กรุงเทพฯ--24 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (23 สิงหาคม 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลง ข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ระหว่างวันที่ 16-18 สิงหาคม 2543 เจ้าหน้าที่อาวุโสร่วม 100 คน จาก 27 ประเทศใน เอเชียและลาตินอเมริการ่วมกันกำหนดแนวทางความร่วมมือระหว่างสองภูมิภาคให้ใกล้ชิดในทุกด้านทั้งการ เมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการศึกษา พร้อมเสนอให้รัฐมนตรีต่างประเทศประชุมร่วมกันอย่างเป็น ทางการครั้งแรกในต้นเดือนเมษายน 2543 เพื่อเปิดศักราชใหม่แห่งความร่วมมือระหว่างกันซึ่งจะส่งเสริมให้ ประชาชนจากทั้งสองภูมิภาคได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันมากกว่าที่ผ่านมา การร่วมมือกันจะนำไปสู่ความเข้าใจ ระหว่างกันที่ดีขึ้น ซึ่งจะยังผลให้ความสัมพันธ์กระชับแน่นและมีผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะในด้าน เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม นอกจากนี้ การร่วมมือกันจะช่วยเสริมบทบาทซึ่งกันและกันในเวทีต่างๆ ระหว่างประเทศอีกด้วย ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่อาวุโสไทยได้แก่ ดร.สมเกียรติ อริยปรัชญา อธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้
การประชุมครั้งที่ 2 ของเจ้าหน้าที่อาวุโสของเวทีการหารือ EALAF ที่กรุงซานติเอโกครั้งนี้เป็น การประชุมสืบเนื่องมาจากการประชุมครั้งแรกที่สิงคโปร์เมื่อเดือนกันยายน 2542 ซึ่งที่ประชุมครั้งนี้สามารถ ตกลงและเตรียมการในเรื่องสำคัญๆ ที่จะเป็นการวางแนวทางของการขยายความร่วมมือระหว่างกันได้แก่
1. การวางกรอบการหารือระหว่างสมาชิก และการดำเนินงานของเวทีการหารือเอเชียตะวัน ออก-ลาตินอเมริกา ซึ่งได้กำหนดกลไกการประสานงาน การแต่งตั้งผู้ประสานงานร่วมระหว่างสองภูมิภาค รวมทั้งผู้ช่วยผู้ประสานงาน โดยมีสิงคโปร์ และฟิลิปปินส์เป็นผู้ประสานงานและผู้ช่วยผู้ประสานงานตามลำดับสำหรับเอเชีย ในขณะที่ฝ่ายลาตินอเมริกามีชิลีและโคลัมเบียเป็นผู้ประสานงานและผู้ช่วยผู้ประสานงานตาม ลำดับ
2. ประเทศสมาชิกได้เสนอโครงการความร่วมมือระหว่างกันที่หลากหลายเพื่อเป็นจุดเริ่มต้น เช่น การแลกเปลี่ยนโครงการฝึกอบรมบุคลากร การสัมมนา การเปิดสาขาภูมิภาคศึกษาของกันและกันใน สถาบันการศึกษาหรือมหาวิทยาลัย รวมทั้งการจัดศูนย์ข้อมูลที่จะเผยแพร่ข้อมูลเหล่านี้ รวมทั้งข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวกับประเทศสมาชิก และการเสนอให้มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาอุปสรรคและลู่ทางในการส่งเสริม ความสัมพันธ์ทางการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวระหว่างเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา
ในการประชุมครั้งนี้ คณะผู้แทนไทยได้เสนอโครงการร่วมมือกับสมาชิกที่สำคัญคือ
- โครงการฝึกอบรม/ศึกษาต่อในกรอบ Technical Cooperation among Development Countries-TCDC ของกรมวิเทศสหการรวม 11 หลักสูตรซึ่งจะเปิดรับการสมัครจากคนชาติของประเทศกำลัง พัฒนาใน EALAF รวมทั้ง การพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อรวบรวมโครงการฝึกอบรม/พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ ประเทศต่างๆ เสนอให้กับประเทศสมาชิกอื่นๆ ที่สนใจจะเข้าร่วมไว้ใน Web Site ของกระทรวงการต่างประเทศ
- การจัดตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อศึกษาปัญหาลู่ทางในการส่งเสริมการค้า การลงทุนและการ ท่องเที่ยวระหว่างกัน
- การจัดตั้งหลักสูตร Latin American Studies ในมหาวิทยาลัยในเอเชียและหลักสูตร Asian Studies ในมหาวิทยาลัยในลาตินอเมริกาและเสนอจะพิจารณาฐานข้อมูลเพื่อรวบรวมหลักสูตรดังกล่าวของ ประเทศสมาชิกไว้ใน Web Site ของกระทรวงการต่างประเทศ
ทั้งนี้ ประเทศไทยจะได้ประสานงานกับประเทศสมาชิกอื่นๆ ที่สนใจเพื่อการดำเนินงาน ตามโครงการข้างต้นต่อไป
สมาชิก EALAF ประกอบด้วย ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมดร่วมกับสาธารณรัฐประชาชน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ส่วนฝ่ายลาตินอเมริกา ประกอบด้วย อาร์เจนตินา โบลิเวีย บราซิล ชิลี โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เม็กซิโก ปานามา ปารากวัย เปรู อุรุกวัย และเวเนซูเอลา การจัดตั้งเวทีการหารือนี้สืบเนื่องมาจากข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ต่ออดีตประธานาธิบดีของชิลี ในปี 2541 เพื่อให้ภูมิภาคทั้งสองมีกรอบการหารือระหว่างกันอย่างเป็นทางการ--จบ--
