เศรษฐกิจจังหวัดนครสวรรค์ปี 2542 เริ่มฟื้นตัวขึ้นแม้ว่าการผลิตภาคเกษตรขยายตัวเล็กน้อย แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวตามการผลิตน้ำตาลทราย ภาคเหมืองแร่ขยายตัวตามการผลิตยิปซัม รวมถึงการใช้จ่ายภาครัฐที่ขยายตัวขึ้น ส่งผลให้การใช้จ่ายภาคเอกชนเริ่มปรับตัวดีขึ้น ส่วนการลงทุนภาคเอกชน ยังคง ซบเซา เนื่องจากการฟื้นตัวยังไม่เข้มแข็งพอที่จะให้มีการลงทุนใหม่แต่การก่อสร้างเริ่มดีขึ้น จากการก่อสร้างภาครัฐเป็นสำคัญ สินเชื่อยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องจากธนาคารพาณิชย์เข้มงวดการให้สินเชื่อและเร่งรัดชำระหนี้
ภาคเกษตร การผลิตขยายตัว ผลผลิตพืชหลักสำคัญ เช่น ข้าวนาปี เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.2 เป็น 733,086 เมตริกตัน มันสำปะหลัง เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 เป็น 303,117 เมตริกตัน และ ถั่วเขียว เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2 เป็น 16,026 เมตริกตัน ขณะที่ อ้อย ลดลงร้อยละ 2.0 เหลือ 2,804,052 เมตริกตัน และ ข้าวโพด ลดลงร้อยละ 4.3 เหลือ 344,622 เมตริกตัน แต่จากราคาพืชผลที่ลดลงจากปีก่อนค่อนข้างมาก ส่งผลให้รายได้ เกษตรกรลดลงจากปีก่อนแต่ยังสูงกว่าปี 2540
นอกภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวจากปีก่อน จากอุตสาหกรรมน้ำตาลที่ผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 33.9 เป็น 451,519 เมตริกตัน ตามปริมาณอ้อยเข้าหีบที่เพิ่มขึ้น ภาคเหมืองแร่ ขยายตัวจากการผลิตแร่ยิปซัมที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 47.8 เป็น 1,154,657 เมตริกตัน
การใช้จ่ายภาคเอกชนเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น โดยเครื่องชี้หลายชนิด เช่น ยอดจดทะเบียนรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 เป็น 1,779 คัน จากบริษัทและสถาบันการเงินให้สินเชื่อเช่าซื้อเพิ่มมากขึ้น รวมถึงอัตราดอกเบี้ย เงินฝากที่ต่ำลงทำให้มีการนำเงินฝากมาซื้อรถยนต์ ส่วนยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์แม้ว่าจะลดลงร้อยละ 10.8 เหลือ 8,133 คัน แต่ลดลงในอัตราที่ต่ำลงเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 48.8 ปีก่อน ภาษีมูลค่าเพิ่มแม้ลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 30.8 เหลือ 304 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 ปีก่อน จากการปรับลดอัตราจัดเก็บ แต่เมื่อ เทียบในอัตราภาษีร้อยละ 7 เดียวกันแล้ว ลดลงร้อยละ 9.6 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 2.6 ปีก่อน ส่วนเงินให้สินเชื่อ เพื่อการพาณิชยกรรมและเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มียอดคงค้าง 6,364 ล้านบาท และ 3,253 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.6 และร้อยละ 12.0 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 11.8 และร้อยละ 18.7 ปีก่อน จากธนาคารเข้มงวดการให้สินเชื่อและเร่งรัดชำระหนี้ แต่ก็มีสินเชื่อของผู้จำหน่ายสินค้าทดแทน
การลงทุน/ก่อสร้าง การลงทุนภาคเอกชนยังคงซบเซา แต่มีทิศทางที่ดีขึ้น กิจการที่ได้รับส่งเสริม การลงทุนในปี 2542 จำนวน 3 รายเท่ากับปีก่อน เงินลงทุน 258 ล้านบาท เทียบกับ 345 ล้านบาทปีก่อน ส่วน โรงงานอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนใหม่จำนวน 45 ราย เงินลงทุน 188 ล้านบาท เทียบกับ 94 ราย เงินลงทุน 1,107 ล้านบาทปีก่อน และพื้นที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลเมืองนครสวรรค์ลดลงร้อยละ 14.3 เหลือ 43,453 ตารางเมตร ต่ำลงเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 78.5 ปีก่อน ทางด้านสินเชื่อเพื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มียอดคงค้าง 787 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 33.1 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 9.1 ปีก่อน เนื่องจากธนาคารพาณิชย์เข้มงวดการให้สินเชื่อ มีเพียงสินเชื่อเพื่อการก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เป็น 2,213 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 5.1 ปีก่อน จากการก่อสร้างภาครัฐที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
