กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เดิมชื่อ "กรมการสนเทศ" ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2485 ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น"กรมเศรษฐการการพาณิชย์"เมื่อปี พ.ศ.2518 ถือเป็นกรมหลักด้านวิชาการทางด้านเศรษฐกิจการค้าของกระทรวงพาณิชย์มาตลอด 59 ปี โดยมีการปรับเปลี่ยนปรับปรุงโครงสร้างให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคโลกาภิวัตน์ ปัจจุบันกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์กำหนดวิสัยทัศน์ ในการเป็นผู้นำในการเสนอนโยบายกำหนดท่าทีกลยุทธ์ และเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เพื่อดำรงไว้และให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์สูงสุดของประเทศ
บทบาทและภารกิจสำคัญของกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์เป็นการดำเนินงาน 2 ด้าน คือ งานประชุมเจรจาปกป้องและแสวงหาผลประโยชน์ทางการค้า และงานสนับสนุนการเจรจา
งานประชุมเจรจาปกป้องและแสวงหาผลประโยชน์ทางการค้า เป็นบทบาทที่กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ให้ความสำคัญยิ่ง ประกอบด้วย
- การประชุมเจรจาในกรอบพหุภาคี คือ WTO และ UNCTAD โดยเฉพาะภายใต้กรอบ WTO เข้าร่วมการประชุมเพื่อกำหนดกฎ ระเบียบ การค้าโลกที่เป็นธรรม ปกป้องคุ้มครองสิทธิประโยชน์ทางการค้า
- การประชุมเจรจาในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ภายใต้กรอบ APEC ASEAN ASEM และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน ของภูมิภาค ขยายความร่วมมือสาขาเศรษฐกิจที่มีความสนใจร่วมกัน
- การประชุมเจรจาในกรอบทวิภาคี เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือ กระชับและพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน แก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางการค้าในระดับทวิภาคี
งานสนับสนุนการเจรจา ประกอบด้วย
- เสนอแนะนโยบายและมาตรการทางการค้าในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศ (กนศ.)
- การศึกษาวิเคราะห์ วิจัย เศรษฐกิจการค้า มาตรการด้านภาษี และไม่ใช่ภาษีของประเทศคู่ค้า กลุ่มเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อไทย การแสวงหาโอกาสทางการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งศักยภาพในการแข่งขัน โอกาสและการเตรียมความพร้อมของไทยจากการเปิดเสรีภายใต้กรอบต่างๆ
- พัฒนาระบบสารสนเทศ และเป็นศูนย์ข้อมูลทางการค้า รวมทั้งข้อมูลที่สามารถใช้ประกอบในการกำหนดท่าทีการเจรจาได้
ผลงานสำคัญในรอบปีที่ผ่านมา
การประชุมในกรอบ WTO ซึ่งได้เริ่มเปิดเจรจาแล้วสำหรับสินค้าเกษตร และบริการ ตั้งแต่ปี 2543 กรมฯได้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดท่าทีด้านสินค้าเกษตรร่วมกับกลุ่มเครนส์ และอาเซียน ร่วมกับ APEC และ ASEM ในการผลักดันการเปิดการเจรจารอบใหม่
ในส่วนของอาเซียนนั้นปีนี้ไทยเป็นประเทศประธาน เริ่มตั้งแต่การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ เมื่อต้นเดือนตุลาคม 2543 และได้เป็นผู้นำในการเสริมสร้างการรวมตัวของอาเซียน ให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกใหม่ วางรากฐาน e-ASEAN และการนำเทคโนโลยีโทรคมนาคมและสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจด้านต่างๆร่วมกับจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ในการศึกษาโอกาสในการร่วมมือเศรษฐกิจและทำเขตเสรีทางการค้า
ในส่วนการเจรจา 2 ฝ่าย ได้มีการศึกษาร่วมกับเกาหลี ถึงความเป็นไปได้ในการทำเขตการค้าเสรีร่วมกัน และอยู่ระหว่างดำเนินการทาบทาม ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย เม็กซิโก อัฟริกาใต้ ในการทำการศึกษาร่วมกันต่อไป นอกจากนี้ยังได้รับผิดชอบในเรื่องการเจรจากับมาเลเซีย กรณีที่มาเลเซียชะลอการโอนสินค้ายานยนต์เข้ามาลดภาษีภายใต้ AFTA ด้วย
งานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ได้กระทำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการจัดสัมมนาฝึกอบรมให้ความรู้แก่สาธารณชน เช่น WTO ความร่วมมืออาเซียน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การเปิดเสรีทางการค้าทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด
สำหรับงานบริหารองค์กรและงานบริหารบุคคล ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญ บุคลากรของกรมฯ มีคุณภาพสูงและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากได้ใช้หลักคุณธรรมในการคัดเลือกข้าราชการเข้ามาปฏิบัติงาน ให้โอกาสในการพัฒนาตนเอง ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ข้าราชการได้ทราบทิศทางการทำงาน และมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ตลอดจนจัดกิจกรรมต่างๆ ในการสร้างขวัญและกำลังใจให้เกิดความรักสามัคคีในองค์กร
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
บทบาทและภารกิจสำคัญของกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์เป็นการดำเนินงาน 2 ด้าน คือ งานประชุมเจรจาปกป้องและแสวงหาผลประโยชน์ทางการค้า และงานสนับสนุนการเจรจา
งานประชุมเจรจาปกป้องและแสวงหาผลประโยชน์ทางการค้า เป็นบทบาทที่กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ให้ความสำคัญยิ่ง ประกอบด้วย
- การประชุมเจรจาในกรอบพหุภาคี คือ WTO และ UNCTAD โดยเฉพาะภายใต้กรอบ WTO เข้าร่วมการประชุมเพื่อกำหนดกฎ ระเบียบ การค้าโลกที่เป็นธรรม ปกป้องคุ้มครองสิทธิประโยชน์ทางการค้า
- การประชุมเจรจาในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ภายใต้กรอบ APEC ASEAN ASEM และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน ของภูมิภาค ขยายความร่วมมือสาขาเศรษฐกิจที่มีความสนใจร่วมกัน
- การประชุมเจรจาในกรอบทวิภาคี เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือ กระชับและพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน แก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางการค้าในระดับทวิภาคี
งานสนับสนุนการเจรจา ประกอบด้วย
- เสนอแนะนโยบายและมาตรการทางการค้าในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศ (กนศ.)
- การศึกษาวิเคราะห์ วิจัย เศรษฐกิจการค้า มาตรการด้านภาษี และไม่ใช่ภาษีของประเทศคู่ค้า กลุ่มเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อไทย การแสวงหาโอกาสทางการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งศักยภาพในการแข่งขัน โอกาสและการเตรียมความพร้อมของไทยจากการเปิดเสรีภายใต้กรอบต่างๆ
- พัฒนาระบบสารสนเทศ และเป็นศูนย์ข้อมูลทางการค้า รวมทั้งข้อมูลที่สามารถใช้ประกอบในการกำหนดท่าทีการเจรจาได้
ผลงานสำคัญในรอบปีที่ผ่านมา
การประชุมในกรอบ WTO ซึ่งได้เริ่มเปิดเจรจาแล้วสำหรับสินค้าเกษตร และบริการ ตั้งแต่ปี 2543 กรมฯได้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดท่าทีด้านสินค้าเกษตรร่วมกับกลุ่มเครนส์ และอาเซียน ร่วมกับ APEC และ ASEM ในการผลักดันการเปิดการเจรจารอบใหม่
ในส่วนของอาเซียนนั้นปีนี้ไทยเป็นประเทศประธาน เริ่มตั้งแต่การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ เมื่อต้นเดือนตุลาคม 2543 และได้เป็นผู้นำในการเสริมสร้างการรวมตัวของอาเซียน ให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกใหม่ วางรากฐาน e-ASEAN และการนำเทคโนโลยีโทรคมนาคมและสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจด้านต่างๆร่วมกับจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ในการศึกษาโอกาสในการร่วมมือเศรษฐกิจและทำเขตเสรีทางการค้า
ในส่วนการเจรจา 2 ฝ่าย ได้มีการศึกษาร่วมกับเกาหลี ถึงความเป็นไปได้ในการทำเขตการค้าเสรีร่วมกัน และอยู่ระหว่างดำเนินการทาบทาม ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย เม็กซิโก อัฟริกาใต้ ในการทำการศึกษาร่วมกันต่อไป นอกจากนี้ยังได้รับผิดชอบในเรื่องการเจรจากับมาเลเซีย กรณีที่มาเลเซียชะลอการโอนสินค้ายานยนต์เข้ามาลดภาษีภายใต้ AFTA ด้วย
งานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ได้กระทำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการจัดสัมมนาฝึกอบรมให้ความรู้แก่สาธารณชน เช่น WTO ความร่วมมืออาเซียน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การเปิดเสรีทางการค้าทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด
สำหรับงานบริหารองค์กรและงานบริหารบุคคล ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญ บุคลากรของกรมฯ มีคุณภาพสูงและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากได้ใช้หลักคุณธรรมในการคัดเลือกข้าราชการเข้ามาปฏิบัติงาน ให้โอกาสในการพัฒนาตนเอง ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ข้าราชการได้ทราบทิศทางการทำงาน และมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ตลอดจนจัดกิจกรรมต่างๆ ในการสร้างขวัญและกำลังใจให้เกิดความรักสามัคคีในองค์กร
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-