1. บทนำ
ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาแม้ว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ภาคเกษตรยังเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย เนื่องจากเป็นฐานรายได้ของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ โดยรองรับการจ้างงานเกือบ 2 ใน 3 ของการจ้างงานรวม ในช่วงที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวอย่างรวดเร็วจากแรงผลักดันของภาคการเงินซึ่งเงินให้สินเชื่อรวมขยายตัวในเกณฑ์สูงมากเป็นผลจากมีเงินทุนนำเข้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากและส่งผลให้เศรษฐกิจชนบทพึ่งพาการเงินมากขึ้น บทบาทของเงินให้สินเชื่อในฐานะเป็นปัจจัยการผลิตในภาคการเกษตรจึงมีความสำคัญเพิ่มขึ้น ในอดีตเงินให้สินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์อำนวยแก่ภาคการเกษตรมีปริมาณไม่มากเมื่อเทียบกับความสำคัญของภาคการเกษตร ทั้งนี้เนื่องจากภาคการเกษตรให้ผลตอบแทนต่ำและมีความเสี่ยงสูง ดังนั้นทางการจึงต้องดำเนินมาตรการเพื่อสนับสนุนให้สถาบันการเงินอำนวยสินเชื่อแก่ภาคการเกษตรอย่างเพียงพอในรูปของนโยบายสินเชื่อเกษตรและพัฒนาเป็นนโยบายสินเชื่อชนบทในระยะต่อมา อย่างไรก็ดี ภาคการเกษตรยังต้องพึ่งพาสินเชื่อจากสถาบันการเงินนอกระบบซึ่งก็มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการผลิตเช่นเดียวกับสินเชื่อที่ได้รับจากสถาบันการเงิน
บทความนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญสองประการคือ (1) เพื่อแสดงพัฒนาการของสินเชื่อและนโยบายสินเชื่อชนบทของประเทศไทย และ (2) เพื่อหาขนาดความสำคัญของสินเชื่อชนบทที่มีส่วนสนับสนุน (contribute) การเติบโตของผลผลิตภาคเกษตรไทยโดยใช้ข้อมูลระหว่างปี 2527-2539 ทั้งนี้จะนำผลที่ได้จากการประมาณการมาวิเคราะห์ที่มาของการเติบโตของภาคเกษตรไทยในปี 2540 ซึ่งเป็นที่ไทยประสบวิกฤตการณ์ทางการเงิน เพื่อดูผลกระทบของวิกฤตการณ์ทางการเงินที่มีต่อการ ผลิตภาคเกษตร
บทความนี้แบ่งออกเป็นสี่ตอนคือ ตอนที่หนึ่งเป็นบทนำ ตอนที่สองเป็นพัฒนาการของสินเชื่อชนบทและนโยบายสินเชื่อสู่ชนบทของไทยโดยสรุป ตอนที่สามเป็นการประมาณการสมการการผลิตภาคเกษตรเพื่อใช้วิเคราะห์แหล่งที่มาของการเจริญเติบโต (growth accounting framework) ของผลผลิตภาคเกษตรไทยและนำผลที่ได้มาประเมินผลกระทบของวิกฤตการณ์ทางการเงินที่มีต่อภาคเกษตรในปี 2540 และตอนที่สี่เป็นบทสรุป
2. สินเชื่อชนบทในประเทศไทย : ภาพรวมโดยสรุป
สินเชื่อชนบทเป็นการให้กู้ยืมเงินประเภทหนึ่ง จึงอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์พื้นฐานของการประเมินผลตอบแทนกับความเสี่ยง โดยทั่วไปผู้ให้กู้ต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้นหากการให้สินเชื่อดังกล่าวมีความเสี่ยงสูง และยิ่งความเสี่ยงมีเพิ่มขึ้นเท่าใดผู้ให้กู้ก็ยิ่งต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้นตามไปด้วย สำหรับภาคการเกษตรเป็นที่รับรู้ว่ามีความเสี่ยงสูง สถาบันการเงินจึงโน้มเอียงให้สินเชื่อแก่ภาคธุรกิจอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า ทำให้ภาคเกษตรมีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินในระบบเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและเพื่อการลงทุน เกษตรกรจึงจำเป็นต้องพึ่งพาแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินนอกระบบเพื่อรักษาระดับการผลิตไว้ มีผลทำให้ภาคเกษตรพึ่งพาสินเชื่อจากสถาบันการเงินทั้งในและนอกระบบ
การให้กู้ยืมในระบบกระทำผ่านสถาบันการเงินเอกชนและสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ โดยอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์และข้อบังคับของทางการทั้งด้านการกำหนดราคา (ดอกเบี้ย) และปริมาณเงินให้สินเชื่อ สถาบันการเงินที่มีบทบาทสำคัญในการอำนวยสินเชื่อชนบท ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ตามลำดับ ส่วนสถาบันการเงินอื่นๆ มีบทบาทรองลงมา ได้แก่ ธนาคารออมสิน บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สหกรณ์การเกษตรและสหกรณ์ออมทรัพย์
ส่วนการให้กู้ยืมนอกระบบหรือตลาดสินเชื่อนอกระบบดำเนินการโดยมิได้อยู่ภายใต้กฎระเบียบและการกำกับดูแลจากหน่วยงานของรัฐ การให้กู้ยืมมีหลายประเภทและผู้ให้กู้จะเรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราที่ค่อนข้างสูงเพื่อชดเชยความเสี่ยง อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ในบทความนี้จะพิจารณาเฉพาะสินเชื่อในระบบเท่านั้น เนื่องจากข้อมูลของสินเชื่อนอกระบบไม่สมบูรณ์เพียงพอ
ตารางที่ 1 แสดงถึงสินเชื่อชนบทที่ให้แก่ภาคเกษตรระหว่างปี 2527-2539 ซึ่งประกอบด้วยสินเชื่อสู่ชนบทของธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และสินเชื่อที่บริษัทเงินทุนให้แก่ภาคเกษตร จากข้อมูลในตารางที่ 1 แสดงให้เห็นแนวโน้มที่สำคัญสองประการคือ ประการแรก สินเชื่อสู่ชนบทเพิ่มขึ้นประมาณหกเท่าตัวในช่วงปี 2527-2539 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 18.0 ต่อปี สูงกว่าการขยายตัวของสินเชื่อรวม ทั้งนี้เป็นผลจากการขยายนิยามของสินเชื่อสู่ชนบทให้กว้างขวางครอบคลุมถึงสินเชื่อที่ให้แก่อุตสาหกรรมในชนบท การพัฒนาสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานในชนบท ตลอดจนสินเชื่อส่วนบุคคลที่ให้แก่ผู้เดินทางไปทำงานต่างประเทศ เป็นต้น ประการที่สอง สัดส่วนของสินเชื่อสู่ชนบทต่อผลผลิตภาคเกษตรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 43.5 ในปี 2527 เป็นร้อยละ 200.9 ในปี 2539 ในขณะที่การผลิตภาคเกษตรลดความสำคัญลงเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ในประเทศ สะท้อนให้เห็นว่าในช่วงทศวรรษ 1980 เศรษฐกิจชนบทพึ่งพาการเงินมากขึ้นและใช้สินเชื่อในการผลิตสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับผลผลิตภาคการเกษตร
สินเชื่อชนบทเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะช่วงหลังจากปี 2532 ทั้งนี้เป็นผลจากสาเหตุสามประการคือ ประการแรก เงินให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราที่สูงมากจากการหลั่งไหลของเงินทุนจากต่างประเทศคือ เฉลี่ย 14 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ต่อปี ระหว่างช่วงปี 2533-2539 ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ (real term) ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 16.3 ต่อปี ส่วนหนึ่งของสินเชื่อขยายสู่ธุรกิจการเกษตรและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรหรือเศรษฐกิจในชนบท ทั้งนี้เนื่องจากภาคการผลิตอื่นๆ ซึ่งมีโอกาสได้สินเชื่อดีกว่า เช่น ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการก็ได้รับสินเชื่อค่อนข้างเต็มที่ ประการที่สอง การผ่อนคลายนิยามของสินเชื่อเกษตรไม่เพียงเฉพาะสินเชื่อที่ไปสู่การผลิตในภาคเกษตรเท่านั้น แต่ให้นับรวมถึงสินเชื่อที่ไปสนับสนุนกิจกรรมอื่นๆ ในภาคเกษตร หรือในชนบทด้วย และ ประการที่สาม คือ บทบาทของภาครัฐบาลที่สนับสนุนสินเชื่อสู่ชนบทอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับการขยายตัวของสินเชื่อรวม ในกรณีของประเทศไทยกลไกหลักคือการดำเนินมาตรการของทางการที่ผลักดันให้ธนาคารพาณิชย์ขยายสินเชื่อสู่ภาคเกษตรโดยกำหนดการให้สินเชื่อชนบทเป็นสัดส่วนกับเงินฝาก
เหตุผลที่รัฐบาลเข้าแทรกแซงตลาดสินเชื่อในชนบท
ภาคเกษตรเป็นภาคที่มีความเสี่ยงในเชิงเศรษฐกิจสูงเมื่อเทียบกับภาคเศรษฐกิจอื่นๆ จากปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ (1) ผลผลิตภาคเกษตรมีความไม่แน่นอนส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ (2) ตลาดสินค้าเกษตรขึ้นอยู่กับการแข่งขันและการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ ทำให้รายได้ที่เกษตรกรได้รับไม่แน่นอน สถาบันการเงินจึงไม่กระตือรือร้นให้สินเชื่อแก่ภาคนี้มากนัก ผลจากการขาดแคลนสินเชื่อของภาคเกษตรส่งผลให้การผลิตภาคเกษตรขยายตัวอย่างล่าช้าและขาดแรงจูงใจในการขยายผลผลิตหรือปรับใช้เทคโนโลยีใหม่ เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ขาดเงินทุนที่จะนำไปปรับปรุงหรือเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เป็นผลให้ความเจริญเติบโตระหว่างภาคการผลิตต่างๆ ไม่สมดุลกันมากขึ้น ซึ่งมีผลต่อเนื่องไปถึงปัญหาการกระจายรายได้ของกลุ่มต่างๆ ในประเทศจากการที่ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรโดยส่วนรวมด้อยกว่ากลุ่มคนในภาคเศรษฐกิจอื่นๆ มากและทำให้ภาคเกษตรไม่สามารถดูดซับแรงงานในชนบทได้มากเท่าที่ควร จึงมีการอพยพแรงงานสู่เมืองมากขึ้น
ประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยตระหนักว่าการผลิตและรายได้ภาคเกษตรก่อให้เกิดผลตอบแทนทางสังคม (social benefit) สูง และหากทางการไม่เข้าแทรกแซง พัฒนาการในภาคเกษตรด้วยตนเองจะมีน้อยหรือเป็นไปอย่างเชื่องช้ามาก รัฐบาลในหลายๆ ประเทศจึงได้มีการดำเนินมาตรการที่สำคัญหลายๆ อย่าง เพื่อพยายามลดความแตกต่างและ/หรือให้เกิดความสมดุลในระหว่างภาคเศรษฐกิจต่างๆ มากขึ้น โดยการแทรกแซงตลาดสินเชื่อในชนบทในรูปของการส่งเสริมการอำนวยสินเชื่อสู่พื้นที่ชนบทเพื่อให้เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางการเงินของประเทศได้มากขึ้น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรโดยทั่วไปให้สูงขึ้น มาตรการที่ทางการในหลายประเทศให้ความช่วยเหลือภาคเกษตรสรุปได้ 4 วิธีคือ
1. การกำหนดเป้าหมายขั้นต่ำให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อเพื่อการเกษตร มาตรการนี้ได้มีการนำมาปฏิบัติในประเทศต่างๆ เช่น ประเทศอินเดีย ปากีสถาน เนปาล มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไนจีเรีย และไทย
2. การจัดระบบหรือองค์กรเพื่ออำนวยสินเชื่อสู่ชนบท อาทิ ตั้งธนาคารเพื่อการเกษตร สถาบันประกันสินเชื่อ คณะกรรมการกำหนดนโยบายหรือคณะที่ปรึกษา
3. การให้กู้ยืม ซึ่งมักได้แก่ การให้กู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยต่ำจากธนาคารกลาง
4. กำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สินเชื่อภาคเกษตร
แหล่งเงินทุนของสินเชื่อที่เข้าสู่ภาคเกษตร : กรณีประเทศไทย