ภาคการเงิน จำนวนสาขาธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดนครสวรรค์ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มีทั้งสิ้น 50 แห่ง เท่ากับปีก่อน ปริมาณเงินรับฝากและเบิกถอนของธนาคารพาณิชย์ที่ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย (คลังจังหวัดนครสวรรค์) ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 7.8 เหลือ 47,216 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 ปีก่อน โดยเงินนำฝากลดลงร้อยละ 8.6 เหลือ 29,775 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 ปีก่อน ส่วนการเบิกถอนลดลงร้อยละ 6.5 เหลือ 17,441 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 ปีก่อน ยอดนำฝากสุทธิลดลงร้อยละ 11.5 เหลือ 12,334 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 1.4 ปีก่อน
เงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มียอดคงค้าง 27,316 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ปีก่อน จากอัตราดอกเบี้ยที่ลดต่ำลง ทำให้มีผู้ถอนเงินไปชำระหนี้และซื้อทรัพย์สิน เช่น รถยนต์และหลักทรัพย์อื่นๆ โดยเงินฝากในเขตอำเภอเมืองและ อำเภอรอบนอก ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 0.2 และ 7.1 ตามลำดับ ทางด้านเงินให้ สินเชื่อ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มียอดคงค้าง 23,050 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.7 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 9.5 ปีก่อน จากการเข้มงวดให้สินเชื่อ และเร่งรัดชำระหนี้ของธนาคารพาณิชย์ รวมถึงมีการนำเงินฝากมาชำระหนี้ โดยเงินให้สินเชื่อในเขตอำเภอเมืองและอำเภอรอบนอกลดลงร้อยละ 3.5 และร้อยละ 7.6 ตามลำดับ
สำหรับความก้าวหน้าทางด้านการประนอมหนี้ปรากฏว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 จากรายงานของสาขาธนาคารพาณิชย์มีสินเชื่อที่อยู่ในขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จำนวนทั้งสิ้น 2,352 ราย วงเงิน 10,637.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2,268 ราย วงเงิน 7,184.4 ล้านบาท ประกอบด้วยที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุง โครงสร้างหนี้จำนวน 162 ราย วงเงิน 1,824.9 ล้านบาท และปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จจำนวน 2,190 ราย เป็นเงิน 8,812.9 ล้านบาท
ฐานะการคลังรัฐบาลจังหวัดนครสวรรค์ปีงบประมาณ 2542 เงินในงบประมาณขาดดุล 6,693 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดดุล 6,571 ล้านบาทปีก่อน แม้รายจ่ายจะลดลงจากปีก่อนร้อยละ 1.8 เหลือ 7,807 ล้านบาท จากรายจ่ายของงบประมาณปีก่อนที่ลดลงเป็นสำคัญ เนื่องจากรัฐเข้มงวดกับส่วนราชการ ในการเบิกจ่ายเงินเหลื่อมปี แต่รายจ่ายจากปีงบประมาณปีปัจจุบันยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เป็น 6,965 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 4.6 ปีก่อน จากการเร่งใช้จ่ายของรัฐบาล ขณะที่รายได้ลดลงร้อยละ 19.5 เหลือ 1,114 ล้านบาท จากอัตราดอกเบี้ย ที่ลดลงและการปรับลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อรวมกับเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 12,621 ล้านบาท ส่งผลให้ เกินดุลเงินสด 5,928 ล้านบาท เทียบกับที่เกินดุล 6,903 ล้านบาทปีก่อน
