เหตุระเบิดบริเวณเชิงสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ของทางฝั่งลาว ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับจังหวัดหนองคายของไทย เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2544 นับเป็นการลอบวางระเบิดครั้งที่ 10 ของลาวในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ก็คือ การระเบิดครั้งล่าสุดนี้ อุบัติขึ้นใกล้พรมแดนระหว่างไทยกับลาวมากที่สุด แรงระเบิดทำให้ประชาชนชาวไทยได้รับบาดเจ็บจำนวนหลายคน จึงเป็นเหตุที่สะเทือนขวัญทั้งชาวไทยและชาวลาวอย่างมาก
ขณะนี้ ทางการไทยระงับการเดินทางข้ามชายแดนไทย-ลาว ผ่านสะพานมิตรภาพแห่งนี้ชั่วคราว เพื่อความปลอดภัยของประชาชนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขง พร้อมทั้งต้องการสอบสวนเพื่อคลี่คลายปมระเบิดที่เกิดขึ้นประชิดชายแดนไทยเข้ามาทุกที
ผลกระทบไทย
เหตุการณ์ระเบิดในประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิดกับไทย ก่อให้เกิดความเสียหายโดยตรงแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนชาวไทย รวมทั้งคาดว่าจะส่งผลกระทบเชื่อมโยงเป็นวงกว้างต่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับลาว ให้อึมครึมลงอย่างน่าเสียดาย บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด สรุปผลกระทบจากวิกฤตการณ์ระเบิดในลาวต่อความสัมพันธ์ด้านการค้า การท่องเที่ยวและการลงทุน ระหว่างไทย-ลาว ดังนี้
ประเด็นแรก : การค้าไทย-ลาวซบเซา
ลาวเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ติดต่อค้าขายกับไทย ทั้งในรูปแบบการค้าทั่วไป และการค้าชายแดน ผลกระทบทันทีจากเหตุการณ์ระเบิดครั้งนี้ ก็คือ การค้าชายแดนไทย-ลาวหยุดชะงักชั่วคราว เนื่องจากทางการไทยประกาศปิดการเดินทางผ่านแดน โดยใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว ที่ทอดข้ามแม่น้ำโขงที่จังหวัดหนองคายของไทย กับนครเวียงจันทน์ของลาว หลังเกิดเหตุการณ์ระเบิดทำให้พ่อค้า แม่ค้าไทย ไม่สามารถเดินทางไปค้าขายยังฝั่งลาวได้ในขณะนี้ เช่นเดียวกับพ่อค้า แม่ค้าลาวก็ไม่สามารถข้ามพรมแดนมาไทยทางด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาวชั่วคราว
ประเด็นการค้าไทย-ลาว ที่พึงระวังได้แก่
1. หนองคายคลายความคึกคัก จังหวัดหนองคายครองแชมป์การค้าชายแดนระหว่างไทย-ลาว ที่มีมูลค่ามากที่สุดในปี 2543 โดยมียอดการค้ารวม (ทั้งส่งออกและนำเข้า) 9,506.5 ล้านบาท จำแนกเป็นการส่งออกมูลค่า 8,925.3 ล้านบาท และการนำเข้า 581.2 ล้านบาท หนองคายสามารถคว้าแชมป์กลับคืนมาจากจังหวัดมุกดาหารได้สำเร็จในปีที่ผ่านมา ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย หากการค้าชายแดนผ่านทางจังหวัดหนองคาย ชะงักงันลงในปี 2544 อันเป็นผลจากเหตุการณ์ระเบิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าในประเทศลาว ซึ่งจะบั่นทอนการส่งออกสินค้าชายแดนจากไทยไปลาว ให้อับเฉาลงไปในปีนี้
สินค้าไทยที่ส่งออกผ่านทางจังหวัดหนองคาย ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง ผ้าผืน เครื่องรับโทรทัศน์ หม้อหุงข้าวไฟฟ้า อะไหล่และอุปกรณ์รถยนต์ ปูนซิเมนต์ เครื่องดื่มชูกำลัง กระเบื้องปูพื้น รถยนต์ และขนมขบเคี้ยว
สินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้ามาจากลาวผ่านทางจังหวัดหนองคาย ส่วนใหญ่ได้แก่ สินค้าจำพวกไม้แปรรูป ไม้ปาร์เก้ และผลิตภัณฑ์ไม้อื่นๆ รวมทั้งหนังดิบและหนังฟอก เศษโลหะ ลูกต๋าว เป็นต้น
การส่งออกชายแดนไทยไปลาว ผ่านทางจังหวัดหนองคาย พุ่งขึ้นร้อยละ 33 ในปี 2543 ขณะที่การนำเข้าชายแดนจากลาวมาไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ส่งผลให้ไทยยังคงเป็นฝ่ายเกินดุลการค้าชายแดนลาวด้านจังหวัดหนองคาย เพิ่มขึ้นร้อยละ 34 เป็นมูลค่า 8,344.1 ล้านบาทในปี 2543
2. สินค้าเข้า-ออกจากประเทศที่ 3 ซบเซา หนองคายยังเป็นจังหวัดทางผ่านให้สินค้าจากประเทศที่ 3 ผ่านไปลาว และจากลาวมาไทย รวมถึงเป็นเส้นทางลำเลียงสินค้าของไทยผ่านดินแดนประเทศลาว เพื่อส่งต่อไปยังประเทศเวียดนามอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมืองในลาว ย่อมส่งผลเสียต่อปริมาณการค้าจากประเทศที่ 3 ซึ่งผ่านแดนของจังหวัดหนองคาย โดยมีมูลค่ารวม (ทั้งส่งออกและนำเข้า) เฉลี่ยราวปีละ 10,000 ล้านบาท
สินค้าผ่านแดนจากประเทศที่ 3 ผ่านไทยไปยังลาว ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ ได้แก่ ผ้าผืน บุหรี่ อะไหล่-อุปกรณ์สื่อสาร รถยนต์ ปั๊มน้ำมัน อุปกรณ์การตัดเย็บ อุปกรณ์การแพทย์ ข้าวมอลท์ เครื่องจักร โรงงานปูนซิเมนต์ เป็นต้น
ส่วนสินค้าผ่านแดนจากลาวมาไทย เพื่อส่งไปยังประเทศที่ 3 โดยผ่านชายแดนไทยที่จังหวัดหนองคาย ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้อื่นๆ รองเท้า ไม้ท่อน กำยาน เบียร์ เป็นต้น
คาดว่าสถานการณ์ การค้าสินค้าผ่านแดนทางด้านจังหวัดหนองคายในรอบปี 2544 จะอับเฉาลงอีก หลังจากที่ในปี 2543 มูลค่าการค้าผ่านแดนรวม (ทั้งส่งออกและนำเข้า) ลดลงร้อยละ 15 อยู่ในระดับ 10,864.5 ล้านบาท เนื่องจากการค้าขาออกลดลงร้อยละ 32 เหลือมูลค่า 6,139.3 ล้านบาท ส่วนการค้าขาเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 27 เป็นมูลค่า 4,725.2 ล้านบาท ในปี 2543
3. การค้าทั่วไปไทย-ลาวทรุดลง ในรอบปี 2543 การค้าระหว่างประเทศไทย-ลาว ทั่วไปอยู่ในสภาพที่ไม่ค่อยแจ่มใสอยู่แล้ว โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าไทยไปลาว ประสบภาวะชะงักงัน ดังนั้น มูลค่าส่งออกไปในปี 2543 จึงจะอยู่ระดับใกล้เคียงกับปี 2542 โดยมียอดส่งออกไม่เกิน 14,000 ล้านบาท เนื่องจากเศรษฐกิจลาวอ่อนแรงลง ยิ่งเกิดสถานการณ์ปั่นป่วนภายในลาวจากเหตุการณ์ระเบิดติดต่อกันหลายครั้ง คาดว่าจะยิ่งซ้ำเติมการค้าทั่วไประหว่างไทย-ลาว ให้อึมครึมลงอีกในปีนี้
ลาวจัดเป็นตลาดส่งออกแนวหลังของไทยในกลุ่มอาเซียน โดยอยู่ในอันดับ 7 รองจากสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และพม่า การค้าทั่วไประหว่างไทยกับลาว มีมูลค่ารวมเฉลี่ยราวปีละ 16,000 ล้านบาท โดยไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้าลาวสูงกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี สินค้าส่งออกของไทยไปลาวที่พึงระวัง เนื่องจากยอดส่งออกลดลง ได้แก่ ยานพาหนะและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ และปูนซิเมนต์
ประเด็นที่ 2 : ท่องเที่ยวไทย-ลาวเงียบเหงา
