ภาวะเศรษฐกิจของภาคใต้ในเดือนกุมภาพันธ์ชะลอตัวลงเล็กน้อยตามการปรับลดลงของราคาพืชผลทางการเกษตร ขณะเดียวกัน ในภาคการท่องเที่ยว เทศกาลวาเลนไทน์ส่งผลเชิงบวกเฉพาะบางแหล่งท่องเที่ยวเท่านั้น ขณะที่ภาพรวมทั้งภาคใต้ซบเซา ส่งผลให้ภาคธุรกิจการค้าและบริการไม่คึกคักเท่าที่ควร ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบจึงลดลง
ภาคเกษตร ยางพาราออกสู่ตลาดน้อย เนื่องจากเป็นช่วงการผลัดใบของต้นยาง ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ในเดือนนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.14 บาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.3 เนื่องจากอุปสงค์ในตลาดลดลง และจากการที่มาเลเซีย อินโดนีเซีย พยายามผลักดันผลผลิตน้ำมันปาล์มออกนอกประเทศ นับเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลทำให้พืชน้ำมันทุกชนิดราคาตกต่ำ ทั้งนี้ ในส่วนของปาล์มน้ำมัน ปาล์มสดทั้งทะลายเฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.10 บาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 16.7 ขณะที่เมล็ดกาแฟ เกษตรกรเก็บเกี่ยวและจำหน่ายผลผลิตออกสู่ตลาดแล้วกว่าร้อยละ 60 ราคาใกล้เคียงกับเดือนก่อน คือ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.36 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในด้านการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ผลผลิตเข้าสู่ตลาดลดลง และคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดีนัก (มีกลิ่นโคลน กลิ่นดิน) ราคาจึงปรับลดลง โดยกุ้งกุลาดำขนาด 50 ตัวต่อกิโลกรัม ที่โรงงานอุตสาหกรรมรับซื้อราคาอยู่ระหว่าง 275.00-310.00 บาท
ภาคการค้า ธุรกิจการค้าและบริการไม่คึกคักเท่าที่ควร เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรราคาตกต่ำ ประกอบกับภาคธุรกิจท่องเที่ยวชะลอตัว และที่สำคัญการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากก็ยังนับเป็นปัจจัยเชิงจิตวิทยาที่มีผลทำให้ประชาชนระมัดระวังการบริโภคมากขึ้น และหากพิจารณาในภาคการค้าระหว่าง ประเทศ พบว่า มีมูลค่าการส่งออกรวม 12,041.5 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 10.1 ทั้งนี้ สถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นถือว่ายังไม่มีผลกระทบกับภาคการส่งออกของภาคใต้ เนื่องจากสินค้าในหมวดอาหารและยางพารายังส่งออกได้เพิ่มขึ้น ส่วนมูลค่าการนำเข้า 4,278.1 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อยเพียงร้อยละ 2.1 เท่านั้น
ภาคการท่องเที่ยว เทศกาลวาเลนไทน์ ส่งผลเชิงบวกเฉพาะบางแหล่งท่องเที่ยวเท่านั้น (จังหวัดตรังมีการจัดกิจกรรมวิวาห์ใต้สมุทร เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว) ขณะที่ภาพรวมทั้งภาคใต้ซบเซา มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามา 166,289 คน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 12.7 ตามการลดลงของนักท่องเที่ยวชาติอื่น ๆ ที่มิใช่มาเลเซีย และ สิงคโปร์ เป็นสำคัญ
ภาคการลงทุน โครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน มีเพียง 3 โครงการ เท่านั้น และมีเงินลงทุนรวม 190.4 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 57.1 และ 46.4 ตามลำดับ โครงการที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนเป็นกิจการประเภทที่เกี่ยวเนื่องกับยางพารา 2 โครงการ และท่อเหล็ก 1 โครงการ
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป การปรับสูงขึ้นของราคาสินค้าในหมวดเคหสถาน หมวดย่อย ไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำประปา ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคใต้เพิ่มขึ้น โดยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนปรากฏว่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 และ 2.3 ตามลำดับ
ภาคการเงิน ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคใต้ในเดือนนี้อยู่ในภาวะที่ซบเซา ส่งผลให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบลดลง และในเดือนนี้ธนาคารพาณิชย์มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ 0.50 นับเป็นปัจจัยสร้างแรงกดดันต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อการออมและการจับจ่ายใช้สอย ขณะที่ ผู้ประกอบการด้านการค้ารถยนต์ เห็นว่าการที่อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มต่ำเป็นโอกาสในการขยายตลาดได้เป็นอย่างดี
สำหรับแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในเดือนถัดไป ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ อาทิ สถานการณ์เศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ราคาสินค้าเกษตรที่ยังไม่มีสัญญาณการปรับสูงขึ้นแต่อย่างใด และอัตรา ดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ นับเป็นปัจจัยกดดันให้การขยายกำลังซื้อในประเทศเพื่อทดแทนการส่งออกมีแนวโน้มที่ไม่ดีนัก