ทางด้านรายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ณ สิ้นเดือน ธันวาคม 2542 วงเงินอนุมัติทั้งสิ้น 506 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 427 ล้านบาท หรือร้อยละ 84.4 ของวงเงินอนุมัติโดยร้อยละ 60 เป็นโครงการที่เกี่ยวกับการจ้างงาน ส่วนรายจ่ายที่ยังเหลือเป็นโครงการก่อสร้างซึ่งมีปัญหาการ ล่าช้ากว่ากำหนด และคาดว่าจะดำเนินการเสร็จประมาณกลางปี 2543
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ภาคเกษตร การผลิตขยายตัว ผลผลิตพืชหลักสำคัญ เช่น ข้าวนาปี เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.2 เป็น 733,086 เมตริกตัน มันสำปะหลัง เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 เป็น 303,117 เมตริกตัน และ ถั่วเขียว เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2 เป็น 16,026 เมตริกตัน ขณะที่ อ้อย ลดลงร้อยละ 2.0 เหลือ 2,804,052 เมตริกตัน และ ข้าวโพด ลดลงร้อยละ 4.3 เหลือ 344,622 เมตริกตัน แต่จากราคาพืชผลที่ลดลงจากปีก่อนค่อนข้างมาก ส่งผลให้รายได้ เกษตรกรลดลงจากปีก่อนแต่ยังสูงกว่าปี 2540
นอกภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวจากปีก่อน จากอุตสาหกรรมน้ำตาลที่ผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 33.9 เป็น 451,519 เมตริกตัน ตามปริมาณอ้อยเข้าหีบที่เพิ่มขึ้น ภาคเหมืองแร่ ขยายตัวจากการผลิตแร่ยิปซัมที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 47.8 เป็น 1,154,657 เมตริกตัน
การใช้จ่ายภาคเอกชนเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น โดยเครื่องชี้หลายชนิด เช่น ยอดจดทะเบียนรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 เป็น 1,779 คัน จากบริษัทและสถาบันการเงินให้สินเชื่อเช่าซื้อเพิ่มมากขึ้น รวมถึงอัตราดอกเบี้ย เงินฝากที่ต่ำลงทำให้มีการนำเงินฝากมาซื้อรถยนต์ ส่วนยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์แม้ว่าจะลดลงร้อยละ 10.8 เหลือ 8,133 คัน แต่ลดลงในอัตราที่ต่ำลงเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 48.8 ปีก่อน ภาษีมูลค่าเพิ่มแม้ลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 30.8 เหลือ 304 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 ปีก่อน จากการปรับลดอัตราจัดเก็บ แต่เมื่อ เทียบในอัตราภาษีร้อยละ 7 เดียวกันแล้ว ลดลงร้อยละ 9.6 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 2.6 ปีก่อน ส่วนเงินให้สินเชื่อ เพื่อการพาณิชยกรรมและเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มียอดคงค้าง 6,364 ล้านบาท และ 3,253 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.6 และร้อยละ 12.0 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 11.8 และร้อยละ 18.7 ปีก่อน จากธนาคารเข้มงวดการให้สินเชื่อและเร่งรัดชำระหนี้ แต่ก็มีสินเชื่อของผู้จำหน่ายสินค้าทดแทน
การลงทุน/ก่อสร้าง การลงทุนภาคเอกชนยังคงซบเซา แต่มีทิศทางที่ดีขึ้น กิจการที่ได้รับส่งเสริม การลงทุนในปี 2542 จำนวน 3 รายเท่ากับปีก่อน เงินลงทุน 258 ล้านบาท เทียบกับ 345 ล้านบาทปีก่อน ส่วน โรงงานอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนใหม่จำนวน 45 ราย เงินลงทุน 188 ล้านบาท เทียบกับ 94 ราย เงินลงทุน 1,107 ล้านบาทปีก่อน และพื้นที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลเมืองนครสวรรค์ลดลงร้อยละ 14.3 เหลือ 43,453 ตารางเมตร ต่ำลงเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 78.5 ปีก่อน ทางด้านสินเชื่อเพื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มียอดคงค้าง 787 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 33.1 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 9.1 ปีก่อน เนื่องจากธนาคารพาณิชย์เข้มงวดการให้สินเชื่อ มีเพียงสินเชื่อเพื่อการก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เป็น 2,213 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 5.1 ปีก่อน จากการก่อสร้างภาครัฐที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