เหตุการณ์ระเบิดหลายครั้งหลายหนในลาว ทำลายบรรยากาศการท่องเที่ยวภายในลาวให้อับเฉาลงอย่างน่าเสียดาย ทั้งๆที่การท่องเที่ยวเป็นธุรกิจที่ทางการลาวควรส่งเสริมอย่างยิ่ง เพราะเป็นแหล่งรายได้ในรูปเงินตราต่างประเทศที่สำคัญ เหตุการณ์ไม่สงบในลาวอันเนื่องมาจากการลอบวางระเบิดตามสถานที่ต่างๆ จะทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติหนีหายไปจากลาว ซึ่งจะส่งผลกระทบทางอ้อมต่อการท่องเที่ยวไทยตามไปด้วย เพราะนักท่องเที่ยวต่างชาติบางกลุ่มหวั่นเกรงว่าจะเกิดความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในการเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศแถบนี้ จึงอาจย้ายจุดหมายปลายทางไปยังภูมิภาคอื่นๆแทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเหตุการณ์ดังกล่าวกลายเป็นเหตุเรื้อรัง จะยิ่งตอกย้ำภาพลักษณ์ความไม่สงบของลาวในสายตาของนักท่องเที่ยวต่างชาติมากขึ้น
สำหรับความสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวไทย-ลาว ลาวจัดเป็นประเทศในกลุ่มอาเซียนที่นักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางไปเยี่ยมเยือนมากเป็นอันดับ 3 รองมาจากมาเลเซียและสิงคโปร์ ในช่วง 10 เดือนแรกปี 2543 นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางไปลาวมีจำนวน 55,905 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2542 เหตุการณ์ระเบิดใกล้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว ทำให้ทางการไทยสั่งปิดการสัญจรผ่านจุดผ่านแดนแห่งนี้ชั่วคราว ส่งผลกระทบต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่ต้องการทัศนาจรไปประเทศลาวให้ต้องหันไปใช้เส้นทางอื่น อย่างไรก็ตาม เส้นทางข้ามแดนไทยไปลาว ผ่านทางสะพานมิตรภาพไทย-ลาวที่จังหวัดหนองคาย นับเป็นเส้นทางคมนาคมที่ค่อนข้างสะดวกมากที่สุด นักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางไปลาวเฉลี่ยราว 5,600 คนต่อเดือน
ทางด้านนักท่องเที่ยวลาวที่เดินทางมาไทย มีจำนวน 61,587 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2543 ชาวลาวจัดเป็นนักท่องเที่ยวอันดับ 5 ของไทยในกลุ่มอาเซียน รองจากมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ วิกฤตการณ์ระเบิดที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้นักท่องเที่ยวชาวลาวชะลอการเดินทางมาท่องเที่ยวไทยเช่นกัน
ประเด็นที่ 3 : การลงทุนไทย-ลาวฟุบ
ความไม่สงบเรียบร้อยที่ยังคุกรุ่นในลาวเป็นระยะๆ นับเป็นการทำลายบรรยากาศการลงทุนจากต่างประเทศในลาว โดยเฉพาะการลงทุนจากประเทศไทย ซึ่งเป็นนักลงทุนรายใหญ่สุด เมื่อสิ้นสุดปี 2543 มีมูลค่าเงินลงทุนสะสมในลาวทั้งสิ้นราว 3,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เฉพาะปีที่ผ่านมามียอดเงินลงทุนของไทยในลาวประมาณ 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 60% ของยอดมูลค่าเงินลงทุนในปี 2543
โครงการสำคัญที่ไทยเตรียมเข้าไปลงทุนได้แก่ โครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ "เขื่อนน้ำเทิน 2" โดยได้ลงนามสัญญาร่วมทุนระหว่างนักลงทุนฝรั่งเศสและรัฐบาลเรียบร้อยแล้ว เมื่อเดือนเมษายน 2543 มีมูลค่าเงินลงทุนจากไทยราว 440 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สถานการณ์วุ่นวายรุนแรงครั้งแล้วครั้งเล่าอาจส่งผลให้การดำเนินงานต้องล่าช้าออกไป และส่งผลกระทบต่อการวิเคราะห์ประเมินผลได้ผลเสียจากโครงการเหล่านี้ ไม่เป็นผลดีแก่นักลงทุนไทย รวมทั้งประเทศลาวที่วางแผนส่งเสริมให้ประเทศเป็น "ศูนย์กลางจำหน่ายไฟฟ้าแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