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
ภาคเกษตร ยางพาราออกสู่ตลาดน้อย เนื่องจากเป็นช่วงการผลัดใบของต้นยาง ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ในเดือนนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.14 บาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.3 เนื่องจากอุปสงค์ในตลาดลดลง และจากการที่มาเลเซีย อินโดนีเซีย พยายามผลักดันผลผลิตน้ำมันปาล์มออกนอกประเทศ นับเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลทำให้พืชน้ำมันทุกชนิดราคาตกต่ำ ทั้งนี้ ในส่วนของปาล์มน้ำมัน ปาล์มสดทั้งทะลายเฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.10 บาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 16.7 ขณะที่เมล็ดกาแฟ เกษตรกรเก็บเกี่ยวและจำหน่ายผลผลิตออกสู่ตลาดแล้วกว่าร้อยละ 60 ราคาใกล้เคียงกับเดือนก่อน คือ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.36 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในด้านการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ผลผลิตเข้าสู่ตลาดลดลง และคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดีนัก (มีกลิ่นโคลน กลิ่นดิน) ราคาจึงปรับลดลง โดยกุ้งกุลาดำขนาด 50 ตัวต่อกิโลกรัม ที่โรงงานอุตสาหกรรมรับซื้อราคาอยู่ระหว่าง 275.00-310.00 บาท
ภาคการค้า ธุรกิจการค้าและบริการไม่คึกคักเท่าที่ควร เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรราคาตกต่ำ ประกอบกับภาคธุรกิจท่องเที่ยวชะลอตัว และที่สำคัญการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากก็ยังนับเป็นปัจจัยเชิงจิตวิทยาที่มีผลทำให้ประชาชนระมัดระวังการบริโภคมากขึ้น และหากพิจารณาในภาคการค้าระหว่าง ประเทศ พบว่า มีมูลค่าการส่งออกรวม 12,041.5 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 10.1 ทั้งนี้ สถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นถือว่ายังไม่มีผลกระทบกับภาคการส่งออกของภาคใต้ เนื่องจากสินค้าในหมวดอาหารและยางพารายังส่งออกได้เพิ่มขึ้น ส่วนมูลค่าการนำเข้า 4,278.1 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อยเพียงร้อยละ 2.1 เท่านั้น
ภาคการท่องเที่ยว เทศกาลวาเลนไทน์ ส่งผลเชิงบวกเฉพาะบางแหล่งท่องเที่ยวเท่านั้น (จังหวัดตรังมีการจัดกิจกรรมวิวาห์ใต้สมุทร เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว) ขณะที่ภาพรวมทั้งภาคใต้ซบเซา มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามา 166,289 คน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 12.7 ตามการลดลงของนักท่องเที่ยวชาติอื่น ๆ ที่มิใช่มาเลเซีย และ สิงคโปร์ เป็นสำคัญ
ภาคการลงทุน โครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน มีเพียง 3 โครงการ เท่านั้น และมีเงินลงทุนรวม 190.4 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 57.1 และ 46.4 ตามลำดับ โครงการที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนเป็นกิจการประเภทที่เกี่ยวเนื่องกับยางพารา 2 โครงการ และท่อเหล็ก 1 โครงการ
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป การปรับสูงขึ้นของราคาสินค้าในหมวดเคหสถาน หมวดย่อย ไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำประปา ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคใต้เพิ่มขึ้น โดยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนปรากฏว่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 และ 2.3 ตามลำดับ
ภาคการเงิน ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคใต้ในเดือนนี้อยู่ในภาวะที่ซบเซา ส่งผลให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบลดลง และในเดือนนี้ธนาคารพาณิชย์มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ 0.50 นับเป็นปัจจัยสร้างแรงกดดันต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อการออมและการจับจ่ายใช้สอย ขณะที่ ผู้ประกอบการด้านการค้ารถยนต์ เห็นว่าการที่อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มต่ำเป็นโอกาสในการขยายตลาดได้เป็นอย่างดี
สำหรับแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในเดือนถัดไป ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ อาทิ สถานการณ์เศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ราคาสินค้าเกษตรที่ยังไม่มีสัญญาณการปรับสูงขึ้นแต่อย่างใด และอัตรา ดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ นับเป็นปัจจัยกดดันให้การขยายกำลังซื้อในประเทศเพื่อทดแทนการส่งออกมีแนวโน้มที่ไม่ดีนัก
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-