ภาคการเงิน จำนวนสาขาธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดนครสวรรค์ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มีทั้งสิ้น 50 แห่ง เท่ากับปีก่อน ปริมาณเงินรับฝากและเบิกถอนของธนาคารพาณิชย์ที่ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย (คลังจังหวัดนครสวรรค์) ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 7.8 เหลือ 47,216 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 ปีก่อน โดยเงินนำฝากลดลงร้อยละ 8.6 เหลือ 29,775 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 ปีก่อน ส่วนการเบิกถอนลดลงร้อยละ 6.5 เหลือ 17,441 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 ปีก่อน ยอดนำฝากสุทธิลดลงร้อยละ 11.5 เหลือ 12,334 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 1.4 ปีก่อน
เงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มียอดคงค้าง 27,316 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ปีก่อน จากอัตราดอกเบี้ยที่ลดต่ำลง ทำให้มีผู้ถอนเงินไปชำระหนี้และซื้อทรัพย์สิน เช่น รถยนต์และหลักทรัพย์อื่นๆ โดยเงินฝากในเขตอำเภอเมืองและ อำเภอรอบนอก ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 0.2 และ 7.1 ตามลำดับ ทางด้านเงินให้ สินเชื่อ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มียอดคงค้าง 23,050 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.7 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 9.5 ปีก่อน จากการเข้มงวดให้สินเชื่อ และเร่งรัดชำระหนี้ของธนาคารพาณิชย์ รวมถึงมีการนำเงินฝากมาชำระหนี้ โดยเงินให้สินเชื่อในเขตอำเภอเมืองและอำเภอรอบนอกลดลงร้อยละ 3.5 และร้อยละ 7.6 ตามลำดับ
สำหรับความก้าวหน้าทางด้านการประนอมหนี้ปรากฏว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 จากรายงานของสาขาธนาคารพาณิชย์มีสินเชื่อที่อยู่ในขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จำนวนทั้งสิ้น 2,352 ราย วงเงิน 10,637.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2,268 ราย วงเงิน 7,184.4 ล้านบาท ประกอบด้วยที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุง โครงสร้างหนี้จำนวน 162 ราย วงเงิน 1,824.9 ล้านบาท และปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จจำนวน 2,190 ราย เป็นเงิน 8,812.9 ล้านบาท
ฐานะการคลังรัฐบาลจังหวัดนครสวรรค์ปีงบประมาณ 2542 เงินในงบประมาณขาดดุล 6,693 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดดุล 6,571 ล้านบาทปีก่อน แม้รายจ่ายจะลดลงจากปีก่อนร้อยละ 1.8 เหลือ 7,807 ล้านบาท จากรายจ่ายของงบประมาณปีก่อนที่ลดลงเป็นสำคัญ เนื่องจากรัฐเข้มงวดกับส่วนราชการ ในการเบิกจ่ายเงินเหลื่อมปี แต่รายจ่ายจากปีงบประมาณปีปัจจุบันยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เป็น 6,965 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 4.6 ปีก่อน จากการเร่งใช้จ่ายของรัฐบาล ขณะที่รายได้ลดลงร้อยละ 19.5 เหลือ 1,114 ล้านบาท จากอัตราดอกเบี้ย ที่ลดลงและการปรับลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อรวมกับเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 12,621 ล้านบาท ส่งผลให้ เกินดุลเงินสด 5,928 ล้านบาท เทียบกับที่เกินดุล 6,903 ล้านบาทปีก่อน
ทางด้านรายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ณ สิ้นเดือน ธันวาคม 2542 วงเงินอนุมัติทั้งสิ้น 506 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 427 ล้านบาท หรือร้อยละ 84.4 ของวงเงินอนุมัติโดยร้อยละ 60 เป็นโครงการที่เกี่ยวกับการจ้างงาน ส่วนรายจ่ายที่ยังเหลือเป็นโครงการก่อสร้างซึ่งมีปัญหาการ ล่าช้ากว่ากำหนด และคาดว่าจะดำเนินการเสร็จประมาณกลางปี 2543
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-