การดำเนินนโยบายสินเชื่อเพื่อการเกษตรเริ่มในปี 2518 และได้เปลี่ยนแปลงเป็นนโยบายสินเชื่อสู่ชนบทในปี 2530 ผลการดำเนินนโยบายนี้เป็นช่องทางให้สินเชื่อกระจายไปสู่ภาคเกษตรโดยตรงและมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้สัดส่วนระหว่างสินเชื่อชนบทต่อผลิตภัณฑ์ภาคเกษตรของประเทศเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ คือ จากร้อยละ 43.5-49.2 ในช่วงปี 2527-2539 และเป็นร้อยละ 64.3 และร้อยละ 200.9 เมื่อปี 2530 และปี 2539 ตามลำดับ สัดส่วนที่สูงขึ้นมากส่วนหนึ่งเป็นผลจากธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการทบทวนเป้าหมายและนโยบายการให้สินเชื่อการเกษตรตั้งแต่ปี 2530 โดยให้ธนาคารพาณิชย์มีบทบาทร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นในส่วนอื่นด้วย เช่น การให้สินเชื่อแก่อุตสาหกรรมขนาดย่อมและอุตสาหกรรมในครัวเรือน ทั้งนี้ธนาคารพาณิชย์ใดสามารถสนองตอบนโยบายด้วยดีก็อาจจะได้รับการจัดสรรรางวัลในรูปแบบต่างๆ ตามระดับการให้ความร่วมมือของแต่ละธนาคาร เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อแก่เกษตรกรและอุตสาหกรรมขนาดย่อมในส่วนภูมิภาคมากขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย อีกปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนทำให้สัดส่วนสินเชื่อสู่ชนบทต่อผลิตภัณฑ์ภาคเกษตรสูงขึ้น เป็นผลจากในช่วงเวลาดังกล่าวสัดส่วนหรือความสำคัญของผลิตภัณฑ์ภาคเกษตรมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP)
ถ้าพิจารณาเฉพาะสถาบันการเงินที่มีบทบาทในการให้กู้ยืมแก่ภาคเกษตร คือ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) พบว่าบทบาทของธนาคารพาณิชย์เพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ ในขณะที่ ธ.ก.ส. ซึ่งเป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีหน้าที่อำนวยสินเชื่อประเภทนี้โดยตรงกลับมีบทบาทลดต่ำลง สำหรับบริษัทเงินทุนนั้นแม้จะมีอัตราการให้สินเชื่อประเภทนี้เพิ่มขึ้น่ในอัตราสูง แต่เป็นจำนวนกู้ยืมไม่มากนักและผลจากนโยบายดังกล่าวทำให้ธนาคารพาณิชย์มีการปรับตัวเพื่อสนองตอบนโยบายของทางการด้วยการให้สินเชื่อแก่กลุ่มเป้าหมายต่างๆ เพิ่มขึ้น รวมทั้งหาทางลดความเสี่ยงในการปล่อยกู้ด้วยวิธีต่างๆ กัน เช่น การฝึกอบรมพนักงานสินเชื่อเพื่อการเกษตรและการให้สินเชื่อการเกษตรในรูปโครงการมากขึ้น เป็นต้น
3. บทบาทสินเชื่อชนบทที่มีต่อการเติบโตภาคเกษตรไทย
การที่สินเชื่อเข้าสู่ภาคชนบทเพิ่มขึ้นมากเป็นลำดับมา คำถามสำคัญคือ สินเชื่อชนบทมีความสำคัญกับการผลิตภาคเกษตรเพียงใด (as a source of agriculture growth) เพื่อตอบคำถามดังกล่าว บทความนี้ได้ตรวจสอบบทบาทของสินเชื่อชนบทว่ามีส่วนสนับสนุน (contribute) การเติบโตของผลผลิตภาคเกษตรไทยเพียงใด โดยใช้ข้อมูลระหว่างปี 2527-2539 และใช้วิธีการวิเคราะห์แหล่งที่มาของการเจริญเติบโต (growth accounting framework) ด้วยการประมาณฟังก์ชั่นการผลิตที่อยู่ในรูปของ Cobb-Douglas ดังนี้
Y = ACb1 Lb2 Rb3 eu1 (1)
Y = ACb1 Lb2 Rb3 Ib4 eu2 (2)
จาก (1) ln Y = lnA + b1lnC + b2lnL + b3lnR + u1 (3)
จาก (2) ln Y = lnA + b1lnC + b2lnL + b3lnR + b4lnI + u2 (4)
โดยที่ Y หมายถึง ผลิตภัณฑ์ภาคเกษตร ราคาคงที่ ณ ปี 2531
(พันล้านบาท)
C หมายถึง เงินให้สินเชื่อสู่ชนบท ราคาคงที่ ณ ปี 2531
(พันล้านบาท)
L หมายถึง แรงงานภาคเกษตร (ล้านคน)
R หมายถึง ปริมาณน้ำฝน (มิลลิมิเตอร์)
I หมายถึง พื้นที่ในเขตชลประทาน (ไร่)
u1, u2 หมายถึง ตัวคลาดเคลื่อน ซึ่งมีการกระจายแบบปกติ ที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0 และค่าความแปรปรวนเท่ากับ s 2
จากสมการที่ (3) และ (4) ผลผลิตภาคเกษตรถูกกำหนดโดย 4 ปัจจัยพื้นฐาน คือ ที่ดิน แรงงาน สภาพอากาศและเงินให้สินเชื่อ การประมาณสมการที่ (3) และ (4) ใช้วิธีการ Ordinary Least Squares : OLS ทั้งสองสมการถูกประมาณโดยมีและไม่มีพื้นที่ชลประทานเป็นปัจจัยการผลิต สัมประสิทธิ์ที่ได้จากการประมาณการแสดงความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามสอดคล้องกับทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ และแสดงผลการประมาณค่าความยืดหยุ่นในตารางที่ 2 ซึ่งพบว่าการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อชนบทร้อยละ 1 ทำให้ผลผลิตภาคเกษตรขยายตัวประมาณร้อยละ 0.107-0.152 และการจ้างแรงงานภาคเกษตรและปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ก็เป็นผลให้ผลผลิตภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.60-0.72 และร้อยละ 0.12-0.16 ตามลำดับ ขณะเดียวกัน ผลผลิตภาคเกษตรยังตอบสนองการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ชลประทานซึ่งถือเป็นตัวแทนการลงทุนของภาครัฐบาล โดยค่าความยืดหยุ่นที่ประมาณการได้เท่ากับ 0.462
ที่มาของการเจริญเติบโตของผลผลิตภาคเกษตรไทย
นำค่าความยืดหยุ่นที่แสดงในตารางที่ 2 มากระจาย (decompose) เพื่อหาว่าการเจริญเติบโตของผลผลิตภาคเกษตรไทยในช่วงที่ทำการศึกษาเติบโตจากปัจจัยการผลิตต่างๆ เท่าใด โดยใช้วิธีการวิเคราะห์การหาที่มาของการเจริญเติบโต (growth accounting framework) ซึ่งแสดงผลในตารางที่ 3 จากผลการคำนวณพบว่าปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเติบโตของผลผลิตเกษตรไทยมากที่สุดคือ เงินให้สินเชื่อชนบท รองลงมาได้แก่ พื้นที่ชลประทาน แรงงานภาคเกษตร และปริมาณน้ำฝน ตามลำดับ
จากผลการคำนวณพบว่าผลผลิตภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3.56 ต่อปี ระหว่างช่วงปี 2527-2539 โดยกว่าครึ่งหนึ่งคือระหว่างร้อยละ 54-77 ของการเติบโตมาจากปัจจัยของสินเชื่อชนบท สำหรับแรงงานภาคเกษตรมีบทบาทรองลงมาคือ ระหว่างร้อยละ 12-14 ขณะที่พื้นที่ชลประทานมีบทบาทประมาณร้อยละ 28 ส่วนบทบาทของปัจจัยอื่นๆ นั้น ปรากฏว่ามีผลน้อยมาก
