เศรษฐกิจจังหวัดอุทัยธานี ปี 2542 ปรับตัวดีขึ้นหลังจากที่หดตัวเมื่อปีก่อน ภาคเกษตร ผลผลิตพืชสำคัญหลายชนิดเพิ่มขึ้นจากฝนที่ตกมากเพียงพอ ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวตามการผลิตน้ำตาลทราย การใช้จ่าย ภาครัฐขยายตัวตามนโยบายของรัฐบาล และการใช้จ่ายภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น การลงทุนภาคเอกชน และ การ ก่อสร้างยังคงซบเซา ภาคการเงินสินเชื่อยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องจากธนาคารพาณิชย์เข้มงวดการให้สินเชื่อและ เร่งรัดชำระหนี้
ภาคเกษตร ผลผลิตพืชหลักสำคัญส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากปริมาณฝนที่เพียงพอ เช่น ข้าวนาปี เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.5 เป็น 166,021 เมตริกตัน อ้อย เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เป็น 959,068 เมตริกตัน และ ถั่วเขียวผิวมัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 เป็น 9,164 เมตริกตัน ขณะที่ ข้าวนาปรัง ลดลงร้อยละ 15.4 เหลือ 37,333 เมตริกตัน ข้าวโพด ลดลงร้อยละ 5.1 เหลือ 162,903 เมตริกตัน และ มันสำปะหลัง ลดลงร้อยละ 7.6 เหลือ 300,367 เมตริกตัน แต่จากราคาพืชผลต่ำลงจากปีก่อนมาก ส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลงจากปีก่อน แต่ยังคง อยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับปี 2540
นอกภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม การผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมน้ำตาล ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 64.3 เป็น 112,842 เมตริกตัน เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 43.3 ปีก่อน ตามปริมาณผลผลิตอ้อยที่เพิ่มขึ้น การใช้จ่ายภาคเอกชน เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น โดยเครื่องชี้หลายชนิด เช่น ยอดจดทะเบียน รถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.3 เป็น 957 คัน จากผู้จำหน่ายและสถาบันการเงินให้สินเชื่อเช่าซื้อเพิ่มมากขึ้น ยอด จดทะเบียนรถจักรยานยนต์แม้ว่าจะลดลงร้อยละ 39.2 เหลือ 1,743 คัน แต่ลดลงในอัตราที่ต่ำลงเมื่อเทียบกับที่ ลดลงร้อยละ 48.8 ปีก่อน ภาษีมูลค่าเพิ่มแม้ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 11.4 เหลือ 31 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 ปีก่อน จากการปรับลดอัตราจัดเก็บ แต่เมื่อเทียบในอัตราภาษีร้อยละ 7 เดียวกันแล้ว กลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 13.7 ปีก่อน ทางด้านเงินให้สินเชื่อเพื่อการพาณิชยกรรมและเพื่อการอุปโภคบริโภค ส่วนบุคคล ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มียอดคงค้าง 1,022.2 ล้านบาท และ 571 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.2 และร้อยละ 13.7 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 4.7 และร้อยละ 18.4 ปีก่อน จากธนาคารเข้มงวดการให้สินเชื่อและ เร่งรัดชำระหนี้
การลงทุน/ก่อสร้าง การลงทุนภาคเอกชนยังคงซบเซา แต่มีทิศทางที่ดีขึ้นจากกิจการที่ได้รับ ส่งเสริมการลงทุนในปี 2542 จำนวน 1 รายเงินลงทุน 10 ล้านบาท เทียบกับที่ไม่มีกิจการขอรับการลงทุนในปีก่อน ส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนใหม่จำนวน 10 ราย เงินลงทุน 34 ล้านบาท เทียบกับ 17 ราย เงินลงทุน 275 ล้านบาทปีก่อน และพื้นที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลจังหวัดอุทัยธานีลดลงร้อยละ 46.9 เหลือ 12,034 ตารางเมตร เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 40.5 ปีก่อน ทางด้านสินเชื่อเพื่อการก่อสร้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มียอดคงค้าง 316 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.8 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 12.1 ปีก่อน จากธนาคารพาณิชย์ เข้มงวดการให้สินเชื่อ
ภาคการเงิน จำนวนสาขาธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดอุทัยธานี ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มีทั้งสิ้น 15 แห่ง เท่ากับปีก่อน ปริมาณเงินรับฝากและเบิกถอนของธนาคารพาณิชย์ที่ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย (คลังจังหวัดอุทัยธานี) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.3 เหลือ 9,883 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 10.9 ปีก่อน โดยเงินนำฝากลดลงร้อยละ 2.6 เหลือ 5,600 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 10.7 ปีก่อน ส่วนการเบิกถอน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 เหลือ 4,283 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 11.3 ปีก่อน ยอดนำฝากสุทธิลดลงร้อยละ 34.8 เหลือ 1,317 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 9.6 ปีก่อน
เงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มียอดคงค้าง 6,236 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 4.9 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ปีก่อน เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยต่ำทำให้มีผู้ฝากเงินบางส่วนถอนเงินไปชำระหนี้และซื้อทรัพย์สิน เช่น รถยนต์และหลักทรัพย์อื่นๆ โดยเงินฝากในเขตอำเภอเมืองและอำเภอรอบนอกลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.5 และร้อยละ 9.2 ตามลำดับ ด้านเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 2,882 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.3 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 10.1 ปีก่อน จากธนาคารพาณิชย์เข้มงวดการให้สินเชื่อและเร่งรัดชำระหนี้ รวมถึงมีการนำเงินฝาก มาชำระหนี้ โดยเงินให้สินเชื่อในเขตอำเภอเมืองและอำเภอรอบนอกลดลงจากปีก่อนร้อยละ 10.3 และร้อยละ 10.3 ตามลำดับ
สำหรับความก้าวหน้าทางด้านการประนอมหนี้ปรากฏว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 จากรายงานของสาขาธนาคารพาณิชย์มีสินเชื่อที่อยู่ในขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จำนวนทั้งสิ้น 634 ราย วงเงิน 646.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 628 ราย วงเงิน 532.2 ล้านบาท ประกอบด้วยที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวน 134 ราย วงเงิน 139.5 ล้านบาท และปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จ จำนวน 500 ราย เป็นเงิน 507.3 ล้านบาท
ฐานะการคลังรัฐบาลจังหวัดอุทัยธานี ปีงบประมาณ 2542 เงินในงบประมาณขาดดุล 2,681 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดดุล 2,769 ล้านบาทปีก่อน โดยรายจ่ายลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.9 เหลือ 2,871 ล้านบาท จาก รายจ่ายของงบประมาณปีก่อนที่ลดลงเป็นสำคัญ เนื่องจากรัฐเข้มงวดในการเบิกจ่ายเงินเหลื่อมปี อย่างไรก็ตาม รายจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เป็น 2,437 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 20.8 ปีก่อน ตามการเร่งการใช้จ่ายของรัฐบาล ขณะที่รายได้ลดลงร้อยละ 12.8 เหลือ 190 ล้านบาท จากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงและการปรับลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อรวมกับเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 1,476 ล้านบาท ส่งผลให้ขาดดุล เงินสด 1,205 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดดุล 485 ล้านบาทปีก่อน
ทางด้านรายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ(มิยาซาวา)ของจังหวัด อุทัยธานี ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 วงเงินอนุมัติทั้งสิ้น 312 ล้านบาท เบิกจ่ายไปแล้ว 225 ล้านบาท หรือร้อยละ 72.1 ของวงเงินอนุมัติโดยร้อยละ 60 เป็นโครงการที่เกี่ยวกับการจ้างงาน ส่วนรายจ่ายที่ยังเหลือเป็นโครงการก่อสร้างซึ่งมีปัญหาการล่าช้ากว่ากำหนด และคาดว่าจะดำเนินการเสร็จในราวกลางปี 2543
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ภาคเกษตร ผลผลิตพืชหลักสำคัญส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากปริมาณฝนที่เพียงพอ เช่น ข้าวนาปี เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.5 เป็น 166,021 เมตริกตัน อ้อย เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เป็น 959,068 เมตริกตัน และ ถั่วเขียวผิวมัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 เป็น 9,164 เมตริกตัน ขณะที่ ข้าวนาปรัง ลดลงร้อยละ 15.4 เหลือ 37,333 เมตริกตัน ข้าวโพด ลดลงร้อยละ 5.1 เหลือ 162,903 เมตริกตัน และ มันสำปะหลัง ลดลงร้อยละ 7.6 เหลือ 300,367 เมตริกตัน แต่จากราคาพืชผลต่ำลงจากปีก่อนมาก ส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลงจากปีก่อน แต่ยังคง อยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับปี 2540
นอกภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม การผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมน้ำตาล ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 64.3 เป็น 112,842 เมตริกตัน เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 43.3 ปีก่อน ตามปริมาณผลผลิตอ้อยที่เพิ่มขึ้น การใช้จ่ายภาคเอกชน เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น โดยเครื่องชี้หลายชนิด เช่น ยอดจดทะเบียน รถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.3 เป็น 957 คัน จากผู้จำหน่ายและสถาบันการเงินให้สินเชื่อเช่าซื้อเพิ่มมากขึ้น ยอด จดทะเบียนรถจักรยานยนต์แม้ว่าจะลดลงร้อยละ 39.2 เหลือ 1,743 คัน แต่ลดลงในอัตราที่ต่ำลงเมื่อเทียบกับที่ ลดลงร้อยละ 48.8 ปีก่อน ภาษีมูลค่าเพิ่มแม้ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 11.4 เหลือ 31 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 ปีก่อน จากการปรับลดอัตราจัดเก็บ แต่เมื่อเทียบในอัตราภาษีร้อยละ 7 เดียวกันแล้ว กลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 13.7 ปีก่อน ทางด้านเงินให้สินเชื่อเพื่อการพาณิชยกรรมและเพื่อการอุปโภคบริโภค ส่วนบุคคล ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มียอดคงค้าง 1,022.2 ล้านบาท และ 571 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.2 และร้อยละ 13.7 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 4.7 และร้อยละ 18.4 ปีก่อน จากธนาคารเข้มงวดการให้สินเชื่อและ เร่งรัดชำระหนี้
