปประเทศไทยมีผลประโยชน์ทางการค้าระหว่าง ประเทศ ที่จะต้องปกป้อง รักษา และเพิ่มพูนให้สูงขึ้น และการเป็นสมาชิกองค์การการค้า โลกจะทำให้ไทยได้รับผลประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ในด้านการเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรมและทรัพยากรธรรมชาติ ประเทศ สมาชิกที่เป็นคู่ค้าสำคัญของไทย ต่างก็ได้ผูกพันที่จะเปิดตลาดโดยการลด หรือยกเลิกภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าแทบทุกชนิด โดย จะลดภาษีศุลกากรลงจากอัตราเฉลี่ยเดิม ประมาณร้อยละ 40 การเปิดตลาดให้กว้างขึ้นนี้ จะทำให้ไทยซึ่งมีศักยภาพ ในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม และสินค้าจากทรัพยากรธรรมชาติ มีโอกาส ที่จะขยายการค้าได้มากขึ้น หากมองผลประโยชน์ในรูปมูลค่าส่งออกของไทยที่จะได้รับจากการลด ภาษีสุลกากร สินค้าอุตสาหกรรมจากประเทศคู่ค้าสำคัญ โดยใช้ตัวเลขปี 2536 แล้ว พบว่าประเทศไทยได้ส่งออกสินค้า ที่สหรัฐฯ ลดอัตราภาษีเป็นมูลค่า 160,262 ล้านบาท สหภาพยุโรป 105,217 ล้านบาท และญี่ปุ่น 102,477 ล้านบาท ดังนั้นเมื่อลดอัตราภาษีลงอีก ก็จะทำให้สินค้าไทยแข่งขันได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ประเทศที่ไม่เปิดตลาดในอดีต เช่น ออสเตรีเลีย แคนาดา และเกาหลี ก็จะลดและผูกพันอัตราภาษี รายการสินค้าเหล่านั้นเช่นกัน เมื่อไทยมีศักยภาพ ส่งไปประเทศสหรัฐฯ หรือสหภาพยุโรปได้ก็ย่อมมีโอกาสที่ จะเจาะตลาดใหม่เหล่านี้เช่นกัน ในด้านสินค้าเกษตรนั้น ประเทศสมาชิกจะต้อง เปิดตลาดสินค้าเกษตร โดยมีพันธกรณีที่จะต้องลดอัตรา ภาษีศุลกากรลงอย่างน้อย ร้อยละ 36 สำหรับประเทศพัฒนาแล้ว และร้อยละ 24 สำหรับประเทศกำลังพัฒนา ที่สำคัญ ก็คือประเทศสมาชิกจะต้องยกเลิก การห้ามนำเข้า และแปลงมาตรการที่มิใช่ภาษีสุลกากร มาเป็นมาตรการภาษีศุลกากรแทน โดย เฉพาะอย่างยิ่งทำให้ประเทศ ที่เคยปิดตลาด เช่น ญี่ปุ่น และเกาหลีต้องยกเลิกการห้ามนำเข้า และเนื่องจากประเทศไทย มีศักยภาพการผลิตสินค้าเกาตรสูง จึงเป็นประโยชน์กับเศรษฐกิจของไทย ในด้านการค้าบริการได้กำหนดกรอบความตกลงทั่วไป ว่าด้วยการค้าบริการขึ้นเพื่อใช้เป็นกฎเกณฑ์ ในการควบคุมดูแล การค้าบริการในโลกให้เป็นไปอย่างเป็นธรรม มีความโปร่งใส รวมทั้งให้มีการเปิดตลาดการค้าบริการ ให้เสรียิ่งขึ้น ดังนั้นเอกชนไทยที่มีศักยภาพ ในการค้าบริการ ทั้งในสาขาการก่อสร้าง หรือในสาขาการท่องเที่ยว และสาขาอื่น ที่ใช้แรงงานเป็นหลักก็สามารถขยาย การทำการค้าบริการสู่ตลาดต่างประเทศตามโอกาสที่เปิดให้ SOURCE From : กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ มกราคม 2538
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-
] ผลการเจรจารอบอุรุกวัยเป็นผลของการประนีประนอมของสมาชิก 125 ประเทศ โดยผลการเจรจาได้ให้ทั้งสิทธิประ โยชน์ และได้สร้างพันธกรณี แก่สมาชิก เช่นเดียวกับสนธิสัญญา ระหว่างประเทศทั่วไป เมื่อทุกประเทสปฎิบัติตามพันธกรณี ประเทสไทยจะได้ประโยชน์ ในภาพกว้างจาก ผลการเจรจา สรุปสาระ ดังนี้ การมีกฎระเบียบการค้าโลกที่ได้รับการปรับปรุงให้รัดกุม เข้มแข็งขึ้น ได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎเกณฑ์การค้าให้มีความชัดเจนรัดกุม มีความโปร่งใส และเป็นธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีการปรับปรุงกระบวนการ ระงับข้อพิพาทให้มีความรวดเร็ว และมีผลใช้บังคับที่เข้มงวดกว่าเดิม อันจะทำ ให้ประเทศใหญ่ หันมาใช้กระบวนการ ระงับข้อพิพาทในระบบพหุภาคีมากกว่า ที่จะใช้อำนาจทาง เศรษฐกิจ แต่ข้างเดียว และจะทำให้การใช้มาตรการฝ่ายเดียว และการบีบคั้นในด้านทวีภาคี ลดลง อันจะเป็นผลดีกับประเทศไทย ได้มีการสร้างกฎระเบียบทางการค้าสินค้าเกษตร ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยรวมถึงการลดการอุดหนุนทุกชนิด และ การเปิดตลาดสินค้าเกษตร เพื่อการขยายการค้า และส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรมในตลาดโลก ดังนั้น การเข้าสู่ตลาด จะสะดวกขึ้น และการแข่งขันกับประเทศอื่นจะมีความเป็นธรรมมากขึ้น ผลโดยทั่วไปก็คือ ราคาสินค้า เกษตรในตลาดโลกจะมีแนวโน้มสูงขึ้นกว่า ในอดีต และจากการศึกษาของอังค์แทด พบว่า การลด การอุดหนุนดังกล่าวจะทำ ให้ ราคาสินค้าเกษตร สูงขึ้นโดยเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 10 ภายใน 6 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะ อย่างยิ่งราคาข้าวจะสูงขึ้น ประมาณร้อยละ 18.3 ในด้านทรัพย์สินทางปัญญา ได้มีการกำหนดมาตรฐานสากลของการคุ้มครอง ทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นที่ยอมรับของ ประเทศสมาชิกในเรื่องสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้าและ เครื่องหมายบริการ ลิขสิทธิ์และสิทธิเกี่ยวเนื่อง การออกแบบวงจรรวม สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ความลับทางการค้า และการออกแบบ อุตสาหกรรม รวมทั้งได้กำหนดให้ ใช้กระบวนการระงับข้อพิพาทในองค์การการค้าโลก ซึ่งจะมีผลในการลดแรงกดดัน ในระดับทวิภาครในด้านนี้ลง นอกจากนี้ยังได้กำหนดกฎระเบียบในการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการกำหนดให้มีมาตรการ ณ จุดผ่านแดน เพื่อตรวจสอบสินค้าละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ด้วยกฎระเบียบเหล่านี้ จะเสริมบรรยากาศการลงทุน เพราะผู้ลงทุนทราบว่าจะไม่มีการ ละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และจะกระตุ้นให้ผู้ผลิตของไทยพัฒนา มาตรฐานการผลิต และคิดค้นสร้างสรรค์งานที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง เป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมไปอีกระดับหนึ่ง และจะเป็นการคุ้มครองงาน อันมีสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของไทยอีกด้วย การขยายตัวของการค้าโลก ผลการเจรจารอบอุรุกวัยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนของกาเรปิดตลาด จะเป็นผลให้การค้าขยายตัวมากขึ้น ซึ่งหมายความว่ารายได้รวมของโลก จะเพิ่มมากขึ้น และจากประมาณการขององค์การ ระหว่างประเทศที่เป็น ที่ยอมรับกันโดยทั่วไปก็คาดหมายในทำนองเดียวกันนี้ เช่น ประมาณการของสำนังานเลขาธิการแกตต์ พบว่าเมื่อถึงปี 2548 อันเป็นปีที่ การเปิดเสรีตามที่ตกลงในรอบนี้เสร็จสิ้น รายได้รวมทั่วโลก จะสูงขึ้นปีละ 235 พันล้านเหรียญสหรัฐ และธนาคารโลกร่วมกับองค์การ โออีซีดี ก็ประมาณว่าภายใน ปี 2545 รายได้รวมต่อปีจะสูงขึ้น 213 พันล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อรายได้ทั่วโลกสูงขึ้นอนาจการซื้อจะสูงขึ้น โดยทั่วไปประเทศที่มีศักยภาพทางการผลิต เพื่อส่งออกสูงเข่นไทย ย่อมมีโอกาส และช่องทางที่จะขยายการลงทุนและการค้ามากขึ้น การขยายตัวของการค้าไทย ความเจริญ และการพัฒฯาทางเศรษฐกิจของไทยทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ต้องพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศ เป็นสำคัญ ดังจะเห็นได้ว่าสัดส่วน การค้าระหว่างประเทศของไทย ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ได้เพิ่มจากร้อยละ 42 ในปี 2526 เป็นร้อยละ 65 ในปี 2536 โดยมูลค่า การค้าระหว่างประเทศได้ขยายตัว เพิ่มขึ้นถึง 7 เท่าตัว จาก 3.5 แสนล้านบาทในปี 2525 เป็น 2.1 ล้านล้านบาทในปี 2536 อันเป็น ผล จากการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกถึง 8 เท่า โดยสรุปประเทศไทยมีผลประโยชน์ทางการค้าระหว่าง ประเทศ ที่จะต้องปกป้อง รักษา และเพิ่มพูนให้สูงขึ้น และการเป็นสมาชิกองค์การการค้า โลกจะทำให้ไทยได้รับผลประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ในด้านการเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรมและทรัพยากรธรรมชาติ ประเทศ สมาชิกที่เป็นคู่ค้าสำคัญของไทย ต่างก็ได้ผูกพันที่จะเปิดตลาดโดยการลด หรือยกเลิกภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าแทบทุกชนิด โดย จะลดภาษีศุลกากรลงจากอัตราเฉลี่ยเดิม ประมาณร้อยละ 40 การเปิดตลาดให้กว้างขึ้นนี้ จะทำให้ไทยซึ่งมีศักยภาพ ในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม และสินค้าจากทรัพยากรธรรมชาติ มีโอกาส ที่จะขยายการค้าได้มากขึ้น หากมองผลประโยชน์ในรูปมูลค่าส่งออกของไทยที่จะได้รับจากการลด ภาษีสุลกากร สินค้าอุตสาหกรรมจากประเทศคู่ค้าสำคัญ โดยใช้ตัวเลขปี 2536 แล้ว พบว่าประเทศไทยได้ส่งออกสินค้า ที่สหรัฐฯ ลดอัตราภาษีเป็นมูลค่า 160,262 ล้านบาท สหภาพยุโรป 105,217 ล้านบาท และญี่ปุ่น 102,477 ล้านบาท ดังนั้นเมื่อลดอัตราภาษีลงอีก ก็จะทำให้สินค้าไทยแข่งขันได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ประเทศที่ไม่เปิดตลาดในอดีต เช่น ออสเตรีเลีย แคนาดา และเกาหลี ก็จะลดและผูกพันอัตราภาษี รายการสินค้าเหล่านั้นเช่นกัน เมื่อไทยมีศักยภาพ ส่งไปประเทศสหรัฐฯ หรือสหภาพยุโรปได้ก็ย่อมมีโอกาสที่ จะเจาะตลาดใหม่เหล่านี้เช่นกัน ในด้านสินค้าเกษตรนั้น ประเทศสมาชิกจะต้อง เปิดตลาดสินค้าเกษตร โดยมีพันธกรณีที่จะต้องลดอัตรา ภาษีศุลกากรลงอย่างน้อย ร้อยละ 36 สำหรับประเทศพัฒนาแล้ว และร้อยละ 24 สำหรับประเทศกำลังพัฒนา ที่สำคัญ ก็คือประเทศสมาชิกจะต้องยกเลิก การห้ามนำเข้า และแปลงมาตรการที่มิใช่ภาษีสุลกากร มาเป็นมาตรการภาษีศุลกากรแทน โดย เฉพาะอย่างยิ่งทำให้ประเทศ ที่เคยปิดตลาด เช่น ญี่ปุ่น และเกาหลีต้องยกเลิกการห้ามนำเข้า และเนื่องจากประเทศไทย มีศักยภาพการผลิตสินค้าเกาตรสูง จึงเป็นประโยชน์กับเศรษฐกิจของไทย ในด้านการค้าบริการได้กำหนดกรอบความตกลงทั่วไป ว่าด้วยการค้าบริการขึ้นเพื่อใช้เป็นกฎเกณฑ์ ในการควบคุมดูแล การค้าบริการในโลกให้เป็นไปอย่างเป็นธรรม มีความโปร่งใส รวมทั้งให้มีการเปิดตลาดการค้าบริการ ให้เสรียิ่งขึ้น ดังนั้นเอกชนไทยที่มีศักยภาพ ในการค้าบริการ ทั้งในสาขาการก่อสร้าง หรือในสาขาการท่องเที่ยว และสาขาอื่น ที่ใช้แรงงานเป็นหลักก็สามารถขยาย การทำการค้าบริการสู่ตลาดต่างประเทศตามโอกาสที่เปิดให้ SOURCE From : กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ มกราคม 2538
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-