การมีนัยสำคัญของการขยายพื้นที่ชลประทานในฐานะเป็นที่มาของการเจริญเติบโตของผลผลิตเกษตรไทย ทำให้ผลการประมาณการของสมการที่ (4) น่าจะมีความเหมาะสมในการตีความมากกว่าสมการที่ (3) อย่างไรก็ตาม ผลการคำนวณพบประเด็นที่คาดไม่ถึงว่าสินเชื่อชนบทกลับมีบทบาทสำคัญที่สุดในการมีส่วนสร้างการเจริญเติบโตของผลผลิตเกษตร (as a contribution to growth) ทั้งนี้สามารถอธิบายด้วยเหตุผล 2 ประการคือ (1) นิยามสินเชื่อชนบทในบทความนี้ได้ครอบคลุมถึงสินเชื่อในชนบท ซึ่งบางส่วนมิใช่สินเชื่อเกษตรซึ่งทำให้ดูเหมือนว่าภาคเกษตรใช้สินเชื่อมากกว่าความเป็นจริง (2) การขาดตัวแปรสำคัญคือ การสะสมทุน (capital stock) ของภาคเกษตรในฐานะที่เป็นปัจจัยการผลิต จึงอาจทำให้บทบาทของสินเชื่อชนบทสูงเกินความเป็นจริง สำหรับสาเหตุที่ไม่ได้นำการสะสมทุนของภาคเกษตรมารวมไว้ในงานศึกษานี้ก็เนื่องจากยังขาดข้อมูลที่เชื่อถือได้
ผลของวิกฤตการณ์ทางการเงินต่อการเจริญเติบโตของภาคเกษตร
ผลกระทบของวิกฤตการณ์ทางการเงินที่ดำเนินอยู่ถูกส่งผ่านไปยังภาคการเกษตรได้ 2 ทาง คือ ทางด้านปริมาณและราคา สำหรับทางด้านราคาจะปรับตัวผ่านอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นผลดีต่อภาคการเกษตร เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรภายในประเทศสูงขึ้นจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินสำคัญของต่างประเทศ ส่วนทางด้านปริมาณหรือการผลิตได้รับผลกระทบจากปัญหาสภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์และการให้สินเชื่อสู่ชนบทที่ชะลอลง
ในปี 2540 ซึ่งเป็นปีที่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินนั้น สินเชื่อชนบทเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 5.4 เทียบกับอัตราเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 18.0 ต่อปี ระหว่างปี 2527|2539 และจากการใช้สมการที่ 4 มาคำนวณ พบว่าในปี 2540 ความสำคัญของสินเชื่อชนบทในฐานะเป็นที่มาของการเติบโตของผลผลิตภาคเกษตรลดลงเหลือประมาณร้อยละ 34 เทียบกับเฉลี่ยร้อยละ 54 ระหว่างปี 2527-2539 โดยมีสาเหตุสำคัญจากการชะลอตัวของสินเชื่อชนบทตามการชะลอตัวของสินเชื่อรวมทั้งระบบสะท้อนให้เห็นว่าการผลิตภาคเกษตรในปี 2540 ก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงิน
4. สรุป
ภาคเกษตรเป็นภาคการผลิตที่สำคัญของประเทศ เป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดรายได้ประชาชาติที่สำคัญและประชากรเกือบ 2 ใน 3 ของประเทศ อาศัยเป็นที่ดำรงชีพ แต่ภาคเกษตรเป็นภาคที่มีความเสี่ยงหรือความไม่แน่นอนในเชิงเศรษฐกิจสูงกว่าภาคเศรษฐกิจอื่นๆ สถาบันการเงินจึงไม่กระตือรือร้นให้สินเชื่อแก่ภาคนี้มากนักทำให้เกษตรกรขาดเงินทุนในการขยายการผลิตหรือปรับใช้เทคโนโลยีใหม่ ทำให้ความเจริญเติบโตระหว่างภาคการเกษตรกับภาคการผลิตอื่นๆ แตกต่างกันมากขึ้น
ที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินมาตรการที่สำคัญหลายอย่างเพื่อช่วยเหลือการผลิตภาคการเกษตร รูปแบบหนึ่งคือการดำเนินนโยบายสินเชื่อเกษตรและพัฒนาเป็นสินเชื่อชนบท โดยให้มีการจัดสรรทรัพยากรทางการเงินผ่านสถาบันการเงินในประเทศสู่ภาคเกษตรมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ภาคการเกษตรพึ่งพาสินเชื่อจากสถาบันการเงินนอกระบบน้อยลง ต้นทุนการกู้ยืมในภาคเกษตรลดลงค่อนข้างมากและมีผลให้การผลิตภาคเกษตรขยายตัวขึ้น
ในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว เงินให้สินเชื่อสู่ชนบทขยายตัวในเกณฑ์สูงตามการขยายตัวของเงินให้สินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นผลจากมีเงินทุนนำเข้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าว สัดส่วนสินเชื่อสู่ชนบทต่อผลผลิตภาคเกษตรเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 43.5 เมื่อปี 2527 เป็นกว่าร้อยละ 200 ในปี 2539 สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจชนบทพึ่งพาการเงิน (monetization) เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและบทบาทของสินเชื่อในฐานะที่เป็นปัจจัยการผลิตในภาคเกษตรมีความสำคัญขึ้น
จากการทดสอบในเชิงปริมาณโดยใช้แบบจำลองการผลิตแบบ Cobb-Douglas ในช่วงปี 2527-2539 พบว่าการเติบโตของการผลิตภาคเกษตรขึ้นกับ 4 ปัจจัย คือ สินเชื่อสู่ชนบท แรงงานภาคเกษตร ปริมาณน้ำฝน และพื้นที่ชลประทาน สินเชื่อสู่ชนบทมีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการผลิตภาคเกษตรไทย โดยมีส่วนในการสร้างความเจริญเติบโตให้กับผลผลิตภาคเกษตรเฉลี่ยร้อยละ 54-77 ในช่วงที่ศึกษา อย่างไรก็ตาม การขาดตัวแปรสำคัญคือการสะสมทุน (capital stock) ของภาคเกษตรและนิยามของสินเชื่อชนบทที่ครอบคลุมถึงสินเชื่อที่ไปสนับสนุนกิจกรรมอื่นๆ ในภาคเกษตรหรือในชนบทด้วย ทำให้ความสำคัญของสินเชื่อที่มีต่อการผลิตภาคเกษตรในงานศึกษานี้อาจสูงกว่าที่ควรจะเป็น (overstate) อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาถึงผลกระทบทางวิกฤตการณ์ทางการเงินก็พบว่า การผลิตภาคเกษตรในปี 2540 ก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินจากการชะลอตัวของเงินให้สินเชื่อสู่ชนบท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก
ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาแม้ว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ภาคเกษตรยังเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย เนื่องจากเป็นฐานรายได้ของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ โดยรองรับการจ้างงานเกือบ 2 ใน 3 ของการจ้างงานรวม ในช่วงที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวอย่างรวดเร็วจากแรงผลักดันของภาคการเงินซึ่งเงินให้สินเชื่อรวมขยายตัวในเกณฑ์สูงมากเป็นผลจากมีเงินทุนนำเข้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากและส่งผลให้เศรษฐกิจชนบทพึ่งพาการเงินมากขึ้น บทบาทของเงินให้สินเชื่อในฐานะเป็นปัจจัยการผลิตในภาคการเกษตรจึงมีความสำคัญเพิ่มขึ้น ในอดีตเงินให้สินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์อำนวยแก่ภาคการเกษตรมีปริมาณไม่มากเมื่อเทียบกับความสำคัญของภาคการเกษตร ทั้งนี้เนื่องจากภาคการเกษตรให้ผลตอบแทนต่ำและมีความเสี่ยงสูง ดังนั้นทางการจึงต้องดำเนินมาตรการเพื่อสนับสนุนให้สถาบันการเงินอำนวยสินเชื่อแก่ภาคการเกษตรอย่างเพียงพอในรูปของนโยบายสินเชื่อเกษตรและพัฒนาเป็นนโยบายสินเชื่อชนบทในระยะต่อมา อย่างไรก็ดี ภาคการเกษตรยังต้องพึ่งพาสินเชื่อจากสถาบันการเงินนอกระบบซึ่งก็มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการผลิตเช่นเดียวกับสินเชื่อที่ได้รับจากสถาบันการเงิน
บทความนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญสองประการคือ (1) เพื่อแสดงพัฒนาการของสินเชื่อและนโยบายสินเชื่อชนบทของประเทศไทย และ (2) เพื่อหาขนาดความสำคัญของสินเชื่อชนบทที่มีส่วนสนับสนุน (contribute) การเติบโตของผลผลิตภาคเกษตรไทยโดยใช้ข้อมูลระหว่างปี 2527-2539 ทั้งนี้จะนำผลที่ได้จากการประมาณการมาวิเคราะห์ที่มาของการเติบโตของภาคเกษตรไทยในปี 2540 ซึ่งเป็นที่ไทยประสบวิกฤตการณ์ทางการเงิน เพื่อดูผลกระทบของวิกฤตการณ์ทางการเงินที่มีต่อการ ผลิตภาคเกษตร
บทความนี้แบ่งออกเป็นสี่ตอนคือ ตอนที่หนึ่งเป็นบทนำ ตอนที่สองเป็นพัฒนาการของสินเชื่อชนบทและนโยบายสินเชื่อสู่ชนบทของไทยโดยสรุป ตอนที่สามเป็นการประมาณการสมการการผลิตภาคเกษตรเพื่อใช้วิเคราะห์แหล่งที่มาของการเจริญเติบโต (growth accounting framework) ของผลผลิตภาคเกษตรไทยและนำผลที่ได้มาประเมินผลกระทบของวิกฤตการณ์ทางการเงินที่มีต่อภาคเกษตรในปี 2540 และตอนที่สี่เป็นบทสรุป
2. สินเชื่อชนบทในประเทศไทย : ภาพรวมโดยสรุป
สินเชื่อชนบทเป็นการให้กู้ยืมเงินประเภทหนึ่ง จึงอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์พื้นฐานของการประเมินผลตอบแทนกับความเสี่ยง โดยทั่วไปผู้ให้กู้ต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้นหากการให้สินเชื่อดังกล่าวมีความเสี่ยงสูง และยิ่งความเสี่ยงมีเพิ่มขึ้นเท่าใดผู้ให้กู้ก็ยิ่งต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้นตามไปด้วย สำหรับภาคการเกษตรเป็นที่รับรู้ว่ามีความเสี่ยงสูง สถาบันการเงินจึงโน้มเอียงให้สินเชื่อแก่ภาคธุรกิจอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า ทำให้ภาคเกษตรมีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินในระบบเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและเพื่อการลงทุน เกษตรกรจึงจำเป็นต้องพึ่งพาแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินนอกระบบเพื่อรักษาระดับการผลิตไว้ มีผลทำให้ภาคเกษตรพึ่งพาสินเชื่อจากสถาบันการเงินทั้งในและนอกระบบ
การให้กู้ยืมในระบบกระทำผ่านสถาบันการเงินเอกชนและสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ โดยอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์และข้อบังคับของทางการทั้งด้านการกำหนดราคา (ดอกเบี้ย) และปริมาณเงินให้สินเชื่อ สถาบันการเงินที่มีบทบาทสำคัญในการอำนวยสินเชื่อชนบท ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ตามลำดับ ส่วนสถาบันการเงินอื่นๆ มีบทบาทรองลงมา ได้แก่ ธนาคารออมสิน บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สหกรณ์การเกษตรและสหกรณ์ออมทรัพย์
ส่วนการให้กู้ยืมนอกระบบหรือตลาดสินเชื่อนอกระบบดำเนินการโดยมิได้อยู่ภายใต้กฎระเบียบและการกำกับดูแลจากหน่วยงานของรัฐ การให้กู้ยืมมีหลายประเภทและผู้ให้กู้จะเรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราที่ค่อนข้างสูงเพื่อชดเชยความเสี่ยง อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ในบทความนี้จะพิจารณาเฉพาะสินเชื่อในระบบเท่านั้น เนื่องจากข้อมูลของสินเชื่อนอกระบบไม่สมบูรณ์เพียงพอ
ตารางที่ 1 แสดงถึงสินเชื่อชนบทที่ให้แก่ภาคเกษตรระหว่างปี 2527-2539 ซึ่งประกอบด้วยสินเชื่อสู่ชนบทของธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และสินเชื่อที่บริษัทเงินทุนให้แก่ภาคเกษตร จากข้อมูลในตารางที่ 1 แสดงให้เห็นแนวโน้มที่สำคัญสองประการคือ ประการแรก สินเชื่อสู่ชนบทเพิ่มขึ้นประมาณหกเท่าตัวในช่วงปี 2527-2539 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 18.0 ต่อปี สูงกว่าการขยายตัวของสินเชื่อรวม ทั้งนี้เป็นผลจากการขยายนิยามของสินเชื่อสู่ชนบทให้กว้างขวางครอบคลุมถึงสินเชื่อที่ให้แก่อุตสาหกรรมในชนบท การพัฒนาสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานในชนบท ตลอดจนสินเชื่อส่วนบุคคลที่ให้แก่ผู้เดินทางไปทำงานต่างประเทศ เป็นต้น ประการที่สอง สัดส่วนของสินเชื่อสู่ชนบทต่อผลผลิตภาคเกษตรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 43.5 ในปี 2527 เป็นร้อยละ 200.9 ในปี 2539 ในขณะที่การผลิตภาคเกษตรลดความสำคัญลงเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ในประเทศ สะท้อนให้เห็นว่าในช่วงทศวรรษ 1980 เศรษฐกิจชนบทพึ่งพาการเงินมากขึ้นและใช้สินเชื่อในการผลิตสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับผลผลิตภาคการเกษตร
สินเชื่อชนบทเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะช่วงหลังจากปี 2532 ทั้งนี้เป็นผลจากสาเหตุสามประการคือ ประการแรก เงินให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราที่สูงมากจากการหลั่งไหลของเงินทุนจากต่างประเทศคือ เฉลี่ย 14 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ต่อปี ระหว่างช่วงปี 2533-2539 ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ (real term) ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 16.3 ต่อปี ส่วนหนึ่งของสินเชื่อขยายสู่ธุรกิจการเกษตรและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรหรือเศรษฐกิจในชนบท ทั้งนี้เนื่องจากภาคการผลิตอื่นๆ ซึ่งมีโอกาสได้สินเชื่อดีกว่า เช่น ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการก็ได้รับสินเชื่อค่อนข้างเต็มที่ ประการที่สอง การผ่อนคลายนิยามของสินเชื่อเกษตรไม่เพียงเฉพาะสินเชื่อที่ไปสู่การผลิตในภาคเกษตรเท่านั้น แต่ให้นับรวมถึงสินเชื่อที่ไปสนับสนุนกิจกรรมอื่นๆ ในภาคเกษตร หรือในชนบทด้วย และ ประการที่สาม คือ บทบาทของภาครัฐบาลที่สนับสนุนสินเชื่อสู่ชนบทอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับการขยายตัวของสินเชื่อรวม ในกรณีของประเทศไทยกลไกหลักคือการดำเนินมาตรการของทางการที่ผลักดันให้ธนาคารพาณิชย์ขยายสินเชื่อสู่ภาคเกษตรโดยกำหนดการให้สินเชื่อชนบทเป็นสัดส่วนกับเงินฝาก
เหตุผลที่รัฐบาลเข้าแทรกแซงตลาดสินเชื่อในชนบท
ภาคเกษตรเป็นภาคที่มีความเสี่ยงในเชิงเศรษฐกิจสูงเมื่อเทียบกับภาคเศรษฐกิจอื่นๆ จากปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ (1) ผลผลิตภาคเกษตรมีความไม่แน่นอนส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ (2) ตลาดสินค้าเกษตรขึ้นอยู่กับการแข่งขันและการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ ทำให้รายได้ที่เกษตรกรได้รับไม่แน่นอน สถาบันการเงินจึงไม่กระตือรือร้นให้สินเชื่อแก่ภาคนี้มากนัก ผลจากการขาดแคลนสินเชื่อของภาคเกษตรส่งผลให้การผลิตภาคเกษตรขยายตัวอย่างล่าช้าและขาดแรงจูงใจในการขยายผลผลิตหรือปรับใช้เทคโนโลยีใหม่ เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ขาดเงินทุนที่จะนำไปปรับปรุงหรือเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เป็นผลให้ความเจริญเติบโตระหว่างภาคการผลิตต่างๆ ไม่สมดุลกันมากขึ้น ซึ่งมีผลต่อเนื่องไปถึงปัญหาการกระจายรายได้ของกลุ่มต่างๆ ในประเทศจากการที่ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรโดยส่วนรวมด้อยกว่ากลุ่มคนในภาคเศรษฐกิจอื่นๆ มากและทำให้ภาคเกษตรไม่สามารถดูดซับแรงงานในชนบทได้มากเท่าที่ควร จึงมีการอพยพแรงงานสู่เมืองมากขึ้น
ประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยตระหนักว่าการผลิตและรายได้ภาคเกษตรก่อให้เกิดผลตอบแทนทางสังคม (social benefit) สูง และหากทางการไม่เข้าแทรกแซง พัฒนาการในภาคเกษตรด้วยตนเองจะมีน้อยหรือเป็นไปอย่างเชื่องช้ามาก รัฐบาลในหลายๆ ประเทศจึงได้มีการดำเนินมาตรการที่สำคัญหลายๆ อย่าง เพื่อพยายามลดความแตกต่างและ/หรือให้เกิดความสมดุลในระหว่างภาคเศรษฐกิจต่างๆ มากขึ้น โดยการแทรกแซงตลาดสินเชื่อในชนบทในรูปของการส่งเสริมการอำนวยสินเชื่อสู่พื้นที่ชนบทเพื่อให้เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางการเงินของประเทศได้มากขึ้น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรโดยทั่วไปให้สูงขึ้น มาตรการที่ทางการในหลายประเทศให้ความช่วยเหลือภาคเกษตรสรุปได้ 4 วิธีคือ
1. การกำหนดเป้าหมายขั้นต่ำให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อเพื่อการเกษตร มาตรการนี้ได้มีการนำมาปฏิบัติในประเทศต่างๆ เช่น ประเทศอินเดีย ปากีสถาน เนปาล มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไนจีเรีย และไทย
2. การจัดระบบหรือองค์กรเพื่ออำนวยสินเชื่อสู่ชนบท อาทิ ตั้งธนาคารเพื่อการเกษตร สถาบันประกันสินเชื่อ คณะกรรมการกำหนดนโยบายหรือคณะที่ปรึกษา
3. การให้กู้ยืม ซึ่งมักได้แก่ การให้กู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยต่ำจากธนาคารกลาง
4. กำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สินเชื่อภาคเกษตร
แหล่งเงินทุนของสินเชื่อที่เข้าสู่ภาคเกษตร : กรณีประเทศไทย