การลงทุน/ก่อสร้าง การลงทุนภาคเอกชนยังคงซบเซา แต่มีทิศทางที่ดีขึ้นจากกิจการที่ได้รับ ส่งเสริมการลงทุนในปี 2542 จำนวน 1 รายเงินลงทุน 10 ล้านบาท เทียบกับที่ไม่มีกิจการขอรับการลงทุนในปีก่อน ส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนใหม่จำนวน 10 ราย เงินลงทุน 34 ล้านบาท เทียบกับ 17 ราย เงินลงทุน 275 ล้านบาทปีก่อน และพื้นที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลจังหวัดอุทัยธานีลดลงร้อยละ 46.9 เหลือ 12,034 ตารางเมตร เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 40.5 ปีก่อน ทางด้านสินเชื่อเพื่อการก่อสร้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มียอดคงค้าง 316 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.8 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 12.1 ปีก่อน จากธนาคารพาณิชย์ เข้มงวดการให้สินเชื่อ
ภาคการเงิน จำนวนสาขาธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดอุทัยธานี ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มีทั้งสิ้น 15 แห่ง เท่ากับปีก่อน ปริมาณเงินรับฝากและเบิกถอนของธนาคารพาณิชย์ที่ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย (คลังจังหวัดอุทัยธานี) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.3 เหลือ 9,883 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 10.9 ปีก่อน โดยเงินนำฝากลดลงร้อยละ 2.6 เหลือ 5,600 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 10.7 ปีก่อน ส่วนการเบิกถอน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 เหลือ 4,283 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 11.3 ปีก่อน ยอดนำฝากสุทธิลดลงร้อยละ 34.8 เหลือ 1,317 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 9.6 ปีก่อน
เงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มียอดคงค้าง 6,236 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 4.9 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ปีก่อน เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยต่ำทำให้มีผู้ฝากเงินบางส่วนถอนเงินไปชำระหนี้และซื้อทรัพย์สิน เช่น รถยนต์และหลักทรัพย์อื่นๆ โดยเงินฝากในเขตอำเภอเมืองและอำเภอรอบนอกลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.5 และร้อยละ 9.2 ตามลำดับ ด้านเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 2,882 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.3 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 10.1 ปีก่อน จากธนาคารพาณิชย์เข้มงวดการให้สินเชื่อและเร่งรัดชำระหนี้ รวมถึงมีการนำเงินฝาก มาชำระหนี้ โดยเงินให้สินเชื่อในเขตอำเภอเมืองและอำเภอรอบนอกลดลงจากปีก่อนร้อยละ 10.3 และร้อยละ 10.3 ตามลำดับ
สำหรับความก้าวหน้าทางด้านการประนอมหนี้ปรากฏว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 จากรายงานของสาขาธนาคารพาณิชย์มีสินเชื่อที่อยู่ในขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จำนวนทั้งสิ้น 634 ราย วงเงิน 646.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 628 ราย วงเงิน 532.2 ล้านบาท ประกอบด้วยที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวน 134 ราย วงเงิน 139.5 ล้านบาท และปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จ จำนวน 500 ราย เป็นเงิน 507.3 ล้านบาท
ฐานะการคลังรัฐบาลจังหวัดอุทัยธานี ปีงบประมาณ 2542 เงินในงบประมาณขาดดุล 2,681 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดดุล 2,769 ล้านบาทปีก่อน โดยรายจ่ายลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.9 เหลือ 2,871 ล้านบาท จาก รายจ่ายของงบประมาณปีก่อนที่ลดลงเป็นสำคัญ เนื่องจากรัฐเข้มงวดในการเบิกจ่ายเงินเหลื่อมปี อย่างไรก็ตาม รายจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เป็น 2,437 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 20.8 ปีก่อน ตามการเร่งการใช้จ่ายของรัฐบาล ขณะที่รายได้ลดลงร้อยละ 12.8 เหลือ 190 ล้านบาท จากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงและการปรับลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อรวมกับเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 1,476 ล้านบาท ส่งผลให้ขาดดุล เงินสด 1,205 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดดุล 485 ล้านบาทปีก่อน
ทางด้านรายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ(มิยาซาวา)ของจังหวัด อุทัยธานี ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 วงเงินอนุมัติทั้งสิ้น 312 ล้านบาท เบิกจ่ายไปแล้ว 225 ล้านบาท หรือร้อยละ 72.1 ของวงเงินอนุมัติโดยร้อยละ 60 เป็นโครงการที่เกี่ยวกับการจ้างงาน ส่วนรายจ่ายที่ยังเหลือเป็นโครงการก่อสร้างซึ่งมีปัญหาการล่าช้ากว่ากำหนด และคาดว่าจะดำเนินการเสร็จในราวกลางปี 2543
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-