รัฐบาลลาว สนับสนุนโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำอย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่ลาวเปิดประเทศในปี 2531 โดยส่งเสริมให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุน เพื่อหวังเม็ดเงินลงทุนและเงินตราต่างประเทศ ปัจจุบันเงินลงทุนจากประเทศในลาวส่วนใหญ่ กระจุกตัวอยู่ในธุรกิจเขื่อนในสัดส่วนราว 80% ของมูลค่าเงินลงทุนสะสมจากต่างประเทศทั้งหมดในช่วง 13 ปี
เหตุการณ์ระเบิดซ้ำซากในลาว ยังส่งผลให้การลงทุนไทยในลาวปี 2544 อาจไม่สดใสเท่าที่ควร น่าเสียดายที่ก่อนหน้านี้ คาดว่าแนวโน้มการลงทุนไทยในลาวปีนี้อาจคึกคักเนื่องจากโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 ในเขตพื้นที่บริเวณจังหวัดมุกดาหารกับแขวงสะหวันนะเขตของลาว จะกระตุ้นให้ธุรกิจวัสดุก่อสร้างของไทยในบริเวณชายแดนดังกล่าวเฟื่องฟู รวมทั้งยังจูงใจให้นักธุรกิจไทยอาจสนใจเข้าไปลงทุนในแขวงสะหวันนะเขตมากขึ้น เพราะการเดินทางระหว่างกันจะสะดวก ธุรกิจไทยที่เคยคาดว่าอาจเข้าไปลงทุนในสะหวันนะเขต ได้แก่ การเพาะปลูกกาแฟเพื่อส่งออกไปยังสหภาพยุโรป (อียู) ธุรกิจหนีบฝ้าย ธุรกิจผลิตกระดาษ ธุรกิจอาหารสัตว์ โรงงานขิงดอง และโรงงานเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น แต่เมื่อสถานการณ์ความไม่สงบในลาวยังคงปะทุ อาจเป็นปัจจัยที่บั่นทอนให้ความสนใจของนักธุรกิจไทยที่จะเข้าไปลงทุนในลาวต้องลดน้อยลง--จบ--
Source : บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด
--สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง--
-อน-
ขณะนี้ ทางการไทยระงับการเดินทางข้ามชายแดนไทย-ลาว ผ่านสะพานมิตรภาพแห่งนี้ชั่วคราว เพื่อความปลอดภัยของประชาชนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขง พร้อมทั้งต้องการสอบสวนเพื่อคลี่คลายปมระเบิดที่เกิดขึ้นประชิดชายแดนไทยเข้ามาทุกที
ผลกระทบไทย
เหตุการณ์ระเบิดในประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิดกับไทย ก่อให้เกิดความเสียหายโดยตรงแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนชาวไทย รวมทั้งคาดว่าจะส่งผลกระทบเชื่อมโยงเป็นวงกว้างต่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับลาว ให้อึมครึมลงอย่างน่าเสียดาย บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด สรุปผลกระทบจากวิกฤตการณ์ระเบิดในลาวต่อความสัมพันธ์ด้านการค้า การท่องเที่ยวและการลงทุน ระหว่างไทย-ลาว ดังนี้
ประเด็นแรก : การค้าไทย-ลาวซบเซา
ลาวเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ติดต่อค้าขายกับไทย ทั้งในรูปแบบการค้าทั่วไป และการค้าชายแดน ผลกระทบทันทีจากเหตุการณ์ระเบิดครั้งนี้ ก็คือ การค้าชายแดนไทย-ลาวหยุดชะงักชั่วคราว เนื่องจากทางการไทยประกาศปิดการเดินทางผ่านแดน โดยใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว ที่ทอดข้ามแม่น้ำโขงที่จังหวัดหนองคายของไทย กับนครเวียงจันทน์ของลาว หลังเกิดเหตุการณ์ระเบิดทำให้พ่อค้า แม่ค้าไทย ไม่สามารถเดินทางไปค้าขายยังฝั่งลาวได้ในขณะนี้ เช่นเดียวกับพ่อค้า แม่ค้าลาวก็ไม่สามารถข้ามพรมแดนมาไทยทางด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาวชั่วคราว
ประเด็นการค้าไทย-ลาว ที่พึงระวังได้แก่
1. หนองคายคลายความคึกคัก จังหวัดหนองคายครองแชมป์การค้าชายแดนระหว่างไทย-ลาว ที่มีมูลค่ามากที่สุดในปี 2543 โดยมียอดการค้ารวม (ทั้งส่งออกและนำเข้า) 9,506.5 ล้านบาท จำแนกเป็นการส่งออกมูลค่า 8,925.3 ล้านบาท และการนำเข้า 581.2 ล้านบาท หนองคายสามารถคว้าแชมป์กลับคืนมาจากจังหวัดมุกดาหารได้สำเร็จในปีที่ผ่านมา ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย หากการค้าชายแดนผ่านทางจังหวัดหนองคาย ชะงักงันลงในปี 2544 อันเป็นผลจากเหตุการณ์ระเบิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าในประเทศลาว ซึ่งจะบั่นทอนการส่งออกสินค้าชายแดนจากไทยไปลาว ให้อับเฉาลงไปในปีนี้
สินค้าไทยที่ส่งออกผ่านทางจังหวัดหนองคาย ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง ผ้าผืน เครื่องรับโทรทัศน์ หม้อหุงข้าวไฟฟ้า อะไหล่และอุปกรณ์รถยนต์ ปูนซิเมนต์ เครื่องดื่มชูกำลัง กระเบื้องปูพื้น รถยนต์ และขนมขบเคี้ยว
สินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้ามาจากลาวผ่านทางจังหวัดหนองคาย ส่วนใหญ่ได้แก่ สินค้าจำพวกไม้แปรรูป ไม้ปาร์เก้ และผลิตภัณฑ์ไม้อื่นๆ รวมทั้งหนังดิบและหนังฟอก เศษโลหะ ลูกต๋าว เป็นต้น
การส่งออกชายแดนไทยไปลาว ผ่านทางจังหวัดหนองคาย พุ่งขึ้นร้อยละ 33 ในปี 2543 ขณะที่การนำเข้าชายแดนจากลาวมาไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ส่งผลให้ไทยยังคงเป็นฝ่ายเกินดุลการค้าชายแดนลาวด้านจังหวัดหนองคาย เพิ่มขึ้นร้อยละ 34 เป็นมูลค่า 8,344.1 ล้านบาทในปี 2543
2. สินค้าเข้า-ออกจากประเทศที่ 3 ซบเซา หนองคายยังเป็นจังหวัดทางผ่านให้สินค้าจากประเทศที่ 3 ผ่านไปลาว และจากลาวมาไทย รวมถึงเป็นเส้นทางลำเลียงสินค้าของไทยผ่านดินแดนประเทศลาว เพื่อส่งต่อไปยังประเทศเวียดนามอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมืองในลาว ย่อมส่งผลเสียต่อปริมาณการค้าจากประเทศที่ 3 ซึ่งผ่านแดนของจังหวัดหนองคาย โดยมีมูลค่ารวม (ทั้งส่งออกและนำเข้า) เฉลี่ยราวปีละ 10,000 ล้านบาท
สินค้าผ่านแดนจากประเทศที่ 3 ผ่านไทยไปยังลาว ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ ได้แก่ ผ้าผืน บุหรี่ อะไหล่-อุปกรณ์สื่อสาร รถยนต์ ปั๊มน้ำมัน อุปกรณ์การตัดเย็บ อุปกรณ์การแพทย์ ข้าวมอลท์ เครื่องจักร โรงงานปูนซิเมนต์ เป็นต้น
ส่วนสินค้าผ่านแดนจากลาวมาไทย เพื่อส่งไปยังประเทศที่ 3 โดยผ่านชายแดนไทยที่จังหวัดหนองคาย ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้อื่นๆ รองเท้า ไม้ท่อน กำยาน เบียร์ เป็นต้น
คาดว่าสถานการณ์ การค้าสินค้าผ่านแดนทางด้านจังหวัดหนองคายในรอบปี 2544 จะอับเฉาลงอีก หลังจากที่ในปี 2543 มูลค่าการค้าผ่านแดนรวม (ทั้งส่งออกและนำเข้า) ลดลงร้อยละ 15 อยู่ในระดับ 10,864.5 ล้านบาท เนื่องจากการค้าขาออกลดลงร้อยละ 32 เหลือมูลค่า 6,139.3 ล้านบาท ส่วนการค้าขาเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 27 เป็นมูลค่า 4,725.2 ล้านบาท ในปี 2543
3. การค้าทั่วไปไทย-ลาวทรุดลง ในรอบปี 2543 การค้าระหว่างประเทศไทย-ลาว ทั่วไปอยู่ในสภาพที่ไม่ค่อยแจ่มใสอยู่แล้ว โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าไทยไปลาว ประสบภาวะชะงักงัน ดังนั้น มูลค่าส่งออกไปในปี 2543 จึงจะอยู่ระดับใกล้เคียงกับปี 2542 โดยมียอดส่งออกไม่เกิน 14,000 ล้านบาท เนื่องจากเศรษฐกิจลาวอ่อนแรงลง ยิ่งเกิดสถานการณ์ปั่นป่วนภายในลาวจากเหตุการณ์ระเบิดติดต่อกันหลายครั้ง คาดว่าจะยิ่งซ้ำเติมการค้าทั่วไประหว่างไทย-ลาว ให้อึมครึมลงอีกในปีนี้
ลาวจัดเป็นตลาดส่งออกแนวหลังของไทยในกลุ่มอาเซียน โดยอยู่ในอันดับ 7 รองจากสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และพม่า การค้าทั่วไประหว่างไทยกับลาว มีมูลค่ารวมเฉลี่ยราวปีละ 16,000 ล้านบาท โดยไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้าลาวสูงกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี สินค้าส่งออกของไทยไปลาวที่พึงระวัง เนื่องจากยอดส่งออกลดลง ได้แก่ ยานพาหนะและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ และปูนซิเมนต์
ประเด็นที่ 2 : ท่องเที่ยวไทย-ลาวเงียบเหงา
เหตุการณ์ระเบิดหลายครั้งหลายหนในลาว ทำลายบรรยากาศการท่องเที่ยวภายในลาวให้อับเฉาลงอย่างน่าเสียดาย ทั้งๆที่การท่องเที่ยวเป็นธุรกิจที่ทางการลาวควรส่งเสริมอย่างยิ่ง เพราะเป็นแหล่งรายได้ในรูปเงินตราต่างประเทศที่สำคัญ เหตุการณ์ไม่สงบในลาวอันเนื่องมาจากการลอบวางระเบิดตามสถานที่ต่างๆ จะทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติหนีหายไปจากลาว ซึ่งจะส่งผลกระทบทางอ้อมต่อการท่องเที่ยวไทยตามไปด้วย เพราะนักท่องเที่ยวต่างชาติบางกลุ่มหวั่นเกรงว่าจะเกิดความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในการเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศแถบนี้ จึงอาจย้ายจุดหมายปลายทางไปยังภูมิภาคอื่นๆแทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเหตุการณ์ดังกล่าวกลายเป็นเหตุเรื้อรัง จะยิ่งตอกย้ำภาพลักษณ์ความไม่สงบของลาวในสายตาของนักท่องเที่ยวต่างชาติมากขึ้น
สำหรับความสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวไทย-ลาว ลาวจัดเป็นประเทศในกลุ่มอาเซียนที่นักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางไปเยี่ยมเยือนมากเป็นอันดับ 3 รองมาจากมาเลเซียและสิงคโปร์ ในช่วง 10 เดือนแรกปี 2543 นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางไปลาวมีจำนวน 55,905 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2542 เหตุการณ์ระเบิดใกล้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว ทำให้ทางการไทยสั่งปิดการสัญจรผ่านจุดผ่านแดนแห่งนี้ชั่วคราว ส่งผลกระทบต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่ต้องการทัศนาจรไปประเทศลาวให้ต้องหันไปใช้เส้นทางอื่น อย่างไรก็ตาม เส้นทางข้ามแดนไทยไปลาว ผ่านทางสะพานมิตรภาพไทย-ลาวที่จังหวัดหนองคาย นับเป็นเส้นทางคมนาคมที่ค่อนข้างสะดวกมากที่สุด นักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางไปลาวเฉลี่ยราว 5,600 คนต่อเดือน