การดำเนินนโยบายสินเชื่อเพื่อการเกษตรเริ่มในปี 2518 และได้เปลี่ยนแปลงเป็นนโยบายสินเชื่อสู่ชนบทในปี 2530 ผลการดำเนินนโยบายนี้เป็นช่องทางให้สินเชื่อกระจายไปสู่ภาคเกษตรโดยตรงและมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้สัดส่วนระหว่างสินเชื่อชนบทต่อผลิตภัณฑ์ภาคเกษตรของประเทศเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ คือ จากร้อยละ 43.5-49.2 ในช่วงปี 2527-2539 และเป็นร้อยละ 64.3 และร้อยละ 200.9 เมื่อปี 2530 และปี 2539 ตามลำดับ สัดส่วนที่สูงขึ้นมากส่วนหนึ่งเป็นผลจากธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการทบทวนเป้าหมายและนโยบายการให้สินเชื่อการเกษตรตั้งแต่ปี 2530 โดยให้ธนาคารพาณิชย์มีบทบาทร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นในส่วนอื่นด้วย เช่น การให้สินเชื่อแก่อุตสาหกรรมขนาดย่อมและอุตสาหกรรมในครัวเรือน ทั้งนี้ธนาคารพาณิชย์ใดสามารถสนองตอบนโยบายด้วยดีก็อาจจะได้รับการจัดสรรรางวัลในรูปแบบต่างๆ ตามระดับการให้ความร่วมมือของแต่ละธนาคาร เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อแก่เกษตรกรและอุตสาหกรรมขนาดย่อมในส่วนภูมิภาคมากขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย อีกปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนทำให้สัดส่วนสินเชื่อสู่ชนบทต่อผลิตภัณฑ์ภาคเกษตรสูงขึ้น เป็นผลจากในช่วงเวลาดังกล่าวสัดส่วนหรือความสำคัญของผลิตภัณฑ์ภาคเกษตรมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP)
ถ้าพิจารณาเฉพาะสถาบันการเงินที่มีบทบาทในการให้กู้ยืมแก่ภาคเกษตร คือ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) พบว่าบทบาทของธนาคารพาณิชย์เพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ ในขณะที่ ธ.ก.ส. ซึ่งเป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีหน้าที่อำนวยสินเชื่อประเภทนี้โดยตรงกลับมีบทบาทลดต่ำลง สำหรับบริษัทเงินทุนนั้นแม้จะมีอัตราการให้สินเชื่อประเภทนี้เพิ่มขึ้น่ในอัตราสูง แต่เป็นจำนวนกู้ยืมไม่มากนักและผลจากนโยบายดังกล่าวทำให้ธนาคารพาณิชย์มีการปรับตัวเพื่อสนองตอบนโยบายของทางการด้วยการให้สินเชื่อแก่กลุ่มเป้าหมายต่างๆ เพิ่มขึ้น รวมทั้งหาทางลดความเสี่ยงในการปล่อยกู้ด้วยวิธีต่างๆ กัน เช่น การฝึกอบรมพนักงานสินเชื่อเพื่อการเกษตรและการให้สินเชื่อการเกษตรในรูปโครงการมากขึ้น เป็นต้น
3. บทบาทสินเชื่อชนบทที่มีต่อการเติบโตภาคเกษตรไทย
การที่สินเชื่อเข้าสู่ภาคชนบทเพิ่มขึ้นมากเป็นลำดับมา คำถามสำคัญคือ สินเชื่อชนบทมีความสำคัญกับการผลิตภาคเกษตรเพียงใด (as a source of agriculture growth) เพื่อตอบคำถามดังกล่าว บทความนี้ได้ตรวจสอบบทบาทของสินเชื่อชนบทว่ามีส่วนสนับสนุน (contribute) การเติบโตของผลผลิตภาคเกษตรไทยเพียงใด โดยใช้ข้อมูลระหว่างปี 2527-2539 และใช้วิธีการวิเคราะห์แหล่งที่มาของการเจริญเติบโต (growth accounting framework) ด้วยการประมาณฟังก์ชั่นการผลิตที่อยู่ในรูปของ Cobb-Douglas ดังนี้
Y = ACb1 Lb2 Rb3 eu1 (1)
Y = ACb1 Lb2 Rb3 Ib4 eu2 (2)
จาก (1) ln Y = lnA + b1lnC + b2lnL + b3lnR + u1 (3)
จาก (2) ln Y = lnA + b1lnC + b2lnL + b3lnR + b4lnI + u2 (4)
โดยที่ Y หมายถึง ผลิตภัณฑ์ภาคเกษตร ราคาคงที่ ณ ปี 2531
(พันล้านบาท)
C หมายถึง เงินให้สินเชื่อสู่ชนบท ราคาคงที่ ณ ปี 2531
(พันล้านบาท)
L หมายถึง แรงงานภาคเกษตร (ล้านคน)
R หมายถึง ปริมาณน้ำฝน (มิลลิมิเตอร์)
I หมายถึง พื้นที่ในเขตชลประทาน (ไร่)
u1, u2 หมายถึง ตัวคลาดเคลื่อน ซึ่งมีการกระจายแบบปกติ ที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0 และค่าความแปรปรวนเท่ากับ s 2
จากสมการที่ (3) และ (4) ผลผลิตภาคเกษตรถูกกำหนดโดย 4 ปัจจัยพื้นฐาน คือ ที่ดิน แรงงาน สภาพอากาศและเงินให้สินเชื่อ การประมาณสมการที่ (3) และ (4) ใช้วิธีการ Ordinary Least Squares : OLS ทั้งสองสมการถูกประมาณโดยมีและไม่มีพื้นที่ชลประทานเป็นปัจจัยการผลิต สัมประสิทธิ์ที่ได้จากการประมาณการแสดงความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามสอดคล้องกับทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ และแสดงผลการประมาณค่าความยืดหยุ่นในตารางที่ 2 ซึ่งพบว่าการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อชนบทร้อยละ 1 ทำให้ผลผลิตภาคเกษตรขยายตัวประมาณร้อยละ 0.107-0.152 และการจ้างแรงงานภาคเกษตรและปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ก็เป็นผลให้ผลผลิตภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.60-0.72 และร้อยละ 0.12-0.16 ตามลำดับ ขณะเดียวกัน ผลผลิตภาคเกษตรยังตอบสนองการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ชลประทานซึ่งถือเป็นตัวแทนการลงทุนของภาครัฐบาล โดยค่าความยืดหยุ่นที่ประมาณการได้เท่ากับ 0.462
ที่มาของการเจริญเติบโตของผลผลิตภาคเกษตรไทย
นำค่าความยืดหยุ่นที่แสดงในตารางที่ 2 มากระจาย (decompose) เพื่อหาว่าการเจริญเติบโตของผลผลิตภาคเกษตรไทยในช่วงที่ทำการศึกษาเติบโตจากปัจจัยการผลิตต่างๆ เท่าใด โดยใช้วิธีการวิเคราะห์การหาที่มาของการเจริญเติบโต (growth accounting framework) ซึ่งแสดงผลในตารางที่ 3 จากผลการคำนวณพบว่าปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเติบโตของผลผลิตเกษตรไทยมากที่สุดคือ เงินให้สินเชื่อชนบท รองลงมาได้แก่ พื้นที่ชลประทาน แรงงานภาคเกษตร และปริมาณน้ำฝน ตามลำดับ
จากผลการคำนวณพบว่าผลผลิตภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3.56 ต่อปี ระหว่างช่วงปี 2527-2539 โดยกว่าครึ่งหนึ่งคือระหว่างร้อยละ 54-77 ของการเติบโตมาจากปัจจัยของสินเชื่อชนบท สำหรับแรงงานภาคเกษตรมีบทบาทรองลงมาคือ ระหว่างร้อยละ 12-14 ขณะที่พื้นที่ชลประทานมีบทบาทประมาณร้อยละ 28 ส่วนบทบาทของปัจจัยอื่นๆ นั้น ปรากฏว่ามีผลน้อยมาก