-ยก-
วันนี้ (23 สิงหาคม 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลง ข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ระหว่างวันที่ 16-18 สิงหาคม 2543 เจ้าหน้าที่อาวุโสร่วม 100 คน จาก 27 ประเทศใน เอเชียและลาตินอเมริการ่วมกันกำหนดแนวทางความร่วมมือระหว่างสองภูมิภาคให้ใกล้ชิดในทุกด้านทั้งการ เมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการศึกษา พร้อมเสนอให้รัฐมนตรีต่างประเทศประชุมร่วมกันอย่างเป็น ทางการครั้งแรกในต้นเดือนเมษายน 2543 เพื่อเปิดศักราชใหม่แห่งความร่วมมือระหว่างกันซึ่งจะส่งเสริมให้ ประชาชนจากทั้งสองภูมิภาคได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันมากกว่าที่ผ่านมา การร่วมมือกันจะนำไปสู่ความเข้าใจ ระหว่างกันที่ดีขึ้น ซึ่งจะยังผลให้ความสัมพันธ์กระชับแน่นและมีผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะในด้าน เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม นอกจากนี้ การร่วมมือกันจะช่วยเสริมบทบาทซึ่งกันและกันในเวทีต่างๆ ระหว่างประเทศอีกด้วย ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่อาวุโสไทยได้แก่ ดร.สมเกียรติ อริยปรัชญา อธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้
การประชุมครั้งที่ 2 ของเจ้าหน้าที่อาวุโสของเวทีการหารือ EALAF ที่กรุงซานติเอโกครั้งนี้เป็น การประชุมสืบเนื่องมาจากการประชุมครั้งแรกที่สิงคโปร์เมื่อเดือนกันยายน 2542 ซึ่งที่ประชุมครั้งนี้สามารถ ตกลงและเตรียมการในเรื่องสำคัญๆ ที่จะเป็นการวางแนวทางของการขยายความร่วมมือระหว่างกันได้แก่
1. การวางกรอบการหารือระหว่างสมาชิก และการดำเนินงานของเวทีการหารือเอเชียตะวัน ออก-ลาตินอเมริกา ซึ่งได้กำหนดกลไกการประสานงาน การแต่งตั้งผู้ประสานงานร่วมระหว่างสองภูมิภาค รวมทั้งผู้ช่วยผู้ประสานงาน โดยมีสิงคโปร์ และฟิลิปปินส์เป็นผู้ประสานงานและผู้ช่วยผู้ประสานงานตามลำดับสำหรับเอเชีย ในขณะที่ฝ่ายลาตินอเมริกามีชิลีและโคลัมเบียเป็นผู้ประสานงานและผู้ช่วยผู้ประสานงานตาม ลำดับ
2. ประเทศสมาชิกได้เสนอโครงการความร่วมมือระหว่างกันที่หลากหลายเพื่อเป็นจุดเริ่มต้น เช่น การแลกเปลี่ยนโครงการฝึกอบรมบุคลากร การสัมมนา การเปิดสาขาภูมิภาคศึกษาของกันและกันใน สถาบันการศึกษาหรือมหาวิทยาลัย รวมทั้งการจัดศูนย์ข้อมูลที่จะเผยแพร่ข้อมูลเหล่านี้ รวมทั้งข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวกับประเทศสมาชิก และการเสนอให้มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาอุปสรรคและลู่ทางในการส่งเสริม ความสัมพันธ์ทางการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวระหว่างเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา
ในการประชุมครั้งนี้ คณะผู้แทนไทยได้เสนอโครงการร่วมมือกับสมาชิกที่สำคัญคือ
- โครงการฝึกอบรม/ศึกษาต่อในกรอบ Technical Cooperation among Development Countries-TCDC ของกรมวิเทศสหการรวม 11 หลักสูตรซึ่งจะเปิดรับการสมัครจากคนชาติของประเทศกำลัง พัฒนาใน EALAF รวมทั้ง การพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อรวบรวมโครงการฝึกอบรม/พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ ประเทศต่างๆ เสนอให้กับประเทศสมาชิกอื่นๆ ที่สนใจจะเข้าร่วมไว้ใน Web Site ของกระทรวงการต่างประเทศ
- การจัดตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อศึกษาปัญหาลู่ทางในการส่งเสริมการค้า การลงทุนและการ ท่องเที่ยวระหว่างกัน
- การจัดตั้งหลักสูตร Latin American Studies ในมหาวิทยาลัยในเอเชียและหลักสูตร Asian Studies ในมหาวิทยาลัยในลาตินอเมริกาและเสนอจะพิจารณาฐานข้อมูลเพื่อรวบรวมหลักสูตรดังกล่าวของ ประเทศสมาชิกไว้ใน Web Site ของกระทรวงการต่างประเทศ
ทั้งนี้ ประเทศไทยจะได้ประสานงานกับประเทศสมาชิกอื่นๆ ที่สนใจเพื่อการดำเนินงาน ตามโครงการข้างต้นต่อไป
สมาชิก EALAF ประกอบด้วย ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมดร่วมกับสาธารณรัฐประชาชน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ส่วนฝ่ายลาตินอเมริกา ประกอบด้วย อาร์เจนตินา โบลิเวีย บราซิล ชิลี โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เม็กซิโก ปานามา ปารากวัย เปรู อุรุกวัย และเวเนซูเอลา การจัดตั้งเวทีการหารือนี้สืบเนื่องมาจากข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ต่ออดีตประธานาธิบดีของชิลี ในปี 2541 เพื่อให้ภูมิภาคทั้งสองมีกรอบการหารือระหว่างกันอย่างเป็นทางการ--จบ--
-ยก-