ทางด้านนักท่องเที่ยวลาวที่เดินทางมาไทย มีจำนวน 61,587 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2543 ชาวลาวจัดเป็นนักท่องเที่ยวอันดับ 5 ของไทยในกลุ่มอาเซียน รองจากมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ วิกฤตการณ์ระเบิดที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้นักท่องเที่ยวชาวลาวชะลอการเดินทางมาท่องเที่ยวไทยเช่นกัน
ประเด็นที่ 3 : การลงทุนไทย-ลาวฟุบ
ความไม่สงบเรียบร้อยที่ยังคุกรุ่นในลาวเป็นระยะๆ นับเป็นการทำลายบรรยากาศการลงทุนจากต่างประเทศในลาว โดยเฉพาะการลงทุนจากประเทศไทย ซึ่งเป็นนักลงทุนรายใหญ่สุด เมื่อสิ้นสุดปี 2543 มีมูลค่าเงินลงทุนสะสมในลาวทั้งสิ้นราว 3,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เฉพาะปีที่ผ่านมามียอดเงินลงทุนของไทยในลาวประมาณ 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 60% ของยอดมูลค่าเงินลงทุนในปี 2543
โครงการสำคัญที่ไทยเตรียมเข้าไปลงทุนได้แก่ โครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ "เขื่อนน้ำเทิน 2" โดยได้ลงนามสัญญาร่วมทุนระหว่างนักลงทุนฝรั่งเศสและรัฐบาลเรียบร้อยแล้ว เมื่อเดือนเมษายน 2543 มีมูลค่าเงินลงทุนจากไทยราว 440 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สถานการณ์วุ่นวายรุนแรงครั้งแล้วครั้งเล่าอาจส่งผลให้การดำเนินงานต้องล่าช้าออกไป และส่งผลกระทบต่อการวิเคราะห์ประเมินผลได้ผลเสียจากโครงการเหล่านี้ ไม่เป็นผลดีแก่นักลงทุนไทย รวมทั้งประเทศลาวที่วางแผนส่งเสริมให้ประเทศเป็น "ศูนย์กลางจำหน่ายไฟฟ้าแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
รัฐบาลลาว สนับสนุนโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำอย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่ลาวเปิดประเทศในปี 2531 โดยส่งเสริมให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุน เพื่อหวังเม็ดเงินลงทุนและเงินตราต่างประเทศ ปัจจุบันเงินลงทุนจากประเทศในลาวส่วนใหญ่ กระจุกตัวอยู่ในธุรกิจเขื่อนในสัดส่วนราว 80% ของมูลค่าเงินลงทุนสะสมจากต่างประเทศทั้งหมดในช่วง 13 ปี
เหตุการณ์ระเบิดซ้ำซากในลาว ยังส่งผลให้การลงทุนไทยในลาวปี 2544 อาจไม่สดใสเท่าที่ควร น่าเสียดายที่ก่อนหน้านี้ คาดว่าแนวโน้มการลงทุนไทยในลาวปีนี้อาจคึกคักเนื่องจากโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 ในเขตพื้นที่บริเวณจังหวัดมุกดาหารกับแขวงสะหวันนะเขตของลาว จะกระตุ้นให้ธุรกิจวัสดุก่อสร้างของไทยในบริเวณชายแดนดังกล่าวเฟื่องฟู รวมทั้งยังจูงใจให้นักธุรกิจไทยอาจสนใจเข้าไปลงทุนในแขวงสะหวันนะเขตมากขึ้น เพราะการเดินทางระหว่างกันจะสะดวก ธุรกิจไทยที่เคยคาดว่าอาจเข้าไปลงทุนในสะหวันนะเขต ได้แก่ การเพาะปลูกกาแฟเพื่อส่งออกไปยังสหภาพยุโรป (อียู) ธุรกิจหนีบฝ้าย ธุรกิจผลิตกระดาษ ธุรกิจอาหารสัตว์ โรงงานขิงดอง และโรงงานเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น แต่เมื่อสถานการณ์ความไม่สงบในลาวยังคงปะทุ อาจเป็นปัจจัยที่บั่นทอนให้ความสนใจของนักธุรกิจไทยที่จะเข้าไปลงทุนในลาวต้องลดน้อยลง--จบ--
Source : บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด
--สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง--
-อน-