การมีนัยสำคัญของการขยายพื้นที่ชลประทานในฐานะเป็นที่มาของการเจริญเติบโตของผลผลิตเกษตรไทย ทำให้ผลการประมาณการของสมการที่ (4) น่าจะมีความเหมาะสมในการตีความมากกว่าสมการที่ (3) อย่างไรก็ตาม ผลการคำนวณพบประเด็นที่คาดไม่ถึงว่าสินเชื่อชนบทกลับมีบทบาทสำคัญที่สุดในการมีส่วนสร้างการเจริญเติบโตของผลผลิตเกษตร (as a contribution to growth) ทั้งนี้สามารถอธิบายด้วยเหตุผล 2 ประการคือ (1) นิยามสินเชื่อชนบทในบทความนี้ได้ครอบคลุมถึงสินเชื่อในชนบท ซึ่งบางส่วนมิใช่สินเชื่อเกษตรซึ่งทำให้ดูเหมือนว่าภาคเกษตรใช้สินเชื่อมากกว่าความเป็นจริง (2) การขาดตัวแปรสำคัญคือ การสะสมทุน (capital stock) ของภาคเกษตรในฐานะที่เป็นปัจจัยการผลิต จึงอาจทำให้บทบาทของสินเชื่อชนบทสูงเกินความเป็นจริง สำหรับสาเหตุที่ไม่ได้นำการสะสมทุนของภาคเกษตรมารวมไว้ในงานศึกษานี้ก็เนื่องจากยังขาดข้อมูลที่เชื่อถือได้
ผลของวิกฤตการณ์ทางการเงินต่อการเจริญเติบโตของภาคเกษตร
ผลกระทบของวิกฤตการณ์ทางการเงินที่ดำเนินอยู่ถูกส่งผ่านไปยังภาคการเกษตรได้ 2 ทาง คือ ทางด้านปริมาณและราคา สำหรับทางด้านราคาจะปรับตัวผ่านอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นผลดีต่อภาคการเกษตร เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรภายในประเทศสูงขึ้นจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินสำคัญของต่างประเทศ ส่วนทางด้านปริมาณหรือการผลิตได้รับผลกระทบจากปัญหาสภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์และการให้สินเชื่อสู่ชนบทที่ชะลอลง
ในปี 2540 ซึ่งเป็นปีที่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินนั้น สินเชื่อชนบทเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 5.4 เทียบกับอัตราเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 18.0 ต่อปี ระหว่างปี 2527|2539 และจากการใช้สมการที่ 4 มาคำนวณ พบว่าในปี 2540 ความสำคัญของสินเชื่อชนบทในฐานะเป็นที่มาของการเติบโตของผลผลิตภาคเกษตรลดลงเหลือประมาณร้อยละ 34 เทียบกับเฉลี่ยร้อยละ 54 ระหว่างปี 2527-2539 โดยมีสาเหตุสำคัญจากการชะลอตัวของสินเชื่อชนบทตามการชะลอตัวของสินเชื่อรวมทั้งระบบสะท้อนให้เห็นว่าการผลิตภาคเกษตรในปี 2540 ก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงิน
4. สรุป
ภาคเกษตรเป็นภาคการผลิตที่สำคัญของประเทศ เป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดรายได้ประชาชาติที่สำคัญและประชากรเกือบ 2 ใน 3 ของประเทศ อาศัยเป็นที่ดำรงชีพ แต่ภาคเกษตรเป็นภาคที่มีความเสี่ยงหรือความไม่แน่นอนในเชิงเศรษฐกิจสูงกว่าภาคเศรษฐกิจอื่นๆ สถาบันการเงินจึงไม่กระตือรือร้นให้สินเชื่อแก่ภาคนี้มากนักทำให้เกษตรกรขาดเงินทุนในการขยายการผลิตหรือปรับใช้เทคโนโลยีใหม่ ทำให้ความเจริญเติบโตระหว่างภาคการเกษตรกับภาคการผลิตอื่นๆ แตกต่างกันมากขึ้น
ที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินมาตรการที่สำคัญหลายอย่างเพื่อช่วยเหลือการผลิตภาคการเกษตร รูปแบบหนึ่งคือการดำเนินนโยบายสินเชื่อเกษตรและพัฒนาเป็นสินเชื่อชนบท โดยให้มีการจัดสรรทรัพยากรทางการเงินผ่านสถาบันการเงินในประเทศสู่ภาคเกษตรมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ภาคการเกษตรพึ่งพาสินเชื่อจากสถาบันการเงินนอกระบบน้อยลง ต้นทุนการกู้ยืมในภาคเกษตรลดลงค่อนข้างมากและมีผลให้การผลิตภาคเกษตรขยายตัวขึ้น
ในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว เงินให้สินเชื่อสู่ชนบทขยายตัวในเกณฑ์สูงตามการขยายตัวของเงินให้สินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นผลจากมีเงินทุนนำเข้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าว สัดส่วนสินเชื่อสู่ชนบทต่อผลผลิตภาคเกษตรเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 43.5 เมื่อปี 2527 เป็นกว่าร้อยละ 200 ในปี 2539 สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจชนบทพึ่งพาการเงิน (monetization) เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและบทบาทของสินเชื่อในฐานะที่เป็นปัจจัยการผลิตในภาคเกษตรมีความสำคัญขึ้น
จากการทดสอบในเชิงปริมาณโดยใช้แบบจำลองการผลิตแบบ Cobb-Douglas ในช่วงปี 2527-2539 พบว่าการเติบโตของการผลิตภาคเกษตรขึ้นกับ 4 ปัจจัย คือ สินเชื่อสู่ชนบท แรงงานภาคเกษตร ปริมาณน้ำฝน และพื้นที่ชลประทาน สินเชื่อสู่ชนบทมีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการผลิตภาคเกษตรไทย โดยมีส่วนในการสร้างความเจริญเติบโตให้กับผลผลิตภาคเกษตรเฉลี่ยร้อยละ 54-77 ในช่วงที่ศึกษา อย่างไรก็ตาม การขาดตัวแปรสำคัญคือการสะสมทุน (capital stock) ของภาคเกษตรและนิยามของสินเชื่อชนบทที่ครอบคลุมถึงสินเชื่อที่ไปสนับสนุนกิจกรรมอื่นๆ ในภาคเกษตรหรือในชนบทด้วย ทำให้ความสำคัญของสินเชื่อที่มีต่อการผลิตภาคเกษตรในงานศึกษานี้อาจสูงกว่าที่ควรจะเป็น (overstate) อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาถึงผลกระทบทางวิกฤตการณ์ทางการเงินก็พบว่า การผลิตภาคเกษตรในปี 2540 ก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินจากการชะลอตัวของเงินให้สินเชื่อสู่ชนบท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก